WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Asia Plus Group Holdingบล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
 
กลยุทธ์การลงทุน
แรงผลักดันให้เกิดการเคลื่อนย้ายเม็ดเงินลงทุนเข้ามาสู่ตลาดหุ้น มีน้ำหนักมากขึ้นหลังการปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย อย่างไรก็ตามในระยะสั้นความกังวลจากปัจจัยการเมืองในส่วนของเสถียรภาพรัฐบาลยังมีอิทธิพลอยู่ ทำให้ทิศทางการเคลื่อนไหวของ SET Index ยังผันผวนภายใต้ Upside จำกัด วันนี้ไม่มีการปรับพอร์ตการลงทุน ส่วนหุ้น Top Picks เลือก PLANB ([email protected]) และ MCS (FV@B9) ที่ผลประกอบการออกมาดีกว่าคาดเปิด Upside ประมาณการ
 
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …แกว่งผันผวนตลอดวัน
วานนี้ ตลาดหุ้นไทยผันผวนตลอดวันและปิดตัวในแดนลบ จนสุดท้ายปิดที่ระดับ 1665.12 จุด ลดลง 4.32 จุด (-0.26%) มูลค่าการซื้อขาย 6.26 หมื่นล้านบาท โดยกลุ่มที่กดดันตลาด คือ กลุ่มพลังงานเช่น PTT(-1.67%) PTTEP(-1.95%) TOP(-1.75%) กลุ่มการเงินเช่น MTC(-8.20%) SAWAD(-5.22%) AEONTS(-1.89%) กลุ่มธ.พ.เช่น BBL(-1.46%) KBANK(-1.19%)  KTB(-2.73%) KKP(-0.68%) แต่ได้แรงหนุนจากหุ้นขนาดใหญ่เช่น AOT(+2.16%) CPALL(+1.74%) และ GPSC(+5.54%) เป็นต้น 
 
การเริ่มเห็นตลาดหุ้นสำคัญในต่างประเทศดีดตัวกลับ น่าจะเป็นการบ่งชี้ได้ระดับหนึ่งว่า ราคาหุ้นปัจจุบันได้ดูดซับแรงกดดันจากประเด็นสงครามการค้าไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ สำหรับตลาดหุ้นไทยก็เชื่อว่าอยู่ในภาวะดังกล่าวเช่นกัน เพียงแต่ยังถูกปกคลุมด้วยความเสี่ยงจากปัจจัยทางด้านการเมืองมากขึ้น โดยหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้นักลงทุนเกิดความกังวลในเรื่องของเสถียรภาพรัฐบาล รวมไปถึงความล่าช้าที่อาจจะเกิดขึ้นได้เพิ่มเติมสำหรับการจัดทำงบประมาณรายจ่ายปี 2563 ทำให้ SET Index ยังเคลื่อนไหวในลักษณะผันผวน แต่อย่างไรก็ตามหากมองทิศทางตลาดหุ้นไทยในระยะกลาง –  ยาว ฝ่ายวิจัยเห็นว่ายังมีโอกาสที่จะได้รับแรงหนุนจากการเคลื่อนย้ายเม็ดเงินลงทุน จากตลาดตราสารหนี้ มีสู่ตลาดหุ้นมากขึ้น โดยแรงผลักดันจะมาจาก 2 ปัจจัยหลักได้แก่การที่ Bond Yield ปรับลดลงมาสู่ระดับที่ต่ำมาก จนทำให้ส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนการลงทุนในตลาดหุ้นสูงกว่าตราสารหนี้ มาก ทำให้เกิดแรงดึงดูดให้เงินไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นมากขึ้น อีกประการหนึ่งเป็นเรื่องของการที่จะมีการจัดเก็บภาษีจากผลตอบแทนการลงทุนในตราสารหนี้ ส่วนที่ถือครองโดยกองทุนรวม ซึ่งเป็นแรงกดดันให้ผลตอบแทนสุทธิจากการลงทุนในตราสารหนี้ปรับลดลงไปอีก ภายใต้สถานการณ์แวดล้อมดังกล่าว จึงน่าจะเป็นโอกาสสำหรับนักลงทุนระยะยาวที่จะเข้าสะสมหุ้นพื้นฐานดีไว้ในพอร์ต สำหรับวันนี้เลือก MCS และ PLANB เป็น Top pick ส่วนพอร์ตการลงทุนไม่มีการปรับเปลี่ยน
 
ส่งออกจีน ก.ค. ฟื้นช่วงสั้น ระยะยาวยังถูกดดันจาก Trade war 
ยอดส่งออกของจีน เดือน ก.ค. 2562  พลิกกลับมาขยายตัว  3.3%yoy ผิดจากที่ตลาดคาดว่าจะหดตัวราว 2%   สาเหตุที่ส่งออกในเดือนนี้ขยายตัว เป็นเพราะตลาดอื่นนอกเหนือจากสหรัฐฯ โดยเฉพาะประเทศเอเชีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  และยุโรป เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการเร่งส่งออกสินค้าเพื่อพัฒนาโครงการเส้นทางสายไหม (Belt and Road Initiative: โครงการพัฒนาการขนส่งและเชื่อมความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านของจีน)
 
ขณะที่การส่งออกไปตลาดสหรัฐ (สหรัฐเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของจีนราว 15.6%ของประเทศคู่ค้าทั้งหมด อันดับ 2 คือ ญี่ปุ่นราว  7.8%)   แม้เดือนนี้จะหดตัว 6.5%  แต่น้อยลงจากที่หดตัว 7.8% เดือน มิ.ย.  และช่วงที่เหลือของปีนี้คาดว่าส่งออกของจีนจะชะลอตัว เนื่องจากยังคงเผชิญกับปัจจัยกดดัน โดยเฉพาะ จาก  Trade War ระหว่างสหรัฐและจีนที่ขึ้นภาษีนำเข้าไปแล้ว 3 รอบ   และเตรียมขึ้นรอบที่ 4  นำมาสู่ และนำมาสู่สงครามค่าเงิน(Currency War) และประเด็นสงครามเทคโนโลยี (Tech War)  สัปดาห์หน้าจะยังมีน้ำหนัก  คือ  13 ส.ค. สหรัฐจะมีผลคว่ำบาตรบริษัทโทรคมนาคมและเทคโนโลยีของจีน คือ ห้ามหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทำธุรกิจกับ  Huawei (ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคม และมือถืออันดับ 1สัญชาติจีน) , ZTE (ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมรายใหญ่สัญชาติจีน)   Hikvision และ Dahua (ผู้ผลิตกล้องวงจรปิด)  ถือเป็นความเสี่ยงต่อหุ้นกลุ่ม Tech ในจีน 
 
คัดหุ้นเด่น ... เน้นงบดี + เติบโตสูงต่อเนื่อง
ฝ่ายวิจัย ASPS รวบรวมการรายงานผลประกาศการงวด 2Q62 โดยนับถึงช่วงค่ำวานนี้ พบว่ามีบริษัทจดทะเบียนรายงานงบแล้ว 156 บริษัท คิดเป็น 43% ของ Market Cap. ทั้งตลาดฯ ทำกำไรสุทธิรวมกันได้ 1.20 แสนล้านบาท และเมื่อเปรียบเทียบเฉพาะบริษัทที่ประกาศงบฯ พบว่ากำไรอ่อนตัวลงจากงวด 1Q62 ทั้ง QoQ และ YOY ซึ่งหากการประกาศออกมาสิ้นเสร็จในวันที่ 15 ส.ค. เชื่อว่ากำไรสุทธิรวมงวดนี้จะลดลงทั้ง QoQ และ YOY ตามที่ฝ่ายวิจัยประเมินไว้ หลักๆ จะกดดันจากกำไรที่ลดลงของกลุ่มพลังงาน-ปิโตรเคมี ตามสถานการณ์ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่อ่อนตัว รวมไปถึงการบันทึกค่าใช้จ่ายพนังงาน ตาม พรบ. แรงงานฉบับใหม่ 
ภายใต้ภาพรวมที่ไม่สดใส ฝ่ายวิจัย ASPS จึงต้องคัดสรรหุ้นอย่างพิถีพิถันมากขึ้น และวันนี้จุงแนะนำ 2 หุ้น MCS PLANB เป็น Top Pick โดยมีรายละเอียดดังนี้ 
 
•    MCS(Buy FV@B 9.00) มีโอกาสปรับเพิ่มประมาณการฯและยกระดับมูลค่าพื้นฐานขึ้น เนื่องจากกำไรงวด 2Q62 ออกมาดีกว่าคาด โดยงวด 2Q62 ที่ประกาศออกมาเช้านี้ กำไรสุทธิเติบโตมากถึง 71.01% QoQ อยู่ที่ 118 ล้านบาท หนุนจากจากยอดขายที่เพิ่มขึ้นตามปริมาณการส่งมอบสินค้า ขณะที่งานใหม่ทยอยรับต่อเนื่อง จนปัจจุบันมีจำนวน 5 โครงการ อาทิ Shibuya, Kudan Kaikan, และ Turanomon Azabudai ปริมาณส่งมอบรวม 8.2 หมื่นตัน นอกจากนี้ MCS ยังมีงานที่ต่อเนื่องจากปีก่อน และงานที่รอทำสัญญาอีกหนึ่งโครงการใหญ่ ดังนั้นเมื่อรวมทุกโครงการประเมินว่า Backlog จะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ราว 1.5 แสนตัน จาก 3.0 หมื่นตัน ณ สิ้นปี 2561
ระดับ Backlog ที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ จะช่วยให้ MCS สามารถส่งมอบงานปีละ 4.5 - 5 หมื่นตัน ครอบคลุมไปจนถึงปี 2565 และหนุนกำไรกลับมาเติบโตแข็งแกร่ง จากกำไร 351 ล้านบาทปี 2562 เพิ่มเป็น 515 ล้านบาทปี 2564 (เติบโตเฉลี่ยปีละ 21%) ราคาหุ้นปัจุบันเทียบพื้นฐานยังมีความน่าสนใจสูง พร้อมคาดหวัง Dividend Yield 6-8% ต่อปี แนะนำ “ซื้อ”
 
•    PLANB (Buy FV@B 10.40) ผลการดำเนินงานงวด 2Q62 จะประกาศในวันที่ 14 ส.ค. คาดกำไรทำจุดสูงสุดใหม่เติบโต  20% YoY และ 19% QoQ  เท่ากับ 183 ล้านบาท หนุนหลักจากการขยายพื้นที่ให้บริการสื่อโฆษณาโดยเฉพาะสื่อโฆษณาดิจิตอล เช่น โครงการ Central World Connect, Bangkok Jam, Paragon Motion Block ส่งผลให้อัตราการใช้สื่อของ PLANB เพิ่มขึ้นเป็น 75% จาก 67% ใน 1Q62 และสูงกว่า 2Q61 ที่ทำได้ 73%
 
ส่วนทิศทางผลประกอบการต่อจากนี้ นอกเหนือจาก 1. ความร่วมมือกับผู้เล่นรายใหญ่อย่าง VGI จะเพิ่มอำนาจการต่อรองกับลูกค้าและเอเจนซี่มากยิ่งขึ้นแล้ว เม็ดเงินที่ PLANB ได้รับจากการขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ VGI จำนวน 2.3 พันล้านบาท จะเกิดการลงทุนขยายพื้นที่ให้บริการสื่อโฆษณา  ส่งผลกำลังการผลิตสื่อโฆษณาเติบโตต่อเนื่องเฉลี่ยราว 15-20% ต่อปี รวมไปถึงการพัฒนาต่อยอดสื่อรูปแบบใหม่ที่จะสามารถแย่งชิงเม็ดเงินโฆษณาได้เพิ่มขึ้น 2. PLANB ยังได้สิทธิถ่ายทอดสดการแข่งขัน “โอลิมปิก โตเกียว 2020” จำนวน 4 รายการ รวมไปถึงสิทธิบริหารผู้สนับสนุน (Sponsorship) และสิทธิในการบริหารคอนเทนต์ซึ่งเป็นสิ่งที่ PLANB มีความเชี่ยวชาญ และหนุนให้ผลประกอบการในปี 2563-2565 เติบโตโดดเด่น ราคาหุ้นมี Upside สูงถึง 20.2%  จากมูลค่าพื้นฐาน 10.40 บาท แนะนำ “ซื้อ”
หุ้นปันผลเด่น เป้าหมายถัดไปของ Fund Flow
 
ประเด็นสงครามการค้าจีนกับสหรัฐ ส่งผลให้นักลงทุนพักเงินในสินทรัพย์ปลอดภัย อย่างทองคำ (ราคาสูงสุดอยู่ในรอบ 6 ปี) และตลาดตราสารหนี้มากจนกดดันผลตอบแทนพันธบัตรของไทยปรับลดลงทุกช่วงอายุ และที่สำคัญล่าสุด Bond Yield 10 ปี ลงมาทำจุดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ที่ 1.53% ลดลงจาก 2.51% ในช่วงปลายปี 2561 หรือลดลงมาแล้วกว่า 98 bps. (ytd)
 
ประเด็น Trade War ทำให้หลายๆประเทศออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยธนาคารกลางทั่วโลกหันมาใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เพื่อลดทอนผลกระทบเศรษฐกิจชะลอตัว เช่น กลุ่ม TIP เอง ในปี 2562 นี้ ปรับดอกเบี้ยลงมาทุกประเทศ รวมถึงไทยปรับลดดอกเบี้ย 0.25% มาอยู่ที่ 1.50% ณ วันที่ 7 ส.ค. 2552 ภาวะเช่นนี้หทำให้เกิดส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนการลงทุนจากตลาดทุน กับ ตลาดตราสารหนี้ พร้อมกับหนุน Market Earning Yield Gap กว้างขึ้น
 
 
เดิมฝ่ายวิจัยฯประเมินดัชนีเป้าหมาย จากค่าเฉลี่ย Market Earning Yield Gap ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อยู่ที่ 4.28% Bond Yield 1 ปี 1.80% (ช่วงที่ปรับประมาณการกำไร มิ.ย. 2562) จะสามารถคำนวณกลับมาเป็นค่า PER ที่เหมาะสมที่ 16.45 เท่า เมื่อคูณ EPS62F ที่ 103.32 บาท/หุ้น เทียบเท่า SET Index 1,700 จุด
และเมื่อมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมาที่ 1.50% ปรับสมมุติฐานใหม่ กำหนดให้ Bond Yield 1 ปี เท่ากับ 1.5% (Bond Yield ระยะสั้นมักจะแปรผันตามดอกเบี้ยนโยบาย) และใช้ Market Earning Yield Gap เท่าเดิมคือ 4.28% จะให้ค่า PER สำหรับตลาดหุ้นได้สูงถึง 17.30 เท่า (เทียบเท่า SET Index 1,787 จุด)
 
การลดดอกเบี้ยนโยบายดังกล่าวจึงถือเป็นการเปิด Upside ให้กับตลาดหุ้น อย่างไรก็ตามการที่จะปรับขึ้นไปดังกล่าวจำเป็นต้องมีเม็ดเงินลงทุนที่มากพอเป็นแรงหนุน เฉพาะอย่างยิ่งจากกลุ่มนักลงทุนต่างชาติ และสถาบันในประเทศ
 
สำหรับกลยุทธ์การลงทุน ยังให้ความสำคัญกับหุ้นที่สร้างผลตอบแทนจากเงินปันผลสูง ซึ่งน่าจะเป็นเป้าหมายแรกๆ ของเม็ดเงินลงทุนที่จะไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นและมีโอกาส Outperform ตลาดได้ดีก่อนการจ่ายปันผลระหว่างกาล โดยฝ่ายวิจัยฯคัดกรองในเชิงปริมาณ หุ้นปันผลเด่น ผันผวนต่ำมีดังนี้ 
 
ภรณี ทองเย็น, CISA 
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม, 
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
 ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
   ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!