WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

FSSบล.ฟินันเซีย ไซรัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
 
กลยุทธ์วันนี้ >> Stay in Defensive and Dividend plays //Bet on Rebound around 1,590-1,600
          ตลาดหุ้นวานนี้ : SET Index ปรับตัวรีบาวด์ได้เกือบ 20 จุดในช่วงครึ่งเช้าก่อนที่จะอ่อนตัวลงในช่วงบ่ายและปิดทรงตัว ณ สิ้นวัน โดยกลุ่มธนาคารปรับตัวลงถ่วงตลาดหลัง KBANK และ KTB ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ขณะที่กระแสเงินทุนยังไหลออกโดยนักลงทุนต่างชาติยังขายสุทธิต่อเนื่องอีก 4 พันลบ. (แต่ Long Index Future เล็กน้อย 3.7 พันสัญญา) ขณะที่สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 2.1 พันลบ. 
          แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาดว่า SET Index จะปรับตัวลงทดสอบระดับ 1,590-1,600 จุดตามตลาดหู้นทั่วโลกที่ร่วงแรงหลังเริ่มเกิด Inverted Yield Curve ของพันธบัตร 2 ปีและ 10 ปีของสหรัฐฯซึ่งเป็นการส่งสัญญาณเกิด Recession ในอนาคต ขณะที่ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน 2Q19 โดยรวมออกมาต่ำกว่าที่คาด อย่างไรก็ตามเราประเมินว่าหาก SET เปิดกระโดดลงแรงเรามองเป็นจังหวะซื้อเก็งกำไรลุ้น Technical Rebound ระยะสั้นและทยอยลดพอร์ต และสำหรับการซื้อลงทุนยังเน้นพักเงินใน Defensive และ Dividend Play เป็นหลัก
          กลยุทธ์ : พักเงินในหุ้น Defensive และ Dividend Play//ซื้อเก็งกำไรลุ้นรีบาวด์บริเวณ 1,590-1,600 จุดและลดพอร์ต
          หุ้นเด่นเดือน ส.ค. :  AMATA, BCH, MINT, SAPPE, SISB
 
หุ้นเด่นวันนี้: AMATA
          - แนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 28 บาท กำไรดีกว่าเราและตลาดคาดราว 7-10% 
          - ถ้าตัดเรื่อง forex จะเป็นกำไรปกติ 428 ลบ. +37% Q-Q, +712% Y-Y จากรายได้ที่เติบโตทุกธุรกิจ โดยเฉพาะยอดโอนที่ดินที่เพิ่มเป็น 154 ไร่ จาก 80 ไร่ใน 1Q19 และ 56 ไร่ใน 2Q18 จากอานิสงส์ของการย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนจีน ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบ.ร่วม +9% Q-Q, +108% Y-Y เพราะเปิดโรงไฟฟ้า 10โรงในนิคมฯต่างๆ รวม 260 MW (คิดตามสัดส่วนถือหุ้น)
          - จ่ายปันผล 0.20 บ/หุ้น Yield 0.8% XD 28 ส.ค.
          Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนไหลออกจากภูมิภาค US$410ล้าน เม็ดเงินส่วนใหญ่ไหลออกจากไทย US$129ล้าน ไม่มีประเทศที่มีเม็ดเงินไหลเข้า แนวโน้มของกระแสเงินทุนมีทิศทางไหลออกจากภูมิภาคจากความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยซึ่งสะท้อนจากภาวะตลาดพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่เกิดปรากฏการณ์ Inverted Yield Curve และตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจีนตกต่ำสุดในรอบ 17 ปี
 
ประเด็นสำคัญวันนี้
          (-) แบงก์ลดดอกเบี้ยผิดคาด วานนี้ KBANK, KTB, SCB ลดดอกเบี้ย MRR-MOR ลง 0.25% (หุ้นแบงก์ใหญ่กดตลาด 6 จุด) กลุ่มที่อ่อนไหวต่อ MRR-MOR ได้แก่ SME และรายย่อยซึ่ง KBANK มีสัดส่วนสูงสุดคือ 50% และ KTB น้อยสุด (36%) เมื่ออิง Sensitivity การลด MRR-MOR 0.25% ที่พอร์ตสินเชื่อดังกล่าว กระทบ NIM 0.07% ต่อปี กระทบกำไร 4% ต่อปี ในอดีตปี 2017 แบงก์เคยลด MRR 0.5% แต่ 1 ไตรมาสหลังจากนั้น NIM ลดเพียง 0.01% และปรับขึ้นในไตรมาสถัดไป ส่วนรายได้ดอกเบี้ยกลับเพิ่มขึ้น แต่ในปัจจุบันที่ภาพมหภาคเป็นลบ ไม่มี catalyst นอกจากความถูก แบงก์ที่น่าสนใจในเชิงมูลค่าคือ KBANK (ลดเป้าเป็น 190 บาท) SCB (ลดเป้าเป็น 145 บาท) แต่ระยะนี้เราแนะนำ TISCO (เป้า 105 บาทและ TCAP (เป้า 60 บาท) เพราะได้ประโยชน์จากต้นทุนการเงินที่ต่ำลง  
          (+) กลุ่มเครื่องดื่มกำไรงาม กำไรปกติ +7% Q-Q, +63% Y-Y ทุกบริษัทโต Q-Q, Y-Y ยกเว้น OSP ที่ -10% Q-Q ราคาปรับลงจน upside กว้างขึ้นเมื่อเทียบกับเป้า 37 บาท แนะนำซื้อ ส่วน CBG และ ICHI กำไรดีเกินคาดมากสุด เราปรับกำไรขึ้น 20% และ 11% ตามลำดับ ปรับเป้า CBG ขึ้นเป็น 75 บาทและ ICHI ขึ้นเป็น 8.3 บาท แต่ไม่แนะนำซื้อ CBG มี upside ไม่มากพอ ส่วน ICHI กำไรผ่านจุดสูงสุดไปแล้วใน 2Q19 หุ้นที่เราชอบคือ TACC (เป้า 6 บาท) และ SAPPE (เป้า 25 บาท)   
          (-) ERW เราปรับกำไรปีนี้ลง 14% เหลือ 480 ลบ. -10% Y-Y แนวโน้มกำไร 3Q19 อาจหดตัว Y-Y ปรับราคาเป้าหมายลงเป็น 6.2 บาทจาก 7.5 บาท แต่ราคาหุ้นสะท้อนไปมาแล้ว แนะซื้อรอ turnaround ปีหน้า เราชอบ MINT ที่สุด
          (+) SAWAD กำไรสุทธิ 2Q19 +4% Q-Q, +44% Y-Y เป็น 874 ลบ.ใกล้เคียงคาด รายได้หลักดีกว่าคาด NPL ทรงตัวที่ 3.8% คงคำแนะนำซื้อ คงเป้า 59 บาท
 
          (-) ตลาดดาวโจนส์ ปรับลง 800.49 จุด ปิดที่ 25,479.42 จุด หลังตลาดพันธบัตรสหรัฐเกิดภาวะ inverted yield curve หรืออัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นสูงกว่าพันธบัตรระยะยาว บ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอย รวมถึงถูกกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของหลายประเทศ
          (-) ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบ จากการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจเยอรมนีที่หดตัว และการผลิตภาคอุตสาหกรรมของยูโรโซนที่ลดลง
          (-) ตลาดเอเชียปรับลง ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับ Inverted yield curve
          (0) ค่าเงินบาทแกว่งในกรอบแคบ ล่าสุดอยู่ที่บริเวณ 30.82 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ 
          (-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ลดลง 1.87 ดอลลาร์ ปิดที่ 55.23 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐเพิ่มขึ้นติดต่อเป็นสัปดาห์ที่
          (+) ราคาทองคำ COMEX เพิ่มขึ้น 13.70 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,527.80 ดอลลาร์/ออนซ์ ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย
          SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 844.28  / +7.61 ตัน
 
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
15 ส.ค.   - ไทย: วันสุดท้ายของการส่งงบการเงินให้ตลาดฯ
          - อินโดนีเซีย: ส่งออก-นำเข้า (ก.ค.)
          - สหรัฐ: ยอดค้าปลีก (ก.ค.) 
16 ส.ค.   - ฮ่องกง: 2Q19 GDP
19 ส.ค.   - ไทย: GDP 2Q19, ยอดขายรถ (ก.ค.)
21 ส.ค.   - ไทย: ส่งออก-นำเข้า (ก.ค.)
 
          Contact person : Jitra  Amornthum  Register : 014530
          Contact person : Veeravat Virochpoka Register : 047077
          www.fnsyrus.com
          FB: Finansia Syrus Research

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!