- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 20 May 2014 15:54
- Hits: 3722
บล.บัวหลวง : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
สรุปภาพตลาด
ผันผวน
วันนี้คาด ผันผวน แนวรับ 1,390 +/-5จุด ต้าน 1,414 จุด (คงคาดฟอร์มรูปแบบ Triple top เด้งก่อนเพื่อลง)
เล่นรอบสัปดาห์นี้ คาดผันผวนสูงตามการเมืองในประเทศ มีโอกาสขึ้นทะลุแนวต้าน 1,410 จุด แต่ถ้าไม่มี High ใหม่ที่เกิน 1,426 จุด ระวังการปรับฐาน (รูปแบบ Triple top) กลยุทธ์แนะ Hit and run ขึ้นขาย/ตีหัวเข้าบ้าน ปลอดภัยไว้ก่อน (ถ้าผิดคาด ขึ้นต่อ ค่อยมาหาหุ้นซื้อ)
รายเดือน พ.ค.ดัชนีฯไม่สามารถขึ้นทดสอบแนวต้าน 1,440/1,450 จุด ได้ในช่วงครึ่งแรกเดือน พค. ส่งผลให้โมเมนตั้ม ที่เหลือของเดือนอ่อนแอลง และอาจมีการปรับฐานสลับตามมา (เดือนนี้คาดยังไม่ลึก-มองแนวรับแถว 1,380/1,370 จุด)
หุ้นแนะนำ เทคนิคคอลเกิดสัญญาณซื้อ AJD (แนวรับ/Stop loss 2.84/2.80 บ. ต้าน 3-3.20 บ.), รายได้อิง ตปท. PSL
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดฯ
(*) กองทัพฯประกาศกฎอัยการศึก : ในอดีตไทยมีการใช้อัยการศึก ตามหลังการปฏิวัติปี 1991, 2006 และใช้ในช่วงปี 2007 ตอนแก้ รธน.ปี50 และ ปี 2010 ในบางพื้นที่ช่วงม็อบเสื้อแดง / คาดผลกระทบคราวนี้หุ้นไทยไม่ลงแรงทันที (แต่ควรมีจุด Stop loss 1,370/1,380 จุด) เพราะ
1) ดัชนีหุ้นไทยเคลื่อนไหวช่วงประกาศกฎอัยการศึกปี 1991 หุ้นลง 5%ทันที และลงต่ำสุด -30% แต่ช่วงนั้นมีสถานการณ์สงคราวอ่าวเปอร์เซีย, ส่วนปี 2006 หุ้นขึ้น 5% และปี 2007 เป็นปีที่ตลาดหุ้นไทยขึ้นแรง ตามหุ้นโลกก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐฯปี 2008 และปี 2010 หุ้นผันผวน ในกรอบ บวก/ลบ 10.5-12.9% (สุทธิแล้วลบแค่ -2.4%)
2) คาดแรงขายจาก นลท.ต่างชาติ มีจำกัด ขณะที่ปีก่อนเงินร้อนมีการปรับพอร์ตไปก่อนหน้า ส่วนกองทุนที่ติดข้อจำกัดแม้จะขายออก แต่คาด นลท.ในประเทศและกองฯที่ไม่ติดข้อจำกัดจะเข้าซื้อเมื่อราคาปรับลง
ผลกระทบ ลบโดยตรง กลุ่มโรงแรม ห้างสรรพสินค้า สายการบิน นิคมอุตสาหกรรม, โฆษณา, ทีวี หุ้นบวก ส่งออก อาหาร (บาทอ่อน) / ปิโตรฯ เดินเรือ (รายได้อิง ตปท.)
(+) คาดวุฒิสภาฯ แถลงแผนแก้วิกฤตการเมือง ภายใน พุธ-พฤหัสนี้ หลังหารือกับ ครม.รักษาการ (ยังยืนยันไม่ลาออก)
(-) สัญญาณเตือนตลาดหุ้น fund flows เริ่มไหลเข้าตลาดพันธบัตรสหรัฐฯอย่างรวดเร็ว เหมือนกลางปีที่แล้ว
(-) วานนี้สภาพัฒน์รายงาน GDP 1Q14F พลิก -0.6% (VS คาด -0.5% จาก +0.6% y-y) เศรษฐกิจไทยอาจเกิด Technical recession (GDP ติดลบ 1Q-2Q14F) ธปท.คาด GDP 2014F มีแนวโน้มปรับลดในการประชุม 18 มิ.ย.
(*) Opportunity day: 20 พ.ค. ERW SAWAD SYMC BANPU / 21 พ.ค. SPCG PTTGC PTTEP TOP 22 พ.ค. NWR NUSA CPN PF AMATA NCH / 26 พ.ค. OFM BCP ROBINS MC DCC TKS
(+) ตัวเลขเศรษฐกิจสัปดาห์นี้ ยุโรปอ่อนแอลง (หวังออกมาตรการ EU-QE): อังคารสิงคโปร์ GDP 1Q14 คาด +5.4% จาก 5.1% y-y, วันพุธ รายงานการประชุมเฟด, BOJ และ BOE, ยุโรป Consumer confidence คาด -8.2, วันพฤหัส EU PMI composite คาด 53.9 จาก 54, EU PMI mfg-service คาด 53.2-53 (จาก 53.4-53.1), จีน HSBC PMI คาด 48.3 จาก 48.1, วันศุกร์ เยอรมนี ifo (business climate) 110.9 จาก 111.2
Investment theme :
ตอนตลาดขาลงแนะ ยืมหุ้น Short : เน้นกลุ่มที่ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีฯตลอด 4 เดือนที่ผ่านมา แบงก์ บ้าน สื่อสารฯ โรงพยาบาล มีโอกาสโดนล็อกกำไร ลงแรงกว่าตลาด
Events play : หุ้นมี Story Turnaround ของปีนี้ EFORL RML EVER PSL (TTA) CFRESH CPF
MSCI ใหม่มีผลสิ้นเดือน หุ้นใหญ่ +BH หุ้นกลาง +BJCHI MEGA NYT TTCL / ถอด GSTEL GRAMMY SITHAI TUF UMI, เพิ่มน้ำหนัก TRUE, ปรับน้ำหนักลง IVL SCC KBANK SCB, มีผล 30 พ.ค.
นักวิเคราะห์ : วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อตลาด
ค่าเงินยูโรอ่อนเทียบดอลลาร์สหรัฐเก็ง ECB ลดอัตราดอกเบี้ย
อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินยูโรอ่อนเทียบดอลลาร์สหรัฐมากสุดในรอบ 3 เดือนก่อนที่ประธาน ECB จะแถลงการณ์ในแฟรงค์เฟริ์ต เยอรมัน โดยนักค้าเงินเก็ง ECB จะลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมรอบหน้าวันที่ 5 มิ.ย ขณะที่การเปิดเผยบันทึกการประชุมของ US FOMC นักลงทุนกำลังจบตาสมาชิกของ FOMC ประเมินมุมมองด้านนโยบายอัตราดอกเบี้ยสหรัฐนั้นเป็นอย่างไร โดยนักลงทุนส่วนใหญ่คาดว่า Fed จะเริ่มทยอยปรับอัตราดอกเบี้ย Fed fund ขึ้นใน 6 เดือนแรกของปี 2558 (Bloomberg)
GDP สิงคโปร์ ไตรมาสแรกโตเกินคาด
ทางการสิงคโปร์ประกาศตัวเลขเศรษฐกิจ GDP ไตรมาสแรกโต 4.9% เทียบกับไตรมาส 4/56 โต 4.9% เทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน โดยได้แรงหนุนจากการค้ากับประเทศเศรษฐกิจใหญ่คือ สหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น ที่มีความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น (Bloomberg)
จีดีพีไตรมาส 1 หด 0.6% สภาพัฒน์ฯหั่นเป้าทั้งปีเหลือแค่ 1.5-2.5 %
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงตัวเลข GDP ไตรมาสแรกของปี 2557 ติดลบ 0.6% มีสาเหตุมาจากปัจจัยภายในประเทศ ทั้งการใช้จ่ายภาคครัวเรือนลดลง 3% และการลงทุนรวมที่ลดลง 9.8% จากปัญหาทางการเมือง ส่งผลให้ สศช.ต้องปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปี 2557 ลงเหลือเพียง 1.5-2.5% เพราะเห็นว่าการฟื้นตัวในช่วงที่เหลือของปียังมีข้อจำกัดจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ และมีแนวโน้มที่การจัดตั้งรัฐบาลต้องล่าช้าออกไปจากเดิมที่คาดการณ์ไว้ (หนังสือพิมพ์ข่าวสด)
พาณิชย์ยันเป้าส่งออก 5%
นางอัมพวัน พิชาลัย ที่ปรึกษากระทรวงพาณิชย์ กล่าวในการประชุมทูตพาณิชย์จาก 64 ประเทศทั่วโลก เมื่อวันที่ 19 พ.ค.ที่ผ่านมา ว่า มั่นใจการส่งออกของไทยปีนี้ยังคงขยายตัวได้ จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัวอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในตลาดหลัก คือ สหรัฐ กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น รวมถึงอาเซียน ซึ่งจะทำให้การส่งออกมีแรงช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยปีนี้ให้ขยายตัวได้ในช่วงที่การเมืองยังคงยืดเยื้อได้ ส่วนทางด้านทูตพาณิชย์ที่มาร่วมประเมินสถานการณ์นั้น ส่วนใหญ่ยังคงเป้าหมายการส่งออกไว้เหมือนเดิมคือ 5% และคาดว่าจะขยายตัวเป็นบวก แม้แต่ประเทศที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างจีน (หนังสือพิมพ์ข่าวสด)
คาดแนวโน้มตลาด 'ยาง' ผลผลิตล้น-ราคาดิ่งต่อ
นายจุมพล สงวนสิน อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผย ว่า ปัจจุบันสหกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับยางพารามีจำนวน 723 แห่ง ใน 54 จังหวัด สามารถรวบรวมยางได้มากถึง 726,245 ตัน มูลค่าประมาณ 71,000 ล้านบาท คิดเป็น 30% ของการผลิตยางทั้งประเทศ อย่างไรก็ตามสหกรณ์ที่มีการพัฒนาเพื่อแปรรูปยางจนได้มาตรฐานเพื่อส่งออกได้มีเพียง 3 แห่งเท่านั้น ทำให้ราคายางที่เกษตรกรได้รับยังมีมูลค่าไม่สูงมาก ในขณะเดียวกันแนวโน้มราคายางในอนาคตคาดว่าจะปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะผลผลิตยางที่ออกสู่ตลาดในโลกขยายตัวมากกว่าความต้องการใช้ (หนังสือพิมพ์มติชน)
นักวิเคราะห์ : ชัยพร น้อมพิทักษ์เจริญ Tel. (662) 618-1330-1