WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Asia Plus Group Holdingบล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
 
กลยุทธ์การลงทุน
การปรับตัวลดลงแรงของ SET Index จากแรงกดดันของสงครามการค้าวานนี้ มองในมุมบวกก็จ ได้ว่าทำให้เห็น Downside ของตลาดฯ จากกรณีสงครามการค้าได้ชัดเจนขึ้น โดยที่บริเวณ PER 16 เท่า เป็นแนวรับที่แข็งแกร่ง อย่างไรก็ตามภายใต้สภาวะปัจจุบันเชื่อว่า Fund Flow จะยังไม่ไหลกลับเข้าสู่ตลาดหุ้นไทย ทำให้ยังน่าจะเคลื่อนไหวผันผวนในกรอบแคบๆ Top Picks เลือก BCH (FV@B21) และ DRT (FV@B 6.58) ส่วนพอร์ตการลงทุนวันนี้ไม่มีการปรับเปลี่ยน
 
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …เปิดดิ่งกว่า 25 จุด
วานนี้ ตลาดหุ้นไทยเปิดดิ่งกว่า 25 จุด ก่อนที่จะแกว่งทรงตัวในกรอบตลอดวัน จากภาวะสงครามการค้าจีน-สหรัฐรอบที่ 4 ปะทุอีกครั้ง ทำให้กดดันตลาดหุ้นทั่วโลกรวมถึงไทย ซึ่งปิดที่ระดับ 1622.73 จุด ลดลง 23.95 จุด (-1.45%) มูลค่าการซื้อขาย 6.46 หมื่นล้านบาท โดยกลุ่มที่กดดันตลาด คือ กลุ่มพลังงานเช่น PTT(-3.53%) PTTEP(-5.35%) TOP(-4.58%) EA(-0.52%) กลุ่มปิโตรเคมีเช่น IVL(-11.59%) PTTGC(-2.37%) และกลุ่มธ.พ.อย่างเช่น BBL(-1.45%) KBANK(-1.57%)  SCB(-1.20%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่อย่างเช่น SCC(-2.43%) CPN(-4.07%) และ AOT(-1.06%) เป็นต้น 
การปรับตัวลดลงแรงของตลาดหุ้นทั่วโลก รวมถึง SET Index วานนี้ มองในมุมหนึ่งเห็นได้ว่าเป็นตัวสะท้อนภาพความกังวลของสถานการณ์สงครามการค้า แต่ในอีกทางหนึ่งเมื่อพิจารณาว่าการประกาศตั้งกำแพงภาษีรอบที่ 4 น่าจะเป็นรอบสุดท้ายที่ครอบคลุมสินค้าทุกประเภทของประเทศคู่ค้า ทำให้มองเห็น Downside ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นการปรับตัวลดลงแรงจึงน่าจะเป็นเหมือนการทำ Stress Test ครั้งสำคัญของตลาดหุ้นภายใต้แรงกดดันจากกรณีสงครามการค้า โดยในส่วนของ SET Index พบว่าปรับลงมาต่ำสุดที่บริเวณ 1610 จุด เทียบเท่า PER บริเวณ 16 เท่า ซึ่งถือได้ว่าบริเวณดังกล่าวเป็นแนวรับที่สำคัญสำหรับตลาดหุ้นไทย และน่าจะเป็นการยืนยันแนวคิดของฝ่ายวิจัยที่เห็นว่า SET Index ไม่ควรปรับตัวลดลงมาต่ำกว่า 1600 จุด สำหรับประเด็นในวันนี้อาจให้ความสำคัญกับเรื่อง Invert Yield Curve มากขึ้น หลังจากวานนี้เกิดข้ามวันเป็นครั้งแรกในสหรัฐฯ แต่ที่มาพบว่าเกิดจากการที่ Bond Yield 2 ปีดีดตัวกลับขึ้นมาเร็วว่า Bond Yield 10 ปี ทำให้ Bond Yield 2 ปี สูงกว่า 10 ปี เมื่อปิดตลาด สำหรับประเทศไทยพบว่า ส่วนต่างระหว่าง Bond Yield 10 ปี กับ 2 ปี เริ่มแคบลงเช่นกัน โดยอยู่ที่ 1.465% และ 1.427% ตามลำดับ แต่ที่น่าสนใจคือในส่วนของ Bond Yield 1 ปีของไทย กลับสูงกว่า Bond Yield 10 ปี และ 2 ปี โดยอยู่ที่ 1.48% ภาพดังกล่าวสะท้อนมุมมองของผู้ลงทุนว่า มีความวิตกกังวลกับภาวะเศรษฐกิจมากพอสมควร ซึ่งอาจทำให้ทิศทางของตลาดหุ้นไทยในช่วงเวลานี้ยังต้องผันผวนอยู่ในกรอบล่าง โดยมีบริเวณ 1650 จุด เป็นแนวต้านสำคัญ กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ไม่ได้มีการปรับพอร์ตแต่อย่างใด และยังเลือก BCH และ DRT เป็น Top Picks 
ตลาดหุ้นปรับฐานแรง เชื่อว่าตอบรับ Trade War รอบที่ 4 ไปมากแล้ว
สงครามการค้าสหรัฐ-จีนที่ประทุขึ้นมาช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากทั้ง 2 ประเทศจะเดินหน้าขึ้นภาษีรอบที่ 4 (วันที่ 1 ก.ย. และ 15 ธ.ค.)  รายละเอียดดังรูป  แม้วานนี้ สถานการณ์ผ่อนคลายช่วงสั้นๆ หลังจากวานนี้ประธานาธิปดีทรัมป์ระบุว่าจีนแสดงท่าทีพร้อมกลับเข้าสู่การเจรจาการค้าอีกครั้งหนึ่ง  (แต่ฝั่งจีนเผยว่าไม่มีการโทรศัพท์ไปพูดคุย)  แต่โดยรวมทำให้ช่วยลดความตึงเครียดต่อตลาดหุ้นโลกในช่วงสั้น 
 
 
อย่างไรก็ตาม ASPS ยังให้น้ำหนัก ในเดือน ก.ย. ราวช่วงต้นเดือน ก.ย.สหรัฐกับจีนมีกำหนดเจรจาการค้ากัน   โดย ASPS ประเมินว่าเป็นไปได้ 2 ทาง คือ เจรจากันได้ น่าจะทำให้ตลาดหุ้นโลกตอบรับทางบวกแต่มีโอกาสเกิดขึ้นยาก     อีกทางหนึ่งคือ ไม่สามารถหาข้อยุติได้ โดยเชื่อว่ามีโอกาสที่ทั้ง 2 ฝั่งจะเดินหน้าขึ้นภาษีรอบที่ 4  และมีโอกาสยืดเยื้อจนถึงปลายปีนี้เป็นอย่างน้อย 
อย่างไรก็ตามการประกาศตั้งกำแพงภาษีรอบที่ 4 น่าจะเป็นรอบสุดท้ายที่ครอบคลุมสินค้าทุกประเภทของประเทศคู่ค้า ทำให้มองเห็น Downside ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นการปรับตัวลดลงแรงจึงน่าจะเป็นเหมือนการทำ Stress Test ครั้งสำคัญของตลาดหุ้นภายใต้แรงกดดันจากกรณีสงครามการค้า 
ดังนั้นฝ่ายวิจัยจึงทำการเปรียบเทียบค่า PER ในตลาดหุ้นสำคัญๆ รวมถึงไทย ณ ราคาดัชนีที่ต่ำสุดในวานนี้ ดังภาพด้านล่าง
 
ผลลัพธ์ คือ ตลาดหุ้นไทยวานนี้ปรับตัวลดลงทำต่ำสุด -2.3% ที่ระดับ 1609.40 จุด คิดเป็น P/E ที่ 15.99 เท่า, ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย -1.7% ให้ค่า P/E ที่ 15.83 เท่า, ตลาดหุ้นจีน -1.7% ให้ค่า P/E ที่ 11.10 เท่า และตลาดหุ้นสหรัฐ ดาวโจนส์ -2.8% ให้ค่า P/E ที่ 16.88 เท่า ด้วยระดับ Valuation ดังกล่าว ทำให้เชื่อว่า SET Index ที่ระดับ PER 16 เท่า น่าจะเป็นจุดวกกลับ ถือเป็นโอกาสที่เริ่มทยอยเข้าสะสมหุ้นพื้นฐานดีที่ราคาลดลงมาแรงได้
US เกิด Inverted Yield Curve วันแรกในรอบ 11 ปี 
ผลกระทบจากประเด็นสงครามการค้า กดดันเศรษฐกิจโลกชะลอตัว รวมถึงการเข้าสู่วัฎจักรดอกเบี้ยขาลง ทำให้นักลงทุนย้ายเงินลงทุนเข้าสินทรัพย์ปลอดภัยกันมาก กดดันผลตอบแทนตราสารหนี้ลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเดือน ส.ค. นี้ มีการเกิด Inverted Yield Curve 10 – 2 ปี (IYC) ระหว่างวันอยู่หลายครั้ง จนล่าสุดวานนี้เป็นวันแรกในรอบ 11 ปี ที่เกิด Inverted Yield Curve 10 – 2 ปี (IYC) ในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ Bond Yield 2 ปี ที่ระดับ 1.539% ขึ้นมาสูงกว่า Bond Yield 10 ปี ที่ 1.535% แม้ผลตอบแทนตราสารหนี้ระยะสั้นสูงกว่าระยะยาวถือว่าผิดปกติ แต่ลักษณะการตัดกันเป็นผลตอบแทนระยะสั้นฟื้นขึ้นมาสูงกว่าระยะยาว ถือว่าน่ากังวลน้อยกว่าการที่ผลตอบแทนตราสารหนี้ปรับตัวลดลงเรื่อยๆ พร้อมกับเกิด IYC อีก
หากกลับมาพิจารณาผลตอบแทนพันฐบัตรรัฐบาลของไทย พบว่า ยังคงลดลงต่อเนื่องตามสหรัฐ ไม่ว่าจะเป็น Bond Yield 10 ปี ลดลงถึง 104 bps.(ytd) มาอยู่ที่ 1.465%  ขณะที่ Bond Yield 2 ปี ลดลงน้อยกว่าเพียง 38 bps.(ytd) อยู่ที่ 1.427% จนทำให้ล่าสุดผลตอบแทนใกล้เคียงกันมาก หรือ เกิด Flat Yield Curve (FYC) ห่างกันเพียง 4 bps. เท่านั้น (ช่วงต้นปี 2562 ห่างกันถึง 70 bps.) และ 2 – 10 Spread เคยต่ำสุดที่ระดับ 0.5 bps. ณ 29 ส.ค. 2554
เปรียบเทียบ 2 – 10 Spread ของพันธบัตรรัฐบาลไทยและสหรัฐ
 
สรุปคือ การเกิด IYC ในสหรัฐ กดดันไทยเกิด FYC สะท้อนถึงเศรษฐกิจไทยยังต้องเผชิญความไม่แน่นอน โดยเฉพาะจากปัจจัยจากต่างประเทศเป็นสำคัญ ทำให้ปัจจุบันไม่เห็น Fund Flow ที่ไหลเข้ามาในตลาดหุ้นอย่างชัดเจน และยังถูกกดดันจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่อง ทำให้นักลงทุนต่างชาติมีโอกาสขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน (FX loss) ดังนั้นคงคาดหวังนโยบายภาครัฐช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี
รัฐบาลน่าจะเร่งออกมาตรการกระตุ้นทั้งการคลังและการเงิน 
แม้ว่าภาวะ Inverted Yield Curve  ในอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond Yield) ของไทยอายุ 2 ปี และ 10 ปี จะยังไม่เกิดขึ้น แต่ส่วนต่าง(Spread) ระหว่าง 2 ปีและ  10 ปี ที่เริ่มแคบ ดังกล่าวข้างต้น  ทำให้เชื่อว่าตลาดตีความว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอตัว(Recession) ในอนาคต (ASPS คาด GDP growth ไทยทั้งปี 2562 ขยายตัว 2.7%ชะลอจาก 4.1%ในปี 2561)   ซึ่งน่าจะเร่งให้รัฐบาลไทยออกมาตรการทางการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยมีโอกาสใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม  ดังนี้
    มาตรการทางการคลังของรัฐ  คือ 30 ส.ค. การประชุม ครม.เศรษฐกิจ คาดหวังจะมีมาตรการกระตุ้นเฟส 2    มุ่งไปที่มาตรการดึงดูดการลงทุนเอกชน และต่างชาติ ที่จะเตรียมย้ายฐานการผลิตเพื่อหนีสงครามการค้าสหรัฐ-จีนที่ปะทุขึ้นอีกครั่งและมีแนวโน้มยืดเยื้อจนถึงปีหน้า   อาทิ มาตรการ BOI เชื่อว่าจะมุ่งดึดดูดไปที่ พื้นที่ EEC 3 จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา  สอดคล้องกับ ล่าสุด เห็นการย้ายฐานการผลิตของของต่างชาติที่เข้ามาไทยเพิ่มเติม (รายละเอียดในรูป)  ดีต่อหุ้นกลุ่มนิคม  AMATA([email protected])  
 
จากรอบแรกเมื่อกลางสัปดาห์ที่แล้วที่รัฐบาลออกมาตรการมุ่งไปที่การบริโภคครัวเรือนวงเงิน 3.16 แสนล้านบาท อาทิ อัดฉีดเงินผ่านบัตรสวัสดิการและเพื่อท่องเที่ยว และประกันราคาสินค้าเกษตร   ดังที่นำเสนอใน Market talk 21-23 ส.ค.  ดีต่อหุ้นกลุ่มค้าปลีก (ROBINS BJC) และกลุ่มวัสดุก่อสร้าง เช่น DCC และ DRT ได้รับผลบวกจากมาตรการเช่นกัน
 
มาตรการทางการเงิน  ASPS เชื่อว่ามีโอกาสที่ กนง. อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเป็นครั้งที่ 2 ของปีนี้ราว 25 bps อยู่ที่  1.25%ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์   (หลังจาก ต้นเดือน ส.ค. ลดครั้งแรกในรอบ 4 ปี 5 เดือน จาก 1.75% เป็น 1.5%) เนื่องจากยังมีช่องว่างระหว่างดอกเบี้ยนโยบายกับเงินเฟ้อที่ปรับลดได้อยู่ราว  0.6% ซึ่งจะทำให้ ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่และ ธนาคารของรัฐทยอยปรับลดลง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้  MOR และ MRR เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนจากภาคธุรกิจ  
 
มาตรการดูแลค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าเกินไปเพื่อช่วยเหลือภาคส่งออก   เนื่องจากนักลงทุนมองว่าเงินบาทเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย(Safe Heaven)ดังเช่น เงินเยน และสวิตฟรังซ์   ทำให้แนวโน้มเงินบาทต่อดอลลาร์ยังแข็งค่า ล่าสุดอยู่ที่  30.55 บาท/ดอลลาร์ และแข็งค่ามากที่สุดในภูมิภาคราว 5.7%นับตั้งแต่ต้นปี ขณะที่สกุลอื่นในภูมิภาคล้วนอ่อนค่าเกือบหมด อาทิ เงินเปโซ เงินริงกิต และที่สำคัญคือ เงินหยวนต่อดอลลาร์ อ่อนค่ามากสุดในรอบ 11 ปี อยู่ที่ 7.15 หยวน  ผลกระทบจากเงินบาทที่แข็งค่าจะกระทบต่อการแข่งขันต่อภาคการส่งออกของไทยให้ลดลงซึ่งสินค้าส่งออกของไทยจะแพงกว่าเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านที่อ่อนค่า
โดยเชื่อว่า ธปท.จะต้องมีการออกมาตการเพื่อแทรกแซงไม่เงินบาท แข็งค่าต่ำกว่า 30 บาท เพิ่มเติมจากปัจจุบัน 
 
ภรณี ทองเย็น, CISA 
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม, 
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
 ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
   ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!