- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 24 July 2019 16:18
- Hits: 2236
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
ติดตามรัฐแถลงนโยบาย ประชุม ECB เจรจาการค้า
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : : -ไม่มี
ภาวะตลาดและปัจจัย : SET วานนี้ -2.71 จุด ปิดที่ 1724.87 จุด มูลค่าการการซื้อขายสูงขึ้นที่ 62.1 พันล้านบาท ดัชนีฯลดสวนกับเพื่อนบ้าน มีแรงขายทำกำไรมากโดยเฉพาะกลุ่มสื่อสาร และธนาคาร มีการติดตามผลประชุม ECB ผู้ซื้อสุทธิคือ ต่างชาติ 1.7 พันล้านบาท ซื้อเล็กน้อยคือรายย่อย ขายสุทธิเป็นสถาบัน 1.7 พันล้านบาท และโบรกเกอร์ ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันต่างชาติเป็นซื้อสุทธิเพิ่ม 63.4 พันล้านบาท ด้านแนวโน้มตลาดและกลยุทธ์วันนี้คือ
# ปัจจัยสำคัญ: ติดตาม หลายเหตุการณ์ 1) แถลงนโยบายรัฐบาลใหม่พรุ่งนี้ 2) ประชุม ECB พฤหัส และจะลดอัตราดอกเบี้ยเลยหรือไม่ และ 3) การเจรจาการค้าสหรัฐบินไปพบจีน ปัจจัยบวกคือ การหลีกหนีภาวะ Shut Down สหรัฐสำเร็จ ราคาน้ำมันปรับขึ้นต่อเนื่อง ดัชนีความกังวลลดลงเป็น 12.61 จุด ต่างชาติซื้อสุทธิต่อเนื่อง ยอดขายบ้านมือสองสหรัฐลด เฟดมีโอกาสลดดอกเบี้ย 0.25% ตลาดหุ้นเพื่อนบ้านเช้านี้ปรับขึ้น ส่วนปัจจัยลบคือ เงินบาทอ่อน และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรา 10 ปีสหรัฐเพิ่มเป็น 2.0772% อาจมีเงินไหลออกมากขึ้น ติดตามผลประกอบการ 2Q62 หลังกลุ่มแบ็งค์ประกาศครบแล้ว ต่อไปคือ วัสดุก่อสร้าง และพลังงานสำหรับดาวโจนส์ล่วงหน้ามีการปรับขึ้นเล็กน้อย
# ระยะสั้นคาด SET มีโอกาส Sideways กลยุทธ์ คือ การเก็งกำไร เข้าไว-ออกไว เพราะยังวางใจไม่ได้ แนวต้านเป็น 1730-1740 จุด แนวรับที่ 1710-1700จุด สำหรับการลงทุนทยอยซื้อสะสม เป้าหมายดัชนีระยะยาวเป็น 1750 จุด ด้วย P/E ที่ 17.4 เท่า (Median+1 SD) หลังจัดตั้งครม.ประยุทธ์ 2 สำเร็จ มีโอกาสจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แถลงนโยบาย 25 ก.ค.นี้ กลุ่มหลักทรัพย์ที่จะได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แนะนำ ซื้อเก็งกำไรดังนี้ พาณิชย์- CPALL, BJCรับเหมาก่อสร้าง- CK, STEC,SEAFCO นิคมฯ-AMATA, ROJNA, WHA ท่องเที่ยว- MINT ขนส่ง AOT สื่อสาร- ADVANC ไฟแนนซ์- KKP, MTC, TISCO, TCAPและสื่อ- VGI
# Stock Pick Today : KKP กำไร 2Q62 เป็น 1.5 พันล้านบาท (-5.2% y-o-y, -19.7% q-o-q) ตามคาด พอร์ตสินเชื่อโต 2.1% YTD แรงผลักดันมาจากสินเชื่อองค์กร NPL Ratio เป็น 4.2% ส่วน Coverage Raito ทรงตัวที่ 113% คงคำแนะนำ ซื้อ ที่ราคาพื้นฐาน 97.00 บาท เทียบกับ P/BV ปี 62 ที่ 1.8 เท่า จุดเด่นคือ จ่ายปันผลสูง ปีละ 2 ครั้ง คาดการณ์อัตราผลตอบแทนปันผลปีนี้ไว้ที่ 7% หรือจ่าย 4.99 บาท
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น สัญญาณ Candlestick & Indicators เป็นลบ {“ปิดลบ”ใต้“SMA10วัน”ต่อ (โดยยังถูกกดดันจาก“สภาวะOverbought”(เดิม)ที่มีระดับนัยสำคัญ และ“โครงสร้างขาลง – ระยะกลาง”)} ชี้ความน่าจะเป็นของตลาดฯวันนี้“แกว่งลง”เป็นหลัก แต่“ค่าบวก”(ถ้ามี) จะทำให้มีรีบาวด์ฯสั้นๆก่อน(แล้วจึงลงต่ำ,ตามมา)ได้ แนวต้าน 1730 – 1740 จุด {แนวตัดขาดทุน “ต่ำกว่า 1720” (แนวรับย่อย “1710 / 1700” จุด)}
สำหรับหุ้นที่มีโอกาสทำ New High เข้ามาใหม่คือ TCMC,PPPM,TVO,LPH หุ้นที่ยังอยู่ในลิสต์ คือ RJH,NER,COM7,GUNKUL,TOP,PTTEP,RPH หุ้นที่หลุดลิสต์คือ NOBLE,BAFS,TQM,III,VNT หุ้นที่ควร Take Profit คือ JMT,WHA,BJC,KTB
นักวิเคราะห์&กลยุทธ์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]
Inside Story
Key Drivers TODAY : ปัจจัยต่างประเทศ / ปัจจัยในประเทศ
Industry Focus : กลุ่มธนาคารพาณิชย์
STOCK in Focus : BJC (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 57.00)
Flash Note : JAS (ซื้อเก็งกำไร -ราคาพื้นฐาน 9.75)
In The News : ข่าวเด่นวันนี้
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
+/• การเจรจาการค้า: สัปดาห์หน้า ผู้แทนการค้าสหรัฐ จะเดินทางไปยังกรุงปักกิ่งเพื่อเจรจากับจีน
# รมว.คลังสหรัฐ และผู้แทนการค้าสหรัฐ จะเดินทางไปยังกรุงปักกิ่งในสัปดาห์หน้า เพื่อเจรจากับรองนายกรัฐมนตรีจีน ซึ่งการเจรจาครั้งนี้จะเป็นการพบปะกันแบบตัวต่อตัวครั้งแรก นับตั้งแต่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้ตกลงกันในระหว่างการประชุมซัมมิต G20 ว่าทั้งสองฝ่ายจะสงบศึกการค้าชั่วคราว และจะจัดการเจรจาร่วมกันอีกครั้ง
+ สหรัฐ: บรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับงบประมาณ ลดปัญหารัฐชำระหนี้ไม่ทันจนต้องชัตดาวน์
# ตลาดได้ปัจจัยหนุนจากรายงานที่ว่า ทำเนียบขาวและสมาชิกพรรคเดโมแครตในสภาคองเกรสบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับงบประมาณแล้ว ซึ่งจะทำให้มีการปรับเพิ่มเพดานหนี้ของสหรัฐเป็นเวลา 2 ปี ถือว่าทันก่อนที่สภาจะปิดสมัยประชุมภาคฤดูร้อนในวันที่ 26 ก.ค. เพื่อหลีกเลี่ยงการปิดหน่วยงานรัฐบาล (ชัตดาวน์) ครั้งใหม่
+/• ผลประกอบการหุ้น S&P : นักลงทุนจับตา 25% ประกาศสัปดาห์นี้
# ขณะนี้บริษัทจำนวนมากกว่า 18% ของดัชนี S&P 500 ได้ประกาศผลประกอบการออกมาแล้ว ซึ่งในจำนวนดังกล่าว ราว79% ได้รายงานตัวเลขกำไรสูงกว่าคาด
# นักลงทุนจับตาผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน โดยบริษัทจำนวนมากกว่า 25% ในดัชนี S&P 500 จะรายงานผลประกอบการในสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่ แมคโดนัลด์ และโบอิ้ง รวมถึงบริษัทในกลุ่ม FANG ซึ่งได้แก่ เฟซบุ๊ก อเมซอน เน็ตฟลิกซ์และอัลฟาเบท ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล
-/+ สหรัฐ: ยอดขายบ้านมือสอง มิ.ย.ต่ำกว่าคาด
# สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่มีการเปิดเผยเมื่อคืนนี้ สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR)เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านมือสองดิ่งลง 1.7% สู่ระดับ 5.27 ล้านยูนิตในเดือนมิ.ย. ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่ายอดขายบ้านจะลดลงเพียง 0.2% สู่ระดับ 5.33 ล้านยูนิต จากระดับ 5.36 ล้านยูนิตในเดือนพ.ค.
# ผลกระทบ: เป็นลบ ในเรื่องเศรษฐกิจสหรัฐชะลอลง หากพิจารณาเฉพาะตัวเลขนี้ แต่บวกตรงเพิ่มโอกาสเฟดลดดอกเบี้ย
+/• ECB: ตลาดจับตาจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยพฤหัสนี้หรือไม่
# นักลงทุนจับตาการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันพฤหัสบดีนี้ เพื่อรอดูว่า ECB จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนนี้ หรือจะรอจนถึงเดือนก.ย. พร้อมกับจับตาถ้อยแถลงของนายมาริโอ ดรากี ประธาน ECB ภายหลังการประชุมดังกล่าว
+ ดาวโจนส์: ปรับขึ้น ผลประกอบการดี งบประมาณคลี่คลาย มองดีเจรจาการค้า
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 27,349.19 จุด เพิ่มขึ้น 177.29 จุด หรือ +0.65% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่3,005.47 จุด เพิ่มขึ้น 20.44 จุด หรือ +0.68% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 8,251.40 จุด เพิ่มขึ้น 47.27 จุด หรือ +0.58%
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (23 ก.ค.) ขานรับผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียนรายใหญ่ ซึ่งรวมถึงโคคา โคล่า และยูไนเต็ด เทคโนโลยีส์ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยหนุนจากรายงานที่ว่า เจ้าหน้าที่สหรัฐและจีนจะจัดการเจรจาการค้าในสัปดาห์หน้า รวมทั้งข่าวทำเนียบขาวและสภาคองเกรสสามารถบรรลุข้อตกลงเพื่อหลีกเลี่ยงการปิดหน่วยงานรัฐบาล หรือชัตดาวน์
+ น้ำมัน: ปรับขึ้น คาดการณ์สต็อคน้ำมันดืบลดลง 6 สัปดาห์
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ย. เพิ่มขึ้น 55 เซนต์ หรือ 1% ปิดที่ 56.77 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ย. เพิ่มขึ้น 57 เซนต์ หรือ 0.9% ปิดที่ 63.83 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (23 ก.ค.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่าสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐจะลดลงติดต่อกัน 6 สัปดาห์ นอกจากนี้ นักลงทุนยังขานรับข่าวเจ้าหน้าที่สหรัฐและจีนจะจัดการเจรจาการค้าในสัปดาห์หน้า
• ทองคำ: ปรับลง หลังดอลลาร์แข็งค่าและตลาดหุ้นดึงดูดใจ
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค. ลดลง 5.2 ดอลลาร์ หรือ 0.36% ปิดที่1,421.7 ดอลลาร์/ออนซ์
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (23 ก.ค.) เนื่องจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ส่งผลให้ราคาทองคำมีความน่าดึงดูดน้อยลง นอกจากนี้ การพุ่งขึ้นของดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นสหรัฐยังทำให้นักลงทุนเทขายทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
• ตัวเลขเศรษฐกิจที่ต้องติดตามสัปดาห์นี้
# ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีภาคการผลิตเดือนก.ค.จากเฟดริชมอนด์, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นต้นเดือนก.ค.จากมาร์กิต, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นต้นเดือนก.ค.จากมาร์กิต, ยอดขายบ้านใหม่เดือนมิ.ย., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนมิ.ย. และผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2/2562
ปัจจัยในประเทศและข่าวหลักทรัพย์
- ค่าเงินบาท : อังกฤษได้นายกรัฐมนตรีใหม่ เงินปอนด์รับโดยอ่อนค่า ดอลลาร์แข็ง บาทจึงอ่อนตาม
# เงินบาทช่วงนี้ปรับตัวอ่อนค่า ซึ่งเป็นไปตามทิศทางเดียวกับสกุลเงินหลักและสกุลเงินในภูมิภาคที่ต่างอ่อนค่า โดยมีปัจจัยหลักจากเงินปอนด์ที่อ่อนค่าไปมากเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากตลาดคาดการณ์ว่านายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอังกฤษคือ นายบอริส จอห์นสัน มีนโยบายที่จะมีความเสี่ยงให้อังกฤษต้องแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit)อย่างไม่มีเงื่อนไขซึ่งมีข่าวว่าผู้นำคนใหม่ที่มีนโยบายค่อนข้างเป็นไปในเชิงรุก ส่วนกำหนดการแยกตัวจะเป็นราว 31 ต.ค.62
• ความคืบหน้าเรื่องปรับโครงสร้างภาษีใหม่
# รมว.คลัง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า ได้ร่วมหารือกับผู้บริหารและกระทรวงการคลัง เรื่องนโยบายรัฐบาลที่จะมีการแถลงต่อรัฐสภาในวันที่ 25 ก.ค.นี้ โดยเรื่องแผนปรับโครงสร้างภาษี ได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ทำการพิจารณาแล้ว ด้านนโยบาย มีทั้งระยะสั้นที่ใช้งบประมาณในปี 62 และแผนระยะยาวที่ต้องใช้งบปี 63 เพื่อเป้าหมายของการลดความเหลื่อมลํ้าทั้งระบบ
-ภาวะภัยแล้วสร้างความเสียหายแล้วไม่ต่ำกว่า 15,000 ล้านบาทแล้ว เป็น 0.1% ของจีดีพีไทย
# ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่าจากที่ประเทศไทยจะเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงราว 2 เดือน (มิ.ย.-ก.ค.) ซึ่งนับเป็นสถานการณ์ภัยแล้งนอกฤดูกาลนั้น คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อความสูญเสียทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 15,000 ล้านบาท โดยเป็นความเสียหายของข้าวนาปีเป็นหลัก คิดเป็น 0.1% ของจีดีพี
นักวิเคราะห์&กลยุทธ์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]