- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 17 September 2019 16:23
- Hits: 2972
INDUSTRY UPDATE: Bank Sector : บล.เคจีไอ
Bank Sector
Overweight
การชี้แจงของธปท. เป็นบวกกับกลุ่มธนาคารเพราะทำให้ทราบกรอบเวลา และวิธีการบันทึกบัญชีสำรองส่วนเกินที่ชัดเจน เราคิดว่าจะต้องมีสำรองส่วนเกินที่ถูกปลดออกมาเป็นรายได้ผ่านงบ P/L ไม่มากก็น้อย และทำให้มั่นใจได้ว่า คชจ.สำรองฯ (credit cost) ในปีหน้าจะอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้และไม่ผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจมากเกินไป ทั้งนี้ เนื่องจากธนาคารต่างๆ มีเงินกองทุนแข็งแกร่ง เราจึงยังคงให้น้ำหนักกลุ่มธนาคารที่ Overweight โดยในกลุ่มนี้ เราชอบ 3 ธนาคารใหญ่และ TCAP
แบงก์มี upside จากเกณฑ์ใหม่ IFRS9
Event
BoT จัดประชุมเพื่อชี้แจงเกี่ยวกับเกณฑ์ใหม่ TFRS9
lmpact
เกณฑ์ TFRS9 ใหม่จะมีผลบังคับใช้ในปี 2563
ก่อนที่เกณฑ์ใหม่ TFRS9 จะมีผลบังคับใช้ในปี 2563 ธปท. ได้จัดประชุมเพื่อชี้แจงในประเด็นสำคัญเกี่ยวกับเกณฑ์ใหม่นี้ ซึ่งได้แก่ 1.) สถาบันการเงิน (ธนาคารพาณิชย์, ธนาคารต่างประเทศ, บริษัทเงินทุน (finco) ถูกกำหนดให้กันเงินกองทุน Tier 1 ขึ้นอีก 1% ของ สินทรัพย์เสี่ยงถ่วงน้ำหนัก (ซึ่งรวมยอดสินเชื่อคงค้างในปัจจุบัน, สินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (SML), และรายการนอกงบดุล) 2.) ธปท. อนุญาตให้สถาบันการเงินใช้สำรองส่วนเกินเป็นเงินกองทุนขั้นที่สอง (Tier II) ได้ไม่เกิน 1.25% RWA 3.) สถาบันการเงินต้องรับรู้เงินสำรองส่วนเกินออกมาเป็นรายได้ที่สุทธิจากค่าใช้จ่ายสำรองใหม่ผ่านงบกำไรขาดทุน ภายในห้าปี
ธนาคารพาณชิน์ที่จดทะเบียนในตลาดทุกแห่งมีสำรองเกินกว่าข้อกำหนดข้างต้นอย่างมาก
การเพิ่มเงินทุกสำรอง CET1 อีก 1% หมายถึงเงินกองทุนขั้นที่ 1 ตามเกณฑ์ขั้นต่ำ (minใcommon equity Tier 1 หรือCET 1) จะเพิ่มเป็น 9.5% +1%= 10.5% และ CAR จะอยู่ที่ 13% ในปีหน้า ดังนั้น ธนาคารไหนที่มี CET1 เกินเกณฑ์ใหม่อยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องพิ่มเงินกองทุน แต่ธนาคารไหนที่ CET1 ต่ำกว่าเกณฑ์ใหม่ก็ต้องจัดหาเงินกองทุนให้สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำใหม่ภายในสามปี ซึ่งเราพบว่าธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทุกแห่งมี CET1 อยู่ที่ประมาณ 13-16% (figure 1,2) ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของธปท. อย่างมากทำให้ไม่ต้องมีภาระกันเงินกองทุนเพิ่ม
การปล่อยสำรองส่วนเกินออกมาบันทึกเป็นรายได้ เป็นเรื่องที่ประมาณการได้ยาก
ถึงแม้ว่าธนาคารส่วนใหญ่จะมีสำรองส่วนเกินจำนวนมาก แต่ธนาคารก็ไม่อยากรับรู้ออกมาเป็นรายได้บนงบกำไรขาดทุน เพราะต้องเก็บไว้เป็นสำรองพิเศษของการด้อยค่าสินเชื่อภายเศรฐกิจชะลอตัวในอนาคต ทั้งนี้ เนื่องจากเกณฑ์การจัดชั้นหนี้ในปัจจุบันที่แบ่งออกเป็น 5 ระดับและการตั้งสำรองฯถูกกำหนดโดยธปท.เป็นเปอร์เซ็นต์คงที่ในหนี้ในแต่ละชั้น (figure 3) แต่ภายใต้เกณฑ์ใหม่การจัดชั้นจะลดลงเหลือ 3 ระดับ (1. หนี้ปกติ 2. หนี้ที่ต่ำกว่ามาตรฐาน 3. และหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (non-performing loan) การตั้งสำรองจะไม่กำหนดเปอร์เซนต์คงที่โดยเฉพาะหนี้ในชั้นที่ 2 ที่ตั้งสำรองฯจะใช้ดุลยพินิจของข้องสถิติการประเมินสูญเสีญตลอดอายุหนี้แทน ทำให้ธนาคารจัดปันสำรองส่วนเกินเพื่อหนี้ชัดนี้ก่อน ส่วนที่เหลือจึงรับรู้เป็นรายได้ผ่านงบกำไรขาดทุน 5 ปี
Valuation & Action-
การชี้แจงของธปท. เป็นบวกกับกลุ่มธนาคารเพราะทำให้ทราบกรอบเวลา และวิธีการบันทึกบัญชีสำรองส่วนเกินที่ชัดเจน เราคิดว่าจะต้องมีสำรองส่วนเกินที่ถูกปลดออกมาเป็นรายได้ผ่านงบ P/L ไม่มากก็น้อยเพื่อให้มั่นใจว่า credit cost ในปีหน้าจะอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้และไม่ผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจมากเกินไป ทั้งนี้ เนื่องจากธนาคารต่างๆ มีเงินกองทุนแข็งแกร่ง เราคงแนะนำ
Risks
เศรษฐกิจที่ชะลอทำให้เกิด NPL เกิดใหม่ และต้องกันสำรองหนี้เสียเพิ่ม, รายได้ค่าธรรมเนียมลดลง.
Chaliek Kueyen
66.2658.8888 Ext. 8851
[email protected]