WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Asia Plus Group Holdingบล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน    
วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2562
ระยะสั้น SET Index อาจมีแรงกดดันจากตัวเลขเศรษฐกิจที่เต็มไปได้วยสัญญาณชะลอตัว รวมถึงอุปสรรคในการบรรลุข้อตกลงการค้าสหรัฐฯ-จีน แต่ในระยะถัดไปจะตามมาด้วยแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เฉพาะอย่างยิ่งการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย วันนี้แนะนำปรับพอร์ต โดยขายทำกำไร EA และสลับเข้า WORK ด้วยน้ำหนักเท่ากัน Top Picks เลือก WORK (FV@B 29), MCS (FV@B 11.30) และ CK (FV@B 34)
        SET Index    1,634.46
        เปลี่ยนแปลง (จุด)    7.45
        มูลค่าการซื้อขาย (ล้านบาท)    58,535
            
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …จับสัญญาณวันนี้
วานนี้ ตลาดหุ้นไทยแกว่งผันผวนในกรอบแคบ 10 จุด โดยการปรับลดดอกเบี้ยทั่วโลกจึงทำให้เป็น Sentiment บวกต่อตลาดหุ้น จนสุดท้ายปิดบวกที่ระดับ 1634.46 จุด เพิ่มขึ้น 7.45 จุด (+0.46%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 5.85 หมื่นล้านบาท โดยกลุ่มที่หนุนตลาดหลักๆ คือ กลุ่มขนส่งได้แก่ AOT(+1.99%) BTS(+3.01%) PRM(+2.30%) กลุ่มพลังงานเช่น GPSC(+4.32%) GULF(+0.59%) RATCH(+3.40%) และกลุ่ม ธ.พ.เช่น KBANK(+1.66%) SCB(+1.30%) KKP(+3.08%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่บางตัว เช่น OSP(+3.97%) CPF(+1.89%) INTUCH(+1.85%) เป็นต้น
การรายงานยอดค้าปลีกสหรัฐฯ เดือน ก.ย.62 ที่ติดลบ 0.3% จากเดือนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการปรับลดลงครั้งแรกในรอบ 7 เดือน ขณะที่กระบวนการในเรื่องการเจรจาการค้า สหรัฐฯ-จีน เพื่อนำไปสู่การไม่ปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเป็น 30% ในส่วนของสินค้าที่อยู่ในบัญชี 3 รอบแรก เริ่มปรากฎอุปสรรค หลังจากที่สภาผุ้แทนฯ สหรัฐ ผ่านร่างกฎหมาย Protect Hong Kong ออกมา ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับ จีน ทั้ง 2 องค์ประกอบดังกล่าว ถูกตีความในเชิงที่จะสร้างแรงกดดันต่อภาพรวมเศรษฐกิจ และน่าจะส่งผลต่อเนื่องทำให้การใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของแต่ละประเทศมีความเข้มข้นมากขึ้นในระยะต่อไป โดยเฉพาะการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยประเมินว่าทิศอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกน่าจะอยู่ในทิศทางลง โดยน่าจะเห็นทิศทางที่ชัดเจนขึ้นในการประชุม Fed ปลายเดือน ต.ค. ตามด้วยการประชุม กนง. ต้นเดือน พ.ย.62 ซึ่งคาดว่าจะเห็นการพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมา สำหรับทิศทางของ SET Index คาดว่าน่าจะเริ่มเห็นแรงขับเคลื่อนจาก Fund Flow กลับเข้ามาอีกครั้ง หลังจากที่ Market Earning Yield ขยายกว้างขึ้นไปสู่ระดับ 4.7% กลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้ให้น้ำหนักไปในหุ้น 2 ส่วนหลัก คือหุ้นที่ให้ Dividend Yield สูงเกิน 4% และ หุ้นที่มีการเคลื่อนไหวราคาหุ้น Laggard ตลาดฯ ค่อนข้างมากขณะที่ปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐานดูดีขึ้น วันนี้แนะนำให้ปรับพอร์ตการลงทุน โดยขายทำกำไรหุ้น EA ซึ่งน่าจะมีกำไรมากกว่า 6% ในช่วงระยะเวลา 1 สัปดาห์ (4 วันทำการ) และให้นำน้ำหนักการลงทุนที่ได้เข้าลงทุนใน WORK ซึ่งการเข้าลงทุนในวันทีมีการประกาศตัวเลขอุตสาหกรรมโฆษณาเชิงลบ น่าจะทำให้ต้นทุนราคาหุ้นที่ต่ำ ขณะที่แนวโน้มการทำกำไรของบริษัทมีสัญญาณเชิงบวก
Trade war และ Brexit ยังคงวนเวียน
ปัจจัยต่างประเทศที่มีน้ำหนักในช่วงที่เหลือของสัปดาห์นี้ยังคงเป็น  2 ประเด็นคือ
1.)เหตุการณ์ที่ทำให้การเจรจาการค้าสหรัฐ-จีนยังไม่ได้ข้อสรุป  เริ่มจากฝั่งสหรัฐวานนี้
ประธานาธิปดีทรัมป์ ยืนยันว่า สหรัฐจะเซ็นสัญญาข้อตกลงการค้าเฟส 1 กับจีน ก็ต่อเมื่อตนได้พบปะกับประธานาธิปดี สี จิ้งผิง ในการประชุม APEC ที่ประเทศชิลี กลางเดือน พ.ย.
สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐได้ผ่านร่างกฎหมายสนับสนุนผู้ชุมนุมฮ่องกง (Protect Hongkong ACT)  ซึ่งหลักๆ คือสหรัฐจะหยุดการส่งออกสินค้าบางชนิดไปยังฮ่องกง อาทิเช่น แก๊สน้ำตา และกระสุนยาง อย่างไรก็ตาม ยังต้องผ่านการพิจารณาวุฒิสภา ก่อนที่จะส่งให้ประธานาธิบดีลงนามบังคับใช้ต่อไป
ทำให้ฝั่งจีนออกมาแสดงความไม่พอใจ โดยรวม ASPS คาดว่าประเด็นข้างต้นอาจส่งผลให้บรรยากาศการเจรจาการค้าหาข้อสรุปได้ยากขึ้น โดยยังมีมุมมองเดิมคือ ระยะยาวสงครามการค้ายังมีโอกาสยืดเยื้อ และคาดว่า Pattern ของวัฎจักรสงครามการค้าจะเกิดวนเวียนซ้ำๆ โดยเป็นรูปแบบผ่อนคลาย-ตึงเครียด สลับกันไปเรื่อยๆ คล้ายอดีต ซึ่งจะกดดันตลาดหุ้นโลกส่งผลต่อเศรษฐกิจสหรัฐล่าสุด คือ รายงานยอดค้าปลีก (Retail Sale) เดือน ก.ย. พบว่าหดตัว 0.3%mom นับเป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 6 เดือน และต่ำกว่าที่ตลาดคาดว่าจะขยายตัว 0.3% กระตุ้นความคาดหวัง ธนาคารกลางสหรัฐ(Fed) ยังจำเป็นและมีโอกาสลดอีก 1 ครั้ง ราว 0.25% ช่วงปลายปี สะท้อนจากผลสำรวจBloomberg คาดโอกาสการลดดอกเบี้ยรอบ 29-30ต.ค. สูงถึง 80%
2.Brexit ตามกำหนดการคือ 31 ต.ค. 2562 อังกฤษจะถอนตัวออกจากยุโรปอย่างเป็นทางการ  กระบวนการล่าสุด คือ นายกรัฐมนตรีอังกฤษเสนอข้อตกลง Brexit ฉบับใหม่ต่อยุโรป(EU) ซึ่งจะต้องได้ข้อสรุประหว่างวันที่  17-18 ต.ค. ในการประชุมประเทศผู้นำ  EU Summit แบ่งเป็น 1.)หากผ่านได้  ขั้นตอนถัดไป คือ ร่าง Brexit ใหม่จะต้องผ่านความเห็นในประเทศก่อน   และหลังจากนั้นอังกฤษถึงจะออกจาก EU ตามกำหนดการ  2.)หากไม่ผ่าน  อังกฤษต้องขอให้ EU เลื่อนวันถอนตัว (Brexit Day) ออกไปเป็น 31 ม.ค. 2563 ซึ่งทางนี้มีความเป็นไปได้มาก เนื่องจากประเด็นสำคัญ อาทิ ปัญหาชายแดนไอร์แลนด์ (ของEU) และไอร์แลนด์เหนือ (ของอังกฤษ) ที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา
วันนี้ให้น้ำหนัก การพิจารณางบประมาณปี 63 วาระที่ 1
ปัจจัยในประเทศ วันนี้ให้น้ำหนัก สภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี2563  วงเงิน 3.2 ล้านล้านบาท  โดยขาดดุลงบฯ   4.69 แสนล้านบาท   ASPS ให้น้ำหนักจะผ่านหรือไม่ ซึ่งน่าจับตามองเนื่องจากคะแนนเสียง สนับสนุนจาก ส.ส. รัฐบาลค่อนข้างปริ่มน้ำ ถือว่าเป็นความสี่ยง   แต่หากผ่านไปได้   ขั้นตอนถัดไป คือ 8-9 ม.ค.2563    สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาวาระที่ 2-3 และ 20 ม.ค. วุฒิสภาพิจารณาจะเริ่มเบิกจ่ายอย่างเร็วสุดเดือน ก.พ. 2563 (ดังรูป)  
และประเด็นคือ  การเซ็นสัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม  3 สนามบิน คือ ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย และกลุ่ม CPH ซึ่งมีกำหนดในวันที่ 25 ต.ค.2562 ความเป็นไปได้สูงที่เดินตาม Process โดยนายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานเซ็นสัญญา
โดยรวมประเด็นความคาดหวังงบประมาณปี 2563 จะเดินหน้าและโครงการเชื่อม 3 สนามบินดังกล่าว มีผลต่อบริษัทจดทะเบียนหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง, วัสดุก่อสร้าง, นิตมอุตสาหกรรม รวมถึงธนาคารพาณิชย์
แนะนำ 2 ทางเลือกน่าลงทุน หุ้นปันผลสวย และหุ้นพื้นฐานแข็งแกร่งราคา Laggard
ฝ่ายวิจัยฯ ยังคงนำเสนอและให้น้ำหนักในมุมของสภาพคล่องโลกที่เพิ่มขึ้นจากการอัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจของประเทศขนาดใหญ่อย่างสหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น  รวมถึงภาวะดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ ภาวะแบบนี้มีโอกาสสูงที่ Fund Flow จะโยกย้ายมาสู่สินทรัพย์เสี่ยง โดยเฉพาะตลาดหุ้นประเทศกำลังพัฒนามากขึ้น เนื่องจากยังมี Upside เมื่อเทียบกับจุดสูงสุดในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา สูงกว่าตลาดหุ้นในประเทศพัฒนาแล้วอยู่มาก โดยตลาดหุ้นไทยเป็นหนึ่งบรรดาตลาดหุ้นประเทศกำลังพัฒนา ที่มี Upside จากจุดสูงสุดในรอบ 1 ปี ถึง 6.50% ขณะที่ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐเหลือ Upside จากจุดสูงสุดในรอบ 1 ปีของดัชนีเพียง 1.45% เท่านั้น
อย่างไรก็ดีแรงหนุนดังกล่าวจะเกิดแบบค่อยเป็นค่อยไป เบื้องต้นฝ่ายวิจัยยังยึดหลักอนุรักษ์ อิง PER ที่ 16.45 เท่า ให้ดัชนีเป้าหมาย ณ สิ้นปี 2562 ที่ 1,655 จุด ด้วย upside ของ SET Index ที่ค่อนข้างจำกัด ดังนั้นฝ่ายวิจัยฯทำการคัดกรองเลือกหุ้นน่าลงทุน โดยแบ่งออกเป็น 2 ธีม ซึ่งคาดว่าจะเป็นเป้าหมายระดับต้นๆของ Fund Flow ดังนี้
1.5+1หุ้นปันผลสูง ได้ประโยชน์จากนโยบายการเงินผ่อนคลายมากขึ้น
 
ยังชื่นชอบ KKP (FV@B 75.33), MCS (FV@B 11.30), MAJOR (FV@B 33.00) และวันนี้เพิ่ม DRT (FV@B 6.58) อีกหนึ่งบริษัท
2.วันนี้เพิ่มอีกหนึ่งชุดหุ้นที่น่าสะสม คือ 9 หุ้น Dometic พื้นฐานแข็งแกร่ง ซึ่งราคายัง laggard ตลาดอยู่มาก
ชื่นชอบ CK (FV@B 34) และเพิ่ม WORK (FV@B 29.00) เป็น Top Picks มีรายละเอียดทางพื้นฐานดังนี้
CK (FV@B 34) นับตั้งแต่ต้นปี 2562 ราคาหุ้นยัง laggard ตลาดฯ เกินกว่า 10% ขณะที่ปัจจุบันยังคาดหมายได้ถึงกระแสเชิงบวกจากกลุ่ม CP เซ็นสัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ในวันที่ 25 ต.ค. นี้ หนุน backlog ให้ CK แตะ 1 แสนล้านบาท อีกทั้งยังมีส่วนแบ่งกำไรและเงินปันผลจากบริษัทย่อย 3 แห่ง (TTW, CKP, BEM) เข้ามาเสริมผลประกอบการในช่วงที่เหลือปีอีกแรง
WORK (FV@B 29.00) ฝ่ายวิจัยเพิ่มเป็น Top pick ในวันนี้ เนื่องจากราคาหุ้นยัง laggard SET Index อยู่ทั้งในช่วงเดือน ต.ค. นี้ และนับตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน พบว่า WORK ปรับตัวลดลง 0.99% และ -13.73% ตามลำดับ ขณะที่ปัจุบันมีประเด็นบวกหนุน จากการที่ RS ประกาศจับมือกับ WORK เพื่อขยายธุรกิจ MPC ในการเปิดช่องทางขายสินค้าใหม่ ภายใต้ชื่อ Wellness Shop จำหน่ายสินค้าในเครืออาร์เอส และสินค้าของพาร์ตเนอร์ คาด Win-Win   ทั้งสองฝ่าย โดยจากการคาดการณ์ของบริษัท WORK จะได้รับส่วนแบ่งรายได้ 30% ของรายได้ Wellness Shop หนุนรายได้เพิ่มขึ้นราว 150 ล้านบาท ในปี 2563 และราว 300 ล้านบาทในปี 2564 ประกอบกับธุรกิจของ WORK เช่นธุรกิจ Event และธุรกิจใหม่ คือ ธุรกิจขายสินค้าผ่าน Hello shop ซึ่งเริ่มเมื่อปลายปีที่แล้ว เข้ามาช่วยเสริมรายได้ รวมทั้งต้นทุนการผลิตรายการที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะต้นทุนลิขสิทธ์ถ่ายทอดกีฬา จะหนุนกำไร 2H62 ให้ฟื้นตัว และคาดผลักดันกำไรปี 2562 เติบโต 13% YoY เท่ากับ 390 ล้านบาท (ยังไม่รวมธุรกิจที่จับมือกับ RS)
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม,
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!