- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 26 March 2019 14:14
- Hits: 2458
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
การเกิด Inverted Yield Curve ในพันธบัตรสหรัฐ และวัฎจักรดอกเบี้ยโลกที่เป็นขาขึ้นเริ่มสิ้นสุด และดอกเบี้ยในระยะกลาง-ยาวมีแนวโน้มทรงตัวต่ำ ภาะวะนี้เกิดการเปรียบเทียบผลตอบแทน ทำให้ Yield Gap ของตลาดหุ้น-พันธบัตรไทย กว้างขึ้นราว 4.34% เชื่อว่าจะมีน้ำหนักทำให้ดึงเม็ดเงินไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นไทย กลยุทธ์เลือกลงทุนในหุ้นปัจจัยพื้นฐานแข็งแรง และให้ Dividend Yield สูง Top picks เลือก DCC([email protected]) และ LH ([email protected])
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … SET Index โดนกดดันจากปัจจัยภายนอกประเทศ
วานนี้ SET Index แกว่งทรงตัวในแดนลบตลอดวัน จนทำให้ปิดที่ระดับ 1625.91 จุด ลดลง 20.38 จุด (-1.24%) ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 4.70 หมื่นล้านบาท โดนกดดันจากเรื่อง inverted yield curve ของสหรัฐฯ โดยหุ้นกลุ่มที่กดดันตลาด คือ กลุ่มพลังงานอย่าง PTT(-2.05%) PTTEP(-1.98%) IVL(-3.02%) กลุ่มธ.พ.อย่าง SCB(-1.48%) KBANK(-1.30%) และกลุ่มค้าปลีกอย่าง CPALL(-2.63%) GLOBAL(-4.44%) COM7(-2.81%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่อย่าง ADVANC(-2.42%) AOT(-0.73%)
วัฎจักรดอกเบี้ยโลกที่เป็นขาขึ้นเริ่มสิ้นสุด และการเกิด Inverted Yield Curve ในพันธบัตรสหรัฐ ภาะวะเช่นนี้แม้จะกดดัน SET Index แต่หากพิจารณาจาก Yield Gap ของตลาดหุ้น-พันธบัตร จะทำให้กว้างขึ้นอยู่ที่ 4.34% จึงเชื่อว่ามีน้ำหนัก และดึงเม็ดเงินไหลเข้าสู่ตลาดหุ้น กลยุทธ์เลือกลงทุนในหุ้นปัจจัยพื้นฐานแข็งแรง และให้ Dividend Yield สูง อย่าง DCC([email protected]) และ LH ([email protected])
ตลาดหุ้นโลกปรับฐาน จากความกังวลเศรษฐกิจชะลอตัว
ตลาดหุ้นโลกวานนี้ที่ปรับฐาน จากประเด็นเดิมดังที่ ASPS ได้นำเสนอเมื่อวานนี้ คือ ความกังวลต่อเศรษฐกิจโลกชะลอตัว หลังจากปลายสัปดาห์ที่แล้วการรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของสหรัฐและยุโรป คือ PMI ภาคการผลิต เดือน มี.ค. ที่ออกชะลอตัวต่ำสุดในรอบ 1 ปี 9 เดือน และการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ส่งสัญญาณยุติวัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้นชัดเจน คือ คาดปีนี้จะไม่มีการขึ้นดอกเบี้ย จากเดิมคาด 2 ครั้ง ส่งผลให้ Bond Yiled สหรัฐอายุ 10 ปี ล่าสุด ปรับลงอยู่ที่ 2.41% ต่ำกว่า Bond Yiled สหรัฐอายุ 3 เดือน ที่ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 2.43% หรือเกิด Inverted Yield Curve ทำให้ตลาดตีความว่าสหรัฐมีโอกาสเกิดปัญหาเศรษฐกิจในระยะถัดไป
ทั้งนี้เชื่อว่าแนวโน้มดอกเบี้ยโลกรวมถึงไทย ในระยะกลาง-ยาวมีลักษณะทรงหรือลง ทำให้เกิดการเปรียบเทียบผลตอบแทนในการลงทุน ทำให้ Yield Gap ของตลาดหุ้น-พันธบัตรไทยกว้างขึ้นราว 4.34% สูงกว่าค่าเฉลี่ยตั้งแต่ปี 2551 อยู่ที่ 4.28% เชื่อว่ามีน้ำหนักทำให้ Fund Flow ไหลเข้าสู่ตลาดหุ้น
ส่วนปัจจัยต่างประเทศช่วงนี้ยังไม่มีอะไรใหม่ นอกจาก 28 – 29 มี.ค. การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐ-จีนที่กรุงปักกิ่ง และการขยายระยะเวลาเลื่อนการออกจากยุโรป (Brexit)ของอังกฤษ จากเดิมวันที่ 29 มี.ค. จะเป็น 12 เม.ย. หรือ 22 พ.ค.
Inverted Yield Curve สหรัฐไม่น่ากังวลเหมือนในอดีด
ปัจจัยภายนอกกดดันให้ SET Index ปรับฐานตามตลาดหุ้นอื่นๆ ทั่วโลก แต่ประเด็นการเมืองในประเทศถือว่าช่วยหนุนตลาดหุ้นไทยได้ในระดับหนึ่ง สังเกตได้จากในข่วง 2 วันทำการที่ผ่านมา (22 – 25 มี.ค. 2562) ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงเพียง 0.5% ถือว่าน้อยกว่าตลาดหุ้นหลักๆทั่วโลก เช่น ญี่ปุ่น -2.85%, สหรัฐ, NASDAQ -2.57% และจีน -1.88% เป็นต้น
ในช่วง 2 วันที่ผ่านมา SET Index ลงน้อยสุด เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นหลักๆ ทั่วโลก
ที่มา : ฝ่ายวิจัย ASPS, Bloomberg
ความกังวลเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัว กดดันตลาดหุ้นทั่วโลกปรับฐานแรง โดยเฉพาะประเด็นการเกิด inverted yield curve ของผลตอบแทนพัฐบัตรรัฐบาลสหรัฐ โดยล่าสุด Bond yield 3 เดือนของสหรัฐขยับขึ้นมาอยู่ที่ 2.44% สูงกว่า Bond yield 10 ปี ของสหรัฐ 2.41% (สูงกว่า 3 bps.) เนื่องจากในรอบ 20 ปี มีการเกิด inverted yield curve เพียง 3 ครั้งเท่านั้น และหลังจากนั้นมักจะเกิดวิฤตทางการเงินตามมา คือ ช่วงปี 2543 เกิดวิฤตดอทคอม, ปี 2551 วิกฤตซับไพรม์ และล่าสุดที่เพิ่งเกิด inverted yield curve ในวันศุกที่ผ่านมา
เปรียบเทียบ Bond Yield 10 ปี กับ 3 เดือนของสหรัฐ
ที่มา : ฝ่ายวิจัย ASPS, Bloomberg
อย่างไรก็ตามการเกิด inverted yield curve ไม่ได้แสดงว่าจะเกิดวิกฤตหลังจากนั้นเสมอไป เป็นเพียงการส่งสัญญาณว่า มีโอกาสเกิดเศรษฐกิจชะลอตัวในระยะถัดไปเท่านั้น โดยในอดีตมีปัญหาอื่นๆตามมาอีกมากทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งปัจุบันยังไม่มีอะไรน่ากังวลมากนัก เช่น ตอนวิกฤตดอทคอม ดัชนี Nasdaq ในปี 2542 ภายในปีเดียวเพิ่มขึ้นไปสูงถึง 110% มาอยู่ที่ 5048.62 จุด (ต้นเดือน มี.ค. 2543) ด้วยความคาดหวังจากธุรกิจอินเตอร์เน็ตจะเปลี่ยนโลกและสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ หลังจากนั้น 2 ปีครึ่ง ดัชนี Nasdaq ลดลงกว่า 78% เหลือ 1119 จุด แต่ปัจจุบัน NASDAQ มีค่า P/E เพียง 22.1 เท่า ถือว่าต่ำและอยู่ในระดับที่เหมาะสม จึงยากที่จะเกิดการปรับฐานแรงเหมือนในอดีต
และปัจจุบัน Bond Yield 10 ปี ของสหรัฐอยู่ที่ 2.41% ต่ำกว่าช่วงวิกฤตในอดีตมาก ที่ 6% ในปี 2543 และ 5.25% ในปี 2551 และต่ำกว่าดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐที่ 2.5% ดังนั้นยังเชื่อว่าผลตอบแทนจากหุ้นยังถือว่าน่าสนใจกว่าตราสารหนี้อยู่ Fund Flow จึงมีโอกาสไหลเข้าตลาดหุ้น โดยเฉพาะหุ้นไทยที่มี Earning Yield Gap ล่าสุดอยู่ที่ 4.34% (สูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต 4.28%) หากตลาดหุ้นมีความกังวลและปรับฐานช่วงสั้น น่าจะเป็นโอกาสในการสะสม
Earning Yield Gap ของ SET Index
ที่มา : ฝ่ายวิจัย ASPS, Bloomberg
การตั้งรัฐบาล ยังต้องเจรจากันอีกนาน แต่ควรถือเป็นพัฒนการเชิงบวก
ผลการเลือกตั้งตามระบบจัดสรรปันส่วนผสม ที่ทำให้จำนวน ส.ส. มีการกระจายตัวกันค่อนข้างมากในแต่ละพรรคการเมือง โดยพรรคขนาดใหญ่ในอดีตก็มีจำนวน ส.ส.ลดลง ส่วนพรรคขนาดกลาง–เล็ก มีจำนวน ส.ส. เพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้เกิดขั้วทางการเมืองที่มีอำนาจต่อรองเพิ่มขึ้น จึงเกิดปรากฎการณ์การแย่งจัดตั้งรัฐบาลของแต่ละขั้วการเมือง นอกจากนี้ยังมีอีกองค์ประกอบหนึ่งที่เข้ามาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคือระบบการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีตามบทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญ ซึ่งให้ ส.ว. จำนวน 250 คน มีส่วนร่วมในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ทำให้รัฐบาลที่จะจัดตั้งขึ้นมาและสามารถทำงานได้นอกจากจะได้รับคะแนนสนับสนุนจาก ส.ส.เกิน 251 เสียงขึ้นไปแล้ว ยังต้องได้รับการสนับสนุนจาก ส.ว.ด้วยคะแนนเสียงอีกส่วนหนึ่งด้วย โดยคะแนนเสียงรวมทั้ง 2 สภา (ส.ส.+ ส.ว.) ต้องเกินกึ่งหนึ่งหรือ 376 เสียงขึ้นไป ภายใต้สภาพแวดล้อมดังกล่าวทำให้ การจัดตั้งรัฐบาลในรอบนี้ดูมีอุปสรรคมากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา ซึ่งอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างทางก็อาจสร้างแรงกดดันให้ SET Index เกิดความผันผวนตามขึ้นมาได้
อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ กรอบระยะเวลา เนื่องจากในการเลือกตั้งรอบนี้ กกต. ประกาศว่าจะรับรองผลการเลือกตั้งให้ครบ 95% ในวันที่ 9 พ.ค. 2562 โดยในช่วงเวลาก่อนการรับรองผลอาจเห็นจำนวน ส.ส. ในแต่ละพรรคการเมืองเปลี่ยนแปลง ทั้งเพิ่มขึ้นและลดลงได้ ดังนั้นในช่วงเวลาประมาณเดือนเศษ ก่อนการรับรองผลจึงเชื่อว่าน่าจะเป็นช่วงเวลาการเจรจาต่อรองจัดตั้งรัฐบาล แต่ในที่สุดเชื่อว่าก็น่าจะทำให้สามารถจัดตั้งรัฐบาลขึ้นมาได้จนสำเร็จและกลายเป็นพัฒนาการเชิงบวกของการเมืองไทยที่กลับมาอยู่ภายใต้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งส่งผลดีต่อ Fund Flow และ SET Index แต่อย่างไรก็ตามหากเกิดเหตุในทางตรงข้าม กล่าวคือไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้จากการเลือกตั้งในรอบนี้ อาจก่อนให้เกิดวิกฤติความเชื่อมั่นสำหรับการลงทุนในตลาดหุ้นไทยเช่นกัน ในช่วงเวลานี้จึงยังต้องติดตามประเด็นทางการเมืองต่อเนื่อง โดยในส่วนของฝ่ายวิจัยยังมีความเห็นในทางที่เป็นบวกอยู่
ลุ้นหุ้นได้ประโยชน์จากที่หาเสียง
ยังคงให้น้ำหนักกับการจัดตั้งรัฐบาล แต่หากพิจารณาจากนโยบายของพรรคการเมืองใหญ่ๆ ซึ่งมุ่งไปที่การบริโภคภาคครัวเรือนโดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกร และผู้มีรายได้น้อย รวมถึงคาดแรงส่งจากการสานต่อโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ น่าจะเป็นปัจจัยหนุนทิศทางราคาและธุรกิจต่อจากนี้
จากสถิติในอดีต หลังการเลือกตั้ง 1 สัปดาห์ (4 ครั้งหลังสุด 2544-2554) พบว่า 3 ใน 4 ครั้ง กลุ่มการเงิน ให้ผลตอบแทนสูงกว่าตลาดฯ และเฉลี่ยสูงสุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ สำหรับ Top Pick กลุ่มฯ คือ
• AEONTS (FV@B222) คาดกำไรสุทธิปี 2561/62 (ปิดงวด 28 ก.พ.) เติบโต 18.4% yoy จากกลยุทธ์การขยายฐานบัตรเครดิตใหม่ๆ ที่เป็น co-brand กับพันธมิตร ขยายสินเชื่อบุคคลเพื่อเพิ่ม yield และการเร่งขยายสินเชื่อในต่างประเทศอย่าง CLMV
• JMT ([email protected]) คาดกำไรสุทธิปี 2562 เติบโตสูงถึง 37.8% yoy จากการเน้นหนี้ที่มีหลักประกันมากขึ้น และให้ความสำคัญกับผลตอบแทน (IRR) มากกว่าปริมาณ
กลุ่มอสังหาฯ พบว่า 4 ครั้งหลังการเลือกตั้งให้ผลตอบแทนสูงกว่าตลาด 100% โดยเน้นไปที่ธุรกิจนิคมฯ และพัฒนาที่อยู่อาศัยที่มีอัตราผลตอบแทนสูง คือ
• AMATA ([email protected]) คาดปี 2562 กำไรเพิ่มขึ้นก้าวกระโดด 71.7%YoY เติบโตสูงสุดในกลุ่มนิคมฯ จากการรับรู้รายได้การขายที่ดิน 4.5 พันล้านบาท ขณะที่ด้าน Backlog สูงสุดในรอบ 3 ปี อยู่ที่ 3.6 พันล้านบาท
• WHA ([email protected]) ยังมีแผนการขายสินทรัพย์เข้ากอง REIT แต่แรงขับเคลื่อนของกำไรจะมาจากธุรกิจหลักทั้งจากการขายที่ดิน และธุรกิจโรงไฟฟ้าและบริการน้ำเพื่ออุตสาหกรรม จึงคาดกำไรปี 2562 จะขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่ที่ 3.6 พันล้านบาท (ไม่รวมกรณี Alibaba ซื้อกรรมสิทธิ์ที่ดินและคลังสินค้า ที่ จ.ฉะเชิงเทรา)
• LH ([email protected]) จุดเด่น Dividend Yield สูงกว่า 7% ขณะที่ด้านผลประกอบการมีความมั่นคงสูงจากพอร์ตสินค้าที่กระจายตัว อีกทั้งยังมีส่วนแบ่งกำไรบริษัทร่วม (QH, HMPRO, LHFG) เป็นอีกหนึ่งแรงหนุน โดยภาพคาดกำไรปกติปี 2562 เท่ากับ 9.93 พันล้านบาท เติบโต +5% yoy
กลุ่มธนาคารพาณิชย์ ให้ผลตอบแทนสูงกว่าตลาดทุกครั้งเช่นกัน โดยให้น้ำหนักไปที่กลุ่มสินเชื่อรายใหญ่ สอดรับกับโครงการลงทุนของภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะโครงการ EEC ขณะที่ด้านคุณภาพสินทรัพย์ (NPL) ไม่ได้น่ากังวล โดยหุ้น top picks เลือก
• BBL (FV@B227) คาดกำไรสุทธิปี 2562 เติบโต 4.9% yoy
• KBANK (FV@B246) คาดกำไรสุทธิปี 2562 เติบโต 5.7% yoy
ขณะที่ กลุ่มก่อสร้าง เริ่มมีการจัดตั้งขึ้นในปี 2557 เป็นต้นมา เลยไม่มีในกราฟ (ด้านล่าง) แต่หุ้นรายตัว Outperform ตลาดฯ มาก ในช่วง 1 สัปดาห์ หลังเลือกตั้ง เช่น ITD ปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 10.8%, STEC 7.4% และ CK 4.2% เป็นต้น ทั้งนี้ตัวเลือกการลงทุนคือ
• STEC(FV@B 29.25) คาดกำไรปี 2562 จะเติบโตขึ้นอีก 8.4%YoY และเด่นสุดในกลุ่มฯ จาก Backlog คงเหลือ 1.03 แสนล้านบาท ซึ่งรองรับรายได้ในช่วง 3 ปีข้างหน้า และงานใหม่ๆที่มีเข้ามา
• STPI ([email protected]) ชนะคดีพิพาทในต่างประเทศ คาดจะรับรู้เป็นกำไรพิเศษ 1.4 พันล้านบาทใน 1Q62 พร้อมลุ้นผลประมูลงานใหญ่ 3 โครงการ คือ โรงกลั่นของ EXXON ที่สิงคโปร์, โรงกลั่นที่อเมริกา และโครงการ CFP ของไทยออลย์ จึงคาดหวังการ Turnaround เป็นกำไรในปีนี้
กลุ่มอุตสาหกรรมที่ Outperform ตลาดในอดีต หลังการเลือกตั้ง 1 สัปดาห์ (4 ครั้งหลังสุด 2544-2554)
ที่มา : ฝ่ายวิจัย ASPS
ภรณี ทองเย็น
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ