- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 06 August 2019 15:47
- Hits: 2690
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ความรุนแรงของการตอบโต้ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน เพิ่มมากขึ้น และเริ่มส่งผลกระทบในวงกว้าง ภาวะดังกล่าวสร้างแรงกดดันต่อตลาดหุ้นทั่วโลกให้ปรับตัวลดลง โดยในส่วนของตลาดหุ้นไทยก็ไม่สามารถหนีผลกระทบดังกล่าวได้เช่นกัน ในเชิงกลยุทธ์ แนะนำให้ปรับพอร์ตเพื่อลดความผันผวน โดยนำ JASIF เข้ามาในพอร์ตเพื่อพักเงิน แทนหุ้น MINT ส่วนหุ้น Top Picks เลือก MCS (FV@9) และ JASIF ซึ่งให้ Dividend Yield สูงกว่า 8% (Freehold)
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …ทยอยปรับตัวลงตลอดวัน
วานนี้ ตลาดหุ้นไทยเปิดดิ่งกว่า 9 จุด ก่อนที่จะทยอยปรับตัวลงตลอดวัน จากประเด็นสงครามการค้าจีน-สหรัฐที่ยังไม่มีความคืบหน้า จนสุดท้ายปิดที่ระดับ 1665.99 จุด ลดลง 18.72 จุด (-1.11%) มูลค่าการซื้อขาย 4.84 หมื่นล้านบาท โดยกลุ่มที่กดดันตลาด คือ กลุ่มสื่อสารเช่น ADVANC(-2.83%) INTUCH(-3.94%) TRUE(-1.64%) DTAC(-1.73%) กลุ่มพลังงานเช่น PTT(-0.54%) PTTEP(-0.38%) TOP(-1.49%) GULF(-1.21%) และกลุ่มธ.พ.เช่น KBANK(-1.99%) SCB(-2.89%) TISCO(-0.75%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่อย่าง CPALL(-1.44%) SCC(-0.93%) และ CPN(-1.40%) เป็นต้น
ประเด็นเรื่องสงครามการค้า ที่สร้างความผันผวนให้กับอัตราแลกเปลี่ยนถือเป็นปัจจัยกดดันหลักต่อ SET Index ทั้งนี้พัฒนาการล่าสุดของการเจรจาการค้าสหรัฐฯ-จีน ปรากฎการตอบโต้ระหว่างกันในหลากหลายรูปแบบ จนล่าสุดได้ขยายวงมาสู่การใช้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเครื่องมือ โดยพบว่าเงินหยวน เทียบกับ USD อ่อนค่าไปสู่ระดับ 7.0357 หยวน/USD สำหรับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว คาดว่าจะเป็นผลลบต่อการค้าระหว่างประเทศของไทยด้วย เฉพาะอย่างยิ่งระหว่างไทย กับ จีน ซึ่งพบว่าเงินบาทมีการแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินหยวนเช่นกัน ล่าสุดอยู่ที่ 4.38 บาท/หยวน นอกจากนี้ยังอาจส่งผลกระทบมายังภาคการท่องเที่ยว โดยอาจทำให้การฟื้นตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวจีน ฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด ด้วย Sentiment ดังกล่าวทำให้ฝ่ายวิจัยพิจารณา Cut Loss หุ้น MINT ออกจากพอร์ตการลงทุน และเลือกหุ้นที่เห็นว่าปลอดภัยในภาวะตลาดปัจจุบันอย่างกองทุนรวมโครวงสร้างพื้นฐาน JASIF เข้ามาแทน ส่วนประเด็นอื่นที่อยู่ในกระแสการลงทุนในช่วงเวลานี้ได้แก่ การรอคอยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งเริ่มเห็นความชัดเจนเพิ่มมากขึ้นในบางส่วน เช่น การประกันรายได้เกษตรกร การส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง การปรับเปลี่ยนสิทธิประโยชน์ของบัตรสวัสดิการฯ และการปรับปรุงฐานภาษี อย่างไรก็ตามด้วยสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน ก็ยังต้องติดตามพัฒนาการของเรื่องดังกล่าวใกล้ชิดยิ่งขึ้น สำหรับพอร์ตการลงทุนวันนี้ ฝ่ายวิจัยพิจารณาปรับปรุง โดย Cut Loss หุ้น MINT ซึ่งมีน้ำหนักการลงทุน 10% ออกจากพอร์ต พร้อมปรับลดน้ำหนักการลงทุนใน BJC จาก 15% เหลือ 10% และให้สลับเข้าไปลงทุนใน JASIF ด้วยน้ำหนัก 15% แทน
สงครามการค้าร้อนแรงขึ้น ธนาคารกลางจีนอ่อนค่าเงินหยวนรับผลสงครามการค้า
ผลกระทบจากสงครามการค้าหลังจากสหรัฐขึ้นภาษีนำเข้าอัตรา 25%กับจีน 3 รอบวงเงิน 2.5 แสนล้านเหรียญฯ และเตรียมจะขึ้นรอบที่ 4 อัตรา 10% วงเงิน 3 แสนล้านเหรียญฯ จะมีผล 1 ก.ย. ทำให้เศรษฐกิจจีนชะลอตัวลง (GDP Growth ปี 2562-2563 IMF คาดขยายตัว 6.2%yoy และชะลอเหลือ 6% และภาคการผลิต คือ PMI ล่าสุดชะลอลงติดต่อกัน 4 เดือนติด ล่าสุดอยู่ที่ 49.9 จุด ทำให้วานนี้ธนาคารกลางจีน(PBOC) ได้ปรับค่าเงินหยวนให้อ่อนค่าลงเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ล่าสุดอยู่ที่ 7.0357 หยวนต่อดอลล่าร์ฯ ระดับสูงสุดในรอบ 11 ปี จากก่อนหน้าแกว่งบริเวณ 6.87 ในเดือน มิ.ย.-ก.ย.2562 เพื่อช่วยเหลือภาคการส่งออกในประเทศ (ในอดีต 11 ส.ค.2558 PBOC เคยประกาศค่าเงินหยวนให้อ่อนค่าลงครั้งแรกในรอบ 20 ปี อยู่ที่ 6.4 หยวนต่อดอลลาร์ จากกำหนดอยู่ที่ 6.208 หยวนต่อดอลลาร์ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจีนปี 2558 ที่เริ่มชะลอตัว) รายละเอียดดังรูป
ที่มา : Bloomberg
ฝั่งสหรัฐ ล่าสุด กระทรวงพาณิชย์สหรัฐประกาศเพิ่มจีนในบัญชีดำเป็นประเทศที่แทรกแซงค่าเงิน จากเดิมจีนอยู่ในรายชื่อประเทศที่เฝ้าระวัง (Monitoring List) ทั้งนี้ ผลกระทบจากการถูกขึ้นบัญชีดำดังกล่าว อาจส่งผลให้จีนไม่สามารถใช้สิทธิพิเศษทางการค้าต่างๆ (เช่น FTA) กับสหรัฐได้ รวมถึงสหรัฐอาจดำเนินมาตรการอื่นๆตอบโต้ และลดข้อได้เปรียบของจีนจากเงินหยวนที่อ่อนค่าได้ อย่างไรก็ตามจีนไม่ได้มี FTA กับสหรัฐโดยตรง คาดว่าผลกระทบของการถูกขึ้นบัญชีแทรกแซงค่าเงินต่อเศรษฐกิจจีนน่าจะจำกัด
โดยรวมทำให้แนวโน้มค่าเงินในประเทศเอเซียเทียบดอลลาร์อ่อนค่าตามเกือบทุกสกุล (รายละเอียดดังรูปด้านล่าง) ยกเว้นค่าเงินบาท/ดอลลาร์ที่ยังแข็งค่ามากที่สุดในภูมิภาค หรือแข็งค่าราว 5.3%นับตั้งแต่ต้นปี ล่าสุดอยู่ที่ 30.82 บาทต่อดอลลาร์
ขณะที่ผลจากเงินหยวนต่อดอลลาร์ที่อ่อนค่าแรงดังกล่าว ทำให้ในเชิงเปรียบเทียบค่าเงินบาทต่อหยวนแข็งค่าแรง โดยแข็งค่าและทำจุดต่ำสุดในรอบ 8 ปี 8 เดือน อยู่ที่ 4.38 บาท/หยวน และแข็งค่าราว 6%นับตั้งแต่ต้นปี
การเปลี่ยนแปลงค่าเงินทั่วโลกนับตั้งแต่ต้นปี และ 2 ส.ค.-ปัจจุบัน
ที่มา : Bloomberg *Note 2 ส.ค.-ปัจจุบัน (นับตั้งแต่สหรัฐประกาศสงครามการค้ารอบที่ 4)
ผลกระทบต่อไทย คือ ภาคการส่งออก คือ ไทยสัดส่วนการค้ากับจีน (ส่งออกรวมกับนำเข้า) มากที่สุดราว 8.02 หมื่นล้านเหรียญในปี 2561 หรือคิดราว 16%ของประเทศคู่ค้าทั้งหมดของไทย จะกระทบคือผู้ส่งออกจะมีรายได้ที่ลดลงจากอัตราแลกเปลี่ยนสกุลบาทต่อหยวนและบาทต่อดอลลาร์ และราคาสินค้าไทยแพงขึ้นในสายตาผู้นำเข้าจีน ทั้งนี้พิจารณาสินค้าส่งออกไทยไปจีนหลักๆ คือ เม็ดพลาสติก 10.3%ของสินค้าส่งออกไปจีนทั้งหมด, ผลิตภัณฑ์ยาง 9.4%, เคมีภัณฑ์ 9.1%, คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน 7%, ยางพารา 6.5% เป็นต้น
ภาคการท่องเที่ยว นอกจากเศรษฐกิจจีนที่ชะลอทำให้นักท่องเที่ยวจีนมาไทยชะลอลงแล้วนั้น นักท่องเที่ยวจีนอันดับ 1 ของไทย หรือเฉลี่ย 1H2562 ราว 9.4 แสนราย หรือราว 28% ของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ค่าเงินที่มีแนวโน้มแข็งค่าน่าจะมีส่วนผลต่อการตัดสินใจมาเที่ยวไทย
ผลเชิงบวก คือ ผู้นำเข้าจะได้ประโยชน์จากอัตราแลกเปลี่ยนสกุลหยวนที่ถูกลง
ในส่วนของภาคธุรกิจ การที่เงินบาท/หยวนแข็งค่าขึ้น อาจเป็นความท้าทายสำหรับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับชาวจีน โดยบริษัทจดทะเบียนในตลาดฯ ที่น่าจะได้รับผลกระทบ มีรายละเอียดดังนี้
กลุ่มค้าปลีก-ค้าส่ง: BEAUTY กระทบจากประเด็นกำลังซื้อของนักท่องเที่ยวจีนที่ลดลง โดยสัดส่วนยอดขายของนักท่องเที่ยวจีนคิดเป็นราว 5-10% ของยอดขายรวม รวมไปถึงความสามารถในการแข่งขันในประเทศจีนลดลง เนื่องจาก BEAUTY มีการส่งออกไปจีนราว 30% ของรายได้รวม
กลุ่มท่องเที่ยวและโรงแรม: เนื่องจากนักท่องเที่ยวจีน เป็นอันดับ1 ของไทย คิดเป็นสัดส่วนราว 28% ของนักท่องเที่ยวต่างชาติ เงินบาท/หยวนที่แข็งค่าจะสร้างแรงกดดันต่อกำลังซื้อของชาวจีนและกระทบต่อธุรกิจที่โรงแรม โดยเฉพาะ ERW เนื่องจากโครงสร้างรายได้พึ่งพาโรงแรมในไทยราว 94%, CENTEL สัดส่วนร้านอาหารและธุรกิจโรงแรม 62% และ 37% ของรายได้,
ขณะที่ MINTกระทบน้อยกว่า เนื่องจากโครงสร้างธุรกิจหลากหลาย คือ มาจากธุรกิจร้านอาหาร ขณะที่รายได้จากโรงแรมส่วนใหญ่มาจากโรงแรมในต่างประเทศ คือ NH Hotel
กลุ่มขนส่งทางอากาศ: หากการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยว 2H62 จากฐานต่ำปีก่อน ต่ำกว่าที่ประเมินไว้ และจะกระทบต่อประมาณการหุ้นการบินทั้งหมด ที่ฝ่ายวิจัยตั้งสมมติฐานปริมาณจราจร (โดยรวมผลบวกการฟื้นตัวจากฐานต่ำปีก่อน)
จากการศึกษาผลกระทบความอ่อนไหวอัตราส่วนบรรทุกผู้โดยสารทุกๆ 1% ที่เปลี่ยนแปลงไปจากประมาณการเดิม ขณะที่ AOT เป็นการกำหนดการเติบโตของผู้ใช้บริการทุกๆ 1% ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จะกระทบต่อกำไรสุทธิปี 2562 ลดลงจากประมาณการเดิมของ AOT, AAV,BA ลดลง 1.4%, 23%, 70.6% ส่วน THAI พลิกจากกำไรเป็นขาดทุน ตามลำดับ
ขณะที่กระทบมูลค่าพื้นฐาน AOT, AAV, BA และ THAI ลดลง 1.0%, 8.0%, 4.2% และ 11.1% ตามลำดับ จากมูลค่าพื้นฐานปัจจุบัน (AOT(FV@B80), AAV([email protected]), BA([email protected]), THAI ([email protected])
กลุ่มโรงพยาบาล: คาดกระทบต่อโรงพยาบาลที่มีสัดส่วนรายได้จากผู้ป่วยต่างชาติจำกัด (BH, BDMS,PR9 และ BCH) เนื่องจากสัดส่วนรายได้จากชาวจีนคิดเป็นเพียง 1-3% ของกลุ่มฯ
กลุ่มอาหาร: CPF มีรายได้เป็นเงินหยวน 25% ของรายได้รวม ค่าเงินบาท/หยวนแข็งค่าจะทำให้แปลงรายได้เป็นบาทได้น้อยลง ขณะที่ธุรกิจในจีนแทบไม่ได้รับผลกระทบดังกล่าว เนื่องจากมีการซื้อ/ขาย ภายในนั้นอยู่แล้ว
กลุ่มส่งออกชิ้นส่วน: เงินบาท/หยวนแข็งค่า จะทำให้ความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย (KCE DELTA SVI และ HANA) เทียบกับผู้ประกอบการจีนลดลง นอกจากนี้ HANA ยังมีรายรับเป็นรูปเงินหยวนราว 15% ของรายได้รวม เมื่อแปลงกลับเป็นสกุลบาททำให้มีมูลค่าที่ลดลง
รัฐบาลเดินหน้ากระตุ้นการบริโภคและท่องเที่ยว
รัฐบาลชุดใหม่มีความชัดเจนจะเร่งเดินหน้าผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นให้เกิดขึ้นภายในปีนี้ คือ มุ่งไป 3 ส่วน คือ กระตุ้นการบริโภคผ่านทั้งผู้มีรายได้น้อยและชนชั้นกลาง อาทิ ประกันราคาสินค้าเกษตร 5 สินค้า , ลดค่าครองชีพ, ลดภาษีเงินได้บุคลธรรมดาลง 10% และภาคการท่องที่ยว อาทิ อัดฉีดเงินให้คนละ 1500 บาท เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว และ ดึงดูดการลงทุนเอกชน คือ เตรียมมาตรการใหม่ที่จะดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศที่ไดรับผลกระทบจากสงครามการค้า (รายละเอียดดังตาราง) น่าจะช่วยกระตุ้นกำลังซื้อให้แก่ประชาชนได้ ซึ่งหุ้นที่จะได้ประโยชน์หลัก ๆคือ กลุ่มค้าปลีก , กลุ่มนิคมและกลุ่มก่อสร้าง
มาตรการกระตุ้นระยะสั้นของรัฐบาลที่มีความชัดเจนจะเดินหน้า
ที่มา : ASPS รวบรวม
หุ้นที่ต้องระวัง!! ยามตลาดปรับฐาน
ในภาวะ SET Index อยู่ในภาวะแกว่งผันผวนสูง หนึ่งในกลุ่มหุ้นที่นักลงทุนควรเพิ่มความระมัดระวังในการเข้าลงทุน คือ หุ้นที่มีมูลค่าคงค้างในธุรกรรม Block Trade หรือมีสถานะคงค้าง (OI) ใน Single Stock Futures (SSF) ระดับสูงเพราะหากเกิดแรงขายทำกำไรออกมาเชื่อว่าจะมีโอกาสเกิดความผันผวนมากกว่าปกติ โดยฝ่ายวิจัยฯ ได้คัดกรองกลุ่มหุ้นที่เข้าเกณฑ์ข้างต้น โดยแบ่งเป็น 2แง่มุมดังนี้
1.หุ้นที่มีมูลค่าคงค้างใน Block Trade สูงสุด 10 ลำดับแรก และให้ผลตอบแทนตั้งแต่ 23 พ.ค. 62 จนถึงปัจจุบันเพิ่มขึ้นกว่า 10%
2. หุ้นที่มีสถานะคงค้าง (OI) ปัจจุบันใน SSF ใกล้เคียงกับสถานะคงค้าง (OI) สูงสุดเดิมตั้งแต่ต้น 2562 10 อันดับแรก โดยที่ให้ผลตอบแทนตั้งแต่ 23 พ.ค. 62 จนถึงปัจจุบันเพิ่มขึ้นกว่า 10%
ทั้งนี้หุ้นในกลุ่มดังกล่าวที่ควรเพิ่มระมัดระวังเป็นพิเศษหรือหลีกเลี่ยงการลงทุนในระยะสั้น คือ JAS GULF EPG TKN EGCO และ CBG* เพราะนอกจากจะมีมูลค่าคงค้างใน Block Trade และสถานะคงค้าง (OI) ใน SSF ในระดับสูงแล้ว หากเปรียบเทียบกับมูลค่าพื้นฐานฝ่ายวิจัยฯประเมินยังพบว่าราคาปัจจุบันสูงกว่า FV เกิน 10% ทั้งนี้ CBG* เป็นหุ้นที่ฝ่ายวิจัยฯไม่ได้ทำการศึกษาแต่ราคาปัจจุบันเกิน FV ของ Consensus 17%
กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน แหล่งพักเงินชั้นเยี่ยมยามตลาดผันผวน ชอบ JASIF
หลากหลายปัจจัยแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในประเทศกดดันต่อตลาดหุ้นต่อเนื่อง ลักษณะเช่นนี้ ทำให้นักลงทุนต้องการเกราะป้องกันเงินทุน โดยหนึ่งในกลยุทธ์ที่ดี คือ เน้นลงทุนในหุ้น Defensive คือ มีความผันผวนต่ำ พร้อมกับเงินปันสูง ถือเป็นเบาะรองชั้นเยี่ยมยามตลาดปรับฐาน
วันนี้ฝ่ายวิจัยฯแนะนำลงทุนกองทุนอสังหาฯ และกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนเพิ่มเติมดังนี้
การเข้าสู่วัฎจักรดอกเบี้ยขาลงของโลก โดยหลายๆประเทศเริ่มมีการปรับลดดอกเบี้ยในปี 2562 นี้ เช่น อินเดียปรับลด 3 ครั้ง, มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ปรับลด 1 ครั้ง และสหรัฐปรับลดดอกเบี้ยในสัปดาห์ที่ผ่านมา (ปรับลดครั้งแรกในรอบ 11 ปี) ส่งผลให้กองทุนอสังหาฯที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงกว่า 4% ต่อปีได้รับความสนใจมากขึ้น
ประเด็นสงครามการค้าที่กลับมาปะทุ ส่งผลให้นักลงทุนย้ายเงินลงทุนเข้ามาสู่สินทรัพย์ที่มีความผันผวนต่ำ
ผลตอบแทนจากตราสารหนี้ที่อยู่ในระดับต่ำ (Bond Yield 10 ปี ของไทยล่าสุดอยู่ที่ 1.73% ต่ำสุดในรอบ 3 ปี 4 เดือน) จากภาวะดอกเบี้ยขาลง รวมถึงในวันที่ 20 ส.ค. 62 จะมีการเก็บภาษี 15% ในกองทุนรวมตราสารหนี้ กดดันให้ผลตอบแทนจากตราสารหนี้ลดลงไปอีก ทำให้อาจมีการโยกย้ายเม็ดเงินบางส่วนมาลงทุนในกองทุนอสังหาฯหรือกองทุนโครงสร้างพื้นฐานมากขึ้น
ในปี 2562 นี้กองทุนอสังหาฯ ได้รับความสนใจเป็นพิเศษ สังเกตได้จากดัชนี PF&REIT ปรับตัวขึ้นมาถึง 18.5%(ytd) Outperform ตลาดมาก ขณะที่ SET Index เพิ่มขึ้นเพียง 6.5%(ytd) จนหลายฯกองทุนเริ่มแพง (Premium กลุ่มสูงถึง 50%) จึงเชื่อว่าอาจมีการย้ายเม็ดเงินมาสู่กองทุนที่มีค่า Premium ระดับต่ำ และยังมี Dividend Yield อยู่ในระดับสูง มากขึ้น
ดังนั้นฝ่ายวิจัยฯ จึงคัดสรรกองทุนอสังหาฯ หรือ กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน คาดว่าจะเป็นแหล่งพักเงินชั้นเยี่ยมยามตลาดที่หุ้นผันผวน ณ ปัจจุบัน ดังนี้
ที่มา: SET, ฝ่ายวิจัย ASPS
ใน 3 กองทุนดังกล่าว เลือก JASIF เป็น Top pick เนื่องจากราคาตลาดสูงกว่าราคาประเมินเพียง 5% เท่านั้น (Premium ต่ำกว่ากลุ่มมาก) และสามารถคาดหวัง Dividend Yield ได้สูงถึง 8.49% ต่อปี และที่สำคัญเป็นกองประเภท Freehold ทำให้ NAV ไม่ถูกลดทอนตามอายุโครงการที่ใกล้หมดลง อย่างประเภท Leasehold
ภรณี ทองเย็น, CISA
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม,
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ