WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซีย พลัส : Market Talk
 
กลยุทธ์การลงทุน
 
แนวโน้มดัชนีวันนี้น่าจะแกว่งตัว 1620–1645 จุด  แม้ปัจจัยภายนอกผ่อนคลายลง ทั้งการกีดกันการค้าที่ลดลง และทิศทางดอกเบี้ยโลกที่เข้าสู่วัฏจักรดอกเบี้ยขาลง แต่ยังขาด Fund flow หนุนเพราะตลาดให้น้ำหนักต่อการจัดตั้งรัฐบาล และเสถียรภาพของรัฐบาลใหม่ Top Pick วันนี้ คือ JMT([email protected]) เป็นหุ้น Growth โดดเด่นท่ามกลางเศรษฐกิจชะลอตัว และยังชอบ EASTW ([email protected]) และ DCC (FV@B 2.80)
 
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … ปัจจัยต่างประเทศผ่อนคลาย หนุนดัชนียืนแดนบวก
 
วันศุกร์ที่ผ่านมานักลงทุนคาดหวังเชิงบวกต่อการเจรจาการค้าสหรัฐ-จีน ที่ดูผ่อนคลายมากขึ้น ทำให้ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ในภูมิภาคปิดตลาดในแดนบวก เช่นเดียวกับ SET Index ที่เคลื่อนไหวขึ้นมาทดสอบแนวต้าน 1640 จุด และปิดที่ระดับ 1638.65 จุด เพิ่มขึ้น 4.40 จุด (+0.27%) มูลค่าการซื้อขาย 3.95 หมื่นล้านบาท  มีหุ้นในหลายกลุ่มฯ เคลื่อนไหวในแดนบวก คือ ทั้งพลังงาน (PTT, PTTEP) ธ.พ. (BBL BAY TMB) ค้าปลีก (CPALL, BJC)  ตรงกันข้าม มีแรงขายทำกำไรสลับออกมาในหุ้นที่ปรับตัวขึ้นตั้งแต่ต้นสัปดาห์ คือ ICT (ADVANC, DTAC, INTUCH)  และหุ้นก่อสร้าง โดยเฉพาะ STEC ลดลง 1.23% เป็นต้น   
 
คาด SET Index ยังผันผวนในกรอบ 1620 – 1645 จุด  ปัจจัยภายนอกผ่อนคลายลง  ทั้งสงครามการค้าลดน้อยลง และทิศทางดอกเบี้ยโลกที่เข้าสู่วัฏจักรดอกเบี้ยขาลง ในเอเชีย นำโดยอินเดีย การประชุมวันที่ 4 เม.ย. ที่มีโอกาสลดดอกเบี้ยในการประชุมธนาคารกลาง ส่วนในประเทศ ให้น้ำหนักต่อความพยายามจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักในการกำหนดทิศทางเงินทุนไหลเข้า 
 
อินเดียเข้าสู่วัฏจักรดอกเบี้ยขาลงตามแนวโน้มโลก
 
ความกังวลเศรษฐกิจโลกปี 2562 มีแนวโน้มชะลอลงนับจากการเจรจาการค้าจีน-สหรัฐ ผ่อนคลายลง ตั้งแต่ปลายปี 2561   ล่าสุดสหรัฐเผยจะยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้ากับจีนบางส่วนแต่จัดเก็บบางส่วน (ยังไม่มีรายละเอียดชัดเจน)  ซึ่งต้องรอการเจรจาอีกครั้งในวันที่ 4 เม.ย. ที่ กรุงวอชิงตัน ดีซี     แต่แรงกดดันน่าจะมาจากฝั่งยุโรป  โดยเฉพาะอังกฤษ  ล่าสุด วันศุกร์ที่ผ่านมารัฐสภาไม่ผ่านร่างข้อเสนอ Brexit รอบที่ 3 ทำให้อังกฤษจะต้องออกจากยุโรปวันที่ 12 เม.ย. แบบไม่มีข้อตกลง (No-Deal)   ซึ่งจะกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งอังกฤษ   เนื่องจากมีการค้าขายราว 50% ของมูลค้าการค้ารวม  และอังกฤษเป็นศูนย์กลางทางการเงิน ซึ่งต่างชาติใช้อังกฤษเป็นช่องทางในการเข้าสู่ตลาดยุโรป การแยกตัวของอังกฤษ จะกระทบต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของอังกฤษอย่างมาก   ขณะที่ไทยค้าขายกับอังกฤษราว  2%ของการค้ารวม   ผลกระทบคาดว่าจำกัด
 
ขณะที่ในเอเซีย คือ จีน  ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจภาคการผลิตส่งสัญญาณฟื้นตัว คือ PMI ภาคการผลิตของจีนเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้นในรอบ 8 เดือนที่ระดับ 50.5 จุด จาก 49.5 จุดผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจีน เช่นการปรับลดอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย (Required Reserve Ratio: RRR) ไป 2 ครั้งรวม 1% เมื่อเดือน ม.ค. 2562  และการกลับมาดำเนินการของภาคธุรกิจ ภายหลังจากช่วงเทศกาลตรุษจีน  ทำให้ตลาดคลายความกังวลต่อเศรษฐกิจที่จีนจะชะลอตัวในช่วงสั้น 
 
และตามด้วยอินเดีย การประชุมธนาคารกลางอินเดียวันที่  4 เม.ย. นี้  คาดว่าจะลดดอกเบี้ยนโยบายลง  0.25% เหลือ  6% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ก่อนที่จะเข้าสู่เลือกตั้งนายกฯ ใน 1-2 เดือนข้างหน้า  ด้วยคาดปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลให้ Fund Flow มีแนวโน้มไหลเข้ามาในเอเชีย โดยเฉพาะตลาดหุ้นจีน
 
LTV และเศรษฐกิจชะลอตัว กระทบอสังหาริมทรัพย์ เน้นหุ้น Dividend สูง 
 
หลังจากที่ ธปท. ประกาศเมื่อปลายปี 2561 วันนี้ (1 เม.ย.62) เป็นวันแรกที่เกณฑ์เรื่อง Loan to Value (LTV) ใหม่ซึ่งกำหนดให้การซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 หรือที่อยู่อาศัยราคาเกิน 10 ล้านบาท จะกู้เงินได้ไม่เกิน 80% ของราคาที่อยู่อาศัย   ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการชะลอตัวของแรงซื้อที่อยู่อาศัยในช่วงเวลาสั้นๆ โดยกลุ่มที่ซื้อบ้านหลังที่ 2 ขึ้นไป ซึ่งอาจเป็นการซื้อเพื่อการลงทุนหรือเก็งกำไร มีกำลังซื้อลดลง นอกเหนือจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่มีแนวโน้มชะลอตัว น่าจะกดดันภาพรวมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในระยะสั้น – กลาง
 
แต่อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงสั้นๆ  คือ มีการเร่งซื้อ – โอนฯ ก่อน 1 เม.ย.2562   เพราะผู้ซื้อก็ตั้องการเลี่ยงมาตรการ ขณะที่ฝ่ายผู้ประกอบการก็ต้องการระบายระบายสต็อกที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จออกจึงได้มีการจัดแคมเปญส่งเสริมการขายที่จูงใจ ซึ่งอาจจะทำให้การรับรู้รายได้ของผู้ประกอบการในงวด 1Q62 น่าจะดีขึ้นเมื่อเทียบกับงวดก่อนหน้า หรือ ระยะเดียวกันของปีก่อนหน้า
 
โดยภาพรวม  ทั้งปี 2562  คาดว่ายังเห็นธุรกรรมการขาย – โอนฯ ยังมีอยู่ แต่แน่นอน การเปิดโครกงารใหม่ และ Presale  อาจจะชะลอกว่าอดีต ทั้งนี้ คาดว่า Presale ของผู้ประกอบการ 16 รายใหญ่ปี 2562 จะทรงตัวอยู่ที่ 3.5 แสนล้านบาทใกล้เคียงปี 2561 ส่วนยอดโอนฯ ก็ยังถูกสนับสนุนด้วย Backlog ซึ่งยอดรวมมีอยู่ที่ 3.3 แสนล้านบาท  (รวม JV) ซึ่งกว่า 1.46 แสนล้านบาทมีกำหนดสร้างเสร็จและโอนฯ ในปี 2562  ทำให้กำไรสุทธิงวดปี 2562  ยังน่าจะเติบโตแม้ต่ำราว 4% YoY  แต่พบว่าราคาหุ้นกลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัยได้ปรับตัวลดลงมาต่อเนื่อง จึงน่าจะถือเป็นโอกาสสำหรับการเลือกหุ้นปัจจัยพื้นฐานดี ฐานะการเงินแข็งแรง และให้ Dividend Yield สูง สะสมเข้าไว้ในพอร์ต โดยฝ่ายวิจัยเลือก LH(FV@B 13.60) และ SPALI (FV@B 23.20) เป็น Top Pick
 
JMT หุ้น Growth  โดดเด่น ท่ามกลางเศรษฐกิจชะลอตัว 
 
ในภาวะที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยด้วยเช่นกัน (เพราะสัดส่วนการส่งออกของไทยคิดเป็น 70% ของ GDP) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือมีโอกาสจะเห็นการเร่งตัวขึ้นของหนี้เสียในประเทศ  แม้จะกระทบต่อหุ้นการเงิน แต่กลับส่งผลดีต่อ JMT (สัดส่วน 79% ของรายได้รวมมาจากธุรกิจบริหารหนี้)   ทำให้บริษัทยังเดินหน้าซื้อหนี้เข้ามาบริหารอย่างต่อเนื่อง
 
ณ สิ้นปี 2561 บริษัทมีมูลหนี้ภายใต้การบริหารทั้งสิ้น 1.46 แสนล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ที่ตัดเงินต้นครบแล้ว 2.45 หมื่นล้านบาท และหนี้ที่อยู่ระหว่างการจัดเก็บ (IRR group) 1.21 แสนล้านบาท ที่จะทยอยสร้างรายได้ในอนาคต  ขณะที่ปี 2562 JMT ยังมีเป้าหมายซื้อหนี้เพิ่มอีก 4.50 พันล้านบาท อย่างไรก็ตามฝ่ายวิจัยประเมินไว้อย่างระมัดระวังเพียง 2.50 พันล้านบาท แต่น่าจะเห็นศักยภาพการทำกำไรที่ดีขึ้น   นอกจากนี้ ยังหนุนจากธุรกิจประกันภัย (สัดส่วน 5% ของรายได้รวม) คาดจะพลิกเป็นกำไรในปีนี้         
 
โดยภาพรวม คาดกำไรสุทธิปี 2562 อยู่ที่ 661 ล้านบาท เติบโตสูงถึง 37.8% yoy   สูงกว่ากำไรตลาด จึงมีโอกาสจะกลับมา outperform กลุ่มฯ  โดยราคาหุ้นมี upside จาก Fair Value 17.50  บาท ราว 24% จึงแนะนำซื้อ
 
มูลหนื้สะสมที่ JMT รับซื้อมาบริหาร
 
ปัจจัยภายนอกผ่อนคลาย หนุน Fund Flow ไหลกลับ
 
ความคาดหวังเชิงบวกต่อการเจรจาการค้า สหรัฐฯ-จีน ที่ผ่อนคลายมากขึ้น รวมถึงความกังวลเศรษฐกิจชะลอตัวจากการเกิด Inverted Yield Curve ในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐลดลง เนื่องจากล่าสุด Bond Yield 3 เดือน ถูกกดลงมาอยู่ที่ 2.38% ต่ำกว่า Bond Yield 10 ปี ที่ 2.41% เล็กน้อย (ระดับ Flat Yield Curve) ทำให้บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นดูดีขึ้น โดยศุกร์ที่ผ่านมาต่างชาติซื้อสุทธิตลาดหุ้นในภูมิภาคทุกประเทศ มูลค่ารวม 445 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) นำโดยตลาดหุ้นไต้หวัน 212 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามด้วยเกาหลีใต้ถูกสลับมาซื้อสุทธิ 103 ล้านเหรียญ, อินโดนิเซีย 58 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2), ฟิลิปปินส์ 30 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 7) และไทยที่ต่างชาติซื้อสุทธิ 42 ล้านเหรียญ หรือ 1.3 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ขณะที่สถาบันฯ สลับมาชายสุทธิ 348 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว)
 
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค
 
ตลาดผันผวน ลงทุนหุ้นพื้นฐานแข็งแกร่ง ผันผวนน้อย EASTW
 
กลยุทธ์การลงทุนยังเน้นหุ้นที่มีพื้นฐานแข็งแกร่งรองรับความผันผวนของ SET Index ที่จะเกิดขึ้นตามความไม่แน่นอนทางการเมือง และปัจจัยโลกอื่นๆ เช่น
 
หุ้นที่ผันผวนน้อยกว่าตลาด (1L2H) โดย 1L คือ Low Beta คือ หุ้นที่ผันผวนต่ำน้อยกว่าตลาด และ 2H คือ High Upside และ High Growth ปี 2562 รายละเอียดดังรูปด้านล่าง  
 
หุ้นผันผวนต่ำ (1L2H)
 
ยังชอบ EASTW([email protected])   นอกจากความคืบหน้า โครงการ EEC ที่จะทยอยเกิดขึ้นใน 3 จังหวัดภาคตะวันออก (ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา)  หนุนความต้องการใช้น้ำดิบในภาพอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นที่ตั้งของ EASTW แล้ว ในปี 2562  ยังเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งมาเร็วกว่าทุกปี      ทำให้ปริมาณฝนตกทั่วประเทศลดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 30 ปี  กล่าวคือคาดว่าเดือน มี.ค.-เม.ย. 62 ฝนตกต่ำกว่าค่าปกติราว 10-20%  จะทำให้ปริมาณการขายน้ำดิบสูงขึ้นกว่าสมมติฐาน (คาดปริมาณขายน้ำดิบเติบโต 3.2%YoY) โดยภาพรวมทั้งปี  2562 คาดว่ากำไรสุทธิของ EASTW จะเติบโต 4.2%  และเฉพาะ งวด 1Q62  คาดว่าจะดีขึ้นจาก 4Q61 เพราะนอกจากปริมาณขายน้ำที่ดีจากเหตุผลข้างต้นแล้ว  คาดว่าค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารคาดจะลดลงจาก 4Q61 ซึ่งเป็นฤดูกาลที่ค่าใช้จ่ายฯจะสูง     ชอบ EASTW ในฐานะที่เป็นหุ้น Defensive  มี Div Yield สูงราว 4.2% และยังมี Upside 22.73%  
 
 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!