- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 20 August 2019 16:07
- Hits: 3549
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562
การประกาศตัวเลข GDP Growth งวด 2Q62 ที่ 2.3% น่าจะเป็นแรงกระตุ้นให้ภาครัฐต้องเร่งระดมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาเพิ่มเติม และเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะเห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยลงมาอีกรอบหนึ่ง ส่วนประมาณการกำไรของบริษัทจดทะเบียนปี 2562 อาจมี Downside ราว 2-3% จากตัวเลข EPS เดิมที่ 103.3 บาท/หุ้น Top Picks วันนี้เลือก TASCO ([email protected]), FPT ([email protected]) และเพิ่ม BCH (FV@B21)
SET Index 1,637.26
เปลี่ยนแปลง (จุด) 5.86
มูลค่าการซื้อขาย (ล้านบาท) 57,927
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …แกว่งผันผวนในกรอบแคบ
วานนี้ ตลาดหุ้นไทยแกว่งผันผวนในกรอบแคบตลอดวันหลังจากที่เปิดโดดกว่า 8 จุดจากการที่ตลาดฯคลายความกังวลในประเด็นต่างประเทศ รวมถึงความคาดหวังต่อมาตรการกระตุ้นของภาครัฐ จนสุดท้ายปิดที่ระดับ 1637.26 จุด เพิ่มขึ้น 5.86 จุด (+0.36%) มูลค่าการซื้อขาย 5.79 หมื่นล้านบาท โดยกลุ่มที่หนุนตลาด คือ กลุ่มขนส่งเช่น AOT(+1.42%) BEM(+4.67%) BTS(+4.03%) กลุ่มธ.พ.เช่น KBANK(+2.22%) SCB(+2.420%) และกลุ่มพลังงานเช่น PTT(+1.17%) GPSC(+2.18%) RATCH(+1.49%) TOP(+1.16%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่เช่น SCC(+0.49%) PTTGC(+2.86%) และ WORK(+6.99%) เป็นต้น
GDP Growth งวด 2Q62 ที่ต่ำเพียง 2.3% กดดันให้ภาพรวมงวด 1H62 เติบโตเพียง 2.6% ซึ่งต่ำกว่าประมาณการการเติบโตปี 2562 ที่ฝ่ายวิจัย ASPS ทำไว้ที่ 2.7% และหากจะทำให้การเติบโตเป็นไปอย่างที่คาดก็จะต้องเห็น GDP Growth ในงวด 3Q-4Q62 เติบโตในอัตรา 2.7 – 2.8% ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก ทั้งนี้ประเมินจากแรงขับเคลื่อนที่ยังอ่อนกำลัง เฉพาะอย่างยิ่งในภาคการส่งออกที่มีแรงกดดันจากสถานการณ์สงครามการค้า ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะนำเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. วันนี้ก็อาจจะเริ่มเห็นผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจได้ในช่วง 4Q62 ภายใต้สภาพแวดล้อมดังกล่าวอาจทำให้มีความจำเป็นต้องระดมมาตการกระตุ้นเศรษฐกิจเข้ามาเพิ่มเติมอีกชุดหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นเรื่องของ มาตรการที่เกี่ยวข้องกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะเป็น ช็อปช่วยชาติ หรือ การปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นอกจากนี้ยังอาจเห็นการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายเพิ่มเติม ผ่านการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งหนึ่ง สำหรับแนวโน้มการเคลื่อนไหวของ SET Index ฝ่ายวิจัยประเมินว่าน่าจะอยู่ในภาวะผันผวน โดย Upside จะจำกัดอยู่ที่บริเวณ 1650 จุด โดยประเด็นที่อาจเข้ามาสร้างแรงกดดันอีกตัวหนึ่งได้แก่การปรับลดประมาณการกำไรบริษัทจดทะเบียน หลังในงวด 1H62 ทำได้ต่ำกว่าคาด ซึ่งในเบื้องต้นประเมิน Downside ไว้ราว 2-3% ส่วนกลยุทธ์การลงทุนวันนี้ฝ่ายวิจัยทำการปรับพอร์ตการลงทุนโดยให้ขายทำกำไร JASIF ซึ่งมีน้ำหนัก 10% ออกไป และ ย้ายเงินเข้าลงทุนใน BCH ซึ่งฝ่ายวิจัยเลือกเป็น Top Pick วันนี้แทน
เศรษฐกิจโลกเริ่มชะลอ หนุนให้จีนและเยอรมันเดินหน้ากระตุ้น
ผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนที่ยังคงมีอยู่ ทั้ง 2 ฝั่งขึ้นภาษีนำเข้า 3 รอบ และประเด็น Tech war ระหว่างสหรัฐกับจีน แม้ช่วงสั้นจะผ่อนคลายคือ วานนี้กระทรวงพาณิชย์สหรัฐได้ต่อใบอนุญาตออกไปอีก 90 วัน ให้บริษัท Huawei (ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมอันดับ 1 ของโลกสัญชาติจีน) ส่งผลให้ Huawei ยังสมารถทำธุรกิจกับบริษัทสหรัญต่อไปได้จนถึงประมาณวันที่ 18 พ.ย. 2562) หลังจากก่อนหน้านี้ Huawei ถูกขึ้นบัญชีดำ (Entity List) ที่ห้ามทำธุรกิจกับบริษัทสหรัฐ
อย่างไรก็ตาม แต่สหรัฐได้เพิ่มรายชื่อบริษัทย่อยของ Huawei จำนวน 46 บริษัท เข้าไปใน Entity List ซึ่งยังถือเป็นความเสี่ยงต่อบริษัทเทคโนโลยีในจีน
โดยรวมส่งผลให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะชะลอตัวลง และหนุนให้และประเทศต่างๆทั่วโลก หันมาเร่งออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งการเงินและการคลัง อาทิ
เยอรมนี คือ วานนี้รัฐมนตรีการคลังประกาศแผนกระตุ้นเศรษฐกิจทางการคลังเพิ่มเติม วงเงินราว 5หมื่นล้านยูโร เพื่อรองรับเยอรมนีอาจประสบปัญหา Recession ในช่วง 2H62 หลังจากธนาคารกลางเยอรมนีออกรายงานประจำเดือน คาด GDP Growth 3Q62 ยังมีโอกาสหดตัว qoq จากภาคส่งออก และภาคอุตสหากรรมที่ชะลอตัว
จีนได้รับผลกระทบของสงครามการค้า โดยวันนี้ธนาคารกลางจีน (PBOC) ตลาดคาดจะประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย Loan Prime Rate (LPR) ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 4.31% หรือ สินเชื่อเงินกู้ให้กับลุกค้าชั้นดี คล้ายกับ MLR เพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจของจีน
GDP Growth ไทย 2Q62 ต่ำคาดและต่ำสุดในรอบ 5 ปี
สภาพัฒน์ฯรายงาน GDP Growth งวด 2Q62 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ที่2.3%yoy ต่ำสุดในรอบ 4 ปี 9 เดือน และต่ำกว่า ASPS คาดที่ 2.7% สาเหตุที่ GDP งวดนี้ต่ำกว่าคาดเนื่องจากเกือบทุกตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจชะลอตัวลง (รายละเอียดดังรูป) แต่หลักๆ คือ ภาคส่งออก (ราว 68%ของ GDP) ที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าที่รุนแรง เห็นได้จากส่งออกงวด 2Q62 (หน่วยดอลลาร์) หดตัวเฉลี่ย 3.8%yoy และในหน่วยบาทสูงถึงหดตัว 6.1% จากเงินบาทต่อดอลลาร์ที่แข็งค่าเฉลี่ยราว 1.2%yoy ในงวด 2Q62 และจากการใช้จ่ายภาครัฐ(G) ขยายตัว 1.1% ลดลงจาก 1Q62 ที่ 3.4% จากการเบิกจ่ายที่ลดลงเนื่องจากเป็นไตรมาสที่การจัดตั้งรัฐบาลล่าช้า
ยกเว้นเพียงลงทุนภาครัฐที่พลิกกลับมาขยายตัว 1.4% หลังจากหดตัว 0.1% ในงวดก่อนจากการเร่งเบิกจ่ายเพื่อการก่อสร้าง อาทิ รถไฟสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี, รถไฟทางคู่ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น โดยรวมทำให้ GDP Growth ไทยเฉลี่ย 1H62 ขยายตัวเฉลี่ย 2.6%
โดย ASPS ประเมินว่า GDP Growth ปี 2562 มีความท้าทายอย่างมากหากจะให้ขยายตัวเกิน 3% (โดยฝ่ายวิจัยยังคงประมาณการณ์ GDP ที่ 2.7%ที่เดิม และคาดงวด 3Q-4Q62 จะต้องขยายตัวเฉลี่ยอย่างต่ำราว 2.7-2.8%)
โดยปัจจัยที่ท้าทายในช่วง 2H62 ยังคงให้น้ำหนัก คือ ภาคส่งออกที่ยังมีแนวโน้มชะลอตัวจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ชะลอลง โดยเฉพาะจีน เนื่องจากสงครามการค้าสหรัฐ-จีนที่ยังยืดเยื้อและ มีโอกาสที่จีนจะถูกสหรัฐขึ้นภาษีนำเข้ารอบที่ 4 วงเงิน 1.1 แสนล้านเหรียญฯในวันที่ 1 ก.ย. และเงินบาทที่แข็งค่า และงวด 4Q62 ปีนี้จะได้รับผลกระทบจาก งบประมาณภาครัฐล่าช้า โดยเฉพาะงบลงทุนที่ยังไม่มีการก่อนหนี้ผูกผัน (สศค. ประเมิน เม็ดเงินที่จะหายไปจากระบบเศรษฐกิจราว 7-8 หมื่นล้านบาท หรือราว 0.56% ของ GDP ปี 2561)
รัฐบาลและ ธปท. เชื่อว่าจะเร่งออกมาตรการกระตุ้นทั้งการคลังและการเงิน
ปัจจัยท้าท้ายต่อเศรษฐกิจไทยในช่วง 2H62 ดังกล่าวข้างต้น ทำให้เชื่อว่ารัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทย จะต้องเร่งเดินหน้าออกมาตรการทั้งการเงินและการคลังเพิ่มเติมที่มากกว่าปัจจุบันที่ทำอยู่เพื่อพยุงเศรษฐกิจไม่ให้ชะลอลง ดังนี้
มาตรการกระตุ้นของภาครัฐ ดังที่นำเสนอใน market talk เมื่อวานนี้ ครม.เศรษฐกิจอนุมัติมาตรการวงเงิน 3.16 แสนล้านบาท ซึ่งจะเสนอให้ ครม. อนุมัติวันนี้ คือมุ่งไปที่ 3 กลุ่มคือ การบริโภคครัวเรือน ท่องเที่ยว และ การลงทุนเอกชน
อย่างไรก็ตามเม็ดเงินจากมาตรการดังกล่าว ที่คาดว่าจะอัดฉีดเข้าไประบบเศรษฐกิจได้ทันทีจากวงเงินทั้งหมด 3.1 แสนล้านบาท เชื่อว่าจะมีเพียงราว 3-4 หมื่นล้านบาท (หรือ 0.25% ของ GDP ไทย ปี 2561ที่อยู่ราว 16.3 ล้านล้านบาท) อาทิ มาตรการเพิ่มวงเงินในบัตรสวัสดิการเป็น 1,000 บาท จาก 500 บาท, อัดฉีดเงิน 1,000 บาทท่องเที่ยวที่มิใช่ภูมิลำเนา เป็นต้น ซึ่งไม่น่าเพียงพอที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วง 2H62 โดย ASPS คาดว่ารัฐบาลจะต้องเร่งออกมาตรการอื่น อาทิ ช็อปช่วยชาติ, การลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลง 10% (กำลังพิจารณา) เป็นต้น
เชื่อว่ามีโอกาสที่ กนง. อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเป็นครั้งที่ 2 ของปีนี้ราว 25 bps (หลังจาก ต้นเดือน ส.ค. ลดครั้งแรกในรอบ 4 ปี 5 เดือน จาก 1.75% เป็น 1.5%) ทำให้ ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่และ ธนาคารของรัฐทยอยปรับลดลง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MOR และ MRR ดังที่นำเสนอใน market talk 15 ส.ค.
ตลาดหุ้นอยู่ในโหมดผันผวน ชอบหุ้นมีปัจจัยบวกเฉพาะตัว BCH, TASCO, FPT
ตลาดหุ้นโลกเริ่มฟื้นตัวจากการปรับฐานแรง เช่นเดียวกับตลาดหุ้นไทย ที่เดือน ส.ค. 62 ปรับฐานลงมาทำจดต่ำสุด ณ 15 ส.ค. 62 ลดลงถึง 121 จุด หรือ 7.1% ก่อนจะฟื้นกลับมา 46 จุด เหลือลบ 74 จุด หรือ 4.4% (mtd) อยู่ที่ 1637.26 จุด เป็นปรับตัวลดลงเช่นเดียวกับตลาดหุ้นสำคัญๆของโลก ยกเว้นตลาดหุ้นเซียงไฮ้ของจีนเพียงแห่งเดียวที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวกเล็กน้อย 0.04%(mtd)
ในช่วงนี้ตลาดหุ้นไทยยังขาดแรงขับเคลื่อนจาก Fund Flow ที่ไหลออกในเดือน ส.ค. กว่า 4.4 หมื่นล้านบาท (เป็นเดือนที่ขายสุทธิมากสุดในปี 2562) และต่อจากนี้ต้องเผชิญกับอีกหลายบททดสอบ ทั้งตัวเลข GDP ไทย งวด 2Q62 ที่ออกมาต่ำกว่าคาด อยู่ที่ 2.3% และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐน่าจะเข้ามาช่วยหนุนเร็วสุดได้ในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 ส่งผลให้ GDP ไทยมีโอกาสชะลอลงใน ไตรมาสถัดไป รวมถึงความกังวลเศรษฐกิจโลกมีโอกาสชะลอตัวลง สังเกตได้จากหลายๆ ประเทศเริ่มใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ทั้งจีนและเยอรมนี (ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น)
สภาวะความไม่แน่นอนดังกล่าว กลยุทธ์ในการลงทุนเน้นหุ้น Domestic ที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว ชอบ BCH, TASCO และ FPT มีปัจจัยสนับสนุนทางพื้นฐานดังนี้
BCH (FV@B 21.00) จากการประชุมนักวิเคราะห์วานนี้ ฝ่ายวิจัยมีมุมมองเป็นบวกต่อธุรกิจของ BCH มากขึ้น โดยเชื่อว่า World Medical Hospital (WMC) จะกลับมามีกำไรโดนเด่นอีกครั้ง เพราะเข้าสู่ช่วง High Season รวมทั้งปัจจุบันขยายศูนย์แผลเบาหวาน OPD ได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการแล้ว รวมถึงหมอแม่เหล็กจะให้เวลาทำงานร่วมกับ WMC เพิ่มขึ้น จึงช่วยผ่อนคลายความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มในอนาคตของ WMC ได้ ขณะที่กลุ่มประกันสังคมก็เริ่มเห็นสัญญาณบวกชัดเจนขึ้น โดย 3Q62 มีโอกาสรับเงินเพิ่ม จากที่บันทึกบัญชีน้อยกว่าที่ได้รับจริงอีกราว 50-60 ล้านบาท รวมถึงยังมีโอกาสที่สำนักงานประกันสังคมปรับเพิ่มงบประมาณค่าบริการในปี 2563 อีก 10 - 15% ตามข้อเสนอของสมาคมฯ หนุนกำไรเพิ่มขึ้นได้ราว 20% ภาพรวมจากสัญญาณฟื้นตัวที่ชัดเจน ขณะที่ราคาหุ้นยังมี Upside สูงถึง 34% จากมูลค่าพื้นฐานที่ 21 บาท จึงเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าลงทุน
TASCO( FV@B 22.50) แม้แนวโน้มกำไร 2H62 จะอ่อนตัวลงเทียบกับ 1H62 จากตลาดในประเทศที่ได้รับผลจากการจัดทำงบประมาณแผ่นดินประจำปี 2563 ที่ล่าช้า แต่ทิศทางราคายางมะตอยที่เริ่มขยับขึ้นอีกครั้งในเดือน ก.ค. ประกอบกับเงินสินไหมประกันภัยที่คาดว่าจะได้รับเข้ามาอีกก้อนหนึ่งใน 4Q62 ทำให้ฐานกำไรครึ่งปีหลังยังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ขณะที่มุมมองธุรกิจยางมะตอยในระยะยาวเป็นบวก จากมาตรฐานสิ่งแวดล้อมขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO2020) ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค. 63 ทำให้เกิดการ Upgrade โรงกลั่นน้ำมันหลายแห่งในภูมิภาคเอเชีย ส่งผลให้มีปริมาณยางมะตอยออกสู่ตลาดน้อยลง ถือเป็นอีกปัจจัยบวกสำคัญที่ช่วยหนุนราคายางมะตอย เชื่อราคาหุ้น TASCO เพิ่งเริ่มฟื้นตัว (หลังสะท้อนมุมมองเชิงลบต่อผลประกอบการช่วงครึ่งปีหลังไปแล้ว) โดยมี Upside เปิดกว้างถึง 22.3% จาก Fair value ที่ 22.50 บาท ยังจูงใจให้น่าลงทุน
และยังชื่นชอบ FPT ([email protected]) จากภาพธุรกิจที่ชัดเจนขึ้นหลังการซื้อ GOLD สำร็จ บวกกับธุรกิจใหม่ที่มีศักยภาพเป็นรูปธรรมมากขึ้น
ภรณี ทองเย็น, CISA
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม,
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ