WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Asia Plus Group Holdingบล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

กลยุทธ์การลงทุน
เชื่อว่าราคาน้ำมันยังมีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อ หากกำลังผลิตส่วนที่หายไปของซาอุฯ ยังไม่กลับมารวมถึงสถานการณ์ตีงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-อิหร่าน ยังไม่ผ่อนคลาย ภาวะดังกล่าวเป็นผลดีต่อหุ้นกลุ่มน้ำมัน ซึ่งในพอร์ตจำลองของฝ่ายวิจัยมี PTT และ PTTEP น้ำหนักรวม 20% ของพอร์ตการลงทุน ส่วนประเด็นอื่นที่ต้องติดตามเป็นเรื่องของการประชุม Fed ซึ่งคาดว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย หุ้น Top Picks เลือก CK(FV@B 34) และ PTTEP (FV@B 166)

ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …แกว่งปรับฐานตลอดวัน
วานนี้ ตลาดหุ้นไทยแกว่งปรับฐานตลอดวัน จากที่ยังขาดปัจจัยหนุนเพิ่มเติม โดยประเด็นหลักที่น่าสนใจ คือ เรื่องของการประชุม Fed กลางสัปดาห์นี้ ที่คาดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25%  จนสุดท้ายปิดที่ระดับ 1662.93 จุด เพิ่มขึ้น 0.97 จุด (+0.06%) มูลค่าการซื้อขาย 6.14 หมื่นล้านบาท โดยกลุ่มที่หนุนตลาดหลักๆ คือ กลุ่มพลังงานจากที่ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นอย่างแรง ได้แก่ PTT(+3.30%) PTTEP(+2.04%) GULF(+5.03%) TOP(+0.35%) กลุ่มขนส่งเช่น AOT(+2.08%) BTS(+0.75%) PSL(+2.21%) แต่โดนกดดันจากกลุ่มธ.พ.อย่างเช่น BBL(-2.26%) KBANK(-1.51%) SCB(-2.80%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่ได้แก่ IVL(-7.43%) SCC(-2.74%) และ CPALL(-0.91%) เป็นต้น
ประเมินว่าราคาน้ำมันมีโอกาสปรับตัวขึ้นได้ต่อ หากกำลังการผลิตชองซาอุดิอาระเบียที่หายไปยังไม่กลับเข้ามาสู่ภาวะปกติ และสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-อิหร่าน ยังดำเนินต่อไป ซึ่งภาวะราคาน้ำมันที่สูงขึ้นน่าจะเป็นปัจจัยบวกต่อราคาหุ้นในกลุ่มพลังงาน เฉพาะอย่างยิ่ง PTT และ PTTEP ซึ่งจากการติดตามพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นในช่วงที่ผ่านมา พบว่าทั้ง 2 บริษัท Underperform ตลาดฯ ค่อนข้างมาก อีกทั้งยังมีสถานะที่ถูก Short Sales มากเป็นอันดับต้นๆ ของตลาดหุ้นไทย ดังนั้นเมื่อราคาน้ำมันดีดตัวกลับ รวมถึงในมุมของ Valuation ก็ถือว่าถูกกล่าวคือให้ Dividend Yield กว่า 4% ต่อปี จึงน่าจะทำให้ราคาหุ้นทั้ง 2 บริษัทสามารถปรับตัวขึ้นไปได้ ทั้งนี้ทั้ง 2 บริษัทมีน้ำหนักการลงทุนรวม 20% ในพอร์ตจำลองของฝ่ายวิจัย ส่วนปัจจัยอื่นที่ต้องติดตาม ได้แก่การประชุม Fed ซึ่งจะเกิดขึ้นช่วงวันนี้กับพรุ่งนี้ ฝ่ายวิจัยเชื่อว่าน่าจะเห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ทั้งนี้ตัวชี้นำที่สำคัญคือ Bond Yield ที่ปรับตัวลดลงอีกครั้งหลัง Rebond กลับขึ้นมาในช่วงสั้นๆ สำหรับการประชุม กนง. ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 25 ก.ย. 2562 เดิมฝ่ายวิจัยคาดว่าจะยังไม่เห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง แต่ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง กล่าวคือการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ที่รัฐบาลประกาศออกมายังไม่เห็นผลที่ชัดเจน ตัวเลขเงินเฟ้อเดือนที่ผ่านายังอยู่ระดับต่ำ และที่นสำคัญเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องมาสู่บริเวณ 30.50 บาท/USD  องค์ประกอบดังกล่าวช่วยเพิ่มโอกาสการที่ กนง. จะปรับลดดอกเบี้ยให้มีมากขึ้น และหากเกิดขึ้นจริงก็น่าจะเป็นบวกต่อ SET Index แต่กลุ่มธนาคารพาณิชย์ ก็อาจได้รับผลกระทบอีกครั้ง แต่ไม่น่าจะเปิด Downside มากนัก สำหรับกลยุทธ์การลงทุนวันนี้ ฝ่ายวิจัยไม่ได้มีการปรับพอร์ตการลงทุน ส่วน Top Pick ยังคงเป็น PTTEP และ CK

วันนี้ประชุม Fed วันแรก .... กนง.ลดดอกเบี้ย ปลาย ก.ย. ??  
วันนี้เป็นวันแรกของการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ(Fed) ระหว่างวันที่ 17-18 ก.ย. 2562   ตลาดเชื่อมั่น 100% ว่า Fed จะลดดอกเบี้ยราว 0.25% จากดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันที่ 2.25% ทั้งนี้ หาก Fed ไม่ได้มีการออกนโยบายการเงินผ่อนคลายอะไรมากกว่าที่ตลาดคาด หรือเป็นไปตามที่ตลาดคาด   เชื่อว่าตลาดหุ้นโลกอาจจะแกว่งทรงตัว หรือเกิดการ Sell on Fact ได้ เพราะเป็นปัจจัยที่ตลาดรับรู้ไปค่อนข้างมากแล้ว แต่หาก Fed ลดดอกเบี้ยมากกว่าที่ตลาดคาด (เช่นลดลง 0.5%) คาดว่าจะเป็นปัจจัยบวกที่ช่วยหนุนตลาดหุ้นโลกได้

จากทิศทางนโยบายการเงินของทั่วโลกที่ยังมีแนวโน้มผ่อนคลาย หนุนให้วัฎจักรดอกเบี้ยโลกเป็นขาลงชัดเจน ASPS จึงเชื่อว่าวัฎจักรดอกเบี้ยขาลงดังกล่าวจะเริ่มมีน้ำหนักมากขึ้นต่อการประชุม กนง. วันที่ 25 ก.ย. 2562 นี้คือ ASPS คาดว่า กนง. เริ่มมีโอกาสพิจารณาลดดอกเบี้ยในการประชุมปลายเดือน ก.ย. มากขึ้น เนื่องจาก
•ค่าเงินบาท/ดอลลาร์ยังมีแนวโน้มแข็งค่า เพราะผลกระทบของวัฎจักรดอกเบี้ยขาลงข้างต้น ล่าสุดเงินบาทแกว่งตัวอยู่ที่  30.55 บาท/ดอลลาร์ อยู่ใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี 11 เดือน และหากนับตั้งแต่ต้นปีเงินบาทแข็งค่าราว 6.14%ytd  ซึ่งหากเงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่อง เชื่อว่าจะกระตุ้นให้ ธปท. พิจารณาดำเนินมาตรการควบคุมเงินบาทเพิ่มเติม ซึ่งการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงถือว่าเป็นมาตรการที่ช่วยลดแรงกดดันต่อเงินบาทเช่นกัน
•เศรษฐกิจไทยมีสัญญาณชะลอตัว ขณะที่มาตรการภาครัฐที่ออกมาในเดือน ส.ค. มีเม็ดเงินที่เข้าไปกระตุ้นเศรษฐกิจไม่มากนัก  คือ  มาตรการกระตุ้นการบริโภคเมื่อ ส.ค. 2562 วงเงินรวม  3.16 แสนล้านบาท (ราว 2% ของ GDP) พบว่า 64% ของวงเงินทั้งหมดเป็นมาตรการให้สินเชื่อผ่านธนาคารของรัฐ ซึ่งไม่ได้อัดฉีดเข้าระบบโดยตรง แต่เม็ดเงินที่อัดฉีดเข้าระบบเศรษฐกิจโดยตรงมีเพียงมาตรการเพิ่มเงินในบัตรสวัสดิการเป็น 1,000 บาท ระยะเวลา ส.ค.-ก.ย. 2562 และมาตรการชิมช็อปใช้ คนละ 1,000 บาทเท่านั้น
โดยรวมจากปัจจัยแวดล้อมต่างๆดังกล่าวข้างต้น เป็นเหตุให้ ASPS มองว่าในการประชุม 25 ก.ย. 2562 นี้ กนง. มีโอกาสพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยนโยบายมากขึ้น เพื่อลดแรงกดดันต่อค่าเงินบาท และเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจควบคู่ไปกับมาตรการทางด้านการคลังของภาครัฐ

ราคาน้ำมันดิบยังทรงตัวสูง จาก Supply ซาอุดิอาระเบียยังไม่กลับมา
ราคาน้ำมันดิบโลกเช้านี้ยังทรงตัวระดับสูงต่อเนื่อง  คือ ยืนเหนือ 60 เหรียญฯ และมีแนวโน้มทรงตัวสูง โดยมีปัจจัยหนุนจากดังที่ ASPS นำเสนอใน Market talk เมื่อวานนี้ คือฝั่ง Supply น้ำมันจากซาอุดิอาระเบียหายไปราว  50% ของกำลังการผลิตทั้งหมดราว 9.8 ล้านบาร์เรล (ปัจจุบันซาอุฯผลิตมากที่สุดของกลุ่ม OPEC ราว 33% ของกลุ่มOPEC)  หลังจากโรงน้ำมัน(Oil Facility) 2 โรงคือ Abqaiq ขนาดใหญ่อันดับ 1 และ Hijra Khurais ใหญ่ 2 ของซาอุดิอาระเบีย ถูกโจมตีด้วยโดรนของกลุ่มก่อการร้ายฮูติ(สนับสนุนโดยอิหร่าน)  ล่าสุด Bloomberg เผยว่ารัฐบาลซาอุฯ เผยว่าโรงน้ำมัน  Abqaiq เป็นโรงที่ใหญ่ที่สุดที่เกิดความเสียหายจะยังไม่สามารกลับมาดำเนินการได้อีกหลายอาทิตย์ (Few weeks) ขณะที่โรง Hijra Khurais ไม่ได้กล่าวถึง
และปัจจัยหนุนราคาน้ำมันอีกทางคือ  สหรัฐ–อิหร่าน คือ เชื่อว่าสหรัฐจะยังคว่ำบาตรอิหร่านต่อไป (จากเดิมสหรัฐมีท่าทีผ่อนคลายขึ้น เห็นได้จากความเห็นของประธานาธิบดีทรัมป์ในช่วงก่อนเกิดเหตุโรงน้ำมันไฟไหม้)   หลังจากก่อนหน้าสหรัฐคว่ำบาตรห้ามทุกประเทศซื้อขายน้ำมันกับอิหร่านมาตั้งแต่ กลางปี 2561 จนทำให้การส่งออกน้ำมันของอิหร่านลดลงแรง เห็นได้จากยอดส่งออกน้ำมันอิหร่านไปทั่วโลกปี 2561-1Q62 อยู่ที่ 1.6-2 ล้านบารร์เรล/วัน ปัจจุบันเหลืออยู่ที่ 2 แสนบารร์เรล/วัน
อย่างไรก็ตามในระยะยาว เชื่อว่า ฝั่ง Demand จะยังถูกกดดันจากสงครามการค้าสหรัฐ-จีน (2 ประเทศบริโภคน้ำมันราว 50%ของการบริโภคทั้งโลก)
โดยรวม ASPS ประเมินว่าปัจจัยฝั่ง Supply มีน้ำหนักมากกว่า เชื่อว่าจะเป็นปัจจัยหนุนราคาน้ำมันดิบดูไบให้ยืนบริเวณ  60 เหรียญฯได้  ล่าสุดราคาปิดวานนี้อยู่ที่ 64.67  (เฉลี่ยนับตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 62.9 เหรียญฯ สมมติฐานที่  ASPS คาด 60 เหรียญฯ ในปี 2562 และนับจากปี 2563 เป็นต้นไปคาดที่ 65 เหรียญฯ) แต่จะยืนได้นานหรือไม่ ขึ้นกับซาอุฯจะกลับมาผลิตน้ำมันได้เร็วหรือไม่ และเชื่อว่าจะมีปัจจัยหนุนจากความตึงเครียดระหว่างสหรัฐ –อิหร่านและอิหร่านกลับมาอีกครั้ง (จากเดิมสหรัฐมีท่าทีผ่อนคลายขึ้น) โดยรวมน่าจะเป็นผลบวกต่อหุ้นพลังงาน  และผลกระทบเชิงลบต่อหุ้นกลุ่ม สายการบิน วัสดุก่อสร้าง ดังที่นำเสนิหุ้นที่ได้และเสียประโยชน์จากราคาน้ำมันขาขึ้นใน ใน Market talk เมื่อวานนี้
ภาพราคาน้ำมันดิบที่ฟื้นขึ้นมาแรง และมีผลตอบแทนสูงกว่า 22%ytd น่าจะส่งผลดีต่อตลาดหุ้นไทยในช่วงนี้ เนื่องจาก SET Index มีสัดส่วน Market Cap ในหุ้นพลังงานและปิโตรเคมี รวมกันสูงถึง 25% ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีสัดส่วนกำไรสุทธิสูงถึง 36% ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด ช่วยผลักดันให้ตลาดหุ้นไทยสามารถกลับมา Outperform ตลาดหุ้นประเทศอื่นๆได้ โดยเฉพาะหุ้นน้ำมันขนาดใหญ่ อย่าง PTT, PTTEP และ PTTGC ยังมีแรงหนุนเพิ่มเติม จากการเริ่มเห็นสัญญาณ Cover short ในสัญญาฟิวเจอร์ (ปิดสถานะ Short Sales) หลังจากที่เคยเป็นหุ้นถูก Short sales มากที่สุดอันดับต้นๆในเดือน ก.ย. 2562 นี้
ปริมาณการ Short sales ของหุ้นน้ำมันขนาดใหญ่ในเดือน ก.ย. 2562 (mtd)
 
หุ้นน้ำมันมีโอกาสถูก Cover short สูง เนื่องจากสัญญาณ OI เริ่มลดลงมาก หลังจากถูก  Short sales หนัก
 
สรุปคือ ราคาหุ้นน้ำมันไทยยัง Laggard ราคาน้ำมันดิบโลกอยู่มาก และตราบใดที่ปริมาณ Supply น้ำมันดิบยังไม่มีท่าทีว่าจะกลับมาในเร็วๆนี้ บวกกันสัญญาณการ Cover Short ของหุ้นน้ำมันที่ชัดเจนขึ้นจากปริมาณ OI ที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด เป็นแรงส่งสำคัญให้หุ้นน้ำมันอย่าง PTT และ PTTEP น่าจะ Outperform ตลาดได้ดีในช่วงนี้ และเลือกเป็น Top picks ในวันนี้

เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าต่อ...
ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีนที่ผ่อนคลายลง เป็นปัจจัยหนุนต่อตลาดหุ้น ขณะที่เดียวกันก็มีผลให้ Bond Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้น (ราคาพันธบัตรปรับลดลง) สังเกตจาก Bond Yield 10 ปีสหรัฐ ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1.85% จากระดับต่ำสุดในช่วงก่อนหน้าที่ 1.45% ขณะที่ Bond Yield 10 ปีไทยก็ดีดตัวขึ้นมาเช่นกัน โดย ณ วันที่ 10 ก.ย. 62 ปรับเพิ่มขึ้นมาสูงสุดอยู่ที่ 1.66% แต่อย่างไรก็ตาม การกลับเข้ามาซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติราว 1.2 หมื่นสัญญาในวันศุกร์ที่ผ่านมา ทำให้ Bond Yield 10 ปีไทย ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว มาอยู่ที่ 1.59% ดังรูปทางด้านล่าง

Bond Yield 10ปีของไทยกับสหรัฐฯ
ประกอบกับวัฎจักรดอกเบี้ยโลกเป็นขาลงชัดเจนมากขึ้น สะท้อนจากผลการประชุม ECB ครั้งล่าสุด มีการปรับลดดอกเบี้ยเงินฝาก และการกลับมาทำ QE  ส่วนการประชุม Fed ที่กำลังเริ่มประชุมในวันนี้ ตลาดยังคงเชื่อมั่นว่า Fed จะลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% น่าจะยังหนุนให้เม็ดเงินไหลเข้าแหล่งที่ปลอดภัยอย่างไทย และมีการ lock อัตราผลตอบแทนระยะยาว รวมไปถึงเป็นผลให้เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าต่อ

เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม,
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!