- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 24 October 2019 14:43
- Hits: 1094
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
การเซ็นสัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินวันนี้ น่าจะเป็นผลดีกับหลายอุตสาหกรรม เริ่มจากรับเหมาก่อสร้าง นิคมอุตสาหกรรม และธนาคารพาณิชย์ ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ ดีต่อกลุ่มค้าปลีก และ อสังหาริมทรัพย์ แต่อย่างไรก็ตามทั้ง 2 เรื่องไม่น่าจะมีน้ำหนักผลักดันให้ SET Index เปลี่ยนแปลงมากนัก ปรับพอร์ต โดยขาย WORK สลับเข้ามาลงทุนใน AMATA Top Picks เลือก CPN (FV@B 92), CK (FV@B 34) และ AMATA ([email protected])
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …จับสัญญาณวันนี้
วันอังคารที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยเปิดกระโดดกว่า 5 จุด ก่อนที่จะแกว่งทรงตัวตลอดวัน โดยได้แรงหนุนจากปัจจัยบวกภายในประเทศเรื่อง มาตรการชิมช้อปใช้ เฟส 2 จนหนุนหุ้นในหลายอุตสาหกรรม และทำให้ตลาดปิดที่ระดับ 1631.46 จุด เพิ่มขึ้น 10.68 จุด (+0.66%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 3.88 หมื่นล้านบาท โดยกลุ่มที่หนุนตลาดหลักๆ คือ กลุ่มพลังงานที่หนุนตลาดฯกว่า 6 จุดเช่น GPSC(+6.03%) GULF(+2.91%) EA(+2.07%) BGRIM(+4.62%) กลุ่มอาหารเช่น CPF(+0.98%) CBG(+1.16%) OSP(+3.49%) และกลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์เช่น SAWAD(+1.99%) KTC(+1.85%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่บางตัวอย่างเช่น AWC(+1.63%) และ SCB(+0.88%) เป็นต้น
ประเด็นสำคัญวันนี้น่าจะเป็นปัจจัยในประเทศ ซึ่งมี 2 เรื่องหลัก ได้แก่ การเซ็นสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งถือเป็นการลงนามเร็วกว่ากำหนดเวลาเดิม โดยการเริ่มต้นของโครงการนี้น่าจะเป็นผลดีต่อหลายอุตสาหกรรม เริ่มจาก รับเหมาก่อสร้าง ซึ่ง CK และ ITD ซึ่งถือหุ้นในโครงการด้งกล่าวฝ่ายละ 5% น่าจะได้ประโยชน์โดยตรง ตามด้วยกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม เนื่องจากผลของการเริ่มต้นอย่างเป็นรูปธรรมของโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน น่าจะทำให้สามารถดึงดูดเม็ดเงินลงทุนเข้ามาในพื้นที่ EEC ได้มากขึ้น หนุนทั้งความต้องการ และราคาที่ดินให้ปรับสูงขึ้น โดยที่ AMATA และ WHA รวมถึง FPT ได้ประโยชน์ ถัดมาเป็นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ เหตุเพราะโครงการดังกล่าวมีเม็ดเงินลงทุนสูงกว่า 2 แสนล้านบาท ทำให้เกิดความต้องการสินเชื่อในอนาคต ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่โดยฝ่ายวิจัยเลือก BBL เป็นหุ้นเด่นในกลุ่ม ประเด็นถัดมา เป็นเรื่องของ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งมีหลายส่วน ที่โดดเด่นได้แก่ ชิม ช้อป ใช้ เฟสที่ 2 จำนวน 3 ล้านคน ซึ่งเป็นการกระตุ้นการบริโภคภาคครัวเรือน เป็นผลดีต่อ กลุ่มค้าปลีก ไม่ว่าจะเป็น CPALL หรือ BJC นอกจากนี้ยังมีมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ โดยปรับลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ บ้านราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ลงจาก 2% มาอยู่ที่ 0.01% และปรับลดค่าธรรมเนียมการจดจำนองจาก 1% ของวงเงินกู้ มาอยู่ที่ 0.01% ซึ่งน่าจะช่วยกระตุ้นการโอนฯ โครงการที่อยู่อาศัยที่ระดับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทได้ ทั้งนี้ปัจจัยแวดล้อมดังกล่าวไม่น่าจะมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ SET Index อย่างมีนัยสำคัญ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนวันนี้ แนะนำให้ Cut Loss หุ้น WORK ซึ่งน่าจะมีผลขาดทุนราว 2% ออกไป และให้นำเม็ดเงินที่ได้มาลงทุนใน AMATA ด้วยน้ำหนักเท่ากัน (10%) ของพอร์ตการลงทุน
สต็อกน้ำมันลดลงครั้งแรก 6 สัปดาห์, Brexit มีน้ำหนักต่อตลาดลดลง
ราคาน้ำมันดิบโลกเพิ่มขึ้นแรง 2.4% จากปัจจัยฝั่ง Supply คือ 1.)สำนักงานสารสนเทศพลังงานสหรัฐ(EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบพลิกกลับมาลดลงครั้งแรกในรอบ 6 สัปดาห์ราว 1.7 ล้านบาร์เรล ตลาดคาดเพิ่มขึ้น 2.2 ล้านบาร์เรล 2.) ความคาดหวัง 5-6 ธ.ค. การประชุมกลุ่มประเทศผลิตน้ำมัน OPEC และ Non Oec จะตัดลดกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น (จากกลุ่มประเทสผู้ผลิตน้ำมันสัญญา ตัดลดปัจจุบันราว 1.2 ล้านบาร์เรล/วัน ระยะเวลาจนถึง มี.ค.2563) เชื่อว่าจะเป็น Sentiment เชิงบวกต่อ หุ้นกลุ่มพลังงาน อาทิ PTT, PTTEP ซึ่งราาคาหุ้นในกลุ่มน้ำมันปัจจุบันถือว่า laggard กลุ่มฯมาก
ปัจจัยต่างประเทศอื่น คือ ประเด็น Brexit คือ วันอังคารที่ผ่านมา สภาอังกฤษมีมติโหวต 2 ประเด็นคือ 1.) รัฐสภาอนุมัติร่างข้อตกลง Brexit Deal ฉบับใหม่ ที่นายกรัฐมนตรีอังกฤษเสนอและผ่านยุโรปเห็นชอบ (อ่านรายละเอียดเพิ่มใน Merket Talk ฉบับวันที่ 18 ต.ค. 2562) 2.) แต่อย่างไรก็ตามสภาอังกฤษไม่ผ่านความเห็นชอบกรอบเวลา (Timetable) การออก Brexit หลังจากนายกรัฐมนตรีเสนอให้อังกฤษถอนตัวออกจากยุโรปวันที่ 31 ต.ค. 2562 เพราะสภามองว่าเร็วเกินไป ส่งผลให้ขั้นตอนต่อไป อังกฤษต้องรอทางยุโรปเห็นชอบการขอเลื่อนวันถอนตัว (Brexit Day) ออกไปซึ่งคาดว่าน่าจะเลื่อนไปเป็นวันที่ 31 ม.ค.2563 โดยรวมถือว่ายังเป็นประเด็นที่ยังยืดเยื้อต่อ แต่มีความชัดเจนขึ้น
ผลกระทบ Brexit ต่อเศรษฐกิจไทย ASPS ประเมินกระทบจำกัด เนื่องจากไทยมีสัดส่วนการค้ากับอังกฤษเพียง 1.28% ของประเทศคู่ค้าทั้งหมดของไทย และการลงทุนทางตรง (FDI) จากอังกฤษราว 3.5% ของ FDI ทั้งหมดทั่วโลก ขณะที่รายได้จากนักท่องเที่ยวอังกฤษคิดเป็นราว 2.1% ของรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด ในขณะที่ด้านตลาดการเงิน คือ ค่าเงินปอน พบว่านับตั้งแต่วันที่ 24 มิ.ย. 59 (วันที่อังกฤษตัดสินใจถอนตัวจากยุโรป) เงินปอนด์อ่อนค่าลงไปราว 13.2% และหากนับตั้งแต่ต้นปี 2562 จนถึงปัจจุบัน ค่าเงินปอนด์เริ่มชะลอการอ่อนค่า ทำให้เชื่อว่า Dollar Index จะมีแนวโน้มอ่อนค่าจำกัด โดยอ่อนค่าไปแล้วราว 1.6% จากจุดสูงสุดเมื่อต้นเดือน ต.ค. 2562 โดยสรุปเชื่อว่าตลาดหุ้นโลกได้รับรู้ผลกระทบของ Brexit ไปมากแล้ว จึงเชื่อว่าหลังจากนี้ ประเด็น Brexit จะมีน้ำหนักต่อตลาดหุ้นน้อยลง
ครม. ออกมาตรกระตุ้นการบริโภค ,อสังหา ท่องเที่ยว
เศรษฐกิจไทยที่ส่งสัญญาณชะลอตัว และการเติบโตทั้งปีนี้และสำนักเศรษฐกิจหลายแห่งคาดขยายตัวต่ำกว่า 3% หนุนให้รัฐบาลเกินหน้าออกมาตรการช่วยเหลือ ล่าสุด ครม. อนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสำคัญ 5 มาตรการ หลักๆ คือ กระตุ้นการบริโภคผ่านชิมช็อปใช้เฟส เริ่มตั้งแต่ 24 ต.ค.-ปลายปี , กระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ผ่านการลดค่าธรรมเนียมการโอนเหลือ 0.01% และกระตุ้นภาคการท่องเที่ยว คือ ขยายเวลาค่าฟรีธรรมเนียม VOA นักท่องเที่ยวต่างชาติอีก 6 เดือน ถึง เม.ย.2563
ลดค่าโอนฯ และจดจำนองบ้านไม่เกิน 3 ล้านบาท...กระตุ้นหุ้นอสังหา
มาตรการที่ประชุมครม. อนุมัติผ่านการลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์จากเดิม 2% ของราคาประเมิน และค่าจดจำนองจากเดิม 1% ของมูลค่าที่จำนองเหลือ 0.01% สำหรับการซื้อที่อยู่อาศัย ที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุดในราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันนี้จนถึง 24 ธ.ค. 2563
เป็น Sentiment บวกต่อกลุ่มอสังหาฯ เนื่องจากการประกาศลดค่าธรรมเนียมโอนฯ และจดทำนอง ถือเป็นช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับคนซื้อได้บางส่วน โดยภายใต้การลดค่าธรรมเนียมทั้ง 2 รายการเหลือ 0.01% ทำให้คนซื้อประหยัดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 19,850 บาทสำหรับบ้านมูลค่า 1 ล้านบาท (ปกติค่าธรรมเนียมโอนฯ อยู่ในอัตรา 2% หรือ 2 หมื่นบาท โดยแบ่งคนละครึ่ง หรือ 1 หมื่นบาทสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย เมื่อมีการปรับลดเหลือ 0.01% หรือฝั่งละ 0.05% ทำให้ผู้ซื้อประหยัดไป 9,950 บาท ส่วนค่าจดจำนองปกติเป็นภาระของผู้ซื้ออย่างเดียว หากลดเหลือ 0.01% จากเดิม 1% ของวงเงินกู้ ดังนั้นหากกู้เต็ม 100% ทำให้เกิดการประหยัดไปอีก 9,900 บาท)
กรณีซื้อบ้านมูลค่าราคา 3 ล้านบาท และกู้เต็ม 100% (บ้านหลังแรก) จะทำให้ผู้ซื้อประหยัดค่าธรรมเนียมโอนฯ 29,850 บาทและจดจำนอง 29,700 บาท รวมค่าใช้จ่ายลดลงทั้งสิ้น 59,550 บาท
ด้านฝั่งผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทจดทะเบียนใน SET แม้ไม่ได้ประโยชน์จากค่าใช้จ่ายในการโอนฯ ที่ลดลงอย่างมีนัยฯ และพอร์ตสินค้าส่วนใหญ่มีราคาเกิน 3 ล้านบาทขึ้นไป โดยบริษัทที่ยังมีฐานสินค้าในกลุ่มนี้อยู่บ้างก็น่าจะได้แก่ PS , QH, LPN, SPALI เป็นต้น อย่างไรก็ดีการมีมาตรการข้างต้น จะช่วยทำให้ Backlog รวมสิ้น 2Q62 ระดับ 3.3 แสนล้านบาท (รวม JV 1.3 แสนล้านบาท) โดยเป็นส่วนที่พร้อมส่งมอบ 2H62 รวม 1.1 แสนล้านบาท และปี 2563 อีก 1 แสนล้านบาท ที่เข้าข่ายเกณฑ์ราคาตามมาตรการสามารถโอนฯ ได้ง่ายขึ้น รวมถึงกระตุ้นให้เกิดการระบายสต๊อกคงค้างของผู้ประกอบการที่มีอยู่รวมเกือบ 6 แสนล้านบาท (เป็นสต๊อกคอนโดฯ สร้างเสร็จเกือบ 1 แสนล้านบาท) โดยฝ่ายวิจัยเลือกหุ้น Top Picks ในกลุ่มฯ ใช้เกณฑ์ทั้ง Backlog ระดับสูง และ Div Yield สูงเกิน 5% ได้แก่ SPALI ([email protected]) และ LH ([email protected])
มาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองเหลือ 0.01% ที่ ครม. อนุมัติ
RBF เข้าเทรดวันนี้ วันแรก ... ประเมิน FV’63 เท่ากับ 4.3 บาท
หุ้น RBF จะเข้าทำการซื้อขายในตลาด SET วันนี้วันแรก เชื่อว่าเป็นหนึ่งในหุ้นที่มีความน่าสนใจ จากธุรกิจหลักที่เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายวัตถุที่ใช้เป็นส่วนผสมในอาหาร (Food Ingredients) หลักๆ ได้แก่ กลุ่มวัตถุแต่งกลิ่นและสีผสมอาหาร (สัดส่วน 36% ของรายได้รวมปี 2561) และ กลุ่มแป้งและซอส (สัดส่วน 35% ของรายได้รวมปี 2561) ส่วนเงินที่ได้จากการเข้าระดมทุนราว 1.7 พันล้านบาท บริษัทฯ จะนำเงินไปใช้ในการก่อสร้างโรงงานใหม่ที่เมืองสุราบายา ประเทศอินโดนีเซีย (เสร็จปี 2565), ชำระเงินกู้ 500 - 600 ล้านบาท รวมถึงใช้เป็นเงินสดหมุนเวียนภายในกิจการ
ปี 2562 ฝ่ายวิจัยฯ คาดการณ์กำไรสุทธิเติบโตที่ระดับ 7% yoy อยู่ที่ 347 ล้านบาท และคาดขยายตัวเด่น 21% ในปี 2563 เป็น 421 ล้านบาท ขับเคลื่อนจากแนวโน้มรายได้เพิ่มขึ้น 10% yoy จากการเปิดโรงงานใหม่ กอปรกับสัดส่วน SG&A/Sales ลดลงจาก 23% มาอยู่ที่ 21.5% เหตุเพราะปี 2562 มีค่าใช้จ่ายพิเศษ อาทิ ค่าใช้จ่ายในการเตรียมเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ, ค่าใช้จ่ายตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ และการตั้งด้อยค่าสินทรัพย์ของโรงแรมสองแห่ง อีกทั้งหลัง IPO บริษัทฯ จะนำเงินที่ได้บางส่วนไปชำระเงินกู้ที่มีดอกเบี้ยราว 500 - 600 ล้านบาท ทำให้ดอกเบี้ยจ่ายคาดลดลงจากปี 2562 ที่ 22 ล้านบาท เหลือ 8.5 ล้านบาท
จุดเด่นอยู่ที่ Gross Margin มีพัฒนาการต่อเนื่อง ล่าสุดงวด 1H62 ที่ 38.7% สูงกว่าค่าเฉลี่ยบริษัทที่ทำธุรกิจใกล้เคียงกัน และสูงสุดเมื่อเทียบกับหุ้นในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มที่ฝ่ายวิจัย Coverage เช่น SAPPE ที่ 37.6%, OSP ที่ 35% ซึ่งฝ่ายวิจัยคาด Gross Margin ทั้งปี 2562 ยังอยู่ในระดับสูงที่ 38.9% ส่วนปี 2563 ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินลดลงเล็กน้อยที่ 38.3% จากการเปิดโรงงานใหม่ที่เวียดนามและอินโดนีเซีย แต่ถูกชดเชยด้วยรายได้ที่สูงขึ้น ตามที่ได้กล่าวข้างต้น กำหนด PER ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี ของกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มที่ 20 เท่า ได้มูลค่าพื้นฐานปี 2563 เท่ากับ 4.3 บาท **บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด เป็นผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ RBF ในครั้งนี้ โดยการจัดทำเอกสารฉบับนี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการนำเสนอข้อมูลและบทวิเคราะห์เท่านั้น การตัดสินใจลงทุนขึ้นกับดุลยพินิจของนักลงทุน **
หุ้นเด่น ธีมรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ชอบ CK AMATA
ประเด็นความคืบหน้าการลงทุน ซึ่งเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจ หรือ GDP ทั้งในการลงทุนภาคเอกชนและรัฐบาล (I) เริ่มจุดขึ้นมาอีกครั้ง ล่าสุดท่านรองนายก สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ได้ปาฐกถาพิเศษต่อนักลงทุนจีน ที่นครเซินเจิ้น ประเทศจีน ซึ่งมีแผนจะย้ายฐานการผลิตจากผลกระทบของสงครามการค้า และเผยว่าไทยมีความพร้อมในหลายด้าน อาทิ โครงสร้างพื้นฐาน สิทธิประโยชน์ต่างๆ โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัด EEC 3 จังหวัด ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา นอกจากนี้ยังเผยว่าในวันพรุ่งนี้ 25 ต.ค. 2562 ทาง Worldbank จะประกาศอันดับประเทศทั่วโลกที่มีความง่ายในการทำธุรกิจ (Ease of Doing Business) ซึ่งเชื่อว่าจะมีการยกอันดับให้ดีขึ้นอีก จากปัจจุบัน อยุ่ที่ 27 ของโลก (ดีขึ้นจากปี 2560 อยู่ลำดับที่ 46) และวันนี้เชื่อว่ากระแสจากกำหนดจะลงนามเซ็นสัญญาของกลุ่ม CP เป็นผู้ชนะการประมูลในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) มูลค่าโครงการ 2.24 แสนล้านบาท
ประเด็นทั้งหมดที่กล่าวมาน่าจะสร้างผลประโยชน์ต่อภาพรวมเศษฐกิจในประเทศ ช่วยกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติ เข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ พื้นที่ใน EEC เนื่องจากมีความชัดเจนมากขึ้นในด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพิ่มความเชื่อมั่นในการลงทุน
กลยุทธ์เน้นลงทุนในหุ้นที่ได้ประโยชน์จากประเด็นดังกล่าว คือ หุ้นนิคมที่มีพื้นที่มากสุดใน EEC อย่าง AMATA ([email protected]) เลือกเป็น Top pick ในวันนี้ และยังชื่นชอบหุ้นรับเหมาขนาดใหญ่ราคา Laggard และได้ประโยชน์จากประเด็นโครงการเชื่อม 3 สนามบิน อย่าง CK (FV@B 34)
AMATA ([email protected]) เป็นหุ้นนิคมที่มีพื้นที่ใน EEC มากสุดในอุตสาหกรรม กว่า 1.1 หมื่นไร่ และ 70% เป็นพื้นที่ในจังหวัดชลบุรี ซึ่งใกล้สนามบินสุวรรณภูมิ และท่าเรือแหลมฉบังมากสุดใน 3 จังหวัด ง่ายต่อการขนส่ง ทั้งทางเรือและทางน้ำ ส่วนแนวโน้มกำไรสุทธิในปี 2562 คาดว่าเติบโตสูงถึง 71.7% ขณะเดียวกันปัจจุบันยังมี Backlog ยอดขายที่ดินรอโอนทำ New High อยู่ที่ 3,750 ล้านบาท
CK (FV@B 34) นับตั้งแต่ต้นปี 2562 ราคาหุ้นยัง laggard ตลาดฯมาก อีกทั้งยังได้กระแสเชิงบวกจากร่าง พ.ร.บ งบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2563 ผ่านการพิจารณาในวาระที่ 1 และที่สำคัญปัจจุบันยังคาดหวังถึงกระแสเชิงบวกจากกลุ่ม CP (พันธมิตรประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ประเทศไทย) 70%, China Railway Construction Corporation Limited 10% , CK 5% , ITD 5% , และ BEM 10%) เซ็นสัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินในวันนี้ ช่วยหนุน backlog ให้ CK แตะ 1 แสนล้านบาท อีกทั้งยังมีส่วนแบ่งกำไรและเงินปันผลจากบริษัทย่อย 3 แห่ง (TTW, CKP, BEM) เข้ามาเสริมผลประกอบการในช่วงที่เหลือปีอีกแรง
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม,
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ