WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Asia Plus Group Holdingบล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
 
กลยุทธ์การลงทุน
ข้อจำกัดเรื่อง Valuation ที่เริ่มสูง ประกอบกับแรงขายทำกำไรจากนักลงทุนสถาบันที่มีออกมา ทำให้ SET Index ในช่วงนี้ยังไม่สามารถปรับขึ้นไปได้ ส่วน Downside ก็จำกัดเช่นกัน ประเด็นวันนี้ ฝ่ายวิจัยให้น้ำหนักกับเรื่องงบประมาณรายจ่ายปี 2563 ซึ่งล่าช้ากว่าที่คาดมากขึ้นไปอีก ทำให้เกิดข้อจำกัดในการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ก็ยังมีช่องทางให้ออกมาตรการกระตุ้นบางอย่างออกมาได้เลือกหุ้นที่ได้ประโยชน์เป็น Top Picks ได้แก่ AMATA (FV@ 35.70) และ BJC (FV@B 61)
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …แกว่งผันผวนตลอดวัน
วานนี้ ตลาดหุ้นไทยแกว่งผันผวนตลอดวันในแดนลบ จากการที่ยังไม่มีปัจจัยบวกใหม่ๆ เข้ามาหนุนเพิ่มเติม จนสุดท้ายปิดที่ระดับ 1724.87 จุด ลดลง 2.71 จุด (-0.16%) มูลค่าการซื้อขาย 6.21 หมื่นล้านบาท โดยกลุ่มที่กดดันตลาด คือ กลุ่มสื่อสารเช่น ADVANC(-1.39%) JAS(-17.11%) TRUE(-3.03%) DTAC(-0.86%) กลุ่มธ.พ.อย่างเช่น BBL(-2.37%) KBANK(-1.12%) แต่ได้แรงหนุนหลักจากกลุ่มขนส่งเช่น AOT(+1.05%) BTS(+1.57%) BA(+0.91%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่อย่าง CPALL(+0.58%) BJC(+1.46%) และ WHA(+2.13%) เป็นต้น 
ประเด็นวันนี้ฝ่ายวิจัยให้ความสำคัญกับเรื่อง งบประมาณรายจ่ายปี 2563 ซึ่งดูเหมือนว่ากำหนดการอาจล่าช้ากว่าที่คาด โดยจะเริ่มเข้าสู่กระบวนการในการพิจารณาทางสภาฯได้ในช่วงกลางเดือน ต.ค.2562 และพร้อมเบิกจ่ายได้ครึ่งหลังของเดือน ม.ค.2563 ซึ่งล่าช้ากว่าปีงบประมาณปกติเกือบ 4 เดือน ความล่าช้าดังกล่าวจะส่งผลทำให้เม็ดเงินที่ควรออกมากระตุ้นเศรษฐกิจเกิดขึ้นล่าช้าตามไปด้วย โดยน่าจะกระทบทำให้ การเปิดประมูลโครงการลงทุนขนาดใหญ่ล่าช้าออกไป รวมถึงการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ๆ ก็ต้องรอเวลา แต่อย่างไรก็ตามก็เพิ่มความเป็นไปได้ในการเร่งออกมาตรการที่รัฐยังไม่ต้องมีการเบิกจ่ายงบประมาณโดยทันที อย่างเช่น มาตรการลดหย่อนภาษีต่าง อาทิ ช็อปช่วยชาติ หรือ ลดหย่อนภาษีสำหรับการท่องเที่ยวในประเทศ เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องหากลไกเร่งด่วนอื่นๆ ที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในภาวะที่งบประมาณรายจ่ายยังไม่ผ่านขั้นตอนการอนุมัติ ที่ชัดเจนน่าจะเป็นเรื่องการกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ EEC ภายใต้สถานการณ์แวดล้อมดังกล่าว ฝ่ายวิจัยจึงกำหนดกลยุทธ์การลงทุนโดยให้ความสำคัญกับหุ้นที่น่าจะได้ประโยชน์ โดยวันนี้ยังเลือก BJC และ AMATA เป็นหุ้น Top Pick ส่วนพอร์ตการลงทุนไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนแต่อย่างใด สำหรับทิศทางของ SET Index คาดว่าน่าจะยังอยู่ในช่วงของการผันผวนโดยมีพื้นที่ 1740-1750 จุด เป็นบริเวณจำกัด Upside
IMF ปรับลด GDP Growth โลกครั้งที่ 3 ของปีนี้ 
IMF ปรับลด GDP Growth โลกลงถือเป็นเป็นการปรับลดครั้งที่ 3 ของปีนี้  คือคาดปี 2562-2563  ขยายตัว 3.2% และ 3.5% ลดลงจากรอบ เม.ย. คาด  3.3% และ 3.6% ตามลำดับ  และปรับลดปริมาณการค้าโลก (World Trade Volume) ปี 2562-2563  เหลือ 3% และ % จากเดิมที่คาด 3.4% และ 3.9%เท่ากันทั้งสองปี   เนื่องจากผลกระทบสงครามการค้า ,  Brexit หากอังกฤษออกแบบ No deal 
ฝั่งประเทศพัฒนาแล้ว ปรับขึ้นบางประเทศคือ ยุโรป แม้ยังคงปี 2562 ที่ 1.3% แต่ปรับเพิ่มปี 2563 เป็น 1.6% จากเดิม 1.5%, อังกฤษปรับเพิ่มปี 2562 เล็กน้อยเป็น 1.3% จากเดิม 1.2% แต่ยังคงปี 2563 ที่ 1.4% ตามเดิม เพราะยังกังวล Brexit, สหรัฐปรับเพิ่มปี 2562 เป็น 2.6% จาก 2.3% เนื่องจากเศรษฐกิสหรัฐช่วง 1Q62 ขยายตัวดีกว่าคาดและตลาดแรงงานที่ยังแข็งแกร่ง แต่คงปี 2563 ไว้ที่ 1.9%, ญี่ปุ่นปรับลดปี 2562 เหลือ 0.9% จาก 1.0% และปี 2563 เหลือ 0.4% จาก 0.5% ตามลำดับ ตามผลกระทบของการขึ้นภาษี Sale Tax 
ฝั่งประเทศกำลังพัฒนา  ปรับลดเกือบทุกประเทศ โดยเฉพาะ จีนปี 2562 คาด  6.2% จาก 6.3% และปี 2563 คาด 6.0% จาก 6.1% ตามลำดับ สะท้อนผลกระทบของสงครามการค้า โดยเฉพาะในรอบที่ 3 วงเงิน 2 แสนล้าน อัตราภาษีเพิ่มจาก 10% เป็น 25% และกลุ่มอาเซียนปรับลดปี 2562 เหลือ 5.0% จาก 5.1% และปี 2563 เหลือ 5.1% จาก 5.2% ตามลำดับ 
การปรับลด GDP Growth และการค้าโลกของ IMF สอดคล้องกับทิศทางการค้าของไทยที่ชะลอตัวลงเห็นได้จาก  ล่าสุด การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) รายงานจำนวนเรือเทียบท่าตามท่าเรือแหลมฉบังงวด 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2562 (ต.ค. 2561 – เม.ย. 2562) พบว่า มีเรือเทียบท่า 6,426 เที่ยว ลดลง 5.6%yoy, ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสนมีเรือเทียบท่า 1,549 เที่ยว ลดลง 32.1%yoy เป็นต้น สะท้อนถึงภาวะการค้าระหว่างประเทศยังคงชะลอตัวอยู่    โดยรวมเป็นการตอกย้ำให้เชื่อว่าการส่งออกไทยน่าจะชะลอตัว  ( ASPS คาดว่าการส่งออกปี 2562 หดตัว 3% เทียบกับ 1H62 หดตัวเฉลี่ย 2.9%)
IMF คาดการณ์ GDP Growth ทั่วโลก
 
ที่มา :  IMF รอบ ก.ค. 2562 
 
นายกอังกฤษคนใหม่ตามคาด คือ บอริส จอห์นสัน 
ผลสรุปนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอังกฤษเป็นไปตามที่ตลาดคาด คือ นาย Boris Johnson (อดีตผู้ว่าการกรุง London) ซึ่งมีความคิดไปทางอนุรักษ์นิยม คือ ผลักดันให้อังกฤษออกจากยุโรปแบบไม่มีข้อตกลง (No Deal Brexit) ในวันที่ 31 ต.ค. 2562   ทั้งนี้เชื่อว่าหากอังกฤษออกจากยุโรป แบบ No deal  จะส่งผลให้เศรษฐกิจอังกฤษเผชิญกับความเสี่ยงมากขึ้นทั้ง
    การค้า อาทิ  สิทธิประโยชน์ทางภาษีการค้า เช่น FTA ที่เคยได้รับจากการส่งออก/นำเข้าสินค้าในระดับอัตราภาษีที่ต่ำ เป็นต้น 
    สาธารณูปโภคระหว่างประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป อาทิ ทางรถไฟ 
    เสถียรภาพทางการเมือง ล่าสุด รัฐมนตรีคลังและรัฐมนตรียุติธรรมอังกฤษประกาศลาออกหากนาย Boris Johnson ได้เป็นนายก
ขณะที่ผลกระทบต่อไทย คือ ภาคการส่งออกแต่เชื่อว่าจะกระทบจำกัดเนื่องจาก ไทยมีสัดส่วนการค้ากับอังกฤษน้อยราว  อันดับที่ 20 ของไทยราว 1.28% ของการค้าทั้งหมดของไทย โดยสินค้าส่งออกหลักที่ส่งไปอังกฤษ เช่น รถยนต์ และส่วนประกอบ, เนื้อสัตว์แปรรูป, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, เครื่องจักรกล,อัญมณีและเครื่องประดับ, อุปกรณ์การวัดและถ่ายภาพ เป็นต้น
โดยรวมความกังวลจากความเสี่ยงของ Brexit กดดันให้ค่าเงินปอนด์อ่อนค่า โดยนับตั้งแต่ต้นเดือน ก.ค. เงินปอนด์อ่อนค่าราว 1.83%mtd และหากนับตั้งแต่ต้นปี อ่อนค่า 1.8%ytd กดดันให้  Dollar Index แข็งค่า(Dollar Index ตั้งแต่ต้นเดือน ก.ค. แข็งค่า 1.1%mtd) โดยรวมเชื่อว่าจะทำให้ Fund Flow มีแนวโน้มชะลอการไหลออกจากสินทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์ และไหลเข้าภูมิภาคน้อยลงเช่นกัน และเชื่อว่าโอกาสไหลเข้าสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Heaven) 
งบประมาณปี 2563 ส่อแววล่าช้ากว่าคาด
ประเด็นความเสี่ยงอีกทางหนึ่งที่ ASPS เคยนำเสนอในช่วงก่อนหน้า คือ  งบประมาณปี 2563  ที่ส่อแววล่าช้ากว่าเดิมที่คาดออกไปอีก 1 เดือน  คือ ล่าสุด สำนักงบประมาณกำหนดกรอบการพิจารณา เริ่มจาก   30 ก.ค. ให้ครม.พิจารณางบประมาณปี 2563 จะให้มีการเพิ่ม/คงงบประมาณปี 63 จากเดิมที่  3.2 ล้านล้านบาท  ASPS คาดมีโอกาสที่จะเพิ่มวงเงินงบประมาณปี 2563)  และคาดว่าจะเข้าสู่สภาเพื่อพิจารณา วาระแรก คือ 17 ต.ค. 2562   เลื่อนออกไปจากเดิมคาดพิจารณา ปลายเดือน ก.ย.62  และจะทำให้การพิจารณาวาระที่ 2-3จะถูกเลื่อนออกไปด้วย (ดังรูปด้านล่าง)
กระบวนการอนุมัติงบประมาณปี 2563
 
ที่มา :  ASPS รวบรวม 
โดยรวมทำให้การเบิกจ่ายงบประมาณปี 2563 งวด 1Q63 จะล่าช้าออกไป ล่าสุด สำนักงบประมาณคาดจะเริ่มเบิกจ่ายงบประมาณปี 2563 เร็วสุดคือ ราวปลายเดือน ม.ค.2563  จากเดิมคาดเริ่ม  1 ม.ค.2563   เชื่อว่าจะกระทบต่อส่วนของการเบิกจ่ายงบลงทุนที่ยังไม่ก่อหนี้ผูกผัน  ซึ่งเชื่อว่าจะกระทบทางลบต่อ กลุ่มรับเหมาฯ และวัสดุก่อสร้าง และอาจเป็นผลทางบวกต่อ ค้าปลีก
กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง  คาดจะได้รับ Sentiment เชิงลบ โดยเฉพาะผู้รับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่  คือ ITD, CK, STEC, UNIQ ที่จะได้รับผลกระทบจากโครงการลงทุนใหม่ๆที่อาจจะประมูลล่าช้า    จากแผนปฎิบัติการเร่งด่วน (Action Plan) ปี 2562 มีจำนวน 41 โครงการ มูลค่ารวม 1.77 ล้านล้านบาท   
กลุ่มวัสดุก่อสร้าง คือ TASCO([email protected]) ความล่าช้าในการจัดทำงบประมาณประจำปี 2563 ดังกล่าว ทำให้การเบิกจ่ายงบลงทุนของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค. 62 มีความล่าช้าตามไปด้วย จึงเชื่อว่าผลประกอบการช่วง 2H62 น่าจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับช่วง 1H62  ประกอบกับราคาหุ้นได้ปรับตัวขึ้นแรงราว  47% นับตั้งแต่ต้นปี   ASPS  ปรับลดคำแนะนำลงจากซื้อ ให้ Switch ไป SCCC (FV@Bt 269) ที่มี Upside มากกว่า
กลุ่มค้าปลีก  เนื่องจากงบประมาณที่อาจเบิกจ่ายล่าช้า เชื่อว่ารัฐบาลน่าจะกลับมาเดินหน้ากระตุ้นการบริโภคที่ยังไม่ต้องใช้วงเงินในการอัดฉีดมากนัก  คือ น่าจะมุ่งไปที่ มาตรการทางภาษี เช่น ช็อปช่วยชาติ , นำค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวมาลดหย่อนภาษี    แต่เชื่อว่าในที่สุดรัฐบาลจะต้องเก็บภาษีในส่วนอื่นชดเชย และน่าจะทำให้รัฐบาลจะต้องขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้น จากล่าสุด ปี 2562 ขาดดุลราว 4.5 แสนล้านบาท 
ต้นทุนต่างชาติ 1708 จุด บวกฤดูกาลปันผล ช่วยจำกัด Downside ตลาดฯ
ในช่วงปลาย พ.ค. 62 ถึงปัจจุบัน Fund Flow ไหลทะลักเข้าตลาดหุ้นไทยกว่า 8.7 หมื่นล้านบาท หนุนให้ SET Index ขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 1748.15 จุด (ณ 11 ก.ค. 2562) และซื้อขายบน P/E ในระดับที่สูงกว่าปกติเกือบ 17 เท่า หลังจากนั้น SET Index เริ่มย่อตัวลง เนื่องจากถูกแรงขายจากสถาบันฯกดดันต่อเนื่องกว่า 4.7 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้ยอดซื้อสุทธิจากสถาบันฯนับตั้งแต่ต้นปี 2562 พลิกกลับมาติดลบ 1.8 พันล้านบาท (ytd)
มูลค่าการซื้อขายหุ้นไทยของสถาบันฯและต่างชาติ vs. SET Index (ytd)
 
ที่มา: SET, ฝ่ายวิจัย ASPS
 
อย่างไรก็ตามหากพิจารณาต้นทุนการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติเทียบกับ SET Index (ytd) พบว่า อยู่ที่ 1708 จุด ผนวกกับการเดินหน้าเข้าสู่ช่วงฤดูกาลจ่ายปันผล หนุนให้มีเม็ดเงินเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้น ช่วยจำกัด Downside ของตลาดฯ
กลยุทธ์การลงทุนฝ่ายวิจัย ASPS แบ่งออกเป็น 2 ธีม คือ
•    หุ้นแข็งแกร่งพื้นฐานดี ที่คาดว่ากำไรจะเติบโตต่อเนื่อง และยังมีปัจจัยบวกเฉพาะตัว เลือก BJC, AMATA, FPT, MINT, TTCL และ TU 
•    หุ้นที่ได้ประโยชน์จากการจ่ายปันผลระหว่างกาล จากสถิติพบว่า ราคาหุ้นปันผลสูงมักจะตอบรับเชิงบวกโดยปรับตัวขึ้นก่อนขึ้นเครื่องหมาย XD ราว 1-2 เดือน (เดือน ส.ค. จะเป็นรอบการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล) เลือก M, KKP และ BBL
 
ภรณี ทองเย็น, CISA 
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม, 
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน, ปัจจัยทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
 ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
   ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!