- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 18 April 2019 16:42
- Hits: 1376
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
เชื่อว่าตลาดหุ้นไทยมีแรงขับเคลื่อนจาก Fund Flow ทั้งในส่วนของนักลงทุนต่าชาติที่ทยอยเข้ามาตามสถานการณ์การเมืองที่เห็นความชัดเจนของการจัดตั้งรัฐบาล ขณะที่สถาบันฯ น่าจะเห็นการเคลื่อนย้ายเงินจากตราสารหนี้เข้าตราสารทุน หลังผลตอบแทนจากการลงทุนตราสารหนี้มีภาระภาษี ส่วนปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐานส่วนใหญ่มีน้ำหนักไปทางบวกไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมัน ตัวเลขเศรษฐกิจ และการเจรจาการค้า กลยุทธ์การลงทุนยังคงให้ความสำคัญกับหุ้น Market Cap ใหญ่ที่ปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง เลือก BDMS(FV@B 30) และ STEC(FV@B 29.25) เป็น Top Picks
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … SET INDEX พุ่งทะยานทะลุแนวต้าน
วานนี้ SET Index แกว่งขึ้นตลอดวัน จนทำให้ปิดที่ระดับ 1673.20 จุด เพิ่มขึ้น 12.75 จุด (+0.77%) มูลค่าการซื้อขาย 5.29 หมื่นล้านบาท โดยหุ้นกลุ่มที่หนุนตลาด คือ กลุ่มพลังงานอย่างเช่น EA(+4.95%) PTT(+1.04%) BGRIM(+1.56%) กลุ่มอสังหาฯอย่างเช่น AP(+2.55%) CPN(+2.01%) และกลุ่มสื่อสารอย่าง JMART(+2.27%) TRUE(+0.97%) SAMART(+2.05%) และได้แรงหนุนจากหุ้นขนาดใหญ่อย่าง CBG(+9.63%) RAM(+11.14%) MTC(+4.04%)
เชื่อว่า SET Index ยังมี Momentum เหวี่ยงขึ้นได้ แม้จะมี Upside ระยะสั้นค่อนข้างแคบอยู่ที่บริเวณ 1680 จุด ทั้งนี้แรงขับเคลื่อนหลักน่าจะมาจากเม็ดเงินลงทุนใหม่ๆ ที่ไหลเข้า จากทั้ง นักลงทุนต่างชาติที่ทยอยซื้อเข้ามาตามข่าวการจัดตั้งรัฐบาลที่ยังเดินหน้าต่อเนื่อง ขณะที่นักลบทุนสถาบันในประเทศ ก็น่าจะเห็นการเคลื่อนย้ายเงินทุนจากตราสารหนี้เข้าสู่ตราสารทุน หลังจาก ต้องรับภาระภาษีจากผลตอบแทนการลงทุนในตราวสารหนี้ ซึ่งกรณีดังกล่าวทำให้ Market Earning Yield Gap ขยายกว้างขึ้น สำหรับปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐานในช่วงนี้ได้แรงหนุนจาก ตัวเลขเศรษฐกิจ สหรัฐฯ และจีน ที่ออกมาดีกว่าที่คาด รวมถึงการเจรจาการค้า สหรัฐฯ-จีน ที่ใกล้ได้ข้อสรุป กลยุธ์การลงทุนในช่วงนี้ให้ความสำคัญกับหุ้น Market Cap ใหญ่ ที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแรงอย่าง BDMS STEC และ KBANK แต่ควรเริ่มทยอย Take Profit สำหรับหุ้นที่ปรับตัวขึ้นมามากอย่าง MTC
GDP Growth 1Q62 ของจีน ดีกว่าที่ตลาดคาด
ตลาดหุ้นโลกคลายความกังวล หลังจากวานนี้จีนรายงาน GDP Growth งวด 1Q62 ขยายตัว 6.4%yoy(แม้จะต่ำสุดในรอบ 10 ปี) แต่ดีกว่าที่ตลาดคาดไว้ 6.3% และทรงตัวจากงวด 4Q61 (ปี 2562 IMF คาด GDP Growth จีนเติบโต 6.3%) สอดคล้องกับรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของจีนอื่นๆที่ส่งสัญญาณฟื้นตัว อาทิ ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. เพิ่มขึ้น 8.5%yoy จาก 5.3% ในเดือน ก.พ. , ยอดค้าปลีกขยายตัว 8.7% จาก 8.2% ส่วนหนึ่งคาดว่าเป็นผลจาก ตั้งแต่ต้นปีรัฐบาลจีนได้ออกมาตรการกระตุ้น อาทิ ลดอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย (RRR) รวม 1% เหลือ 13.5%, ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สินค้าทั่วไปเหลือ 13% เดิม 16% เป็นต้น อย่างไรก็ตามตราบที่การจัดเก็บภาษีนำเข้าสหรัฐ-จีนยังมีอยู่ เชื่อว่าจะยังกระทบต่อเศรษฐกิจจีน และเชื่อว่ารัฐบาลจีนน่าจะยังมีมาตรการต่างๆออกมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม
ขณะที่ประเด็นสงครามการค้าสหรัฐ-จีน ยังมีแนวโน้มที่ผ่อนคลาย ล่าสุด คาดว่าจีนจะยกเลิกเก็บภาษีนำเข้าจากสหรัฐบางส่วน คือ จะยกเลิกสินค้าเกษตรและไปเก็บสินค้าอื่นแทน และจะเดินหน้านำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ เนื้อหมู, ไก่ เป็นต้น โดยกำหนดการเจรจา คือ สหรัฐจะส่งคณะผู้แทนไปเจรจากับจีนอีกรอบที่กรุงปักกิ่ง 29 ม.ย. - 3 พ.ค. และคาดว่าจะมีการเซ็นสัญญาสงบศึกขั้นสุดท้ายอย่างเร็ว คือเดือน พ.ค.
ในทางกลับกันสหรัฐกลับเดินหน้ากีดกันการค้าต่อยุโรป หลังจากประกาศจะขึ้นภาษีนำเข้าจากยุโรปวงเงิน 1.1 หมื่นล้านเหรียญ โดยมุ่งไปที่สินค้า อากาศยานและชิ้นส่วน เป็นหลัก เพราะยุโรปดำเนินมาตรการอุดหนุน Airbus (ผู้ผลิตอากาศยานสัญชาติฝรั่งเศส) ส่งผลกระทบต่อสหรัฐ (บริษัท Boing ผู้ผลิตอากาศยานสัญชาติสหรัฐ) ทำให้ ล่าสุดยุโรปได้ตอบโต้ เตรียมประกาศรายชื่อสินค้าที่จะขึ้นภาษีนำเข้าจากสหรัฐ (ยังไม่มีรายละเอียดอัตราภาษี)มูลค่าราว 2 หมื่นล้านเหรียญ หลักๆ คือสินค้าในกลุ่มอากาศยาน, เคมีภัณฑ์, และสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ผลไม้อบแห้ง, ไวน์, เป็นต้น โดยปัจจุบันอยู่ในขั้นตอน public hearing จนถึงสิ้นเดือน พ.ค.
สต็อกน้ำมันลดลงอีกครั้ง หนุนน้ำมันยืนบริเวณ 70 เหรียญฯ
สำนักสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ(EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบ พลิกกลับมาลดลงอีกครั้ง หลังจากที่เพิ่มขึ้นติดต่อกัน 3 สัปดาห์ก่อนหน้า กล่าวคือ ลดลง 1.4 ล้านบาร์เรล(มากกว่าที่ตลาดคาดลดลง 1.2 ล้านบาร์เรล) ผลจากความต้องการใช้น้ำมันเพื่อการกลั่นเพิ่มขึ้น สะท้อนจากการนำเข้าน้ำมันมากลั่นเพิ่มขึ้นราว 0.4%wow อยู่ที่ 3.88 ล้านบาร์เรล/วัน หนุนอัตราการกลั่นน้ำมันทรงตัวที่ 87% ขณะที่แนวโน้ม Supply ที่ลดลงจากความคาดหวังกลุ่มผู้ผลิตน้ำมัน (Opec+Non-Opec) จะยืดระยะเวลาในควบคุมการผลิตน้ำมัน จากเดิมที่กำหนดไว้กลางปี 2562 เป็นสิ้นปี 2562 (ตามข้อตกลง OPEC และ Non OPEC ทำสัญญาล่าสุด ธ.ค. 2561 จะตัดลดการผลิตถึงกลางปี 2562 ที่ 1.2 ล้านบาร์เรล/วัน) ซึ่งตลาดให้น้ำหนักไปที่การประชุมรัฐมนตรีของแต่ละประเทศของสมาชิกทั้งในและนอกกลุ่ม OPEC หรือ JMMC (24 พ.ค.2562 ซึ่งบ่งชี้ว่าจะมีการขยายระยะเวลาต่อไปหรือไม่)
ขณะที่ฝั่งความต้องการใช้น้ำมันโลกที่ลดลงจากผลกระทบของสงครามการค้าที่ยังมีอยู่ แม้ช่วงสั้นจะผ่อนคลาย หลังจากในช่วงเดือน เม.ย. ผ่านมา รายงานตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของฝั่งสหรัฐและจีน เริ่มฟื้นตัว อาทิ PMI ภาคการผลิต เดือน มี.ค. เริ่มฟื้นตัวเหนือ 50 จุด (ยืนเหนือ 50 จุดบ่งชี้ว่าภาคการผลิตขยายตัว) และวานนี้ คือ GDP Growth งวด 1Q62 ของจีนขยายตัว 6.4%yoy ดีกว่าที่ตลาดคาด ทำให้ตลาดคลายความกังวล
โดยรวมเป็นปัจจัยหนุนให้ราคาน้ำมันดูไบ ล่าสุด ยืนบริเวณ 69.4 เหรียญฯต่อบาร์เรล (เฉลี่ยนับตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 63 เหรียญฯ) ใกล้เคียงสมมติฐาน ASPS ที่กำหนดไว้ 65 เหรียญ ในปี 2562 และ 70 เหรียญฯนับจากปี 2563 เป็นต้นไป) ขณะที่หุ้นน้ำมันยังอยู่ในภาวะ Laggard เฉพาะอย่างยิ่ง PTTEP(FV@B178) และ PTT(FV@B56) รวมถึงหุ้นในกลุ่มโรงกลั่น-ปิโตรฯ (PTTGC, TOP, IRPC)
ต่างชาติยังชื้อหุ้นในภูมิภาค…Long SET50 Futures กว่าหมื่นสัญญา
วานนี้ตลาดหุ้นอินโดนีเซียหยุดทำการ เนื่องจากเป็นวัน “เลือกตั้ง” แต่ตลาดหุ้นอื่นๆยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่า ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคติดต่อกันเป็นวันที่ 3 ด้วยมูลค่ารวม 446 ล้านเหรียญ เริ่มจากตลาดหุ้นไต้หวันถูกซื้อสุทธิ 356 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) ตามด้วยเกาหลีใต้ 97 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 14) ส่วนตลาดหุ้นอีก 2 แห่งถูกขายสุทธิเล็กน้อย คือ ฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิ 1 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 7 วัน) และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิเล็กน้อยเพียง 6 ล้านเหรียญ หรือ 218 ล้านบาท แต่ซื้อสุทธิสัญญา SET50 Futures สูงถึง 1.06 หมื่นสัญญา สวนทางกับสถาบันฯที่ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่า 3.27 พันล้านบาท
คสช.ออก ม.44 ขยายระยะเวลาชำระหนี้ พร้อมกำหนดเงื่อนไขต้องประมูล 700 MHz
กสทช.ประกาศเงื่อนไขผู้ประกอบการโทรคมนาคมที่จะได้รับการขยายระยะเวลาชำระเงินค่าคลื่น 900 MHz งวดที่ 4 ซึ่งเป็นก้อนใหญ่สุดออกไป 10 งวด จากปี 2563 นับตั้งแต่วันที่เริ่มจ่าย ซึ่งคือปี 2559 ขยายเป็นปี 2569 โดยกำหนดให้ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันจะต้องเข้าร่วมประมูลคลื่น 700 MHz จำนวน 45 MHz 3 ใบอนุญาต (ใบอนุญาตละ 15 MHz) ในราคาต่ำสุด 2.5 หมื่นล้านบาทต่อหนึ่งใบอนุญาต โดยต้องแจ้งความจำนงขอรับสิทธิภายในวันที่ 10 พ.ค. แต่เริ่มใช้คลื่น-จ่ายเงินตั้งแต่ 1 ต.ค.63 – ปี 2572 (รวมทั้ง 3 บริษัท เป็นจำนวน 7.5 หมื่นล้านบาท)
จากประเด็นดังกล่าว ฝ่ายวิจัยมีมุมมอง 3 ประเด็นคือ
• ต้นเหตุของปัญหาดังกล่าวมาจากการประมูลคลี่นความถี่ในระดับราคาที่สูงมาก ทำให้การบริหารจัดการสภาพคล่องทางการเงินของผู้ประกอบการยากลำบากมากขึ้น อย่างไรก็ตามในเชิงของ Valuation แล้ว การขยายระยะเวลาออกไป ไม่น่าจะมีส่วนช่วยทำให้ Fair Value ที่คำนวนโดย DCF เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นหากราคาหุ้นปรับเข้าใกล้ Fair Value ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน กล่าวคือ ADVANC ที่ 210 บาท , DTAC ที่ 57 บาท และ TRUE ที่ 5.86 บาท นักลงทุนควรชะลอการลงทุน
• การขับเคลื่อน 5G ถือเป็นเป้าหมายใหม่ของทางการ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนระดับสูง ขณะที่ปริมาณธุรกิจยังมีไม่มาก ดังนั้นหากเกิดการประมูลคลื่นและการลงทุนรอบใหม่ อาจทำให้เกิดแรงกดดันต่อผลประกอบการ รวมถึง Valuation ของหุ้นทั้ง 3 บริษัท (ADVANC, DTAC และ TRUE)
• หากเกิดการประมูล 5G บนคลื่นความถี่ 700 MHz น่าจะเป็นผลดีต่อหุ้นกลุ่ม Media ที่ให้บริการ TV Digital เนื่องจาก กสทช. มีแนวคิดที่จะนำเม็ดเงินที่ได้จากการประมูลคลื่นความถี่ดังกล่าว ไปช่วยเยียวยาผู้ประกอบการ TV Digital ซึ่งมีปัญหาในเรื่องของการประมูลใบอนุญาตที่ระดับราคาสูงในอดีตรวมถึงภาพใหญ่ของอุตสาหกรรม มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้จะทำให้เกิดแรงเก็งกำไรในหุ้นกลุ่มฯนี้ โดยผู้ที่ประโยชน์มากที่สุด BEC ซึ่งถือใบอนุญาตอยู่จำนวน 3 ช่อง ส่วนหุ้นที่อยู่ใน Coverage ของฝ่ายวิจัยและมี Upside ได้แก่ RS (FV@B 22.10) คาดผลประกอบการ 1Q62 ออกมาดี และได้ประโยชน์จากมาตราการดังกล่าว
ยังชอบหุ้นใหญ่ และหุ้นปันผลสูง หนึ่งทางเลือกของนักลงทุนต่างชาติ
ตลอดเดือน เม.ย. เม็ดเงินจากสถาบันและต่างชาติไหลกลับเข้าหุ้นไทยกว่า 8.2 พันล้านบาท และ 3.9 พันล้านบาท หนุน SET Index ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.1% ขณะที่วานนี้มูลค่าซื้อขายหุ้นในตลาดกลับมาหนาแน่นขึ้น อยูที่ 5.3 หมื่นล้านบาท (ค่าเฉลี่ยในเดือน เม.ย. 62 ตั้งแต่ต้นเดือน อยู่ที่ 4.2 หมื่นล้านบาท)
และยังมีประเด็นเก็บภาษีในอัตรา 15% จากผลตอบแทนของกองทุนตราสารหนี้ โดยการศึกษาจากเงินลงทุนจากกองทุนรวมทั้งหมดในประเทศไทย พบว่า ณ สิ้นปี 2561 มีกองทุนรวมที่ถูกบริหารจาก บลจ.ทั้งหมด 1649 กองทุน มีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิรวม 5.06 ล้านล้านบาท และเงินลงทุนหลักๆ อยู่ในกองทุนตราสารหนี้มากสุด คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 50% ของเงินลงทุนทั้งหมด หรือมีมูลค่ากว่า 2.51 ล้านล้านบาท
แม้ประเด็นนี้จะสร้าง Sentiment เชิงลบให้กับกองทุนตราสารหนี้พอสมควร แต่จะส่งผลดีต่อตลาดหุ้น เนื่องจาก Earning Yield Gap. จะกว้างขึ้น เพราะผลตอบแทนที่ได้จากตราสารหนี้ต้องถูกนำมาหักภาษี 15% กดดัน Bond Yield 1 ปี ที่ 1.8% ซึ่งหากลดลงราว 15% หรือลดลงประมาณ 27 bps. หนุน Earning Yield Gap. ปรับเพิ่มขึ้นจาก 4.32% เป็น 4.59%
ลักษณะดังกล่าว หนุนให้เม็ดเงินลงทุนถูกโอนถ่ายจากตลาดตราสารหนี้มายังตลาดหุ้นมากขึ้น ดีต่อกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน, อสังหาฯ หุ้นปันผลสูง รวมถึง Fund Flow ที่เริ่มไหลกลับเข้ามา ช่วยหนุนหุ้นขนาดใหญ่สภาพคล่องสูงเดินหน้าต่อ โดยฝ่ายวิจัยคัดกรองหุ้นที่น่าลงทุนมีดังนี้
ภรณี ทองเย็น
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
เชื่อว่าตลาดหุ้นไทยมีแรงขับเคลื่อนจาก Fund Flow ทั้งในส่วนของนักลงทุนต่าชาติที่ทยอยเข้ามาตามสถานการณ์การเมืองที่เห็นความชัดเจนของการจัดตั้งรัฐบาล ขณะที่สถาบันฯ น่าจะเห็นการเคลื่อนย้ายเงินจากตราสารหนี้เข้าตราสารทุน หลังผลตอบแทนจากการลงทุนตราสารหนี้มีภาระภาษี ส่วนปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐานส่วนใหญ่มีน้ำหนักไปทางบวกไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมัน ตัวเลขเศรษฐกิจ และการเจรจาการค้า กลยุทธ์การลงทุนยังคงให้ความสำคัญกับหุ้น Market Cap ใหญ่ที่ปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง เลือก BDMS(FV@B 30) และ STEC(FV@B 29.25) เป็น Top Picks
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … SET INDEX พุ่งทะยานทะลุแนวต้าน
วานนี้ SET Index แกว่งขึ้นตลอดวัน จนทำให้ปิดที่ระดับ 1673.20 จุด เพิ่มขึ้น 12.75 จุด (+0.77%) มูลค่าการซื้อขาย 5.29 หมื่นล้านบาท โดยหุ้นกลุ่มที่หนุนตลาด คือ กลุ่มพลังงานอย่างเช่น EA(+4.95%) PTT(+1.04%) BGRIM(+1.56%) กลุ่มอสังหาฯอย่างเช่น AP(+2.55%) CPN(+2.01%) และกลุ่มสื่อสารอย่าง JMART(+2.27%) TRUE(+0.97%) SAMART(+2.05%) และได้แรงหนุนจากหุ้นขนาดใหญ่อย่าง CBG(+9.63%) RAM(+11.14%) MTC(+4.04%)
เชื่อว่า SET Index ยังมี Momentum เหวี่ยงขึ้นได้ แม้จะมี Upside ระยะสั้นค่อนข้างแคบอยู่ที่บริเวณ 1680 จุด ทั้งนี้แรงขับเคลื่อนหลักน่าจะมาจากเม็ดเงินลงทุนใหม่ๆ ที่ไหลเข้า จากทั้ง นักลงทุนต่างชาติที่ทยอยซื้อเข้ามาตามข่าวการจัดตั้งรัฐบาลที่ยังเดินหน้าต่อเนื่อง ขณะที่นักลบทุนสถาบันในประเทศ ก็น่าจะเห็นการเคลื่อนย้ายเงินทุนจากตราสารหนี้เข้าสู่ตราสารทุน หลังจาก ต้องรับภาระภาษีจากผลตอบแทนการลงทุนในตราวสารหนี้ ซึ่งกรณีดังกล่าวทำให้ Market Earning Yield Gap ขยายกว้างขึ้น สำหรับปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐานในช่วงนี้ได้แรงหนุนจาก ตัวเลขเศรษฐกิจ สหรัฐฯ และจีน ที่ออกมาดีกว่าที่คาด รวมถึงการเจรจาการค้า สหรัฐฯ-จีน ที่ใกล้ได้ข้อสรุป กลยุธ์การลงทุนในช่วงนี้ให้ความสำคัญกับหุ้น Market Cap ใหญ่ ที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแรงอย่าง BDMS STEC และ KBANK แต่ควรเริ่มทยอย Take Profit สำหรับหุ้นที่ปรับตัวขึ้นมามากอย่าง MTC
GDP Growth 1Q62 ของจีน ดีกว่าที่ตลาดคาด
ตลาดหุ้นโลกคลายความกังวล หลังจากวานนี้จีนรายงาน GDP Growth งวด 1Q62 ขยายตัว 6.4%yoy(แม้จะต่ำสุดในรอบ 10 ปี) แต่ดีกว่าที่ตลาดคาดไว้ 6.3% และทรงตัวจากงวด 4Q61 (ปี 2562 IMF คาด GDP Growth จีนเติบโต 6.3%) สอดคล้องกับรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของจีนอื่นๆที่ส่งสัญญาณฟื้นตัว อาทิ ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. เพิ่มขึ้น 8.5%yoy จาก 5.3% ในเดือน ก.พ. , ยอดค้าปลีกขยายตัว 8.7% จาก 8.2% ส่วนหนึ่งคาดว่าเป็นผลจาก ตั้งแต่ต้นปีรัฐบาลจีนได้ออกมาตรการกระตุ้น อาทิ ลดอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย (RRR) รวม 1% เหลือ 13.5%, ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สินค้าทั่วไปเหลือ 13% เดิม 16% เป็นต้น อย่างไรก็ตามตราบที่การจัดเก็บภาษีนำเข้าสหรัฐ-จีนยังมีอยู่ เชื่อว่าจะยังกระทบต่อเศรษฐกิจจีน และเชื่อว่ารัฐบาลจีนน่าจะยังมีมาตรการต่างๆออกมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม
ขณะที่ประเด็นสงครามการค้าสหรัฐ-จีน ยังมีแนวโน้มที่ผ่อนคลาย ล่าสุด คาดว่าจีนจะยกเลิกเก็บภาษีนำเข้าจากสหรัฐบางส่วน คือ จะยกเลิกสินค้าเกษตรและไปเก็บสินค้าอื่นแทน และจะเดินหน้านำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ เนื้อหมู, ไก่ เป็นต้น โดยกำหนดการเจรจา คือ สหรัฐจะส่งคณะผู้แทนไปเจรจากับจีนอีกรอบที่กรุงปักกิ่ง 29 ม.ย. - 3 พ.ค. และคาดว่าจะมีการเซ็นสัญญาสงบศึกขั้นสุดท้ายอย่างเร็ว คือเดือน พ.ค.
ในทางกลับกันสหรัฐกลับเดินหน้ากีดกันการค้าต่อยุโรป หลังจากประกาศจะขึ้นภาษีนำเข้าจากยุโรปวงเงิน 1.1 หมื่นล้านเหรียญ โดยมุ่งไปที่สินค้า อากาศยานและชิ้นส่วน เป็นหลัก เพราะยุโรปดำเนินมาตรการอุดหนุน Airbus (ผู้ผลิตอากาศยานสัญชาติฝรั่งเศส) ส่งผลกระทบต่อสหรัฐ (บริษัท Boing ผู้ผลิตอากาศยานสัญชาติสหรัฐ) ทำให้ ล่าสุดยุโรปได้ตอบโต้ เตรียมประกาศรายชื่อสินค้าที่จะขึ้นภาษีนำเข้าจากสหรัฐ (ยังไม่มีรายละเอียดอัตราภาษี)มูลค่าราว 2 หมื่นล้านเหรียญ หลักๆ คือสินค้าในกลุ่มอากาศยาน, เคมีภัณฑ์, และสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ผลไม้อบแห้ง, ไวน์, เป็นต้น โดยปัจจุบันอยู่ในขั้นตอน public hearing จนถึงสิ้นเดือน พ.ค.
สต็อกน้ำมันลดลงอีกครั้ง หนุนน้ำมันยืนบริเวณ 70 เหรียญฯ
สำนักสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ(EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบ พลิกกลับมาลดลงอีกครั้ง หลังจากที่เพิ่มขึ้นติดต่อกัน 3 สัปดาห์ก่อนหน้า กล่าวคือ ลดลง 1.4 ล้านบาร์เรล(มากกว่าที่ตลาดคาดลดลง 1.2 ล้านบาร์เรล) ผลจากความต้องการใช้น้ำมันเพื่อการกลั่นเพิ่มขึ้น สะท้อนจากการนำเข้าน้ำมันมากลั่นเพิ่มขึ้นราว 0.4%wow อยู่ที่ 3.88 ล้านบาร์เรล/วัน หนุนอัตราการกลั่นน้ำมันทรงตัวที่ 87% ขณะที่แนวโน้ม Supply ที่ลดลงจากความคาดหวังกลุ่มผู้ผลิตน้ำมัน (Opec+Non-Opec) จะยืดระยะเวลาในควบคุมการผลิตน้ำมัน จากเดิมที่กำหนดไว้กลางปี 2562 เป็นสิ้นปี 2562 (ตามข้อตกลง OPEC และ Non OPEC ทำสัญญาล่าสุด ธ.ค. 2561 จะตัดลดการผลิตถึงกลางปี 2562 ที่ 1.2 ล้านบาร์เรล/วัน) ซึ่งตลาดให้น้ำหนักไปที่การประชุมรัฐมนตรีของแต่ละประเทศของสมาชิกทั้งในและนอกกลุ่ม OPEC หรือ JMMC (24 พ.ค.2562 ซึ่งบ่งชี้ว่าจะมีการขยายระยะเวลาต่อไปหรือไม่)
ขณะที่ฝั่งความต้องการใช้น้ำมันโลกที่ลดลงจากผลกระทบของสงครามการค้าที่ยังมีอยู่ แม้ช่วงสั้นจะผ่อนคลาย หลังจากในช่วงเดือน เม.ย. ผ่านมา รายงานตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของฝั่งสหรัฐและจีน เริ่มฟื้นตัว อาทิ PMI ภาคการผลิต เดือน มี.ค. เริ่มฟื้นตัวเหนือ 50 จุด (ยืนเหนือ 50 จุดบ่งชี้ว่าภาคการผลิตขยายตัว) และวานนี้ คือ GDP Growth งวด 1Q62 ของจีนขยายตัว 6.4%yoy ดีกว่าที่ตลาดคาด ทำให้ตลาดคลายความกังวล
โดยรวมเป็นปัจจัยหนุนให้ราคาน้ำมันดูไบ ล่าสุด ยืนบริเวณ 69.4 เหรียญฯต่อบาร์เรล (เฉลี่ยนับตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 63 เหรียญฯ) ใกล้เคียงสมมติฐาน ASPS ที่กำหนดไว้ 65 เหรียญ ในปี 2562 และ 70 เหรียญฯนับจากปี 2563 เป็นต้นไป) ขณะที่หุ้นน้ำมันยังอยู่ในภาวะ Laggard เฉพาะอย่างยิ่ง PTTEP(FV@B178) และ PTT(FV@B56) รวมถึงหุ้นในกลุ่มโรงกลั่น-ปิโตรฯ (PTTGC, TOP, IRPC)
ต่างชาติยังชื้อหุ้นในภูมิภาค…Long SET50 Futures กว่าหมื่นสัญญา
วานนี้ตลาดหุ้นอินโดนีเซียหยุดทำการ เนื่องจากเป็นวัน “เลือกตั้ง” แต่ตลาดหุ้นอื่นๆยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่า ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคติดต่อกันเป็นวันที่ 3 ด้วยมูลค่ารวม 446 ล้านเหรียญ เริ่มจากตลาดหุ้นไต้หวันถูกซื้อสุทธิ 356 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) ตามด้วยเกาหลีใต้ 97 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 14) ส่วนตลาดหุ้นอีก 2 แห่งถูกขายสุทธิเล็กน้อย คือ ฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิ 1 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 7 วัน) และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิเล็กน้อยเพียง 6 ล้านเหรียญ หรือ 218 ล้านบาท แต่ซื้อสุทธิสัญญา SET50 Futures สูงถึง 1.06 หมื่นสัญญา สวนทางกับสถาบันฯที่ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่า 3.27 พันล้านบาท
คสช.ออก ม.44 ขยายระยะเวลาชำระหนี้ พร้อมกำหนดเงื่อนไขต้องประมูล 700 MHz
กสทช.ประกาศเงื่อนไขผู้ประกอบการโทรคมนาคมที่จะได้รับการขยายระยะเวลาชำระเงินค่าคลื่น 900 MHz งวดที่ 4 ซึ่งเป็นก้อนใหญ่สุดออกไป 10 งวด จากปี 2563 นับตั้งแต่วันที่เริ่มจ่าย ซึ่งคือปี 2559 ขยายเป็นปี 2569 โดยกำหนดให้ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันจะต้องเข้าร่วมประมูลคลื่น 700 MHz จำนวน 45 MHz 3 ใบอนุญาต (ใบอนุญาตละ 15 MHz) ในราคาต่ำสุด 2.5 หมื่นล้านบาทต่อหนึ่งใบอนุญาต โดยต้องแจ้งความจำนงขอรับสิทธิภายในวันที่ 10 พ.ค. แต่เริ่มใช้คลื่น-จ่ายเงินตั้งแต่ 1 ต.ค.63 – ปี 2572 (รวมทั้ง 3 บริษัท เป็นจำนวน 7.5 หมื่นล้านบาท)
จากประเด็นดังกล่าว ฝ่ายวิจัยมีมุมมอง 3 ประเด็นคือ
• ต้นเหตุของปัญหาดังกล่าวมาจากการประมูลคลี่นความถี่ในระดับราคาที่สูงมาก ทำให้การบริหารจัดการสภาพคล่องทางการเงินของผู้ประกอบการยากลำบากมากขึ้น อย่างไรก็ตามในเชิงของ Valuation แล้ว การขยายระยะเวลาออกไป ไม่น่าจะมีส่วนช่วยทำให้ Fair Value ที่คำนวนโดย DCF เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นหากราคาหุ้นปรับเข้าใกล้ Fair Value ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน กล่าวคือ ADVANC ที่ 210 บาท , DTAC ที่ 57 บาท และ TRUE ที่ 5.86 บาท นักลงทุนควรชะลอการลงทุน
• การขับเคลื่อน 5G ถือเป็นเป้าหมายใหม่ของทางการ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนระดับสูง ขณะที่ปริมาณธุรกิจยังมีไม่มาก ดังนั้นหากเกิดการประมูลคลื่นและการลงทุนรอบใหม่ อาจทำให้เกิดแรงกดดันต่อผลประกอบการ รวมถึง Valuation ของหุ้นทั้ง 3 บริษัท (ADVANC, DTAC และ TRUE)
• หากเกิดการประมูล 5G บนคลื่นความถี่ 700 MHz น่าจะเป็นผลดีต่อหุ้นกลุ่ม Media ที่ให้บริการ TV Digital เนื่องจาก กสทช. มีแนวคิดที่จะนำเม็ดเงินที่ได้จากการประมูลคลื่นความถี่ดังกล่าว ไปช่วยเยียวยาผู้ประกอบการ TV Digital ซึ่งมีปัญหาในเรื่องของการประมูลใบอนุญาตที่ระดับราคาสูงในอดีตรวมถึงภาพใหญ่ของอุตสาหกรรม มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้จะทำให้เกิดแรงเก็งกำไรในหุ้นกลุ่มฯนี้ โดยผู้ที่ประโยชน์มากที่สุด BEC ซึ่งถือใบอนุญาตอยู่จำนวน 3 ช่อง ส่วนหุ้นที่อยู่ใน Coverage ของฝ่ายวิจัยและมี Upside ได้แก่ RS (FV@B 22.10) คาดผลประกอบการ 1Q62 ออกมาดี และได้ประโยชน์จากมาตราการดังกล่าว
ยังชอบหุ้นใหญ่ และหุ้นปันผลสูง หนึ่งทางเลือกของนักลงทุนต่างชาติ
ตลอดเดือน เม.ย. เม็ดเงินจากสถาบันและต่างชาติไหลกลับเข้าหุ้นไทยกว่า 8.2 พันล้านบาท และ 3.9 พันล้านบาท หนุน SET Index ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.1% ขณะที่วานนี้มูลค่าซื้อขายหุ้นในตลาดกลับมาหนาแน่นขึ้น อยูที่ 5.3 หมื่นล้านบาท (ค่าเฉลี่ยในเดือน เม.ย. 62 ตั้งแต่ต้นเดือน อยู่ที่ 4.2 หมื่นล้านบาท)
และยังมีประเด็นเก็บภาษีในอัตรา 15% จากผลตอบแทนของกองทุนตราสารหนี้ โดยการศึกษาจากเงินลงทุนจากกองทุนรวมทั้งหมดในประเทศไทย พบว่า ณ สิ้นปี 2561 มีกองทุนรวมที่ถูกบริหารจาก บลจ.ทั้งหมด 1649 กองทุน มีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิรวม 5.06 ล้านล้านบาท และเงินลงทุนหลักๆ อยู่ในกองทุนตราสารหนี้มากสุด คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 50% ของเงินลงทุนทั้งหมด หรือมีมูลค่ากว่า 2.51 ล้านล้านบาท
แม้ประเด็นนี้จะสร้าง Sentiment เชิงลบให้กับกองทุนตราสารหนี้พอสมควร แต่จะส่งผลดีต่อตลาดหุ้น เนื่องจาก Earning Yield Gap. จะกว้างขึ้น เพราะผลตอบแทนที่ได้จากตราสารหนี้ต้องถูกนำมาหักภาษี 15% กดดัน Bond Yield 1 ปี ที่ 1.8% ซึ่งหากลดลงราว 15% หรือลดลงประมาณ 27 bps. หนุน Earning Yield Gap. ปรับเพิ่มขึ้นจาก 4.32% เป็น 4.59%
ลักษณะดังกล่าว หนุนให้เม็ดเงินลงทุนถูกโอนถ่ายจากตลาดตราสารหนี้มายังตลาดหุ้นมากขึ้น ดีต่อกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน, อสังหาฯ หุ้นปันผลสูง รวมถึง Fund Flow ที่เริ่มไหลกลับเข้ามา ช่วยหนุนหุ้นขนาดใหญ่สภาพคล่องสูงเดินหน้าต่อ โดยฝ่ายวิจัยคัดกรองหุ้นที่น่าลงทุนมีดังนี้
ภรณี ทองเย็น
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ