- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 26 August 2019 16:23
- Hits: 3233
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : Need to KNOW
Need to KNOW
ปัจจัยต่างประเทศ
- อุณหภูมิสงครามการค้าสหรัฐกับจีนระอุขึ้น เมื่อจีนประกาศจะเรียกเก็บภาษี 5-10% จากสินค้านำเข้าของสหรัฐวงเงิน 7.5 หมื่นล้านดอลลาร์ มีผล 1 ก.ย.และ 15 ธ.ค.62 ด้านปธน.ทรัมป์ก็ตอบโต้ทันที โดยทวีตสั่งให้บริษัทสหรัฐรีบถอนตัวออกจากจีนและกลับมาผลิตสินค้าในสหรัฐ
- จีนกล่าวว่าจะตอบโต้สหรัฐกรณีขายเครื่องบินรบ F-16 ให้กับไต้หวัน โดยจะลงโทษบริษัทสหรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้
- ความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ย่ำแย่ลง ล่าสุดเกาหลีใต้ประกาศยกเลิกการแชร์ข้อมูลข่าวกรองกับญี่ปุ่น
- นักลงทุนผิดหวังนายพาวเวล ประธานเฟด กล่าวแต่เพียงว่า“เฟดจะดำเนินการเพื่อให้เศรษฐกิจสหรัฐมีการขยายตัวต่อไป โดยยอมรับว่าสงครามการค้าและปัจจัยอื่นๆ กำลังทำให้เศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลง” ในที่ประชุมเศรษฐกิจประจำปีของเฟดที่เมืองแจ็กสันโฮล รัฐไวโอมิ่งเมื่อ 23 ส.ค.62
- สหรัฐ : ดัชนี PMI ภาคการผลิตและบริการเดือนส.ค.62 ลดลงเป็น 50.9 ต่ำสุดในรอบ 3 เดือน ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจร่วงต่อเป็นเดือนที่ 7 และต่ำสุดในรอบ 7 ปี
+/- ยูโรโซน : ดัชนี PMI ส.ค.ขยับเป็น 51.8 โดยมาจากภาคบริการ ขณะที่ภาคการผลิตยังชะลอตัวลงต่อ
- Inverted Yield Curve ซึ่งสัญญาณนี้ยังสร้างความวิตกว่าอาจจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในอีก 1-2 ปีข้างหน้าง
ปัจจัยในประเทศ
+ จับตามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลงทุนและส่งออก หลังได้ออกมาตรการกระตุ้นการบริโภคและท่องเที่ยวระยะสั้นเป็นบวกกับกลุ่มนิคม รับเหมา แต่เราให้น้ำหนักเป็นแค่เก็งกำไรช่วงสั้นเพราะการประมูลงานใหญ่ยังไม่มา
+ ติดตามกรณีต่ออายุสัมปทานทางด่วน BEM คณะทำงานฯจะรายงานความคืบหน้าการศึกษาขยายอายุสัมปทานทางด่วน 30 ปีให้กับ BEM ต่อรมว.คมนาคมวันที่ 27 ส.ค.นี้
- MSCI Quarterly Rebalancing รอบส.ค.62 น้ำหนักตลาดหุ้นไทยลดลง 0.08% ปัจจัยที่ลดมาจากการนำตลาดหุ้นซาอุดิอาระเบียและ A Share ของจีนเข้ามาคำนวณเพิ่ม…มีผล 27 ส.ค.นี้
- ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนก.ค. 62 ลดลงต่อเป็น 93.5 จากเดือนก่อนที่ 94.5 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 7 เดือน
- ระดับ NPL สถาบันการเงินขยับขึ้น เห็นได้จาก NPL 2Q62 ของธ.พ.และไฟแนนซ์สูงขึ้น ทั้งจากกลุ่มลูกค้า SME, รายย่อย และลูกค้ารายใหญ่บางราย ซึ่งปัจจัยนี้กดดันหุ้นธนาคารและไฟแนนซ์
- กลุ่มที่พักอาศัยยังท้าทาย ล่าสุดรมว.คลังกล่าวว่ากลุ่มที่พักอาศัยไทยยังไม่จำเป็นต้องใช้มาตรการกระตุ้น เพราะผู้ประกอบการปรับตัวได้ดี ส่วนเรื่องการลดดอกเบี้ย คาดว่าจะช่วยกระตุ้นยอดขายที่พักอาศัยได้ไม่มาก เพราะธ.พ.ระวังการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น
กลยุทธ์การลงทุน
สรุปภาพรวม : ตลาดมีความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกสูงขึ้นโดยเฉพาะประเด็นสงครามการค้า และเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศหลายกรณี ขณะที่ภาคการผลิตชะลอตัวลงทั่วโลก แต่ในช่วงสั้นก็ยังมีภาคบริการที่เติบโตช่วยพยุงศก.ไว้บ้าง
กลยุทธ์ : ระยะสั้นตลาดหุ้นมีโอกาสอ่อนลง ในเชิงกลยุทธ์ ถ้ามีหุ้นในพอร์ตยังคงเน้นเป็นหุ้น Defensive & REITs ส่วนการเก็งกำไรตามรอบ เน้นซื้ออ่อนตัวและขายเมื่อรีบาวด์ (หวัง Gap ไม่มาก)
การวิเคราะห์เทคนิค : Sentiment ภายนอกที่เป็นลบทำให้ SETIndex มีสิทธิถอยลงในช่วงต้นสัปดาห์ ซึ่งถ้าลงแล้วหลุด 1630 จะดูไม่ดี ควร Stop loss เพราะมีโอกาสลงไปยัง 1590-1580, 1560 แต่ถ้าอ่อนแล้วไม่หลุด 1630 จะมีแนวต้าน 1650-1660
***หุ้นแนะนำ Week ก่อน คือ CPALL, DIF, WHA ให้ Return เฉลี่ย(WoW) เท่ากับ +2.0% ดีกว่า SET ที่ +0.9%***
หุ้น Top Picks รายสัปดาห์
หุ้นพื้นฐานเด่นสำหรับสัปดาห์นี้ ประกอบด้วย
CPALL – ยอดขายสาขาเดิมเติบโตได้แม้ศก.ซบเซา คาด Coreprofit ปี 62/63 โตเป็นเลขสองหลักได้จาก Product mix และEconomy of scale บริษัทได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นศก.แนะนำซื้อ ให้ราคาพื้นฐาน 92.50 บาท
DREIT – เพิ่มทุน R/O สัดส่วน 1 เดิม : 0.7379 ใหม่ @ ถึง 5.90 บาทXR 30 ส.ค.62 ได้เงินเพิ่มทุนไม่เกิน 1.78 พันลบ. จะนำไปซื้อกรรมสิทธิ์บริหารโครงการมัลดีฟส์ Dilution Effect ไม่เกิน 42% ข้อดีของกองทุนคือ มีรายได้สุทธิส่วน Fixed คิดเป็น Yield ราว 7% ต่อปีแนะนำซื้อ ให้ราคาพื้นฐาน 7.55 บาท
HREIT – กองทุนจะลงทุนสินทรัพย์เพิ่ม 4 หมื่นตรม.ใน 1Q63 ใช้เงินลงทุน 1.4 พันลบ.จากการเพิ่มทุน ทำให้มีพื้นที่เช่ารวม 3.7 แสนตรม. ปัจจุบันมีอัตราการเช่ากว่า 85% และหลังซื้อสินทรัพย์ใหม่ก็ยังดีต่อ จึงสามารถจ่ายปันผลได้สูงเมื่อหมดการันตีในปี 62 คาดDividend Yield ปี 63 ไว้ราว 6.6% แนะซื้อ ราคาพื้นฐาน 9.10 บาท
กรุณาอ่านคำแนะนำและข้อจำกัดของรายงานด้านท้าย
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค– [email protected]