- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 05 September 2019 16:05
- Hits: 1861
บล.เอเซีย พลัส: Market Talk
กลยุทธ์การลงทุน
SET Index ดีดตัวกลับแรงจากกระแสเรื่องสถานการณ์ประท้วงในฮ่องกงที่ผ่อนคลายลงมาระดับหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามความเสี่ยงเรี่องดังกล่าวถือว่ายังไม่หมดไป อีกทั้งที่ระดับ SET Index ปัจจุบันเข้าใกล้ค่า PER 16.5 เท่า และแนวต้านสำคัญทาง Technical บริเวณ 1667 – 1685 จุด ซึ่งเหลือ Upside จากปัจจุบันไม่มากนัก ยังใช้กลยุทธ์ Selective Buy เลือก SPALI (FV@B 23.20) และ TU (FV@B 23) เป็น Top Picks สำหรับวันนี้
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …เปิดกระโดดกว่า 8 จุด
วานนี้ ตลาดหุ้นไทยเปิดกระโดดกว่า 8 จุดก่อนที่จะทยอยปรับตัวขึ้นตลอดวัน จากที่ผู้ว่าการเขตปกครองพิเศษฮ่องกงเตรียมประกาศการถอนร่างกฎหมายส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนไปยังประเทศจีนในช่วงบ่าย ซึ่งประเด็นดังกล่าวสร้างแรงหนุนต่อตลาดหุ้นฮ่องกงและเอเชียรวมถึงไทย ทำให้สุดท้ายปิดที่ระดับ 1658.64 จุด เพิ่มขึ้น 16.39 จุด (+1.00%) มูลค่าการซื้อขาย 6.48 หมื่นล้านบาท โดยกลุ่มที่หนุนตลาด คือ กลุ่มขนส่งเช่น AOT(+3.13%) BTS(+4.44%) BEM(+1.82%) กลุ่มค้าปลีกเช่น BJC(+1.84%) CPALL(+1.82%) HMPRO(+4.49%) DOHOME(+8.94%) กลุ่มพลังงานอย่างเช่น EA(+2.09%) PTT(+1.75%) EGCO(+4.08%) รวมถึงแรงหนุนจากหุ้นขนาดใหญ่อย่างเช่น ADVANC(+1.74%) CPN(+3.76%) และ IVL(+2.94%) เป็นต้น
สถานการณ์การประท้วงในฮ่องกง แม้จะยังไม่เห็นข้อสรุปที่ดีอันจะนำไปสู่การยุติการชุมนุมอย่างถาวร แต่ก็ปรากฎสัญญาณการผ่อนคลายลงไประดับหนึ่ง ทำให้ตลาดหุ้นฮ่องกงวานนี้ดีดตัวเพิ่มขึ้น 3.9% และเป็นแรงผลักดันให้ตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคปรับตัวขึ้นตามไปด้วย แต่อย่างไรก็ตามยังต้องติดตามสถานการณ์ต่อเนื่องว่าการชุมนุมยังจะเกิดขึ้นต่อหรือไม่และมีความรุนแรงระดับไหน ซึ่งพัฒนาการของเหตุการณ์ในส่วนนี้ยังน่าจะมีน้ำหนักทำให้เกิดความผันผวนของตลาดหุ้นได้ ส่วนกรณีกระแสข่าวเรื่องการปรับอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย ยังเป็นเรื่องของการคาดการณ์ซึ่งอาจยังไม่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันเท่าที่ควร จึงไม่น่าจะเป็นแรงขับเคลื่อนตลาดหุ้นไทยในช่วงต่อจากนี้ สำหรับ SET Index วานนี้ดีดตัวขึ้นมาแรง แต่อีกมุมหนึ่งก็ทำให้ค่า PER ปรับตัวสูงขึ้นโดยไปอยู่ที่บริเวณใกล้ 16.50 เท่า ซึ่งถือเป็นแนวต้านที่มีความสำคัญ ประเมินจากสภาพแวดล้อมทางปัจจัยพื้นฐานที่เป็นอยู่เห็นว่าโอกาสที่จะทะลุผ่านขึ้นไปมีไม่มากอีกทั้งทาง Technical ก็พบว่าบริเวณ 1667 – 1685 จุด เป็นแนวต้าน ฝ่ายวิจัยจึงประเมินว่าในระยะสั้น SET Index น่าจะเคลื่อนไหวผันผวนโดยมี Upside จำกัด ในเชิงของการกำหนดกลยุทธ์การลงทุนฝ่ายวิจัยยังคงใช้วิธี Selective Buy เลือกหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัวเข้าพอร์ต โดยวันนี้ไม่ได้มีการปรับพอร์ตการลงทุน ส่วนหุ้น Top Pick เลือก TU และ SPALI
ประเด็น Brexit ผ่อนคลายช่วงสั้น หนุนราคาน้ำมันดิบฟื้นตัวแรง
ในระยะสั้นตลาดผ่อนคลายประเด็น Brexit หลังจากเมื่อวานนี้สภาสามัญชนอังกฤษได้มีการจัดการโหวตอนุมัติร่างกฎหมายป้องกันการแยกตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรปแบบ(No-deal Brexit) ผลสรุป คือ คะแนนเสียงฝ่ายค้าน ชนะรัฐบาล ปัจจุบันของนายกอังกฤษนายโบริส จอห์นสันด้วยคะแนน 327 : 299
สถานการณ์เช่นนี้ คือ นับจากนี้หากนายกอังกฤษ ไม่สามารถเสนอข้อตกลง Brexit ฉบับใหม่ ซึ่งต้องได้รับการยอมรับจากรัฐบาลและฝ่ายค้าน และต้องได้รับการอนุมัติจากสภาภายในวันที่ 31 ต.ค.62 (ในอดีตข้อเสนอ Breixt ของ อดีตนายกเทเรเซ่า เมย์ถูกสภาปฎิเสธราว 3 ครั้ง บ่งชี้ว่าจะผ่านสภาได้ยากมาก) จะทำให้ นายกอังกฤษ นายโบริส จอห์นสันมี 2 ทางเลือก คือ
§ ต้องดำเนินการร้องขอต่อสหภาพยุโรป(EU) เพื่อขยาย/เลื่อน วัน แยกตัวของอังกฤษออกจาก EU ไปเป็นวันที่ 31 ม.ค.2563 จากปัจจุบันกำหนดออก คือ 31 ต.ค.2562
§ ยุบสภา และจัดการเลือกตั้งใหม่อีกครั้งวันที่ 15 ต.ค. (เจตนารมเดิมของนายก ต้องการยุบเนื่องจากมีความเชื่อมั่นสูงว่าจะชนะการเลือกตั้งและกุมเสียงข้างมากอีกครั้ง แต่จะมีอย่างไรก็ตาม การจะยุบสภามีเงื่อนไข คือ ต้องได้ความเห็นชอบคะแนนเสียงราว 2 ใน 3 ก่อนที่ยุบสภา
โดยสรุปไม่ว่าจะทางไหน เชื่อว่ามีโอกาสสูงที่อังกฤษอาจจะต้องเลื่อนการออกจากยุโรปไปเป็น 31 ม.ค.2563 ซึ่งเชื่อว่าเป็นปัจจัยทำให้ตลาดผ่อนคลายช่วงสั้นเท่านั้น อย่างไรก็ตามในระยะยาว ประเด็น Brexit เป็นสิ่งที่ตลาดได้รับรู้ผลกระทบมามากแล้วในช่วงก่อนหน้า
ระยะสั้นความคลายกังวลเป็นปัจจัยหนุนต่อ เงินปอนด์/ดอลลาร์แข็งค่าราว 1% หนุนให้ Dollar index อ่อนค่าแรงในเชิงเปรียบเทียบ เป็นปัจจัยหนุนราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ ทองคำ และราคาน้ำมันดิบพุ่งแรงราว 4.5% น่าจะเป็นปัจจัยหนุนหุ้นน้ำมันและโรงกลั่นทั่วโลกวันนี้
การเมืองในฮ่องกงผ่อนคลายขึ้น แต่ยังต้องติดตาม
ขณะที่ตลาดหุ้นในแถบเอเซียวานนี้ฟื้นตัวแรง โดยเฉพาะดัชนี Hang Seng ของตลาดหุ้นฮ่องกงปรับเพิ่มขึ้น 3.9% ขณะที่ SET Index ปรับเพิ่มขึ้น 1% (หากนับตั้งแต่มีประเด็นประท้วงฮ่องกงที่เริ่มตั้งแต่ ต้นเดือน พ.ค.-เมื่อวานนี้ดัชนี Hang Seng ปรับลดลงราว 15.2%, Set Index ปรับลดราว 0.7% ในช่วงเดียวกัน) สาเหตุฟื้นตัวแรงมามาจากประเด็นผู้ว่าการฮ่องกง นางแคร์รี ลัม ประกาศการถอนร่างกฎหมายส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนอย่างเป็นทางการในช่วงบ่าย น่าจะทำให้สถานการณ์ความตึงเครียดทางการเมืองฮ่องกงผ่อนคลายขึ้น
SET Index และ Hang Seng
ที่มา : Bloomberg
อย่างไรก็ตามายังต้องติดตามกระแสของผู้ชุมนุมหลังจากนี้ว่าจะมีพัฒนาการไปทางไหน โดยปัจจุบัน กลุ่มผู้ชุมนุมยังคงยืนยันและเรียกร้องให้ผู้ว่าการฮ่องกง ลาออกจากตำแหน่ง รวมถึงเรียกร้องให้มีประชาธิปไตยอิสระจากจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งหากยังมีการเดินหน้าจัดการชุมนุมกันต่อ ก็จะกลับมาสร้างแรงกดดันต่อตลาดหุ้นได้อีกครั้ง
กระแสความคาดหวัง Moody ปรับเรตติ้งไทย ASPS กลับมาอีกครั้ง
จากประเด็นความคาดหวังจากการปรับเพิ่มเครดิตเรทติ้งของไทยกลับมาอีกครั้ง หลังจากกระแสที่ตลาดไปตีความว่าสถาบัน Moody's จะมีการปรับเพิ่ม Credit Rating จาก Baa1 เป็น A3 ในช่วงปลายปี 2562 รายละเอียดดังตาราง หลังจากช่วง กลางเดือน ก.ค.62 สถาบัน Fitch Rating และ Moody's ได้ปรับเพิ่มมุมมอง (outlook) ต่อเศรษฐกิจไทยเป็น + จากเดิม คงที่ (แต่ไม่ได้ปรับเรทติ้ง) ทั้งนี้เหตุผลเนื่องจากไทยมีฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง อาทิ เงินทุนสำรองระหว่างประเทศสูง และเกินดุลบัญชีเดินสะพัดติดต่อกัน 5 ปี
ระยะเวลาแถลงเครดิตเรทติ้งประจำปีของสถาบันจัดอันดับแต่ละแห่ง
ที่มา : ASPS รวบรวม
ในมุมมองของ ASPS คาดว่าโอกาสปรับเรทติ้งขึ้นมี แต่อาจจะน้อย เนื่องจากหากพิจารณาปัจจัยแวดล้อมของไทยยังไม่สนับสนุน เพราะว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอตัว ทั้งผลกระทบสงครามการค้าที่ยืดเยื้อ และค่าเงินบาทแข็งค่า กระทบต่อภาคส่งออก (การส่งออกไทย 1H62 หดตัว 1.9%), หนี้ครัวเรือนของไทยยังอยู่ในระดับสูง สะท้อนจากหนี้ครัวเรือน 1Q6 มีจำนวน 12.97 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 78.7% ของ GDP และยังมีความเสี่ยงจากการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2563 มีแนวโน้มล่าช้า
จับตา Fund Flow หนึ่งในแรงขับเคลื่อนสำคัญของตลาดฯ
ประเด็นความตึงเครียดที่ประเทศฮ่องกงผ่อนคลายลง หนุนให้ Fund Flow ที่ไหลออกจากตลาดหุ้นในภูมิภาคชะลอลง สะท้อนได้จากวานนี้ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคน้อยลงเหลือ 136 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) หากพิจารณาเป็นรายประเทศพบว่า ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 239 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) อินโดนีเซีย 59 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) และฟิลิปปินส์ 14 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 1 วัน) ส่วนประเทศที่ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ คือ ไต้หวันถูกซื้อสุทธิ 148 ล้านเหรียญ และไทยที่ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ 28 ล้านเหรียญ หรือ 880 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 7 วัน) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 736 ล้านบาท
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค
มุมมองปัจจัยแวดล้อมยังคงเป็นภาพผ่อนคลายในระยะสั้น สะท้อนได้จากต่างชาติยังไม่ได้กลับมาซื้อหุ้นไทยอย่างเต็มที่ แต่เห็นสัญญาณเก็งกำไรที่ชัดเจน จากการซื้อสุทธิสัญญา SET50 Futures สูงถึงกว่า 1.5 หมื่นสัญญาในวานนี้ และซื้อสุทธิต่อเนื่องมา 6 วัน มูลค่ารวม 5.2 หมื่นสัญญา ดังนั้นหาก Fund Flow ไหลกลับเข้ามาอย่างต่อเนื่อง น่าจะช่วงผลักดันให้ตลาดปรับตัวขึ้นต่อได้อีก (ตามที่นำเสนอใน Market Talk วานนี้ว่า SET Index มีความสัมพันธ์กับเงินทุนต่างชาติในปีนี้อยู่ในระดับสูง) ดังนั้นต้องติดตามความต่อเนื่องของ Fund Flow ในตลาดหุ้นไทยอย่างใกล้ชิด น่าจะเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในช่วงนี้
BGRIM/ GPSC ยังให้ผลตอบแทนที่จูงใจในช่วง 15 เดือนข้างหน้า
หุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าในฐานะที่เป็นหุ้น defensive ช่วงที่ผ่านมาเกือบทุกตัวได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นแรงสะท้อนมูลค่าโครงการที่ชัดเจนจนเต็มมูลค่าพื้นฐานที่ให้ไว้ในปีนี้ และถึงแม้ว่าจะปรับไปใช้ FV ปี 2563 หุ้นในกลุ่มฯหลายตัวก็ยังคงให้ผลตอบแทนรวมที่จำกัด โดยเฉพาะกลุ่มโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่อย่าง GULF, CKP, RATCH, EGCO รวมถึงกลุ่มโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนที่โอกาสเติบโตจำกัดจากการแข่งขันที่สูงจึงทำให้หาโครงการใหม่ต่อยอดการเติบโตได้ยากภายใต้ IRR ที่เหมาะสม
ดังนั้นจึงมีเพียงกลุ่มโรงไฟฟ้าขนาดกลางอย่าง BGRIM และ GPSC ที่ให้ผลตอบแทนรวมสูงและจูงใจในช่วง 15 เดือนข้างหน้านี้ อีกทั้งยังมีแผนขยายการลงทุนที่ชัดเจน ทำให้คาดหวัง upside เพิ่มได้ไม่ยาก ฝ่ายวิจัยจึงยังคงเลือกเป็น Top Picks ของกลุ่มโรงไฟฟ้า สำหรับการลงทุนระยะกลางถึงยาว
(ติดตามรายละเอียดได้ในบทวิเคราะห์กลุ่มโรงไฟฟ้า 5 ก.ย. 62)
สรุปโครงการในมือที่รวมอยู่ในมูลค่าพื้นฐานปี 2562-63 ของกลุ่มโรงไฟฟ้า
ADVANC แจ้งระงับข้อพิพาท TOT เพิ่มกำไรปีละ2% มูลค่าพื้นฐานใหม่ 235 บาท
กรณี ADVANC ระงับข้อพิพาทกรรมสิทธิ์เสาสัญญาณสัปทานกับ TOT ถือเป็นบวกต่อ ADVANC เนื่องจากจะช่วยลดต้นทุนต่าเช่าเสาสัญญาณสัมปทานลงราวปีละ 800 ล้านบาท กล่าวคือ อัตราค่าเช่าใหม่จะลดลงเหลือเฉลี่ยปีละ 2.8 พันล้านบาท จากปัจจุบันที่เช่าใช้ภายใต้สัญญาชั่วคราวเป็นรายเดือนเดือนละ 300 ล้านบาท (ปีละ 3.6 พันล้านบาท) นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงกรณีข้อพิพาทกับ TOT ในยุคสัมปทานให้เหลือน้อยลง
เพื่อสะท้อนผลบวกดังกล่าวนักวิเคราะห์ ASPS จึงปรับเพิ่มกำไร ADVANC ปี 2562-63 ขึ้นเฉลี่ยปีละ 2.0% มาอยู่ที่ 3.3 หมื่นล้านบาท เติบโต 11.4% และเติบโตเพิ่มขึ้นอีก 8.7% ในปี 2563 ภายหลังการปรับฯ ทำให้มูลค่าพื้นฐาน ADVANC เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 235 บาท (เดิม 230 บาท) ยังคงคำแนะนำซื้อ แต่ Upside ค่อนข้างจำกัดจึงเน้นลงทุนเมื่อราคาอ่อนตัว หรืออีกทางหนึ่งคือเลือกลงทุนใน INTUCH มี Upside สูงกว่า 16.4% จากมูลค่าพื้นฐานใหม่ 78 บาท (เดิม 76.4 บาท)