- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 11 October 2019 16:13
- Hits: 1519
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ตัวเลขเศรษฐกิจในประเทศ หลายตัวยังแสดงทิศทางที่เป็นลบ เฉพาะอย่างยิ่งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค แม้รัฐบาลจะออกมาตรการกระตุ้นมาอย่างต่อเนื่อง ภาวะดังกล่าวทำให้เกิดความคาดหมายว่า การประชุม กนง. ในรอบเดือน พ.ย. 62 มีโอกาสที่จะเห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ ไม่มีการปรับพอร์ตจำลอง สำหรับ Top Picks เลือก EA (FV@B56), MAJOR (FV@B 33) และ ROBINS (FV@B 70)
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทยวันวาน …จับสัญญาณวันนี้
วานนี้ ตลาดหุ้นไทยทยอยปรับตัวลงตลอดวันจนเข้าใกล้ 1600 จุด จากสภาวะสงครามการค้าที่คงยืดเยื้อต่อไป และคาดวนตามวัฏจักรแบบเดิม จนสุดท้ายปิดที่ระดับ 1607.50 จุด ลดลง 8.68 จุด (-0.54%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 5.10 หมื่นล้านบาท โดยกลุ่มที่กดดันตลาดหลักๆ คือ กลุ่มพลังงานได้แก่ GPSC(-3.54%) PTT(-2.73%) TOP(-0.36%) GULF(-0.62%) กลุ่มธ.พ.เช่น BBL(-1.19%) KBANK(-1.00%) SCB(-0.87%) และกลุ่มอาหารอย่างเช่น TU(-1.91%) MINT(-3.40%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่บางตัวอย่างเช่น SCC(-3.38%) และBDMS(-0.43%) เป็นต้น
ประเด็นที่นักลงทุนให้ความสนใจด้านเศรษฐกิจในประเทศมีอยู่ 2 เรื่องหลักคือ ทิศทางของค่าเงินบาท และ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในเชิงกลไกอาจมองว่าทั้ง 2 เรื่องนี้มีความเกี่ยวโยงในทิศทางเดียวกันคือ หากทิศทางดอกเบี้ยอยู่ในขาขึ้น เงินบาทก็ควรมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น และหากดอกเบี้ยลดต่ำลง เงินบาทก็ควรอ่อนค่า แต่ภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน ดูเหมือนทั้ง 2 เรื่องไม่ได้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันเหมือนในอดีต โดยพบว่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่อง ทั้งที่อัตราดอกเบี้ยก็อยู่ในระดับที่ต่ำ ซึ่งต้นตอหลักมาจากมีเม็ดเงินไหลเข้าเพิ่มขึ้นผ่านช่องทางหลักคือการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด การแก้ปัญหาเงินบาทแข็งค่าเกินไปจึงต้องใช้กลไกอย่างอื่นช่วย โดยมีเป้าหมายเพื่อชะลอความต้องการซื้อเงินบาท ไม่ว่าจะเป็นการให้ผู้ส่งออกสามารถพักเงินในสกลุต่างประเทศได้นานขึ้น การกระตุ้นให้ทั้งรัฐและเอกชน ลงทุนสร้าง Infrastructure ด้านเทคโนโลยีซึ่งต้องนำเข้าสินค้าทุน รวมถึง การเข้าไปดูแลเรื่องการส่งออก ทองคำ เป็นต้น อย่างไรก็ตามภาวะการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกิดขึ้นในรอบนี้ มีความแปลกจากภาวะปกติตรงที่ เป็นการเกินดุลาภายใต้ภาวะที่ทั้งยอดนำเข้า และส่งออก ปรับตัวลดลงทั้งคู่ การแก้ปัญหาจึงต้องมีความซับซ้อนมากขึ้น ส่วนอีกเรื่องหนึ่งคือทิศทางอัตราดอกเบี้ย เชื่อว่าจะถูกใช้เป็นกลไกในการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม หลังปรากฎสัญญาณที่บ่งชี้ว่า มาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลผลักดันออกมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ยังไม่สามารถทำงานได้อย่างได้ผลเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการบริโภค ซึ่งถูกสะท้อนผ่านดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ภาวะดังกล่าวทำให้มีโอกาสที่จะเห็นการใช้นโยบายการเงินเข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการปรับลดอัตราดอกเบี้ย สำหรับทิศทางของ SET Index วันนี้คาดว่าจะยังผันผวน แต่มีทิศทางที่ดีขึ้น หลังเกิดความคาดหวังเชิงบวกขึ้นมาจากบรรยากาศการเจรจาการค้า สหรัฐฯ-จีน กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ ไม่มีการปรับพอร์ตการลงทุน ส่วนหุ้น Top Picks ยังคงเป็น EA, MAJOR และ ROBINS
ต่างประเทศให้น้ำหนักเจาจาการค้า, GDP growth จีน 3Q62, รายงาน IMF
ต่างประเทศวันนี้ 10-11 ต.ค. 2562 ให้น้ำหนักการเจรจาการค้าสหรัฐ-จีนจะเป็นไปในทิศทางใด ซึ่งจะมีผลในสัปดาห์หน้าคือ 15 ต.ค. 2562 สหรัฐจะมีกำหนดขึ้นขึ้นอัตราภาษีสินค้านำเข้าจากจีนกับสินค้า เป็น 30% จาก 25% ใน 3 รอบแรกวงเงินสินค้านำเข้า 2.5 แสนล้านเหรียญฯ
โดยระยะกลางถึงยาว ASPS ยังคงมุมมองเดิมคือ คาดสงครามการค้ามีโอกาสยืดเยื้อไปจนถึงช่วงปลายปี 2563 เป็นอย่างน้อย ซึ่งเป็นช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ โดยระหว่างนี้ตลาดจะเผชิญ วงจรสงครามการค้า ที่เกิดซ้ำๆ ดังที่เคยนำเสนอมาตลอด คือ 1.สหรัฐขุ่จะขึ้นภาษีนำเข้า 2.ส่งคณะผู้แทนมาเจรจา 3.ผ่อนคลาย 4.วันขึ้นภาษีเข้าจะประกาศขึ้นจริงๆ
ขณะที่ปัจจัยสำคัญในสัปดาห์หน้าได้แก่ให้น้ำหนัก 15 ต.ค. แถลงข่าวประมาณการเศรษฐกิจโลกของ IMF โดยในครั้งนี้อาจมีการปรับลดประมาณการ GDP Growth โลกลงอีก ภายหลังจากปรับลดมาแล้ว 3 ครั้งในปีนี้ ซึ่งล่าสุด IMF คาด GDP Growth โลกปี 2562 ที่ 3.2%yoyและปี 2563 ที่ 3.5%yoy 17-18 ต.ค. 2562 ให้น้ำหนักการประชุม EU Summit ซึ่งนับเป็นการประชุมร่วมกันระหว่างยุโรปและอังกฤษ ก่อนที่อังกฤษจะถอนตัวออกจากยุโรป (Brexit) ในวันที่ 31 ต.ค. 2562 ASPS คาดว่า อังกฤษมีโอกาสเลื่อนวันถอนตัว (Brexit Day) ออกไปเป็นวันที่ 31 ม.ค. 2563 ได้ หากการเจรจายังล่าช้า 18 ต.ค. 2562 รายงาน GDP Growth จีนงวด 3Q62 ตลาดคาดว่า 6.1%yoy จาก 6.2% ในงวด 2Q62 และ 6.4% ใน 1Q62 จากผลกระทบของสงครามการค้าซึ่งหาก GDP Growth ชะลอลงต่ำกว่าคาด อาจเพิ่มแรงกดดันให้จีนดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้นอีก
ธปท. เตรียมออกมาตรการชะลอแข็งค่าเงินบาท และดอกเบี้ยนโยบายมีโอกาสลดอีก
ASPS เข้าร่วมการประชุม Analyst meeting ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) พบว่ามีประเด็นสำคัญ 2 ประเด็นที่ ธปท.ได้ส่งสัญญาณต่อตลาดเงินและตลาดทุน ดังนี้
1.ปัญหาเงินบาทแข็งค่าของราว 7.1%นับตั้งแต่ต้นปี แข็งค่ามากสุดในภูมิภาค เมื่อเทียบกับสกุลอื่นๆ ในภูมิภาคที่อ่อนค่า มุมมองของ ธปท.สอดคล้อง ASPS ที่นำเสนอมาตลอด ถึงสาเหตุที่เงินบาทแข็งค่าคือ
สถานะการเงินไทยแข็งแกร่ง เห็นได้จากเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ล่าสุด อยู่ที่ 2.2 แสนล้านเหรียญฯเพิ่มขึ้น 10 เท่าจากปี 2540 และที่สำคัญคือ ไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดติดต่อกัน 6 ปี ล่าสุด 8M62 อยู่ที่ 2.5 หมื่นล้านเหรียญฯ(เกินดุลการค้า(X – M) , เกินดุลบริการ คือ รายได้จากภาคการท่องยังเพิ่มขึ้น) ทำให้ต่างชาติมองไทยเป็น Safe heaven และมี Fund flowบางส่วนเข้ามาเก็งกำไร
***** แต่เป็นที่สังเกตุว่าต้นตอการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2562 แตกต่างจาก 2-3 ปีก่อนหน้า กล่าวคือ 8M62 เกิดจากส่งออกลดลง แต่การนำเข้าลดลงมากกว่า เนื่องจากเอกชนชะลอการลงทุน ทำให้ดุลบัญชียังเป็นบวกเดินสะพัดเป็น(+) เทียบกับปี 2559 -2560 ไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัด(+)เหมือนกัน แต่มาจากส่งออกเพิ่มขึ้นมากกว่า การนำเข้าที่เพิ่มขึ้น จากเศรษฐกิจโลกและไทยที่ยังที่ขยายตัว
ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น และมีแนวโน้มทรงตัวระดับสูงบริเวณ 1500 เหรียญฯ จากความไม่แน่นอนต่างประเทศ ทั้งสงครามการค้า และความไม่แน่นอนของ Brexit ส่งผลให้เงินทุนมีแนวโน้มไหลเข้าสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven) คือ ทองคำมากขึ้น ทำให้มีส่งออกทองคำมากขึ้นตาม ทำให้มีความต้องการแลกเงินบาทเพิ่มขึ้น
ทำให้ช่วง ก.ค. 2562 ได้ออก 3 มาตรการ เพื่อชะลอการแข็งค่าของเงินบาทในลักษณะควบคุมเงินไหลเข้า(Inflow) อาทิ ลดยอดคงค้างบัญชีเงินฝากสกุลบาทของต่างชาติ เหลือ 200 ล้านบาท/บัญชี เป็นต้น ซึ่งทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าในช่วงสั้นเท่านั้น โดยปัจจุบันเงินบาทแข็งค่ากว่าก่อนออกมาตรการในช่วงดังกล่าว อย่างไรก็ตามในรอบนี้ ธปท. เตรียมออกมาตรการเพื่อชะลอการแข็งค่าของเงินบาทอีกครั้ง 1-2 เดือนข้างหน้า ผ่านการสนับสนุนให้มีเงินทุนไหล (Outflow) อาทิ ออกมาตรการสนับสนุนสามารถเงินต่างประเทศ เพื่อให้ไม่ต้องเร่งการแปลงค่าเงินกับมาเป็นสกุลบาทเร็ว เป็นต้น (ดังรูป)
2. แนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายมีโอกาสปรับลดลง และอาจจะต่ำกว่า 1.25% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในประวัติศาสตร์ และเป็นระดับ Bottom ที่ตลาดคาดว่าจะไม่ต่ำกว่านี้ แม้ ธปท.ไม่ได้ส่งสัญญาณจะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงปลายปี 2562 ชัดเจน แต่จากการแสดงความเห็นของ ธปท. เมื่อวานนี้ ASPS เชื่อมั่นว่า กนง.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เหลือ 1.5% ในการประชุมที่เหลืออีก 2 ครั้ง คือ 6 พ.ย. และ 18 ธ.ค. โดยประเด็นสำคัญคือ ที่ ธปท. เน้นย้ำจะผ่อนคลายทางการเงิน ขึ้นกับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี 2562 และปี 2563 เป็นหลัก (ASPS คาดเศรษฐกิจไทยชะลอตัวชัดเจน 2H62 และทั้งปี 2563 จากการเบิกจ่ายงบประมาณช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี จะเกิดสุญญากาศในส่วนของงบลงทุนที่ยังไม่ก่อหนี้ผูกพัน, ภาคการส่งออกที่มีแนวโน้มยังไม่ฟื้นตัวจากสงครามการค้าที่ยังยืดเยื้อไปจนถึงปลายปี 2563 เป็นอย่างน้อย ฯลฯ)
โดยรวมสรุปประเด็น 1.) ค่าเงินบาท ASPS เชื่อว่า ธปท. จะมุ่งไปที่การออกมาตรการ Non –Interest มากขึ้น โดยมาตรชะลอการแข็งค่าเงินของ ธปท. ที่จะออกมา 1-2 เดือนข้างหน้า ASPS คาดว่าน่าจะช่วยเงินบาทให้อ่อนค่าระยะสั้นเท่านั้น แต่ระยะยาวคาดยังมีโอกาสทรงตัวและแข็งค่า โดยคาดว่า มาตรการ Non –Interest ที่รุนแรงมากกว่า เหลืองอ่อนลงมา (ดังรูป) ถึงจะเพียงพอหยุดการแข็งค่าของเงินบาท 2.) การลดดอกเบี้ยนโยบายในอนาคต เชื่อว่า ธปท. พิจารณาเพียงแนวโน้มเศรษฐกิจเป็นหลักๆ เท่านั้น
ดัชนี CCI ลดลง 7 เดือน แนะนำซื้อหุ้น ที่มีปัยจัยเฉพาะ CPALL, BJC, ROBINS
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) เดือน ก.ย.62 อยู่ที่ 72.2 จุด ลดลง1.9% mom และลดลง 7 เดือนติดต่อกัน เนื่องจากจากแรงกดดันปัญหาน้ำท่วม, ราคาสินค้าเกษตรยังต่ำ กระทบกำลังซื้อครัวเรือน เป็นต้น ทั้งนี้ดัชนี CCI ป็นดัชนีชี้นำ(leading Indicator) ยอดขายสาขาเดิม (SSSG) ช่วง 3-6 เดือนถัดไป ยังมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง จึงเชื่อว่าอาจเริ่มเห็นความเสี่ยงต่อ SSSG ของกลุ่มค้าปลีก-ค้าส่ง
ASPS คาด SSSG กลุ่มค้าปลีกในงวด 3Q62 คาดเติบโต 1% ต่ำกว่างวด 1H62 ที่ 2.9% โดยหลักๆ ถูกดดันจากบรรยากาศการจับจ่ายใช้สอยที่ชะลอตัวลง ขณะที่งวด 4Q62 อานิสงส์มาตรกระตุ้นเศรษฐกิจชิมช้อปใช้ (แจกเงิน 1 พันบาท/คน รวม 10 ล้านคน) คาดบวกไม่มากต่อร้านค้าโมเดิร์น เทรด จากสัดส่วนตัวเลขร้านค้าที่เข้าร่วมซึ่งคิดเป็นเพียง 9% ของสาขาทั้งหมด โดยรวมทำให้คาด SSSG ปี 2562 ของกลุ่มฯ มีความเสี่ยงจะต่ำกว่าสมมติฐานที่ 2.6% (เพิ่มขึ้นจาก 1.4% ในปี 2561) โดยยังประเมินกำไรกลุ่มฯปี 2562 เติบโต 7.5% และเพิ่มเป็น 15.9% ปี 2563
โดยรวม คำแนะนำลงทุนหุ้นกลุ่มค้าปลีก คือ เท่าตลาด” แนะนำเลือกหุ้นที่มีปัจจัยหนุนเฉพาะตัว CPALL(FV@B88) และ BJC (FV@B61) เป็น Top picks เช่นเดียวกับ ROBINS (FV@B70) แนะนำ ซื้อ จากที่สามารถคาดหวังผลตอบแทนราว 2.3% จนกว่าจะถึงช่วง Swap หุ้นกับ CRC ใน 1Q63 โดยยังไม่รวมถึงผลตอบแทนที่อาจได้จากหุ้น CRC
แม้ภาพรวมกำไร 3Q62 ไม่สดใส แต่ยังมีหุ้น Domestic ให้น่าช้อปอยู่
ฝ่ายวิจัย ASPS ประเมินกำไรบริษัทจดทะเบียนรวมทั้งปี 2562 อยู่ที่ 9.99 แสนล้านบาท โดยในครึ่งปีแรกทำกำไรไปแล้ว 4.82 แสนล้านบาท และหากจะให้กำไรตลาดวิ่งไปถึงที่คาดการณ์ในช่วง 2H62 บริษัทจดทะเบียนจะต้องมีกำไรทั้งสิ้น 5.18 แสนล้านบาท แบ่งเป็นงวดไตรมาส( 3Q62 และ 4Q62) ไตรมาสละ 2.59 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตามมีความเสี่ยงจากกลุ่มธนาคารพาณิชย์ และกลุ่มพลังงาน-ปิโตรเคมี ซึ่งมีสัดส่วนกำไรรวมกันสูงเกินครึ่งหนึ่งของทั้งหมด อยู่ที่ 57% มีรายละเอียดกดดันแต่ละ Sector ดังนี้
กลุ่ม ธ.พ. มีสัดส่วนกำไร 21.76% ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด โดยคาดกำไรสุทธิงวด 3Q62 หลักๆได้แรงหนุนเฉพาะ SCB ที่มีการบันทึกการขายเงินลงทุนใน SCBLife แต่ภาพรวมในงวด 4Q62 มีโอกาสอ่อนตัวจากค่าใช้จ่ายตามฤดูกาลที่สูงขึ้น และรับผลกระทบจากการปรับดอกเบี้ยเงินกู้เต็มไตรมาส (ทั้งนี้อยู่ในสมมติฐานที่ว่า ธ.พ. ไม่ได้มีการปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากลงตาม) รวมถึงยังมีความเสี่ยงเพิ่มเติม หากกนง. มีการประกาศลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมในช่วงที่เหลือของปี
กลุ่มพลังงาน-ปิโตรเคมี มีสัดส่วนกำไรรวมกัน 35.6% ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด และงวด 3Q62 คาดค่าการกลั่นฟื้นตัวขึ้น แต่ยังถูกกดดันจากการบันทึกขาดทุนสต๊อกน้ำมันและ Spread ปิโตรฯ อ่อนตัว อย่างไรก็ตามกำไรจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นในงวด 4Q62 รับผลบวกจากค่าการกลั่นที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากกฎหมายใหม่ IMO กำหนดให้เรือขนส่งสินค้าต้องใช้น้ำมันที่ปล่อยซัลเฟอร์ไม่เกิน 0.5% ในส่วนของ Spread ปิโตรฯ คาดทรงตัว ไม่น่าจะมีขาดทุนสต๊อกน้ำมัน
ขณะที่ปัจจัยแวดล้อมภายนอกไม่สู้ดี จนกระทบต่อประมาณการณ์กำไรกลุ่ม ก็อาจจะมีโอกาสเห็น Downside ของกำไรตลาดได้เช่นกัน
แม้ภาพรวมผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนในช่วง 3Q62 จะดูไม่ค่อยสดใสนัก ด้วยหลากหลายปัจจัยกดดันที่เข้ามากระทบผลประกอบการใน Sector ขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามหากพิจารณาเป็นรายบริษัท พบว่ายังมีหลายบริษัทที่มี Valuation ที่น่าสนใจ รวมถึงผลประกอบการในไตรมาสที่ 3 หรือช่วงที่เหลือของปียังเติบโตได้ดี ดังนั้นกลยุทธ์เน้น Selective Buy หุ้น Domestic หลบความไม่แน่นอนจากปัจจัยภายนอก และคาดว่ามีกำไรงวด 3Q62 โดดเด่นส่วนทางตลาดฯ เบื้องต้นฝ่ายวิจัยฯคัดสรรมาให้ 4 บริษัทที่น่าสนใจลงทุน ดังนี้
BCH (FV@B21) มี Outlook ที่ดีใน 2H62 และโดดเด่นเป็นลำดับต้นๆ ของหุ้นในกลุ่มโรงพยาบาล ทั้งจากแนวโน้มผลประกอบการจะกลับมาเติบโตในระดับ 8-12% ได้อีกครั้ง หลังงวด 2Q62 เติบโตต่ำจนทำให้ราคาหุ้นย่อตัวลงมามากเกินไป และเตรียมรับข่าวบวกจากโอกาสการปรับเพิ่มค่าบริการของประกันสังคมที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการฯ โดย BCH จะได้รับประโยชน์มากสุดเนื่องจากเป็นกลุ่ม รพ. เอกชนที่มีจำนวนผู้ประกันสูงสุดในระบบ
MAJOR ([email protected]) ราคาหุ้นในช่วงที่ผ่านมาปรับตัวลดลงมากเกินไป จน Upside เปิดกว้างเกิน 40% และคาดหวัง Dividend Yield ได้สูงสุดในกลุ่มบันเทิงถึง 5.5% ต่อปี ขณะที่ปัจจัยพื้นฐานงวด 3Q62 และต่อเนื่องไปใน 4Q62 กำไรปกติจะเติบโตอย่างแข็งแกร่ง จากหน้าหนังทั้งไทยและต่างประเทศที่ดีกว่าปีก่อน และคาดว่าจะทำรายได้สูง เช่นหนังเรื่อง The Joker, Maleficent 2, Terminator, Frozen 2, Star Wars ส่วนหนังไทยที่น่าสนใจ เช่น ขุนแผนฟ้าฟื้น (นำแสดงโดย มาริโอ้ เมาเร่อ), บอดี้การ์ดหน้าหัก นอกจากนี้ล่าสุด MAJOR ได้เข้าร่วมโครงการ ชิม ช้อป ใช้ โดยสามารถใช้จ่ายผ่าน App “เป๋าตัง” ตามเงื่อนไขโครงการในโรงหนัง 13 สาขาในกรุงเทพ , บลูโอ ริธึม แอนด์ โบว์ล 5 สาขา และซับซีโร่ 1 สาขา
ROBINS (FV’62@B 70) ได้อานิสงค์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ชิมช้อปใช้ เฟส 1-2 อีกทั้งยังมีโอกาสได้ Swap เป็นหุ้นที่มี Market Cap ขนาดใหญ่พร้อมด้วยฐานธุรกิจที่มั่นคงอย่าง CRC ในราคา Discount กว่าราคา Tender Offer ที่ 66.5 บาท
EA (FV’63@B 56) ฝ่ายวิจัยประเมินมูลค่าพื้นฐาน ณ สิ้นปี 2563 ที่ 56 บาท ส่วนปัจจัยหนุนคาดกำไร 2H62 เติบโตมีนัยฯจาก 1H62 โดยคาดกำไรสุทธิ 3Q62 เท่ากับ 1.5 พันล้านบาท เติบโต 7.2%qoq ผลจากกำไรปกติที่เพิ่มขึ้น 15.1%qoq จากธุรกิจไฟฟ้าพลังลม (รวม 385 MW) ได้ผลบวกจากฤดูมรสุม และการรับรู้โรงไฟฟ้าลมหนุมานเต็มไตรมาส ขณะที่แนวโน้มกำไรปกติ 4Q62 คาดเติบโตต่อจาก 3Q62 ทำระดับสูงสุดของปี หนุนหลักจากโรงไฟฟ้าโซลาร์ซึ่งมีอัตรากำไรขั้นต้นเฉลี่ย 80% จะกลับมาผลิตไฟได้สูงขึ้นตามฤดูกาลหลังหมดฤดูฝน นอกจากนี้ยังได้ผลบวกจากธุรกิจไบโอดีเซลที่คาดทั้งปริมาณและราคาขาย B100 จะเพิ่มขึ้นตามฤดูกาลในช่วงปลายปี
Valuation หุ้น Domestic เติบโตเด่นให้น่าช้อป
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม,
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ