- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 10 April 2019 15:55
- Hits: 1747
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
สหรัฐขู่เก็บภาษีอียู-IMFปรับลดเติบโตเศรษฐกิจโลกปีนี้
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
ภาวะตลาดและปัจจัย : SET วานนี้ +11.56 จุด ปิดที่ 1657.74 จุด มูลค่าการซื้อขายปานกลางที่ 44.3 พันล้านบาท ดัชนีบ้านเราปรับขึ้นดีกว่าตลาดหุ้นในภูมิภาคแถบนี้ ปัจจัยบวกคือ หุ้นกลุ่มพลังงาน-ปิโตรปรับขึ้นดีตามราคาน้ำมัน ทรัมป์เรียกร้องเฟดให้ลดดอกเบี้ย และเจรจาการค้าคืบหน้าดี ด้านผู้ซื้อสุทธิคือ ต่างชาติมากถึง 3.2 พันล้านบาท สถาบัน0.8 พันลบ. พอร์ตโบรกเกอร์ 0.6 พันลบ. ผู้ขายสุทธิเป็นนักลงทุนทั่วไป 4.6 พันล้านบาท ตั้งแต่ต้นปีนี้ถึงปัจจุบันต่างชาติขายสุทธิแล้ว 9.7 พันล้านบาท ด้านแนวโน้มตลาดและกลยุทธ์วันนี้คือ
# ระยะสั้นคาด SET ผันผวนทางลง หลังมีปัจจัยลบใหม่เข้ามาคือ สหรัฐขู่เก็บภาษีนำเข้าอียู ตอบโต้ไปอุดหนุนแอร์บัส อีกทั้ง IMF ปรับลดคาดการณ์อัตราเติบโตเศรษฐกิจโลกปีนี้ลงเป็น 3.3% จากเดิม 3.5% อีกทั้งราคาน้ำมันกลับมาปรับลง ผลสำรวจเปิดรับสมัครงานสหรัฐลดลง
# ด้านลบเสริมคือ ตลาดหุ้นเพื่อนบ้านและดาวโจนส์ล่วงหน้าลดลง บอนด์ยิลด์ 10 ปีต่ำลง ดัชนีกังวล (Vix) เพิ่ม เงินบาทอ่อน แต่แรงพยุงภาพใหญ่คือ เจรจาการค้าคืบหน้า เฟดผ่อนคลายนโยบายการเงิน และเก็งกำไรผลประกอบการ 1Q62 ประเดิมด้วย กลุ่มธนาคารสัปดาห์หน้า เม็ดเงินเข้าจาก MSCI และกระทรวงการคลังเตรียมออกมาตการกระตุ้นเศรษฐกิจไทย คาดว่าจะเป็นประโยชน์กับกลุ่มพาณิชย์-ท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามสัปดาห์นี้มีโอกาสซื้อขายซบเซาก่อนวันหยุดยาวในเทศกาลสงกรานต์
# กลยุทธ์ คือ เก็งกำไรรอบสั้นแนวต้านเป็น 1660-1670 จุด แต่หากกลับมีแรงขาย แนวรับเป็น 1620,1610 จุด ไม่ควรคาดหวังผลตอบแทนสูง หากดัชนีต่ำกว่า 1645 จุด จะเป็นจุดตัดขาดทุนในระยะสั้น ด้านการซื้อลงทุนระยะกลาง ทยอยสะสม โดยมีดัชนีฯเป้าหมายทางพื้นฐานปี 2562 ยังเป็น 1750 จุด (+0.9 SD ที่ P/E 16.7 เท่า) ด้วยคาดการณ์อัตราการเติบโตกำไรของตลาดฯปี 62 ที่ +8% y-o-y แนะนำทยอยสะสมหุ้นพื้นฐานดี หุ้น Top Pick ในงวด 2Q62 คือ AMATA,BBL,ERW,KKP,STEC
# Stock Pick Today : KBANK คาดการณ์กำไร 1Q62 เติบโตโดดเด่นเทียบ q-o-q คือ โตถึง 34% q-o-q เป็น 9.4 พันล้านบาท เพราะมีการตั้งสำรองหนี้ฯที่ลดลง เช่นเดียวกับสัดส่วน cost-to-income ที่ต่ำลง อีกทั้งฐาน 4Q61 มีรายการปรับปรุงเกี่ยวกับผลประโยชน์พนักงานมาก แต่กำไรกลับลดลง 12.4% y-o-y เนื่องจากรายได้ค่าธรรมเนียมและไม่ใช่ดอกเบี้ยที่ต่ำลง สิ่งที่ดีคือ คาดว่าอัตราเติบโตสินเชื่อ 2M62 เป็น 0.3% และโมเมนตัมที่ดียังจะเกิดใน มี.ค.62 ทำให้ 1Q62 โตดี 5.1% y-o-y ถือเป็นหุ้น Blue Chip ในกลุ่มแบงค์ ให้ราคาพื้นฐาน 270 บาท
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น สัญญาณ Candlestick & Indicators (ยัง)เป็นบวกเล็กๆต่อ {“ปิดบวก”เหนือ“SMA10วัน”ต่อ (โดยถูกกดดันจาก“โครงสร้างขาลง – ระยะกลาง”)} ชี้ความน่าจะเป็นของตลาดฯวันนี้“แกว่ง”แบบมีรีบาวด์ฯสั้นๆก่อน(แล้วจึงลงต่ำ,ตามมา)ได้ แนวต้าน 1660 – 1670 (หรือ 1680) จุด {แนวตัดขาดทุน “ต่ำกว่า 1645”จุด}สำหรับหุ้นที่คาดว่าจะทำ New High ที่เข้ามาใหม่คือ KBANK,MTC,SEAFCO,VGI,AOT หุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ GOLD,MEGA,PTG,BPP,HMPRO หุ้นที่หลุด List ไม่มี ส่วนหุ้นที่อยู่ในพื้นที่หาจังหวะ Take Profit คือ ESSO,PTTGC,INTUCH,RATCH,OSP,KTC,CPALL
Thailand Research Team : reseach-th.dbs.com
Inside Story
Key Drivers TODAY : ปัจจัยต่างประเทศ / ปัจจัยในประเทศ
STOCK in Focus : CPN (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 85.00) AMATA(ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 26.00)
Flash Note : JKN (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 13.60)
In The News : กลุ่มท่องเที่ยว ข่าวเด่นวันนี้
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
- สหรัฐ: เตรียมเรียกเก็บภาษียุโรป ตอบโต้การอุดหนุนแอร์บัส
# สหรัฐเตรียมเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจาก EU คิดเป็นมูลค่า 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์ หลังจากที่องค์การการค้าโลก(WTO) มีคำตัดสินระบุว่า การที่ EU ให้เงินอุดหนุนแอร์บัส ได้ส่งผลกระทบต่อสหรัฐ
# ทางด้านสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) เปิดเผยว่า รัฐบาลสหรัฐเตรียมเรียกเก็บภาษีนำเข้าเฮลิคอปเตอร์โดยสารชีส ไวน์ ชุดสกี รถจักรยานยนต์บางประเภท และสินค้าประเภทอื่นๆ วงเงินประมาณ 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์ เพื่อตอบโต้การที่ EU ใช้มาตรการอุดหนุนแอร์บัส บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินคู่แข่งของบริษัทโบอิ้ง ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินของสหรัฐ
# ทั้งนี้ รัฐบาลสหรัฐระบุว่า สหรัฐจะล้มเลิกแผนการดังกล่าวก็ต่อเมื่อ EU ยกเลิกมาตรการให้เงินอุดหนุนต่อแอร์บัส โดยสหรัฐและ EU ต่างก็กล่าวหาแต่ละฝ่ายว่า ให้เงินอุดหนุนที่ผิดกฎหมายมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์แก่โบอิ้งและแอร์บัสเพื่อชิงความได้เปรียบในการแข่งขันในวงการธุรกิจผลิตเครื่องบิน
- IMF : ปรับลดตัวเลขการเติบโตเศรษฐกิจโลกปีนี้
# IMF ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ สู่ระดับ 3.3% จากเดิมที่ระดับ 3.5% โดยได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐและประเทศคู่ค้า รวมทั้งการคุมเข้มนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ขณะเดียวกัน IMF ยังเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงที่อังกฤษจะแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) โดยไม่มีการทำข้อตกลง, ความไม่แน่นอนทางการเมือง ขณะที่หลายประเทศทั่วโลกจัดการเลือกตั้ง และความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ในเอเชียตะวันออก
- สหรัฐ: ผลการสำรวจการเปิดรับสมัครงาน ก.พ.62 ลดลง
# สำนักงานสถิติของกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยผลสำรวจการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน(JOLTS) พบว่า ตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน ซึ่งเป็นมาตรวัดอุปสงค์ในตลาดแรงงาน ร่วงลง 538,000 ตำแหน่ง สู่ระดับ7.1 ล้านตำแหน่งในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.ปีที่แล้ว
- ภาวะตลาดหุ้นสหรัฐ : ดาวโจนส์ปรับลง หลังสหรัฐอาจจัดเก็บภาษีอียูเพิ่ม IMF ลดอัตราเติบโตเศรษฐกิจโลก
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 26,150.58 จุด ร่วงลง 190.44 จุด หรือ -0.72% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่2,878.20 จุด ลดลง 17.57 จุด หรือ -0.61% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,909.28 จุด ลดลง 44.61 จุด หรือ -0.56%
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (9 เม.ย.) เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของสงครามการค้า หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ประกาศว่า สหรัฐเตรียมเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหภาพยุโรป (EU) คิดเป็นมูลค่า 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้
- ภาวะตลาดน้ำมัน : น้ำมันปรับลง กังวลไอเอ็มเอฟ
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค. ลดลง 42 เซนต์ หรือ 0.7% ปิดที่ 63.98 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 49 เซนต์ หรือ 0.7% ปิดที่ 70.61 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (9 เม.ย.) หลังจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ ซึ่งทำให้นักลงทุนกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้พลังงาน นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐจะเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3
- ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก : ปรับขึ้น หลังดอลลาร์อ่อนค่า
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 6.40 ดอลลาร์ หรือ 0.49%1,308.30 ดอลลาร์/ออนซ์
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (9 เม.ย.) โดยได้ปัจจัยหนุนการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ นอกจากนี้นักลงทุนยังเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากตลาดหุ้นสหรัฐร่วงลงเมื่อคืนนี้ ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลก หลังจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้
• นักลงทุนติดตามผลประกอบการและตัวเลขเศรษฐกิจที่จะประกาศภายในสัปดาห์นี้
# ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อเดือนมี.ค., สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนก.พ., สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA), คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีราคาผู้ผลิต(PPI) เดือนมี.ค.,ราคานำเข้าและส่งออกเดือนมี.ค. และ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเม.ย.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
ปัจจัยในประเทศและข่าวหลักทรัพย์
+กระทรวงการคลัง: เล็งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
# คลังยอมรับประชาชนขาดความเชื่อมั่น หลังเสพข่าวการเมืองมากดึงบริโภค-ลงทุนเอกชนชะลอ ลุยหารือ สศค.เตรียมออกมาตรการกระตุ้น หวังฟื้นความเชื่อมั่น เล็งเสนอ "สมคิด" พิจารณาหลังสงกรานต์นี้ พร้อมตั้งเป้ารักษาการเติบโต"จีดีพี"ที่ 4% ด้าน "ลวรณ"เผยขอดูข้อมูลเศรษฐกิจไตรมาส 2 ก่อน ยอมรับเตรียมมาตรการไว้พร้อมแล้ว
+ รมว.คลังคาดการบริโภค 1Q-2Q62 ยังอยู่ในเกณฑ์ดี
# รมว.คลัง เชื่อว่าภาพรวมการบริโภคของภาคเอกชนทั้งไตรมาส 1 และไตรมาส 2 ปีนี้ ยังอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนมี.ค.62 ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จะปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน เพราะมีปัจจัยหนุนจากกิจกรรมรณรงค์หาเสียงในช่วงการเลือกตั้ง แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่านั้น คือ การลงทุนภาคเอกชนเนื่องจากที่ได้มีโอกาสพูดคุยกับนักลงทุนต่างประเทศส่วนใหญ่ยังชะลอการลงทุนในไทยช่วงนี้ไว้ก่อน เพื่อขอรอดูความชัดเจนทางการเมืองจากผลการเลือกตั้งเมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา
- สภาตลาดทุนคาด ดัชนีความเชื่อมั่นเม.ย.62 สำหรับ 3 เดือนข้างหน้าลดลงถึง 17.72%
# สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) รายงานดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนประจำเดือน เม.ย.62 พบว่า ดัชนีเชื่อมั่นนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า (มิ.ย.62) อยู่ในเกณฑ์ ปรับตัวลดลง 17.72% มาอยู่ที่ 107.53 จากที่เคยอยู่ในเกณฑ์ร้อนแรงในเดือนก่อน โดยผลสำรวจพบว่านักลงทุนมีความกังวลเสถียรภาพรัฐบาลใหม่ภายหลังการเลือกตั้งเป็นปัจจัยหลัก รองลงมาคือสถานการณ์เจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีน รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐและจีน
+ มีคาดการณ์รายได้ภาคท่องเที่ยวช่วงสงกรานต์เพิ่ม 2.2% y-o-y
# ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศของนักท่องเที่ยวไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2562 (11-17 เมษายน 2562) น่าจะสร้างรายได้สู่ภาคธุรกิจท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่องเป็นมูลค่าประมาณ 28,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.2% (YoY)
+ เก็งกำไรหุน้ กลุ่มธนาคาร ก่อนประกาศจริงสัปดาห์หน้า คาด BBL, KKP เด่น
# คาดกำไรสุทธิ 1Q62F รวมไว้ที่ 42.2 พันล้านบาท (-11.4%YoY, +14.1%QoQ)
# ปัจจัยสำคัญใน 1Q62F คือ สินเชื่อเติบโต (+), NIM แคบลง (-), รายได้ค่าธรรมเนียมชะลอลง (-), รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยลดลง (-) และค่าใช้จ่ายดำเนินงานเพิ่มขึ้น (-)
# BBL และ KKP เป็น 2 ธนาคารที่มีกำไรสุทธิ 1Q62F เติบโตทั้ง YoY และ QoQ จัดลำดับให้เป็นหุ้น Top Picks
+/- การเก็งกำไรหุ้น MSCI ดักหน้า ก่อนมีผล 28 พ.ค.62
# (+) MSCI: เพิ่มน้ำหนักตลาดหุ้นไทยจาก 2.3% สู่ระดับ 2.8% มีผลตั้งแต่ 28 พ.ค.นี้ จับตาเงินเข้า 7.62 หมื่นล้านบาท
# (+) ส่วน SCC และ BDMS ถูกคาดหมายเงินเข้ามากสุดที่ 7.5-8.0 พันล้านบาท และ 5.3-5.7 พันล้านบาท จากการถูกเพิ่มน้ำหนักลงทุน ขณะที่หุ้นใหม่ที่ได้เข้าคำนวณคือ INTUCH, RATCH, CENTEL และ DTAC
# (+) SCC,BDMS,CPN,BBLF,EGCO,LH,KBANK,BANPU,PTT,TU,ADVANC,CPF,HMPRO,MINT,EA,BH,BTS,GULF, TRUE, IRPC เป็น 20 หลักทรัพย์ที่ได้เพิ่มน้ำหนัก
# (+) หุ้น MSCI ขนาดกลาง-เล็ก สำหรับที่ได้รับเข้าคำนวณในรอบนี้คือ BLA, AEONTS, LHFG, TASCO, EASTW,COLและ TIP
# (-) ด้าน SCB ที่เป็นหุ้นขนาดใหญ่ที่ถูกลดน้ำหนักในครั้งนี้แล้ว ปรากฏว่าหุ้น ขนาดกลาง-เล็ก ที่ถูกลดน้ำหนักด้วยคือKKP, TISCO, TCAP
นักวิเคราะห์&กลยุทธ์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]