WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Asia Plus Group Holdingบล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
 
กลยุทธ์การลงทุน    
วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2562
ความผันผวนของ SET Index ที่เกิดขึ้นวานนี้ทั้งที่ไม่มีปัจจัยใหม่ๆ เป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นว่าตลาดฯ ยังอยู่ในช่วงของการปรับฐาน โดยมีกรอบบนถูกจำกัดอยู่บริเวณ 1650 จุด ประเด็นที่อยู่ในความสนใจได้แก่ สุนทรพจน์ของประธาน Fed ซึ่งน่าจะบ่งชี้ถึงทิศทางดอกเบี้ย และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุด 2 ของรัฐบาล วันนี้ไม่ได้มีการปรับพอร์ตการลงทุน ส่วน Top Picks เลือก BCH (FV@B21), DRT (FV@B 6.58) และ STA (FV@B 13)
 
        SET Index    1,633.56
        เปลี่ยนแปลง (จุด)    -4.68
        มูลค่าการซื้อขาย (ล้านบาท)    66,881
            
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …แกว่งผันผวนในกรอบ 10 จุด
วานนี้ ตลาดหุ้นไทยเปิดดิ่งกว่า 10 จุด ก่อนที่จะแกว่งทรงตัวในกรอบ 10 จุดเช่นกัน จนสุดท้ายปิดที่ระดับ 1633.56 จุด ลดลง 4.68 จุด (-0.29%) มูลค่าการซื้อขาย 6.68 หมื่นล้านบาท โดยกลุ่มที่กดดันตลาด คือ กลุ่มพลังงานเช่น EA(-1.54%) PTT(-1.74%) PTTEP(-0.82%) TOP(-0.38%) กลุ่มปิโตรเคมีเช่น IVL(-8.00%) PTTGC(-2.35%) แต่ได้แรงหนุนจากกลุ่มสื่อสารอย่างเช่น ADVANC(+0.88%) INTUCH(+2.43%)  JAS(+1.52%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่อย่างเช่น BTS(+4.72%) LH(+1.85%) และ BJC(+1.84%) เป็นต้น 
Inverted Yield Curve (Bond Yield 2 ปี ปรับตัวสูงกว่า 10 ปี) เกิดขึ้นอีกครั้งในระหว่างชั่วโมงการซื้อขายของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ซึ่งถูกตีความเสมือนกับเป็น Sell Signal ทำให้เกิดแรงขายทำกำไรออกมา อย่างไรก็ตามฝ่ายวิจัยเห็นว่า ภาวะดังกล่าวเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นชั่วคราว และไม่น่าจะถือเป็นสัญญาณของปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระยะยาว เนื่องจากการเกิด Inverted Yield Curve รอบนี้มีความแตกต่างจากรอบที่ผ่านๆ มาอย่างน้อย 2 ประการสำคัญคือ 1) เป็นการเกิดขึ้นในช่วงที่ Bond Yield อยู่ต่ำมากคือไม่ถึง 2% เทียบกับรอบที่ผ่านๆมา โดยเฉพาะ 2 รอบล่าสุดพบว่าเกิดขึ้นในช่วงที่ Bond Yield อยู่ในช่วง 5-7%  ประการที่ 2) ระยะเวลาที่เกิด Inverted ในช่วงที่ผ่านมาและตามด้วยวิกฤติเศรษฐกิจ เป็นภาวะที่เกิดต่อเนื่องยาวนานกว่า 1 ปี แต่ในรอบนี้เกิดขึ้นเพียงแค่ในช่วงระหว่างชั่วโมงการซื้อขาย จึงน่าจะถือว่ามีน้ำหนักไม่มาก ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงเชื่อว่าไม่น่าจะมีผลต่อ SET Index อย่างมีนัยสำคัญ สำหรับประเด็นที่อยู่ในความสนใจน่าจะเป็นเรื่องการกล่าวสุนทรพจน์ของประธาน Fed วันนี้ โดยให้น้ำหนักไปที่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ส่วนในประเทศเป็นเรื่องของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดที่ 2 ของรัฐบาลใหม่ ซึ่งน่าจะเน้นไปในเรื่องของการกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของกลุ่มคนที่อยู่ในระบบฐานการจัดเก็บภาษีของรัฐบาล ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มธุรกิจค้าปลีก ท่องเที่ยว และ นิตมอุตสาหกรรม สำหรับพอร์ตการลงทุนวันนี้ ไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนแต่อย่างใด หุ้น Top Pick ยังคงเป็น DRT, BCH และ STA 
วันนี้ให้น้ำหนักประธาน Fed กล่าวสุนทรพจน์ที่ Jackson Hole
 
ในวันนี้ ในน้ำหนักการกล่าวสุนทรพจน์ของประธาน Fed นาย Jerome Powell ในการประชุม Jackson Hole วันที่ 22-24 ส.ค. ว่าจะมีการส่งสัญญาณนโยบายการเงินเพิ่มหรือไม่ รวมถึงให้น้ำหนักประธาน ECB นาย Mario Draghi ถึงทิศทางนโยบายการเงินของยุโรป ภายหลังยุโรปเผชิญความเสี่ยงทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งหากมีการส่งสัญญาณผ่อนคลายการเงินมากกว่าคาด จะเป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้นโลก
และในสัปดาห์หน้า ให้น้ำหนักการรายงาน GDP Growth ของสหรัฐ (ประมาณครั้งที่ 2) วันที่ 29 ส.ค. ซึ่งตลาดคาดว่าจะขยายตัวราว 2% ต่ำกว่าประมาณการครั้งแรกที่ 2.1% เล็กน้อย ซึ่งคาดว่าข้อมูล GDP Growth ดังกล่าวจะมีน้ำหนักต่อทิศทางนโยบายการเงินในอนาคตต่อไป
 
และวันที่ 30 ส.ค. ให้น้ำหนักการประชุมธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) ซึ่งตลาดคาดว่าในครั้งนี้จะยังคงดอกเบี้ยไว้ที่ 1.5% ภายหลังจากที่ได้ลดดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 3 ปี 2 เดือน เมื่อเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา เพราะประสบปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวจากภาคการส่งออกหดตัว โดยการส่งออกงวด 1H62 ของเกาหลีใต้หดตัวเฉลี่ย 8.6% นับเป็นประเทศที่การส่งออกหดตัวมากสุดในเอเชีย
 
Inverted Yield Curve น่าจะไม่รุนแรงเหมือนในอดีต 
ผลกระทบจากสงครามการค้า กดดันเศรษฐกิจโลกชะลอตัว สะท้อนได้จากหลาดหลายสถาบันออกมาปรับเป้าลด GDP ลง รวมถึง ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญต่างๆเห็นสัญญาณการหดตัวลง เช่น ตัวเลข PMI ภาคการผลิตของสหรัฐ อยู่ในภาวะหดตัวครั้งแรกในรอบ 10 ปี ส่งผลให้นักลงทุนย้ายเงินลงทุนเข้าสินทรัพย์ปลอดภัยกันมากในเดือน ส.ค. นี้ ล่าสุดวานนี้มีการเกิด Inverted Yield Curve 10 – 2 Y อีกครั้ง โดย Bond Yield 10 ปีสหรัฐลดลงเหลือ 1.611% ต่ำกว่า Bond Yield 2 ปี ที่ระดับ 1.614%
 และหากพิจารณาตลอดเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา พบว่า มีการเกิด Inverted Yield Curve 10 – 2 Y ระหว่างวันถึง 3 ครั้งด้วยกัน และขณะที่เกิดส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐย่อตัวลงทุกครั้ง อย่างไรก็ตามอัตราการย่อตัวของตลาดหุ้นสหรัฐลดน้อยลงตามลำดับ โดยครั้งแรกเกิดวันที่ 14 ส.ค. 2562 ตลาดหุ้นสหรัฐลดลง -1.4% ครั้งที่สอง 21 ส.ค. 2562 ตลาดหุ้นสหรัฐบวก 0.82% (ย่อระหว่างวัน) และครั้งล่าสุดเกิดขึ้นวานนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐลดลงเล็กน้อย 0.05%
 
 
 
อย่างไรก็ตามตามที่ฝ่ายวิจัย ASPS  ได้นำเสนอประเด็น Inverted Yield Curve มาตลอด ยังเชื่อว่าไม่น่าจะแสดงถึงโอกาสการเกิดวิกฤตเหมือนในอดีตที่ผ่านมา ด้วยสาเหตุดังนี้
 
Inverted Yield Curve ที่เกิดขึ้นในปีนี้ มีช่วงเวลาการเกิดสั้น กล่าวคือเกิดเพียงช่วงระหว่างวัน (Intraday) ซึ่งนับว่าเป็นระยะเวลาน้อยมาก เมื่อเทียบกับ Inverted Yield Curve ในอดีต 40 ปีที่ผ่านมา วิกฤตมักเกิดหลังจากมี Inverted Yield Curve ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกินระยะเวลานานตั้งแต่ 1 ปี ถึง 3 ปี ขึ้นไป
 
 
 
nverted Yield Curve ที่เกิดขึ้นในปีนี้ เกิดในระดับที่ Bond Yield ที่ระดับต่ำมากเมื่อเทียบกับในอดีต ก่อนวิกฤต Dotcom Bond Yield 10 ปี เฉลี่ยอยู่ที่ราว 5.96% ก่อนวิกฤตซับไพร์ม Bond Yield 10 ปี เฉลี่ยอยู่ที่ราว 4.73% ล่าสุด Bond Yield 10 ปีสหรัฐเหลือเพียง 1.611% เท่านั้น แสดงให้เห็นว่าระดับราคาตราสารหนี้สูงกว่าในอดีตมาก อีกทั้งผลตอบแทนตอนนี้อาจไม่จูงใจพอที่จะทำนักลงทุนย้ายเม็ดเงินจากสินทรัพย์เสื่ยงเข้าสู่ตราสารหนี้มากเหมือนในอดีต
 
 
ทำให้  ASPS เชื่อว่า Downside ของ Bond Yield ปัจจุบันมีอยู่น้อยเทียบกับอดีต ส่งผลให้ Bond Yield สามารถปรับตัวลดลงได้ไม่มากเมื่อเทียบกับครั้งก่อน จึงมีโอกาสที่ Bond Yield ระยะยาวจะลดลงไปต่ำกว่า Bond Yield ระยะสั้นได้น้อย หรือส่งผลให้มีโอกาสเกิด Inverted Yield Curve น้อยลง และในอีกมุมหนึ่งการ Inverted Yield Curve รอบนี้ ยังไม่ได้แสดงการเกิดวิกฤตอย่างชัดเจน 
แต่อาจเกิดจากความคาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ส่งผลให้ Fund Flow มีแนวโน้มไหลออกจากสินทรัพย์เสี่ยงไปหาสินทรัพย์ปลอดภัย  จากประเด็นดังกล่าวเชื่อว่า Downside ของ SET Index น่าจะจำกัดบริเวณ 1600 จุด เชื่อว่าสามารถทยอยสะสมหุ้นพื้นฐานดีที่ราคาปรับฐานลงมา
 
รัฐบาลเร่งออกมาตรการดึงดูดเอกชนลงทุน 30 ส.ค. ดีต่อหุ้นนิคม
แนวเศรษฐกิจไทย (GDP Growth) ปี  2562 มีโอกาสจะขยายตัวต่ำกว่า  3% ชะลอจาก 4.1% ในปี 2561  หลังจาก  1H62 ขยายตัวเฉลี่ย 2.6% (ASPS คาด 2.7%)  และแนวโน้ม 3Q62-4Q62  จะต้องขยายตัวเฉลี่ยอย่างต่ำราว 2.7-2.8%    ซึ่ง ASPS ถือว่ามีความท้าทายเป็นอย่างมาก
ทำให้รัฐบาลเร่งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ คือรอบแรกมุ่งไปที่การบริโภคครัวเรือนเป็นหลักวงเงิน  3.16 แสนล้านบาท  ( 2%ของ GDP ไทยปี  2561) อาทิ เงินในบัตรสวัสดิการเป็น 1,000 บาท  และการอัดฉีดเงิน 1,000 บาท/คน รวม 10 ล้านคนท่องเที่ยวที่มิใช่ภูมิลำเนา ซึ่งจะเริ่ม 27 ก.ย.- 30 พ.ย.2562 , ประกันราคาสินค้าเกษตร อาทิ ข้าว  แต่เชื่อว่ารอบแรกน่าจะยังไม่เพียงต่อการการกะตุ้นเศรษฐกิจ 
 
โดย ASPS ให้น้ำหนัก ASPS ให้น้ำหนักมาตรการกระตุ้นเฟส 2 ที่จะออกมาวันที่ 30 ส.ค. ซึ่งรัฐคาดหมายจะออกมาคือ มุ่งไปที่การดึงดูดการลงทุนเอกชน และต่างชาติ ที่จะเตรียมย้ายฐานการผลิตเพื่อหนีสงครามการค้า  เป็นต้น ล่าสุด รองนายก สมคิดเร่งให้ BOI ออกมาตรการดึงดุดเพิ่มเติม (ยังไม่มีรายละเอียด) แต่เชื่อว่าจะมุ่งดึดดูดไปที่ พื้นที่ EEC 3 จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา  สอดคล้องกับ ล่าสุด เห็นการย้ายฐานการผลิตของของต่างชาติที่เข้ามาไทยเพิ่มเติม (รายละเอียดในรูป)   นอกจากนั้นคาดหวังการผ่อนปรนการค้า ภาคธุรกิจ ผ่อนปรนกฎระเบียบ อาทิ หาบเร่แผงลอย ,  การประมง ที่ปัจจุบันเข้มงวด  โดยรวมจะดีต่อ  หุ้นกลุ่มนิคม AMATA และกลุ่มค้าปลีก (ROBINS BJC) และกลุ่มวัสดุก่อสร้าง เช่น DCC และ DRT ได้รับผลบวกจากมาตรการเช่นกัน
 
กลยุทธ์ลงทุน เน้น Selective Buy ชอบ STA, BCH และ DRT
นับตั้งแต่ต้นปี 2562 จนถึงปัจจุบัน ตลาดหุ้นทั่วโลก รวมถึงไทย ยังเผชิญกับหลายปัจจัยเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นประเด็นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ที่มีโอกาสยืดเยื้อ และเริ่มขยายวงกว้างไปสู่คู่ค้ารายอื่นหรือรูปแบบอื่นๆ อย่าง สงครามเทคโนโลยี,สงครามค่าเงิน ขณะเดียวกันยังมีปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ เช่น Brexit ด้วยภาวะแวดล้อมดังกล่าวแม้จะยังคงสร้างแรงกดดันอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลก และสร้างความเปราะบางต่อกำไรบริษัทจดทะเบียน สะท้อนจากการปรับลดกำไรตลาดฯ ซึ่งไม่เพียงแต่ตลาดหุ้นไทย รวมถึงตลาดหุ้นอื่นๆ ถูกปรับลดลงเช่นกัน 
 
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าราคาหุ้นได้สะท้อนการปรับลดกำไรตลาดฯ ไปดังระดับหนึ่งแล้ว อีกทั้งนโยบายการเงินและการคลังที่ผ่อนคลายมากขึ้นจะช่วยลดทอนความกังวล โดยกลยุทธ์ลงทุนเน้นเป็นรายหุ้น (Selective Buy) ที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว สำหรับ Top Picks ที่ฝ่ายวิจัยแนะนำในวันนี้ยังเป็นหุ้นเดิม DRT STA และ BCH มีรายละเอียดดังนี้
 
DRT ([email protected]) เจ้าของผลิตภัณฑ์แบรนด์  “กระเบื้องตราเพชร” เชื่อว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ จะหนุนรายได้ประชาชนระดับรากหญ้า และหนุนกำไรปี 2562 ของ DRT เติบโต 13.8%yoy เป็น 481 ล้านบาท  นอกจากนี้ ยังมีจุดเด่นจากการลุ้นปันผลระหว่างกาล 0.2 บาท/หุ้น เดือนสิงหาคมนี้ คิดเป็น Dividend Yield 3.3% ขณะที่ราคาหุ้นปัจจุบันซื้อขายอยู่ที่ PER 12.9x ถือเป็นระดับไม่แพง จึงเป็นตัวเลือกที่ดีในการลงทุน
STA (Buy FV@B13) ธุรกิจยางกลับมาสดใสอีกครั้ง จาก Supply ในประเทศที่ลดลง ทำให้ลูกค้าหันมาสั่งซื้อยางจาก STA มากขึ้น ซึ่งผลักดันให้แนวโน้มปริมาณจำหน่ายยางพาราในงวด 2H62 เพิ่มมาอยู่ที่ 7.5 แสนตัน หรือเพิ่มขึ้นถึง 38.0% จากงวด 1H62 นอกจากนี้ ธุรกิจถุงมือยางดีขึ้นต่อเนื่อง จากทั้ง ผลบวกจากวัตถุดิบยางที่อยู่ในระดับต่ำ หนุน margin และการขยายกำลังการผลิตถุงมือยาง 25% yoy ในปี 2563 ด้วยแนวโน้มธุรกิจที่เริ่มฟื้นตัวต่อเนื่องเป็นขั้นบันได เชื่อราคาหุ้นจะ outperform ตลาดฯ ได้ จึงถือเป็นโอกาสดี ที่จะเข้าลงทุนในช่วงนี้
BCH (FV@B 21.00) มีหลายปัจจัยบวกหนุน 1. World Medical Hospital (WMC) จะกลับมามีกำไรโดนเด่นอีกครั้ง เพราะเข้าสู่ช่วง High Season รวมทั้งปัจจุบันขยายศูนย์แผลเบาหวาน OPD ได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการแล้ว 2) กลุ่มประกันสังคมก็เริ่มเห็นสัญญาณบวกชัดเจนขึ้น โดย 3Q62 มีโอกาสรับเงินเพิ่ม จากที่เคยบันทึกบัญชีน้อยกว่าที่จะได้รับจริงอีกราว 50-60 ล้านบาท และ 3) มีโอกาสที่สำนักงานประกันสังคมจะปรับเพิ่มงบประมาณค่าบริการ 10-15% ในปี 2563(ตามข้อเสนอของสมาคม รพ. เอกชน) ช่วยหนุนกBCH เพิ่มมากถึง 20% ราคาหุ้นยังมี Upside สูงถึง 32.9% จากมูลค่าพื้นฐานที่ 21 บาท จึงเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าลงทุน
 
 
ภรณี ทองเย็น, CISA 
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม, 
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
 ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
   ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ    

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!