WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Asia Plus Group Holdingบล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน    
วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2562
การเจรจาการค้า สหรัฐฯ-จีน โดยภาพรวมมีผลในทางบวก แม้จะไม่ดีเท่าที่คาด แต่ผลดีดังกล่าวก็ถูกหักล้างออกไปบางส่วนจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง ทำให้ SET Index วันนี้ไม่น่าจะบวกขึ้นไปได้มากนัก แนะนำให้ปรับพอร์ตการลงทุน โดยปรับ PTTEP ออก และสลับเข้าลงทุนใน CK ด้วยน้ำหนักเท่าๆ กัน สำหรับหุ้น Top Picks วันนี้เลือก CK (FV@B 34) ซึ่งปรับฐานราคามานานและน่าจะได้ประโยชน์จากรถไฟความเร็วสูง อีกบริษัทเลือก MAJOR (FV@B 33)
        SET Index    1,626.00
        เปลี่ยนแปลง (จุด)    18.50
        มูลค่าการซื้อขาย (ล้านบาท)    61,610
            
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทยวันวาน … จับสัญญาณวันนี้
วันศุกรที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยเปิด Gap กว่า 6 จุด ก่อนที่จะทยอยปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามตลาดหุ้นฮ่องกงที่ปรับตัวขึ้นกว่า 2.3% จากเหตุการณ์ความไม่สงบมีแนวโน้มผ่อนคลายลง รวมถึงราคาน้ำมัน WTI ปรับตัวขึ้นกว่า 1.8% จนสุดท้ายตลาดหุ้นไทยปิดที่ระดับ 1626.00 จุด เพิ่มขึ้น 18.50 จุด (+1.15%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 6.16 หมื่นล้านบาท โดยกลุ่มที่หนุนตลาดหลักๆ คือ กลุ่มพลังงานได้แก่ EA(+3.54%) GPSC(+4.67%) GULF(+4.70%) PTT(+1.69%) PTTEP(+3.81%) กลุ่มสื่อสารเช่น ADVANC(+1.33%) DTAC(+5.70%) INTUCH(+1.14%) และกลุ่มขนส่ง เช่น AOT(+1.69%) BTS(+0.75%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่บางตัวเช่น CPALL(+1.57%) และ COM7(+4.00%) เป็นต้น
ผลเจรจาการค้า สหรัฐฯ-จีน ได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า สหรัฐฯ จะขยายระยะเวลาในการปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนใน 3 รอบแรกจาก 25% เป็น 30% ออกไปโดยที่ยังไม่มีการกำหนดระยะเวลา แลกกับการที่จีนต้องปฎิบัติบางอย่างเป็นการตอบแทน เช่น การนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ การดูแลอัตราแลกเปลี่ยนเป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีการกล่าวถึงการปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้ารอบ 15 ธ.ค.2562 พัฒนาการดังกล่าวน่าจะส่งผลบวกต่อตลาดหุ้นไทยเช้านี้ แต่น่าจะมีกรอบที่จำกัด โดยอาจถูกหักล้างจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงมาได้ ส่วนอีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจคือ การกลับมาขยายขนาดงบดุลของ Fed ซึ่งโดยหลักการแล้วคล้ายๆ กับการทำ QE ซึ่งเป็นการดำเนินการควบคู่ไปกับการ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้ต่อเนื่องในช่วงเวลาการประชุมที่เหลืออีก 2 ครั้งของปี 2562 การดำเนินการดังกล่าวของ Fed น่าจะเป็นตัวสะท้อนให้เห็นถึงความเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจในอนาคต ส่วนผลที่เกิดขึ้นน่าจะทำให้เห็นสภาพคล่องส่วนเกินในระบบเพิ่มสูงขึ้น แต่ทิศทางการไหลของเม็ดเงินเชื่อว่าจะยังมีเป้าหมายไปที่สินทรัพย์ที่ปลอดภัย เฉพาะอย่างยิ่งพันธบัตรา ส่วนตลาดหุ้นก็อาจได้ผลประโยชน์บางส่วนแต่ไม่น่าจะมากนัก สำหรับปัจจัยในประเทศ มีประเด็นที่ต้องติดตามอยู่ 2 – 3 เรื่อง เริ่มจาก กระบวนการในการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ ปี 2563 ซึ่งมีกำหนดจะนำเข้าสู่การพิจารณาวาระที่ 1 ของสภาผู้แทนราษฎร์ ในวันที่ 17 ต.ค.2562 ซึ่งน่าจับตามองเนื่องจากคะแนนเสียง สนับสนุนจาก ส.ส. รัฐบาลมีค่อนข้างปริ่มน้ำ ถือเป็นความสี่ยง ประด็นถัดมาเป็นเรื่องการเซ็นสัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งมีกำหนดจะดำเนินการในวันที่ 25 ต.ค.2562 โดยที่โครงการดังกล่าวมีผลต่อบริษัทจดทะเบียนหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม รับเหมาก่อสร้าง วัสดุก่อสร้าง นิตมอุตสาหกรรม รวมถึง ธนาคารพาณิชย์ สำหรับกลยุทธ์การลงทุนวันนี้ ฝ่ายวิจัยปรับพอร์ตจำลอง โดยขายทำกำไร PTTEP และให้สลับเข้ามาลงทุนในหุ้น CK แทนด้วยน้ำหนักเท่าๆ กัน
Trade talk สหรัฐ-จีน ผ่อนคลายบางส่วน รอคุยกันอีกครั้ง ปลาย ต.ค.
วันศุกร์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นโลกตอบรับข่าวบวกการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐ-จีนมีพัฒนาเชิงบวก  หลังจากฝั่งจีน 1.) ให้สัญญาว่าจะนำเข้าสินค้าเกษตรจากสหรัฐ วงเงินราว 4-5 หมื่นเหรียญ 2.) ยินดีทำสัญญาข้อตกลงกับสหรัฐในหลายประเด็น เช่น การแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยน, การละเมิดลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น
ขณะที่สหรัฐ   ยินยอมเลื่อนการขึ้นอัตราภาษีนำเข้ากับจีนเป็น 30% (ปัจจจุบัน 25%) กับสินค้าในรอบที่ 1-3 วงเงินรวม 2.5 แสนล้านเหรียญ ออกไปอย่างไม่มีกำหนด (เดิมมีกำหนดจะเก็บเพิ่มวันที่ 15 ต.ค. 2562) อย่างไรก็ตามการขึ้นภาษีนำเข้าจากจีนของสหรัฐในรอบ 4.2 วงเงิน 1.6 แสนล้านเหรียญ อัตราภาษี 15% ยังคงเป็นไปตามกำหนดเดิม คือ จะขึ้นในวันที่ 15 ธ.ค. 2562 (รอบนี้มีความสำคัญเพราะสินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งจะกระทบกับประชาชนโดยตรง ต่างจาก 3 รอบก่อนหน้าที่กระทบหลักๆ คือ ผู้ผลิต
อย่างไรก็ตามวันจันทร์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นโลกปรับฐานอีกครั้งหลังจากจีนออกมาแถลงว่าต้องการเจรจาเพิ่มเติมกับสหรัฐในช่วงปลายเดือน ต.ค. 2562 นี้ ก่อนที่จะมีการเซ็นสัญญาในข้อตกลงข้างต้น โดยคาดทั้ง 2 ประเทศจะสามารถเซ็นสัญญาได้ราวกลางเดือน พ.ย. 2562
โดยสรุป  ASPS ยังคงมุมมองเดิมต่อสงครามการค้า คือ แม้ระยะสั้นจะผ่อนคลายลง แต่เชื่อว่าระยะยาวสงครามการค้ายังมีโอกาสยืดเยื้อ และคาดว่า Pattern ของวัฎจักรสงครามการค้าจะเกิดวนเวียนซ้ำๆ โดยเป็นรูปแบบผ่อนคลาย-ตึงเครียด สลับกันไปเรื่อยๆ คล้ายอดีต เช่น การเจรจาการค้าในเดือน มี.ค.2562 ที่ผ่านมา แม้ทั้ง 2 ฝ่ายจะผ่อนคลายลง แต่สุดท้ายสหรัฐกลับเดินหน้ากีดกันการค้าจีนต่อไป โดย ASPS คาดว่า สงครามการค้าจะมีแนวโน้มยืดเยื้อไปจนกว่าจะถึงช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในปลายปี 2563
Fed ประกาศอัดฉีดเงินเข้าระบบ ซื้อ T-bills เริ่ม กลางเดือน ต.ค.-2Q63  
ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาธนาคารกลางสหรัฐ(Fed)ได้ประกาศเดินหน้าผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติม  หลักๆ ผ่านการเข้าซื้อตราสารตลาดเงินระยะสั้น คือ
1.) เริ่มการเข้าซื้อ Treasury bills หรือ ตั๋วเงินคลัง ระยะสั้นที่มีอายุ < 1 ปี วงเงินรวม 6 หมื่นล้านเหรียญฯต่อเดือน  มีผลตั้งแต่ 15 ต.ค.62 ไปจนถึง งวด 2Q2563  
2.) ธุรกรรม Open Market Operations (OMOs) อาทิ
ผ่าน Term repo 2 ครั้ง/เดือน ครั้งละ 3.5 หมื่นล้านเหรียญ
Overnight repo ทุกวัน วันละ 7.5 หมื่นล้านเหรียญ
** OMOs เป็นเครื่องมือหลักที่ Fed ะดูแลให้สภาพคล่องในระบบมีเพียงพอต่อความต้องการของระบบธนาคารพาณิชย์
โดย Fed ให้เหตุผลว่าเพื่อเป็นการเพิ่มสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงิน  เชื่อว่าจะส่งผลให้งบดุลของ Fed (Balance Sheet) ปรับเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันอยู่ที่  3.95 ล้านล้านเหรียญในอนาคต (งบดุลของ Fed ลดลงราว 15.5% นับตั้งแต่ ปลายปี 2560)   โดยในรอบนี้มุ่งไปที่ช่วยเหลือภาคสถาบันการเงินเป็นหลัก
โดยรวม  ASPS ยังคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐที่เริ่มเห็นสัญญาณชะลอตัว จากผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสงครามการค้า ทำให้อนาคต  Fed ยังจำเป็นต้องเดินหน้าใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายเพิ่มเติมอีก ตควบคู่กับและการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายคาด มีโอกาสปรับลง 0.25% จากปัจจุบันอยุ่ที่ 2%  มาอยู่ที่   1.75% ณ.ช่วงสิ้นปี
17 ต.ค.ร่างงบประมาณปี 63 พิจารณาวาระแรก บวกต่อหุ้นรับเหมา ..CK
วันพฤหัสบดี 17 ต.ค.ให้น้ำหนักสภาผู้แทนราษฎรจะเริ่มพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563  วงเงิน 3.2 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นรายจ่ายประจำสัดส่วนราว  78.4%ของวงเงินทั้งหมด และรายจ่ายลงทุน 21.6%  โดยขาดดุลงบฯ   4.69 แสนล้านบาท     ASPS ให้น้ำหนักจะผ่านหรือไม่  ซึ่งหากผ่านขั้นตอนถัดไป คือ 8-9 ม.ค.2563  สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาวาระที่ 2-3 คือ และ 20 ม.ค. วุฒิสภาพิจารณา และจะเริ่มเบิกจ่ายอย่างเร็วสุดเดือน ก.พ. 2563 (ดังรูป)  
Time line กระบวนการพิจารณางบประมาณปี 2563
เบื้องต้น ASPS เชื่อว่า มีโอกาสเดินตาม Proces ที่วางไว้ ซึ่งถือเป็นการสร้างความเชื่อมั่นการเดินหน้าโครงการลงทุนเมกะโปรเจ็คขนาดใหญ่ และน่าจะสร้าง Sentiment เชิงบวกต่อหุ้นรับเหมาก่อสร้าง  โดยเฉพาะผู้รับเหมาขนาดใหญ่ อาทิ  CK, STEC, UNIQ เป็นต้น   
ครม.เศรษฐกิจออก Packkage กระตุ้นท่องเที่ยว
วันศุกร์ที่ผ่านมา ครม.เศรษฐกิจมีมติเห็นชอบแพ็คเกจมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวกว่า 16 มาตรการ แบ่งออกเป็นมาตรการระยะสั้น และมาตรการระยะกลาง-ยาว  ระยะเวลามาตรการราว  3 เดือน – 1 ปี โดยยังไม่มีกำนหดว่าจะเริ่มเมื่อไหร่  แต่ ASPS คาดจะเริ่มงวด 4Q62 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ASPS คาดว่ามาตรการจะเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. ต่อไปในสัปดาห์นี้ และเชื่อว่ามาตรการข้างต้น น่าจะสร้าง Sentiment บวกระยะสั้นต่อหุ้นกลุ่มโรงแรม ERW(FV@B 7.00), MINT (FV@B 47.00), CENTEL (FV@B 40.00)  และหุ้นในกลุ่มการบิน   AOT (FV@B 83.0)
คาดการอัดฉีดสภาพคล่องของ Fed ไม่ได้ส่งผลบวกต่อตลาดหุ้นเท่าอดีต
Fed เริ่มใช้เครื่องมือเพิ่มเติมสำหรับควบคุมอุปทานทางการเงิน Open Market Operations ณ วันที่ 15 ต.ค. 2562 ถึงสิ้น 1H63 โดยการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นในตลาดการเงิน (รายละเอียดตามที่กล่าวไว้ข้างต้น)
แม้ในอดีตช่วงที่มีการอัดฉีด QE (Quantitative Easing) ทั้ง 3 รอบ (ช่วงปลายปี 2551 ถึงปี 2558) รวมถึง P/E ของดัชนี S&P 500 ที่อยู่ในระดับต่ำราว 14 เท่า ส่งผล Fund Flow ไหลเข้าตลาดหุ้นต่อเนื่อง หนุนให้ดัชนี S&P500 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากราว 700 จุด ถึง 2000 จุด อย่างไรก็ตามปัจจุบันดัชนี S&P 500 อยู่ที่ 2830 จุด (ระดับใกล้เคียงกับจุดสูงสุด 3000 จุด) และมีค่า P/E ที่ 19.5 เท่า (สูงกว่าตอนประกาศใช้ QE มาก)
ดังนั้นเม็ดเงินที่อัดฉีดเพิ่มเข้าไปในตลาดตราสารหนี้ในตอนนี้ แสดงให้เห็นถึงความกังวลต่อเหตุการณ์ที่ยังไม่แน่นอน เช่น ประเด็น Brexit และสงครามทางการค้าจีนสหรัฐฯ เป็นอีกหนึ่งแรงจูงใจผลักดันให้ราคาตราสารหนี้มีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น กดดัน Bond Yield สหรัฐฯยังมีโอกาสลดลงต่อเนื่อง รวมถึงแรงจูงใจในการลงทุนในตลาดหุ้นลดลงมากเมื่อเทียบกับในอดีต
Earning Season …เน้นลงทุนเป็นรายหุ้น ชอบ MAJOR CK
เข้าสู่ช่วงการรายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนงวด 3Q62 วันศุกร์ที่ผ่านมากลุ่มธนาคารพาณิชย์ นำโดย TISCO(switch FV’63@B 91) ผลกำไรสุทธิ 3Q62 เท่ากับ 1,878 ล้านบาท เติบโต 4.4% qoq (3.5% YoY) หนุนจากรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมสุทธิ สูงขึ้น 74% qoq และรายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิ บวก 2.9% qoq ทดแทนได้กับรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ ที่ทรงตัวจากงวด 2Q62 กำไรสุทธิ 9M62 บวก 2.2% yoy เท่ากับ 5,405 ล้านบาท และคิดเป็นสัดส่วน 72% ของประมาณการทั้งปี ขณะที่แนวโน้มกำไรสุทธิ 4Q62 หากพิจารณาผลประกอบการ 2 ปีย้อนหลัง พบว่าอ่อนตัว QoQ  ประกอบกับสินเชื่อสุทธิ ณ 30 ก.ย. 62 ทรงตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนและ YTD ถือได้ว่าต่ำกว่าเป้าหมายทั้งปี 2562 ที่ฝ่ายวิจัยประเมินสินเชื่อสุทธิเติบโต 7% yoy ไว้ค่อนข้างมาก โดยรวมทำให้ฝ่ายวิจัยมีโอกาสทบทวนประมาณการหลังการประชุมนักวิเคราะห์ในวันนี้
ส่วน ธ.พ. อื่นๆ จะทยอยประกาศตามมา เบื้องต้นเมื่อรวมผลการดำเนินงานของภาคธุรกิจจริง (Real Sector) คาดกำไรรวมตลาดฯ จะฟื้นตัว QoQ เนื่องจากไม่มีแรงกดดันจากการบันทึกค่าใช้จ่ายพนักงาน ตาม พ.ร.บ. แรงงานฉบับใหม่ แต่ปัจจัยแวดล้อมที่ดูไม่ค่อยสดใสนัก จึงยังมีความเสี่ยงจากแรงกดดันจากกลุ่มธนาคารพาณิชย์ และกลุ่มพลังงาน-ปิโตรเคมี ดังที่นำเสนอใน Market Talk 11 ต.ค. 62
กลยุทธ์ลงทุน Selective Buy เพราะหากพิจารณาเป็นรายบริษัท พบว่ายังมีหลายบริษัทที่มี Valuation ที่น่าสนใจ มีกระแสตอบรับเชิงบวก นอกจากนี้ยังมีผลประกอบการในไตรมาส 3 หรือช่วงที่เหลือของปีเติบโตโดดเด่นส่วนทางตลาดฯ เบื้องต้นฝ่ายวิจัยฯ ยังคงชื่นชอบ 5 บริษัทซึ่งอยู่ในพอร์ตจำลอง ASPS ได้แก่ BCH (FV@B21), MAJOR ([email protected]), EA (FV’63@B 56), JWD(FV@B 12.30), ROBINS (FV@B 70) ล่าสุดหุ้นยักษ์ใหญ่อย่าง AWC ได้เข้าคำนวณในดัชนี FTSE ALL-World Index น่าจะช่วยเสริมสร้าง sentiment บวกต่อ ROBINS หลัง Swap เป็น CRC
และวันนี้ฝ่ายวิจัยเพิ่ม CK (FV@B34) เป็น Top pick ในวันนี้ โดยคาดหวังกระแสเชิงบวกจากกลุ่ม CP เซ็นสัญญารถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หนุน backlog ให้ CK แตะ 1 แสนล้านบาท และเมื่อบวกกับส่วนแบ่งกำไรและเงินปันผลจากบริษัทย่อย 3 แห่ง  (TTW, CKP, BEM) จะช่วยหนุนทิศทางธุรกิจดูดีขึ้นมากในปีนี้ ขณะที่ราคาหุ้น CK ยังคง laggard ตลาดฯ อีกทั้งยังมี upside ราว 47.19% จากมูลค่าพื้นฐาน 34 บาท  
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม,
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!