WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Asia Plus Group Holdingบล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
 
กลยุทธ์การลงทุน
ยังคงเห็นภาพ Bond Yield ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง เป็นการสะท้อนให้เห็นภาพความกังวลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่มีโอกาสปรับลดลงต่อ สภาพแวดล้อมดังกล่าวน่าจะทำให้ SET Index ยังผันผวนในกรอบล่าง แต่ไม่น่าจะต่ำกว่า 1600 จุด พอร์ตการลงทุนวันนี้มีการปรับเข้าหาหุ้น High Dividend Yield มากขึ้น Top Picks เลือก BCH (FV@B21), MCS ([email protected]) และ JASIF ซึ่งเป็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
 
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …ทยอยปรับตัวลงตลอดวัน
วานนี้ ตลาดหุ้นไทยทยอยปรับตัวลงตลอดวัน จากภาวะสงครามการค้าจีน-สหรัฐที่ยังคงไม่มีปัจจัยบวกเพิ่มเติม ทำให้กดดันตลาดหุ้นทั่วโลกรวมถึงไทย ซึ่งปิดที่ระดับ 1615.47 จุด ลดลง 7.26 จุด (-0.45%) มูลค่าการซื้อขาย 6.496 หมื่นล้านบาท โดยกลุ่มที่กดดันตลาด คือ กลุ่มสื่อสารเช่น ADVANC(-1.29%) INTUCH(-1.55%) TRUE(-2.38%) JAS(-3.01%) กลุ่มธ.พ.เช่น KBANK(-1.91%) KTB(-2.92%) SCB(-1.21%) และกลุ่มพลังงานเช่น EA(-1.56%) PTT(-0.61%)  PTTEP(-0.43%) TOP(-2.40%)  รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่เช่น CPALL(-1.74%) และ CPN(-1.54%) เป็นต้น 
Bond Yield ในตลาดสำคัญทั่วโลกยังปรับตัวลดลงต่อ โดยในส่วนของสหรัฐฯ ทำให้เห็นภาพของ Invert Yield Curve (Bond Yiel 2 ปี สูงกว่า 10 ปี) ชัดเจนมากขึ้นตามลำดับ และนำมาซึ่งความกังวลเรื่องโอกาสที่จะเกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ แต่อีกทางหนึ่งก็สร้างความเชื่อมั่นว่า Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมาเช่นกัน สำหรับในส่วนของประเทศไทย แสดงภาพใกล้เคียงกันโดยที่ Bond Yield ปรับตัวลดลง แต่ยังไม่ถึงขนาดที่จะเกิด Invert Yield Curve โดยที่ Bond Yield 2 และ 10 ปี อยู่ที่ 1.42% และ 1.46% ตามลำดับ แต่ก็มีข้อสังเกตอยู่ที่ว่า Bond Yield 1 ปีอยู่ในระดับที่สูงกว่าทั้ง 2 ปี และ 10 ปี คืออยู่ที่ 1.47% ภาพดังกล่าวสะท้อนถึงความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย รวมถึงโอกาสที่จะเห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ กนง. เพิ่มเติมอีกในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2562 สำหรับผลกระทบที่จะมาที่ตลาดหุ้น เชื่อว่าน่าจะทำให้ Fund Flow ยังไม่ไหลเข้า โดยอาจรอจนถึงจุดที่อัตราดอกเบี้ยถูกปรับลดลงจนไม่มี Downside ซึ่งในระยะสั้นก็น่าจะทำให้ SET Index ยังต้องผันผวนอยู่ในบริเวณกรอบล่าง แต่ไม่น่าจะลงไปต่ำกว่า 1600 จุด กลยุทธ์การลงทุนในช่วงเวลานี้จะให้ความสำคัญกับหุ้นที่ให้ Dividend Yield สูง ซึ่งมีได้ทั้ Infrastructure fund และหุ้นสามัญ โดยในวันนี้ฝ่ายวิจัยได้ทำการปรับพอร์ตการลงทุนโดยเพิ่ม Infrastrucutre Fund เข้าไปในพอร์ต 1 กองได้แก่ JASIF ด้วยน้ำหนักการลงทุน 10% ซึ่งนำมาจากการลดน้ำหนัก POPF ลงจาก 20% เหลือ 10% และให้ปรับเพิ่มน้ำหนักหุ้น MCS จาก 5% เป็น 10% โดยนำมาจากการลดน้ำหนักหุ้น ROBINS ลง 5%
Inverted Yield Curve ในสหรัฐยังมีอยู่ ตอกย้ำวัฎจักรดอกเบี้ยโลกขาลง
สงครามการค้าสหรัฐ-จีนที่ยังยืดเยื้อ โดยวันที่ 1 ก.ย. ทั้ง 2  ฝั่งมีกำหนดจะขึ้นภาษีนำเข้ารอบที่ 4 ต่อกัน  และล่าสุด ตลาดรอว่าทั้ง  2  ฝั่งจะมีการเจรจากันในเดือน ก.ย. ได้หรือไม่  สร้างความกังวลต่อตลาด ทำให้นักลงทุนยังคงย้ายเงินลงทุนเข้าสินทรัพย์ปลอดภัย กดดันผลตอบแทนตราสารหนี้ลดลงต่อเนื่อง  โดยเฉพาะในสหรัฐ และทำให้เกิดภาวะ Inverted Yield Curve 10–2 ปี (IYC) ระหว่างวันอยู่หลายครั้ง  และล่าสุด เกิดติดต่อกันข้ามวัน 2 วัน คือ อัตราผลตอบพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ Bond Yield 2 ปี ที่ระดับ 1.516% ขึ้นมาสูงกว่า Bond Yield 10 ปี ที่ลดลงต่อเนื่องอยู่ที่  1.468% หรือพิจารณาได้จาก Spread อายุ 2 ปีและ 10 ปีที่ลดลงดังรูปด้านล่าง (Bond Yield 30 ปี ที่ลดลงทำจุดต่ำสุดเป็นประวัติการร์ที่   1.934%)   ทำให้ตีความได้ว่าตลาดเชื่อมั่น การประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) วันที่  17-18 ก.ย.2562  เชื่อมั่น 100% ว่า Fed จะลดดอกเบี้ยราว  0.25% จากดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันอยู่ที่ 2.25%   
สอดคล้องกับไทย เศรษฐกิจไทยที่ยังคงอยู่ในแนวโน้มชะลอตัว ทำให้เห็นทิศทางผลตอบแทนพันฐบัตรรัฐบาลของไทย ปรับลดลงต่อเนื่องคล้ายๆกับสหรัฐ แม้จะยังไม่เกิดภาวะ Inverted Yield Curve 10–2 ปี แต่Bond Yield 10 ปีของไทยอยู่ที่ระดับ 1.464%ใกล้เคียงกับ Bond Yield 2 ปีของไทยที่ระดับ 1.421% หรือ เรียก (Flat Yield Curve)  และมีแนวโน้มที่อนาคตอาจจะเกิด  Inverted Yield Curve 10–2 ปีได้  
เปรียบเทียบ 2–10 Spread ของพันธบัตรรัฐบาลไทยและสหรัฐ
 
ที่มา :  Bloomberg 
โดยรวมทำให้  ASPS   ยิ่งเชื่อว่าจะทำให้มีโอกาสที่   กนง. ปรับลดดอกเบี้ยลงอีกเป็นครั้งที่ 2 ของปีนี้ราว 0.25% อยู่ที่ 1.25% (ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์)  จากดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันอยู่ที่ 1.5% ในการประชุมที่เหลืออีก 3 รอบในปีนี้ คือ รอบ  25 ก.ย.62, 6 พ.ย. และ 18 ธ.ค.  เพราะยังมีช่องว่างระหว่างดอกเบี้ยนโยบายกับเงินเฟ้อราว 0.6% ทำให้ ธปท. ยังสามารถลดดอกเบี้ยลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีก
ภาวะดอกเบี้ยขาลง ยังกดดันหุ้นกลุ่ม ธ.พ. ระยะสั้น
ภาพเศรษฐกิจที่อ่อนแอลงเป็นวงกว้าง ยังคงตอกย้ำให้นักลงทุนโยกย้ายเงินเข้าสู่สินทรัพย์ปลอดภัยเพื่อประกันผลตอบแทนระยะยาว (Lock Yield) มากยิ่งขึ้น และอีกมุมหนึ่งถือเป็นการส่งสัญญาณต่อธนาคารกลางหลายประเทศ โดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐ(Fed) ให้ต้องเร่งปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย ทั้งนี้ จากผลสำรวจความเห็นเกี่ยวกับผลการประชุม Fed วันที่ 17-18 ก.ย. พบว่า ความน่าจะเป็นที่จะเห็นการปรับลดดอกเบี้ยยังอยู่ที่ 100% โดย 90% คาดว่าจะลดลงราว 0.25% 
ส่วนอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยในช่วงที่เหลือของปี 2562 ก็มีโอกาสปรับลดลงเช่นกัน แม้การลดดอกเบี้ยดังกล่าวจะส่งผลบวกต่อต้นทุนทางการเงิน (Cost of Fund) ของบริษัทลดลง ช่วยให้เงินบาทชะลอการแข็งค่าช่วงสั้น รวมไปถึงช่วยกระตุ้นกำลังซื้อของผู้บริโภค (เช่น ดอกเบี้ยจ่ายสำหรับการผ่อนชำระที่อยู่อาศัยน้อยลง) แต่ในทางกลับกันจะกระทบต่อรายได้และ NIM ของธนาคารฯ ซึ่งจากการศึกษาของฝ่ายวิจัย พบว่าทุก 25bp ของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้-ฝากที่ลดลงเท่ากัน จะกระทบต่อประมาณการกำไรสุทธิปี 2562 ของกลุ่มฯ 2562-63 ของกลุ่มฯ ปรับตัวลดลง 3.8% และ 5.2% โดย SCB, KBANK เป็น ธ.พ.ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด นอกเหนือจากการมีโครงสร้างสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยลอยตัวในปริมาณสูงแล้ว ยังมีการถือหุ้นในบริษัทประกัน (จัดทำงบการเงินรวม) ส่วน ธ.พ. ที่ได้รับผลกระทบรองลงมา คือ KTB, BBL ยังมีสถานภาพเป็นผู้ให้กู้ยืมสุทธิ (net lender) ในตลาดเงินกู้ระหว่างธนาคาร (interbank)  
 
โครงสร้างสินเชื่อณ สิ้นปี 2561 ของ ธ.พ.10 แห่งที่ศึกษา
 
ที่มา :  ธนาคาร/ รวบรวมโดยฝ่ายวิจัย ASPS
หุ้นปันผลสูง กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน แหล่งพักเงินยามตลาดผันผวน ชอบ MCS JASIF
ผลกระทบประเด็นสงครามการค้า และวัฎจักรดอกเบี้ยขาลง กดดันดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้ความน่าสนใจในการลงทุนหุ้นกลุ่ม ธ.พ. ลดน้อยลง (ฝ่ายวิจัยให้น้ำหนักน้อยกว่าตลาด) ในทางกลับกันมีหุ้นที่จะได้รับความสนใจมากขึ้นแทน คือ หุ้นปันผลสูง และยังมีปัจจัยหนุนเสริมจากการที่รัฐเรียกเก็บภาษี 15% ในกองทุนรวมตราสารหนี้ นับตั้งแต่วันที่ 20 ส.ค. 62 เป็นต้นมา 
ดังนั้นฝ่ายวิจัยจึงทำการคัดกรองหุ้นปันผลเด่น น่าสะสมลงทุน โดยมีเกณฑ์การพิจารณา ดังนี้
•    Dividend Yield 62F > 4%
•    Upside > 0
•    แนวโน้มการเติบโตยังดีต่อเนื่องในอีก 1 – 2 ปี ข้างหน้า
•    ฝ่ายวิจัยแนะนำ “ซื้อ”
ได้ผลลัพธ์ 11 หุ้นปันผลเด่นเติบโตต่อเนื่องดังนี้
 
นอกจากนี้ยังมีกระแสการจัดตั้งกองทุนหุ้นยั่งยืน (เน้นหุ้นยั่งยืนตามเกณฑ์ของตลาดฯ และกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน) แทนกองทุน LTF น่าจะช่วยเสริมให้กองทุนโครงสร้างพื้นฐานได้รับความสนใจมากขึ้น (ปกติกองทุนโครงสร้างพื้นฐานมีลักษณะเด่นเฉพาะตัว คือ ผันผวนต่ำปันผลสูง) ดังนั้นฝ่ายวิจัยจึงทำการคัดกรองกองทุนพื้นฐานที่มีขนาดใหญ่ และสภาพคล่องสูง (Market Cap > 2 หมื่นล้านบาท) คาดว่าจะเป็นที่จับจ้องในการลงทุนในช่วงที่เหลือของปี
 
ได้ผลลัพธ์ 5 กองทุนโครงสร้างพื้นฐานเด่นดังนี้
 
Top pick ประเด็นนี้ เลือกหุ้นปันผลเด่น MCS (FV@B 11.30) โดยคาดกำไรจะไต่ระดับขึ้นตั้งแต่งวด 3Q62 และทำจุดสูงสุดของปีในงวด 4Q62 จากการคว้างานใหม่อีก 2 โครงการในเดือน ก.ย. นี้ ซึ่งหนุนกำไรปี 2562 จะเติบโตก้าวกระโดดเพิ่มขึ้นเป็น 440 ล้านบาท จาก 417 ล้านบาทในปี2561 
และ JASIF เนื่องจากราคาตลาดสูงกว่าราคาประเมินเพียง 6% เท่านั้น (Premium ต่ำกว่ากลุ่มมาก) และสามารถคาดหวัง Dividend Yield ได้สูงถึง 8% ต่อปี และที่สำคัญเป็นกองประเภท Freehold ทำให้ NAV ไม่ถูกลดทอนตามอายุโครงการที่ใกล้หมดลง อย่างประเภท Leasehold
 
ภรณี ทองเย็น, CISA 
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม, 
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
 ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
   ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!