- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 08 August 2019 16:01
- Hits: 2274
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
“ลบ-จีนให้หยวนอ่อนมาก MSCI ปรับลดน้ำหนักไทย”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : PTTGC (จากถือเป็นซื้อ)
ภาวะตลาดและปัจจัย : SET วานนี้ -2.04 จุด ปิดที่ 1669.44 จุด มูลค่าการซื้อขายหนาแน่นขึ้นที่ 84.5 พันล้านบาท ดัชนีฯผันผวนสูงมาก หลัง Surprise กนง. ลดดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เหนือคาด ในช่วงแรกเก็งกำไรหุ้นได้ประโยชน์ เช่น เช่าซื้อ และกลุ่มปันผลสูง แต่ภายหลังมีการขายหุ้นกลุ่มธนาคาร จึงถ่วงดัชนีฯลง ผู้ซื้อสุทธิคือ สถาบัน4.6 พันล้านบาท รายย่อยซื้อเล็กน้อย ขายสุทธิเป็นต่างชาติ 3.6 พันล้านบาท และโบรกเกอร์ขาย 1 พันล้านบาท และตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันต่างชาติซื้อสุทธิลดลงเป็น 45.7พันล้านบาท ด้านแนวโน้มตลาดและกลยุทธ์คือ
# ปัจจัยสำคัญ: ลบจากจีนกำหนดเงินหยวนอ่อน MSCI ลดน้ำหนักไทย และกนง.ลดดอกเบี้ย เช้านี้จีนให้เงินหยวนมี Midpoint ที่ 7.0039 เหรียญ/US$ อ่อนสุดเม.ย.51 MSCI ให้ไทยลงมาเป็น 3.012% เดิม 3.094% เริ่ม ส.ค.62 และกนง.ในแง่ Flow เงินจะไหลออก เพราะบาทอ่อน บอนด์ยิลด์สหรัฐอ่อนทำสถิติ ทองคำบวกแรงแสดงว่านักลงทุนเข้าหาสินทรัพย์ปลอดภัย น้ำมันดิบปรับลง ผลกำไรกลุ่มปิโตรฯ PTTGC ต่ำกว่าคาด แต่ปัจจัยบวกคือ เงินบาทกลับแข็งขึ้นเล็กน้อย เพื่อนบ้านรีบาวด์ ดาวโจนส์-น้ำมันล่วงหน้ากลับมาฟื้นตัว และอีก 2 สัปดาห์จะมีการประกาศนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ
# ระยะสั้นคาด SET-ลบจากปัจจัยต่างประเทศ แต่มีโอกาสรีบาวด์เช่นกัน อาจยังมีโมเมนตัม เก็งกำไรหลักทรัพย์ที่ได้รับผลดีจาก กนง.ลดดอกเบี้ยแบบ Surprise แต่ธนาคารยังมี Sentiment ไม่ดี เก็งกำไรหุ้นได้ประโยชน์จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ และเก็งกำไรผลประกอบการรายตัว กลยุทธ์ คือ ซื้อสะสม แนวต้านเป็น1680-1690 จุด แนวรับที่ 1660-1640 จุด สำหรับการลงทุนทยอยซื้อสะสม เป้าหมายดัชนีระยะยาวเป็น 1750 จุด ด้วย P/E ที่ 17.4 เท่า (Median+1 SD) กลุ่มหลักทรัพย์ที่แนะนำเป็น Domestic Play พื้นฐานดี แต่หาจังหวะทยอยสะสมได้ คือ พาณิชย์- CPALL, BJC รับเหมาก่อสร้าง- CK,STEC,SEAFCO นิคมฯ-AMATA, ROJNA, WHAท่องเที่ยว- MINT ขนส่ง AOT สื่อสาร- ADVANC ไฟแนนซ์- KKP, MTC, TISCO, TCAP และสื่อ- VGI กลุ่มการแพทย์- เน้นหลักทรัพย์ขนาดกลาง คือ CHG และ RJH
# Stock Pick Today : DIF ประกาศราคาหุ้นเพิ่มทุนแล้ว 15.90 บาทต่อหน่วย ถือว่าสูงกว่าคาด ทำให้ออกจำนวนหุ้นน้อยกว่า 1.026 ล้านหน่วย ข้อดีคือ Dilution Effectน้อยลง จ่ายปันผลงวด 4 เดือนเป็น 0.3469 บาท อัตราผลตอบแทนราว 2% XD 26 ส.ค.จ่าย 11 ก.ย.62 คงคำแนะนำ ซื้อ และจองหุ้นเพิ่มทุน เพราะคาดว่าจะยังปันผลได้สูงหลังเพิ่มทุนที่ yield ราว 6.0% ราคาพื้นฐาน 18.40 บาท Upside ไม่สูง
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น สัญญาณ Candlestick & Indicators เปลี่ยนเป็นลบเล็กๆ {“ปิดลบเล็กน้อย”ใต้“SMA10วัน” (โดยถูกกดดันจาก“โครงสร้างขาลง –ระยะกลาง”)} ชี้ความน่าจะเป็นของตลาดฯวันนี้“แกว่งลง”เป็นหลัก แต่หากรักษา“ค่าบวก”ได้ (เป็น“แรงหนุน”เดิม ของสภาวะOversold + Divergenceในกราฟรายนาที) จะทำให้มีรีบาวด์ฯสั้นๆก่อน(แล้วจึงลงต่ำ,ตามมา)ได้ แนวต้าน 1680 (หรือ 1690) จุด {แนวตัดขาดทุน “ต่ำกว่า 1665” (แนวรับย่อย “1660 – 1650 / 1640”จุด}สำหรับหุ้นที่มีโอกาสทำ New High เข้ามาใหม่คือ KKP,JMT,BGRIM,CHAYO,GFPT,RJH หุ้นที่ยังอยู่ในลิสต์ คือ SCC,BBL,KBANK,BCH,PLANB หุ้นที่หลุดลิสต์ คือ III หุ้นที่ควร TakeProfit คือ AMATA
Thailand Research Team : reseach-th.dbs.com
Inside Story
Key Drivers TODAY : ปัจจัยต่างประเทศ / ปัจจัยในประเทศ
Company Guide : LPN (Fully Valued -ราคาพื้นฐาน 6.00)
PTTGC (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 68.00)
SYNEX (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 11.40)
Flash Note : MTC (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 63.00)
SPF (ถือ -ราคาพื้นฐาน 20.10)
SPRC (ถือ -ราคาพื้นฐาน 9.80)
TU (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 20.80)
New Listing : META-W4
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
- สงครามการค้า : พากันซื้อพันธบัตร ทำให้อัตราผลตอบแทนต่ำสุดตั้งแต่ปี 59
# ความวิตกกังวลที่ว่าสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนอาจทำให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย ได้ส่งผลให้นักลงทุนแห่เข้าซื้อพันธบัตรซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย จนทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีและ 30 ปี ดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2559 เมื่อเวลาประมาณ 20.34 น.ตามเวลาไทย
# อย่างไรก็ดี อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐดีดตัวขึ้นในช่วงท้ายของการซื้อขาย ซึ่งช่วยให้ดัชนีดาวโจนส์ลดช่วงลบและยังเป็นปัจจัยหนุนดัชนี S&P500 และ Nasdaq ดีดตัวขึ้นปิดในแดนบวก นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงหนุนจากการที่นักลงทุนเข้าช้อนซื้อหุ้นที่ร่วงลงอย่างหนักในระหว่างวัน
-/• เฟด: ติดตามการประชุม 22-24 ส.ค.62
# เฟดจะมีการประชุมเพื่อตัดสินใจจะลดดอกเบี้ยอีกหรือไม่ในเดือน ก.ย.62 นี้ แต่ก่อนหน้านั้นคือ 22-24 ส.ค.จะมีการประชุมแลแถลงที่เมืองแจ็คสันโฮก่อน ทำให้นักลงทุนติดตามว่าจะส่งสัญญาณไปในทิศทางใด
-/+ ดาวโจนส์: ปรับลง แต่ S&P 500 และ Nasdaq ปรับเพิ่ม
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 26,007.07 จุด ลดลง 22.45 จุด หรือ -0.09% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่2,883.98 จุด เพิ่มขึ้น 2.21 จุด หรือ +0.08% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,862.83 จุด เพิ่มขึ้น 29.56 จุด หรือ +0.38%
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (7 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน อย่างไรก็ดี ดัชนีดาวโจนส์ปิดขยับลงเพียงเล็กน้อย ขณะที่ดัชนี S&P500 และNasdaq ดีดตัวขึ้นปิดในแดนบวก หลังจากนักลงทุนเข้าช้อนซื้อหุ้นที่ร่วงลงอย่างหนักในระหว่างวัน และจากการที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐดีดตัวขึ้นในช่วงท้ายของการซื้อขาย หลังจากที่ร่วงลงอย่างหนักในช่วงแรกและเป็นเหตุให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย
- น้ำมัน: ปรับลง สต็อคสูง กังวลสงครามการค้าจะกระทบอุปสงค์
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ย. ร่วงลง 2.54 ดอลลาร์ หรือ 4.7% ปิดที่ 51.09 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนต.ค. ดิ่งลง 2.71 ดอลลาร์ หรือ 4.6% ปิดที่ 56.23 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลง 4.7% เมื่อคืนนี้ (7 ส.ค.) หลังจากสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐพุ่งขึ้นสวนทางกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่ว่า ข้อพิพาทการค้าระหว่างสหรัฐและจีนจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและความต้องการใช้น้ำมัน
• ทองคำ: ปรับขึ้นแรง เข้าหาสินทรัพย์ปลอดภัย
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. พุ่งขึ้น 35.40 ดอลลาร์ หรือ 2.39% ปิดที่1,519.60 ดอลลาร์/ออนซ์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2556
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 6 ปีเมื่อคืนนี้ (7 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนแห่ซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน นอกจากนี้ การอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ยังเพิ่มแรงดึงดูดให้กับทองคำ เนื่องจากทำให้สัญญาทองมีราคาถูกลงสำหรับผู้ถือครองเงินสกุลอื่น
• ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ ทยอยประกาศสัปดาห์นี้
# นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนมิ.ย. และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนก.ค.
ปัจจัยในประเทศและข่าวหลักทรัพย์
-/+ กนง. ปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมวานนี้...ถือว่า Surprise ตลาด
# ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จาก 1.75%เป็น 1.50% ต่อปี โดยให้มีผลทันที ขณะที่ 2 เสียง เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.75% ต่อปี เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าคาดการณ์ และต่ำกว่าศักยภาพ โดยการส่งออกหดตัวมากกว่าที่ประเมินไว้ ในการประชุม กนง.ครั้งต่อไปจะมีการทบทวนและประกาศตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจใหม่ โดยเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลงกว่าที่คาดไว้เดิม ขณะที่การส่งออกที่เคยประมาณการไว้ว่าจะขยายตัวได้ 0% ในระยะต่อไปก็มีแนวโน้มขยายตัวได้ต่ำกว่าที่คาด เมื่อพิจารณาจากปริมาณการนำเข้าวัตถุดิบที่เริ่มชะลอตัว
# ผลกระทบ: ข้อเสีย- เงินบาทอ่อน เงินไหลออก จะไม่ดีกับตลาดหุ้นในแง่ของ Flow ของเงิน ส่วนข้อดี การส่งออกจะดีขึ้นอาจมากลับมาเก็งกำไรหุ้นในกลุ่มส่งออก และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้บ้าง
# กนง.ลดดอกเบี้ยเป็นจิตวิทยาทางบวกกับ หลักทรัพย์ที่อ่อนไหวไปตามอัตราดอกเบี้ย -กลุ่มเช่าซื้อ เช่น MTC,SAWADอสังหาฯ-ที่อยู่อาศัย กลุ่มท่องเที่ยว แลกเงินต่างประเทศเป็นบาทได้มากขึ้น และหุ้นปันผลสูง (ดอกเบี้ยในตลาดลดลง)รวมทั้งหุ้นกลุ่ม REITs-IFFs หุ้นกลุ่มส่งออก แต่กลับเป็นลบกับ หุ้นกลุ่มธนาคาร (แต่ในความเป็นจริง สถาบันการเงินยังอาจไม่จำเป็นต้องลดอัตราดอกเบี้ยตาม เนื่องจากสภาพคล่องการเงินสูง) รวมทั้งหุ้นในกลุ่มที่มีเงินกู้ต่างประเทศสูง เช่นหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า สายการบิน และหุ้นกลุ่มนิคมฯที่มักจะถือหุ้นเพื่อลงทุนในหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า ติดตามการประชุม กนง.ครั้งต่อไปคือ 25 ก.ย.62
• กกร.จะติดตามสถานการณ์ต่างๆ เพื่อประเมินทิศทางการปรับตัวของเศรษฐกิจไทย
# ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) จะติดตามสถานการณ์ต่างๆ เพื่อประเมินทิศทางการปรับตัวของเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยอย่างใกล้ชิดต่อไป เนื่องจากในช่วงครึ่งปีหลัง เศรษฐกิจไทยยังเผชิญความท้าทายจากหลายปัจจัยโดยขณะนี้ จึงยังคงประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ การส่งออก และอัตราเงินเฟ้อ ในปี 2562 ไว้ตามกรอบเดิม
+ รองนายกฯ สมคิด กล่าวอยู่ระหว่างการจัดทำมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
# นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ คาดอีก 2สัปดาห์แล้วเสร็จ และเสนอเข้าที่ประชุมครม.เศรษฐกิจ พิจารณา โดยในเบื้องต้นคาดว่าจะประชุมนัดแรกวันที่ 19 ส.ค.นี้
นักวิเคราะห์&กลยุทธ์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]