- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 28 March 2019 16:38
- Hits: 2111
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
เชื่อว่าแรงกดดันจากการขายของนักลงทุนต่างชาติน่าจะเบาลง แต่ด้วยปัจจัยภายในประเทศเฉพาะอย่างยิ่งการเมืองที่มีความร้อนแรงมากยิ่งขึ้น อาจต้องกลับมาระวังแรงขายจากกลุ่มนักลงทุนสถาบันในประเทศแทน ทั้งนี้ในช่วงปี 2556 จนถึงปัจจุบัน นักลงทุนสถาบันฯ ซื้อสุทธิกว่า 5.95 แสนล้านบาท ต้นทุน SET Index เฉลี่ย 1561 จุดซึ่งยังมี Capital Gain จากปัจจุนัน 4.35% กลยุทธ์ช่วงนี้ทยอยสะสมหุ้นปัจจัยพื้นฐานแข็งแรง และให้ Dividend Yield สูง Top picks เลือก DCC([email protected]) และ PTTGC(FV@B79)
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … SET Index อ่อนไหวตามกระแสการเมือง
วานนี้ SET Index แกว่งผันผวนตลอดวันและปิดที่ระดับ 1629.40 จุด ลดลง 2.92 จุด (-0.18%) มูลค่าการซื้อขาย 3.88 หมื่นล้านบาท ดัชนีมีโอกาสฟื้นตัวได้ค่อนข้างจำกัด จากสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่นิ่ง ซึ่งวานนี้พรรคเพื่อไทยแถลงร่วมกับ 6 พรรค จัดตั้งรัฐบาล แต่บรรยากาศการลงทุนยังคงแกว่งไร้ทิศทาง โดยหุ้นขนาดใหญ่อย่าง AOT (-0.37%) BDMS(-0.81%) PTT (-1.04%) ส่วน PTTEP ยังแกร่งปิดตลาดแดนบวก 125.50 บาท (+0.40%) หลังราคาน้ำมันดิบขยับเหนือ 65 เหรียญฯ ส่วนหุ้นที่มีประเด็นบวกอย่าง VGI เข้าซื้อ PLANB ช่วยเพิ่ม Synergy ร่วมกัน ทำให้ VGI (+6.33%) และ PLANB (+1.59%)
ประเด็นที่ต้องจับตามวันนี้ ยังคงเป็นสถานการณ์ทางการเมือง ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาที่ พรรคการเมืองที่ได้คะแนนเสียงสูงสุด และ จำนวน ส.ส. สูงสุด จากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ช่วงชิงจังหวัดในการเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล สถานการณ์ดังกล่าวอาจทำให้เกิดความผันผวนกับ SET Index ได้ ส่วนแรงขายที่จะเกิดขึ้นจากนี้ไป ต้องให้ความสำคัญกับกลุ่มนักลงทุนสถาบันในประเทศมากขึ้น หลังซื้อสุทธิสะสมมาเป็นระยะเวลานาน และคำนวนต้นทุนเฉลี่ยแล้วยังมีกำไร สำหรับปัจจัยในต่างประเทศ ติดตามเรื่องการเจรจาสงครามการค้าซึ่งตลาดมีความคาดหวังเชิงบวกต่อ วันนี้คาด SET Index ยังผันผวนในกรอบ 1620 – 1645 จุด
ราคาน้ำมันดูไบยังทรงตัวสูง การตัดลด Supply ยังใกล้ Demand
สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐ (EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบสัปดาห์ล่าสุด พลิกกลับมาเพิ่มขึ้นราว 2.8 ล้านบาร์เรล (ตลาดคาดลดลง 1.1 ล้านบาร์เรล) ผลจากการนำเข้าน้ำมันเพิ่มขึ้น 1.14 แสนบาร์เรล จากสัปดาห์ก่อนที่ลดลง 6.6 แสนบาร์เรล ประกอบกับอัตราการกลั่นน้ำมันปรับลดเล็กน้อยเป็น 86.6% จาก 87.8% ในสัปดาห์ก่อน
อย่างไรก็ตาม การตัดลด Supply ที่ยังเป็นไปตามแผน และมีแนวโน้มจะยืดการตัด Supply ออกไปจากเดิมที่กำหนดไว้กลางปี 2562 (ตามข้อตกลง OPEC และ Non OPEC ทำสัญญาล่าสุด ธ.ค. 2561 จะตัดลดการผลิตถึงกลางปี 2562 ที่ 1.2 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งเป็น OPEC ตัดลด 8 แสนบาร์เรล/วัน ขณะที่ Non OPEC ลดลง 4 แสนบาร์เรล/วัน) การลด Supply นับว่าสอดรับกับความต้องการใช้น้ำมันโลกที่ชะลอลงจากสงครามการค้า และอีกปัจจัยหนุน คือ เวเนซุเอลายังไม่สามารถส่งออกน้ำมันได้อย่างเต็มที่ เพราะท่าเรือสำคัญยังไม่สามารถใช้การได้ จากเกิดเหตุการณ์ไฟดับในประเทศ
โดยรวมทำให้ราคาน้ำมันดิบดูไบยังทรงตัวในระดับสูงที่ระดับ 66.41 เหรียญฯต่อบาร์เรล ใกล้เคียงสมมติฐานของ ASPS ที่กำหนดไว้ 65 เหรียญ ในปี 2562 และคาดว่าจะสามารถฟื้นตัวยืนเหนือ 60 เหรียญฯ ในช่วงที่เหลือของปีนี้ (และกำหนด 70 เหรียญฯนับจากปี 2563 เป็นต้นไป)
แนะนำสะสมหุ้นน้ำมัน PTTEP(FV@B178), PTT(FV@B56) และ PTTGC(FV@B79) ประกอบกับเป็นหุ้นที่ถูก Short Sale สูงตั้งแต่ต้นปี จึงคาดว่ามีโอกาสที่ราคาจะฟื้นตัวจากการ Cover Short ได้
เฝ้าระวังแรงขายจากสถาบันฯ ที่เป็นเสาหลักของหุ้นไทยในช่วงที่ผ่านมา
ความกังวลผลต่างของผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี และ 3 เดือน กลับมาตึงเครียดมากขึ้นหลัง Bond yield 10 ปี ของสหรัฐล่าสุด ร่วงลงสู่ระดับ 2.36% (ต่ำสุดตั้งแต่ 15 ธ.ค. ปี 2560) และต่ำกว่า Bond yield 3 เดือน อยู่ 5 bps. ทำให้ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นในเอเชียส่วนใหญ่พักฐาน เช่นเดียวกับตลาดหุ้นไทย โดยวานนี้ต่างชาติสลับมาขายสุทธิในตลาดหุ้นในภูมิภาคเป็นส่วนใหญ่ มูลค่ารวม 365 ล้านเหรียญ เริ่มจากตลาดหุ้นเกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 180 ล้านเหรียญ และไต้หวัน 91 ล้านเหรียญ ส่วนหุ้นในกลุ่ม TIP มีเพียงฟิลิปปินส์ที่ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ 6 ล้านเหรียญ ขณะที่อินโดนีเซียถูกขายสุทธิ 30 ล้านเหรียญ และไทยถูกสลับมาขายสุทธิ 71 ล้านเหรียญ หรือ 2.3 พันล้านบาท เช่นเดียวกับสถาบันฯ ที่ขายสุทธิอีก 510 ล้านบาท
และหากพิจารณาตั้งแต่ต้นปี 2562 พบว่า Fund Flow ไหลเข้าตลาดหุ้นในภูมิภาคเกือบทุกประเทศ ด้วยมูลค่ารวมกว่า 9.56 พันล้านเหรียญ (ytd) โดยมีเพียงตลาดหุ้นไทยเท่านั้นที่ถูกขายสุทธิ 452 ล้านเหรียญ หรือ 1.44 หมื่นล้านบาท (ytd) แม้ต่างชาติจะขายหุ้นไทย แต่หากดูผลตอบแทนของตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มได้ดี 4.19% (ytd) เช่นเดียวกับตลาดหุ้นอื่นๆในภูมิภาค อย่าง ฟิลิปปินส์เพิ่มขึ้น 5.29% อินโดนีเซียเพิ่มขึ้น 4.04% ดังภาพทางด้านล่าง
ยอดซื้อสุทธิของต่างชาติ vs. ผลตอบแทนของตลาดหุ้นในภูมิภาค (ytd)
การปรับตัวเพิ่มขึ้นมาได้ดีของตลาดหุ้นไทยส่วนหนึ่งได้แรงหนุนจากนักลงทุนสถาบันฯ ที่ซื้อสุทธิตั้งแต่ต้นปี 2562 ถึง 3.26 หมื่นล้านบาท (ytd) และเป็นการซื้อสะสมมาอย่างสม่ำเสมอนับตั้งแต่ปี 2556 ซื้อสุทธิมาแล้วกว่า 5.95 แสนล้านบาท (คิดตามมูลค่าตลาด) โดยมีต้นทุนเฉลี่ยเทียบกับ SET Index ตลอดช่วง 6 ปีที่ผ่านมา อยู่ที่ 1561 จุด ขณะเดียวกันต่างชาติขายสุทธิมาตลอดกว่า 6.84 แสนล้านบาท ด้วยความไม่แน่นอนในการจัดตั้งรัฐบาล และต้องทิ้งช่วงเวลาไปอีก 1 เดือนกว่าๆ ถึงจะรู้ผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ ผนวกกับความกังวลต่อเศรษฐกิจชะลอตัว จึงเชื่อว่า ตราบใดที่ Fund Flow ยังไม่ไหลเข้าถือเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเดินหน้าต่อของ SET Index และอาจต้องระวังแรงขายจากกองทุนที่ซื้อสะสมต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน
ต้นทุนและมูลค่าการซื้อขายของสถาบันฯ (คิดตามมูลค่าตลาด) เทียบกับ SET Index
เริ่มใช้ LTV ใหม่ 1 เม.ย. เชื่อกระทบ Sentiment มากกว่ายอดขาย
เกณฑ์เรื่อง Loan to Value (LTV) ใหม่กำหนดให้การซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 หรือที่อยู่อาศัยราคาเกิน 10 ล้านบาทสามารถกู้เงินได้ไม่เกิน 80% ของราคาที่อยู่อาศัย ซึ่งถูกประกาศออกมาตั้งแต่ปลายปี 2561 จะมีผลบังคับใช้สำหรับการซื้อและโอนฯ บ้านที่เกิดขึ้นตั้งแต่ 1 เม.ย.2562 เป็นต้นไป ฝ่ายวิจัยประเมินว่าหลังจากมาตรการ LTV ใหม่ มีผลบังคับใช้น่าจะทำให้เกิดการชะลอตัวของแรงซื้อที่อยู่อาศัยในช่วงเวลาสั้นๆ ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผลกระทบโดยตรงจากมาตรการที่ทำให้กลุ่มที่ซื้อบ้านหลังที่ 2 ขึ้นไป ซึ่งอาจเป็นการซื้อเพื่อการลงทุนหรือเก็งกำไร มีกำลังซื้อลดลง แต่อีกส่วนหนึ่งซึ่งอาจเป็นส่วนใหญ่ เกิดจากการที่เร่งซื้อ – โอนฯ ก่อน 1 เม.ย.2562 เนื่องจากในฝั่งของผู้ซื้อก็ตั้องการเลี่ยงมาตรการ ขณะที่ฝ่ายผู้ประกอบการก็ต้องการระบายระบายสต๊อกที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จออกจึงได้มีการจัดแคมเปญส่งเสริมการขายที่จูงใจ
อย่างไรก็ตาม ยังเชื่อว่าหากประเมินภาพรวมทั้งปี 2562 จะไม่เห็นธุรกรรมการขาย – โอนฯ ที่ชะลอตัวลงโดยในส่วนของ Presale ของผู้ประกอบการ 16 รายใหญ่คาดจะทรงตัวอยู่ที่ระดับ 3.5 แสนล้านบาทใกล้เคียงปี 2561 ส่วนยอดโอนฯ ก็ยังถูกสนับสนุนด้วย Backlog ซึ่งยอดรวมมีอยู่ที่ 3.3 แสนล้านบาท (รวม JV) ซึ่งกว่า 1.46 แสนล้านบาทมีกำหนดสร้างเสร็จและโอนฯ ในปี 2562 ฝ่ายวิจัยคาดว่ากำไรสุทธิงวดปี 2562 ยังน่าจะเติบโตในอัตรา 4% YoY ดังนั้น หากราคาหุ้นกลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัยปรับตัวลดลงมา จึงน่าจะถือเป็นโอกาสสำหรับการเลือกหุ้นปัจจัยพื้นฐานดี ฐานะการเงินแข็งแรง และให้ Dividend Yield สูง สะสมเข้าไว้ในพอร์ต โดยฝ่ายวิจัยเลือก LH(FV@B 13.60) และ SPALI (FV@B 23.20) เป็น Top Pick
ตลาดผันผวน แต่ยังมีหุ้นบางประเทศที่น่าสนใจ
กลยุทธ์การลงทุนยังเน้นรายหุ้น ที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง รองรับความผันผวนของ SET Index ที่จะเกิดขึ้นตามความไม่แน่นอนทางการเมือง และปัจจัยโลกอื่นๆ แต่ยังเป็นโอกาสที่ดีสำหรับการลงทุนในหุ้นบางประเภท เช่น
1. หุ้นที่ผันผวนน้อยกว่าตลาด (1L2H) โดย 1L คือ Low Beta คือ หุ้นที่ผันผวนต่ำน้อยกว่าตลาด และ 2H คือ High Upside และ High Growth ปี 2562 รายละเอียดดังรูปด้านล่าง
หุ้นผันผวนต่ำ (1L2H)
ที่มา : ฝ่ายวิจัย ASPS
2.หุ้นที่มีผลกำไรโดดเด่นใน 1Q62 และมี upside มากกว่า 10%: กลุ่มพลังงาน-ปิโตรฯ PTT(FV@B56), PTTGC(FV@B79) หุ้นโรงไฟฟ้า-พลังงานทดแทน BPP([email protected]) กลุ่มวัสดุก่อสร้าง SCCC(FV@B269), TPIPL([email protected]) กลุ่มโรงพยาบาล BDMS(FV@B30), BCH(FV@B21) กลุ่มเกษตร-อาหาร CPF(FV @B31.50), TFG(FV @B4.50), กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ PSH ([email protected]), QH ([email protected]) และ CPN ([email protected]) และกลุ่มรับเหมาฯ STPI ([email protected]) **สามารถรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน Market Talk วันที่ 13-14 มี.ค.62 และในบทวิเคราะห์รายหุ้น**
ภรณี ทองเย็น
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ