- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 25 March 2019 23:47
- Hits: 2777
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
จากสถิติการเลือกตั้ง 4 ครั้งที่ผ่านมา วันทำการแรกหลังการเลือกตั้ง SET Index จะปรับตัวขึ้น 3.1% ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นในรอบนี้เช่นกัน แม้จะเห็นผลในน้ำหนักที่เบากว่าเนื่องจากยังมีความไม่แน่นอนเรื่องการจัดตั้งรัฐบาล ไม่เหมือนกับครั้งที่ผ่านๆ มา อีกปัจจัยหนึ่งที่ต้องติดตามคือเรื่อง Fund Flow ซึ่งปกติควรไหลเข้าตลาดหุ้นไทย แต่ก็อาจมีอุปสรรคจากภาวะ Inverted Yield Curve ในพันธบัตรสหรัฐ ควรเลือกลงทุนในหุ้นปัจจัยพื้นฐานแข็งแรง และให้ Dividend Yield สูง Top pick เลือก DCC([email protected])
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … SET Index สดใสขึ้นเกิน 10 จุด
วันศุกร์ที่ผ่านมา SET Index แกว่งทรงตัวในแดนบวกตลอดวัน จนทำให้ปิดที่ระดับ 1646.29 จุด เพิ่มขึ้น 12.29 จุด (+0.75%) ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 4.64 หมื่นล้านบาท โดยหุ้นกลุ่มที่หนุนตลาด คือ กลุ่มพลังงานอย่าง PTTGC(+1.48%) PTTEP(+2.02%) PTT(+1.04%) กลุ่มธ.พ.อย่าง SCB(+3.05%) TMB(+1.92%) KBANK(+0.78%) CIMBT(+1.28%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่อย่าง LH(+3.88%) BDMS(+1.66%) และ SCC(+1.68%)
กระบวนการเลือกตั้งที่เกิดขึ้น ถือเป็นพัฒนาการเชิงบวกสำหรับประเทศไทย ซึ่ง SET Index ก็น่าจะตอบสนองเชิงบวกเช่นกัน นอกจากนี้ข้อมูลในเชิงสถิติก็พบว่าในการเลือกตั้ง 4 ครั้งล่าสุด วันทำการแรกหลังการเลือกตั้ง SET Index จะมีการปรับตัวขึ้นเฉลี่ย 3.1% โดยมี Fund Flow จากต่างชาติไหลเข้ามาขับเคลื่อน อย่างไรก็ตามในรอบนี้อาจเห็นการตอบสนองด้วยน้ำหนักที่เบาลงส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีแรงเข้าเก็งกำไรล่วงหน้าปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา อีกทั้งยังมีตัวแปรอีกมากก่อนที่จะนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ตัวเลือกการลงทุนในช่วงนี้จึงยังต้องเน้นหุ้นปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งเป็นหลัก Top picks DCC(B2.8) ได้อานิสงค์ราคาข้าว/มันสำปะหลังฟื้นตัวต่อเนื่อง
การเจรจาการค้าสหรัฐ-จีน ไม่มีอะไรใหม่
ปัจจัยต่างประเทศสัปดาห์นี้ตลาดให้น้ำหนักไปในเรี่องการเจรจาการค้าสหรัฐกับจีน ที่กรุงปักกิ่ง วันที่ 28 – 29 มี.ค. โดยประเมินว่าสหรัฐฯ ยังคงบีบบังคับให้จีนปฎิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้มากขึ้น โดยใช้การชะลอขึ้นภาษีนำเข้าวงเงิน 2 แสนล้านเหรียญฯ อัตราภาษี 10%เป็นข้อต่อรอง อย่างไรก็ตามในอีกทางหนึ่งทั้งสองฝ่ายน่าจะมีท่าทีประนีประนอมต่อกัน เพราะเผชิญเศรษฐกิจชะลอตัวด้วยกันทั้งสองประเทศ โดยล่าสุด ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐที่ชะลอตัวต่อเนื่อง คือ PMI ภาคการผลิตเดือน มี.ค. แตะระดับต่ำสุดในรอบ 1 ปี 9 เดือนที่ 52.5 จุด
ส่วนในอังกฤษ ตลอดสัปดาห์นี้ รัฐสภาอังกฤษจะพิจารณาร่างข้อตกลง Brexit ที่เคยทำไว้กับยุโรป เพื่อแลกกับการเลื่อนวัน Brexit จากเดิมวันที่ 29 มี.ค. ออกไป ซึ่งทางยุโรปเสนอ 2 ทางเลือก คือ จะเลื่อนกำหนดเป็น 22 พ.ค. หากรัฐภาอังกฤษผ่านร่างข้อตกลงที่ทำไว้กับยุโรป แต่หากรัฐสภาอังกฤษไม่ผ่านร่างข้อตกลง จะเลื่อนการออกเป็น 12 เม.ย. สภาวะดังกล่าวทำให้เห็นการไหลของเม็ดเงินลงทุนเข้าสู่สินทรัพย์ปลอดภัย ส่งผลทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรทั่วโลก ทำจุดต่ำสุด และกดดันต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ ราคาน้ำมันดิบ อย่างน้อยในช่วงสั้น
เข้าสู่ขั้นตอนการรวบรวมคะแนนเสียงตั้งรัฐบาล
ข้อมูลจาก Elect Live รายงานผลการนับคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ สรุปรู้ผลการเลือกตั้ง ส.ส. แล้ว ในช่วงเช้านี้ (25 มี.ค. 2562) จำนวน 481 ที่นั่ง โดยพรรคเพื่อไทยได้จำนวน ส.ส. มากเป็นอันดับ 1 รวม 130 ที่นั่ง ตามด้วยพลังประชารัฐ 121 ที่นั่ง อันดับที่ 3 ได้แก่พรรคอนาคตใหม่ 81 ที่นั่ง ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ และ ภูมิใจไทยได้จำนวน ส.ส.เท่ากันคือพรรคละ 50 ที่นั่ง กระบวนการจากนี้ไปน่าจะเห็นการเดินหน้าของแต่ละฝ่ายที่ได้คะแนนเสียงในอันดับที่ 1 และ 2 ในการที่จะรวบรวมคะแนนเสียงเพื่อจัดตั้งรัฐบาล ทั้งนี้หากประเมินจากท่าทีของแต่ละพรรคการเมือง พบว่าฐานเสียงของจำนวน ส.ส. อาจแบ่งได้เป็น 3 ส่วนหลักคือ
ส่วนที่ 1 เป็นฐานที่มี พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ ซึ่งมีพรรคที่มีแนวทางเดียวกันเช่น อนาคตใหม่ เพื่อชาติ เพื่อไทย และ เสรีรวมไทย ซึ่งจากฐานข้อมูลใน Elect Live มีจำนวน ส.ส.รวม 231 เสียง
ส่วนที่ 2 เป็นฐานที่มี พรรคพลังประชารัฐ เป็นแกนนำ ซึ่งมีพรรคที่มีแนวทางไปทางเดียวกันหรือใกล้เคียง เช่น พรรครวมพลังประชาชาติไทย และ ประชาธิปัตย์ มีจำนวน ส.ส. รวม 175 เสียง
ส่วนที่ 3 เป็นฐานที่ ยังไม่มีการตัดสินใจว่าจะเข้าร่วมกับพรรคการเมืองใด มีจำนวนเสียงรวม 75 เสียง นำโดยพรรค ภูมิใจไทย (50 เสียง) ชาติไทยพัฒนา (11 เสียง) เศรษฐกิจใหม่ (5 เสียงเป็นต้น) นอกจากนี้ยังมี ส.ส. อีกจำนวน 19 เสียง ที่ยังไม่ประกาศผล
อย่างไรก็ตามในการจัดตั้งรัฐบาลรอบนี้คาดว่าจะใช้เวลายาวนานกว่าทุกครั้ง เนื่องจากคาดว่า กกต. จะมีการประกาศรับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการครบ 95% ในช่วงประมาณ 9 พ.ค.2562 โดยในช่วงก่อนหน้านั้นอาจเห็นคะแนนเสียงของ ส.ส.ที่ปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา หลังจากนั้นคาดว่าจะเปิดประชุมรัฐสภาครั้งแรกในราววันที่ 24 พ.ค.2562 (15 วันหลังจาก กกต. รับรองผลการเลือกตั้ง) ส่วนการเลือกนายกรัฐมนตรีก็เป็นอีกหนึ่งตัวแปร เนื่องจากกฎหมายไม่ได้กำหนดว่าต้องเลือกให้ได้ภายในระยะเวลาเท่าใด ซึ่งต่างจากครั้งที่ผ่านๆ มาที่ต้องเลือกนายกรัฐมนตรีให้ได้ภายใน 30 วัน หลังเปิดประชุมรัฐสภาครั้งแรก
สำหรับการตอบสนองของ SET Index ต่อการเลือกตั้งที่ผ่านไป คาดว่าจะเห็นในทิศทางบวก โดยน่าจะมี Fund Flow เริ่มไหลเข้ามา อย่าไรก็ตามจากตัวแปรในเรื่องการรวมคะแนนเสียงจัดตั้งรัฐบาล อาจทำให้เห็นการ Take Profit เป็นระยะได้ ดังนั้นในการลงทุนควรเลือกหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแรงเป็นหลัก
ค่าแรงขั้นต่ำกระทบกลุ่มรับเหมา, ค้าปลีก
เชื่อว่ารัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศในช่วง 3Q62 จะเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจทั้งการสานต่อโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ โดยในปีนี้คาดว่าจะสามารถเปิดขายซองประมูลได้รวมทั้งสิ้นราว 1.4 ล้านล้านบาท และการกระตุ้นการบริโภคครัวเรือนดังที่เคยหาเสียงไว้ เห็นได้จากนโยบายเศรษฐกิจต่างๆของพรรคการเมืองใหญ่ๆ มุ่งไปที่การช่วยเหลือและดูแลกลุ่มเกษตรกร และผู้มีรายได้น้อย ที่สำคัญคือ การเสนอขึ้นปรับเพิ่มขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ โดยเฉลี่ยทุกพรรคๆอยู่ 400 บาท/วัน หรือเพิ่มขึ้น 23% จากปัจจุบันอยู่ที่ 308-330 บาท/วัน ซึ่งจะกระทบต่อต้นทุนผู้ประกอบการ หลักๆคือ
กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง โดยเฉลี่ยค่าแรงคิดเป็นสัดส่วนรวม 10-15% ของต้นทุนก่อสร้าง ASPS คาดหากมีการปรับขึ้นค่าแรง 23% ดังกล่าวจะทำให้บริษัทรับเหมามีอัตรากำไรขั้นต้นลดลงประมาณ 2% โดยปัจจุบันบริษัทรับเหมาฯมี gross margin เฉลี่ย 8-12% และมี Net Profit margin 2-6% โดยบริษัทที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ บริษัทมีอัตรากำไรต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม และใช้แรงงานสูง อย่าง ITD, NWR
อย่างไรก็ตามปัจจุบัน บริษัทรับเหมามีการปรับวิธีการทำงานด้วยการนำเครื่องจักรมาใช้ ลดการใช้แรงงานคน และใช้วิธี Sub contract งานเป็นส่วนๆออกไปให้กับผู้รับเหมาช่วง และในทางปฏิบัติหากมีการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ เชื่อว่าบริษัทรับเหมาก่อสร้างและบริษัทที่รับเหมาช่วงจะแบ่งรับภาระค่าแรงที่เพิ่มขึ้นไปคนละส่วน และบริษัทรับเหมางานภาครัฐจะมีเงินชดเชย จากค่า K ซึ่งมี เงินเฟ้อ เป็นองค์ประกอบในการคำนวณ โดยเชื่อว่างานประมูลภาครัฐจำนวนมากที่กำลังจะออกมา น่าจะทำให้การแข่งขันในอุตสาหกรรมก่อสร้างลดลง ส่งผลต่ออัตรากำไรของงานก่อสร้างใหม่ๆในอนาคตที่จะดีขึ้น เมื่อถัวเฉลี่ยกับงานใน Backlog เดิมที่จะถูกกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรง
รองลงมาคือ กลุ่มค้าปลีก พบว่าโดยเฉลี่ยอุตสาหรรม จะมีค่าใช้จ่ายพนักงานราว 30% ของ SG&A และ 6% ของยอดขายรวม โดยประเมินหากมีการปรับขึ้นค่าแรงจะกระทบต่อกลุ่มที่มีการใช้แรงงานทักษะทั่วไปสูง ซึ่งมีค่าจ้างที่ต่ำกว่า 400 บาท อาทิ กลุ่มร้านสะดวกซื้อ CPALL , ไฮเปอร์มาร์เก็ตและค้าส่ง BJC MAKRO และ ห้างสรรพสินค้า ROBINS
ขณะที่กลุ่มร้านค้า Specialty Store (HMPRO, COM7 และ BEAUTY) คาดกระทบจำกัด เนื่องจากเน้นไปที่กลุ่มพนักงานที่ต้องมีทักษะการขายสูงกว่า ทำให้มีโครงสร้างค่าแรงที่สูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำอยู่แล้ว และมีรายได้จากค่าคอมมิชชั่น
อย่างไรก็ตามจากสถิติในอดีตช่วงที่มีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ (เม.ย.55 และ ม.ค.56) พบว่าแนวโน้มการเติบโตของ SSSG จะปรับตัวดีขึ้น โดย 1) ใน เม.ย.55 ที่มีการปรับขึ้นในพื้นที่กรุงเทพฯ+ปริมณฑล พบว่า SSSG เติบโตขึ้นเป็น 8.1% ช่วง 2Q55 – 4Q55 (จาก 6.7% ใน 2Q54 – 4Q54) ขณะที่ 2) ในงวด ม.ค.56 หลังปรับขึ้นค่าแรงทั่วประเทศ ยังเห็น SSSG ที่เติบโตได้ราว 4.2% ในปี 2556 แม้จะมีเหตุการณ์ไม่สงบ ในช่วง 2H56 กดดัน
จากผลบวกมาตรการกระตุ้นการบริโภค แฃะอานิสงส์เม็ดเงินสะพัดเลือกตั้ง คาดจะหนุน SSSG กลุ่มค้าปลีก-ค้าส่งดีขึ้น บวกกับสถิติในอดีตที่จะเห็น SSSG ปรับตัวขึ้น ในช่วงการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ คาดช่วยชดเชยผลกระทบ หากมีการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างในอนาคต
จับตา Inverted Yield Curve ที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ แต่ของไทยไม่น่ากระทบ
วันศุกร์ที่ผ่านมา ต่างชาติเดินหน้าซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคติดต่อกันเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่ารวม 584 ล้านเหรียญ และเป็นการซื้อสุทธิทุกประเทศ เริ่มจากตลาดหุ้นแถบเอเชียเหนือ อย่าง เกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิ 402 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) และไต้หวัน 47 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) เช่นเดียวกับตลาดหุ้นกลุ่ม TIP คือ อินโดนีเซียถูกซื้อสุทธิ 34 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันแรก), ฟิลิปปินส์ 27 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) และไทยที่ต่างชาติซื้อสุทธิถึง 72 ล้านเหรียญ หรือ 2.29 พันล้านบาท (สลับมาซื้อสุทธิเป็นวันแรก) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิสูงถึง 3.23 พันล้านบาท
แม้ต่างชาติจะซื้อหุ้นภูมิภาคทุกแห่งในวันศุกร์ที่ผ่านมา แต่มีปัจจัยลบมาหักล้าง คือ ความกังวลผลตอบแทนพัฐบัตรรัฐบาลสหรัฐเกิด inverted yield curve กดดันดัชนี Dow Jones ปรับตัวลดลงกว่า 460 จุด หรือ 1.77% (ลดลงสูงสุดในปี 2562 นี้) โดย Bond yield 3 เดือนของสหรัฐขยับขึ้นมาอยู่ที่ 2.442% สูงกว่า Bond yield 10 ปี ของสหรัฐ 2.439% (สูงกว่า 0.3 bps. แต่ถือเป็นการสูงกว่าครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา) จึงถูกตีความว่าสหรัฐมีโอกาสเกิดปัญหาเศรษฐกิจในระยะถัดไป อย่างไรก็ตามหากกลับมาดู Bond Yield 10 ปีของไทย พบว่า ยังสูงกว่าสหรัฐ อยู่ที่ 2.51% ถือเป็นเกราะป้องกันสำคัญไม่ให้เงินทุนไหลออก อีกทั้งเส้น Yield curve ของพันธบัตรรัฐบาลไทยยังมีลักษณะปกติ คือ Upward sloping yield curves (Bond Yield 10 ปี ของไทยสูงกว่า 3 เดือน ถึง 84 bps.) ดังนั้น Fund Flow ยังมีโอกาสไหลเข้าตลาดหุ้นไทยมากกว่า บวกกับการเดินหน้าจัดตั้งรัฐบาลใหม่ยังดำเนินต่อน่าจะช่วยหนุน Flow เข้าระยะสั้น หนุนตลาดหุ้นไทยมีโอกาส Outperform สหรัฐ
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค
กลยุทธ์การลงทุน ยังเน้น 5 themes
ความกังวลเศรษฐกิจโลกชะลอตัวกลับมาเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นเพิ่มขึ้น แต่การที่ธนาคารกลางหลายแห่งมีแนวโน้มยุติการขึ้นดอกเบี้ย บวกกับไทยที่มีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง น่าจะหนุน Fund Flow ไหลกลับได้บ้าง ดังนั้นฝ่ายวิจัยยังคงรูปแบบการลงทุนภายใต้ความระมัดระวัง และเน้นเลือกเป็นรายหุ้นใน 5 Theme ดังนี้
1.หุ้นที่มีผันผวนน้อยกว่าตลาด (1L2H) โดย 1L คือ Low Beta คือ หุ้นที่ผันผวนต่ำน้อยกว่าตลาด และ 2H คือ High Upside และ High Growth ปี 2562
หุ้นผันผวนต่ำ (1L2H)
ที่มา SET, ฝ่ายวิจัย ASPS
2. หุ้น Domestic Play
• กลุ่มรับเหมา-วัสดุก่อสร้าง รวมถึงกลุ่มนิคมฯ ได้ประโยชน์จากการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ทั้งภาครัฐและเอกชน: STEC ([email protected]), SEAFCO (FV@ ก่อน XD 12.40 บาท หลัง XD 11.30 บาท), SCCC (FV@B269), AMATA ([email protected]), WHA ([email protected]), DRT([email protected])
• กลุ่มค้าปลีก และกลุ่มเช่าซื้อ-ลิสซิ่ง จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายของพรรคการเมือง ที่มุ่งเน้นผู้มีรายได้น้อย และเกษตรกร: BJC (FV@B61), M (FV@B84), SAWAD (FV@B54), MTC([email protected]), JMT ([email protected])
3. หุ้นที่มีผลกำไรโดดเด่นใน 1Q62 และมี upside มากกว่า 10%: กลุ่มพลังงาน-ปิโตรฯ PTT(FV@B56), PTTGC(FV@B79) หุ้นโรงไฟฟ้า-พลังงานทดแทน BPP([email protected]) กลุ่มวัสดุก่อสร้าง SCCC(FV@B269), TPIPL([email protected]) กลุ่มโรงพยาบาล BDMS(FV@B30), BCH(FV@B21) กลุ่มเกษตร-อาหาร CPF(FV @B31.50), TFG(FV @B4.50) ปิดท้ายด้วยกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ PSH ([email protected]), QH ([email protected]) และ CPN ([email protected]) **สามารถรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน Market Talk วันที่ 13-14 มี.ค.62 และในบทวิเคราะห์รายหุ้น**
4.หุ้น Turnaround ในปี 2562 ดังตาราง
ที่มา SET, ฝ่ายวิจัย ASPS
และ 5. หุ้น Global ที่อิงตามราคาน้ำมันดิบโลก: ราคาน้ำมันฟื้นตัวขึ้นต่อเนื่องจากจุดต่ำสุด (ปลาย ธ.ค 61) สอดรับกับการลด supply ตามความต้องการใช้น้ำมันที่ชะลอตัว แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าราคาหุ้น PTT PTTEP PTTGC ยังไม่ได้ตอบรับปัจจัยบวกเท่าที่ควร มิหน่ำซ้ำยังมีแรงชอร์ตเซล (Short Sale เป็นการขายหลักทรัพย์ที่ไม่มีในครอบครอง โดยเป็นการยืมหุ้นมาเพื่อขาย แต่ในที่สุดต้องซื้อหุ้นกลับเมื่อราคาต่ำ เพื่อคืนแก่ผู้ให้ยืม) ออกมาต่อเนื่อง(ytd) จึงเชื่อว่าหากราคาหุ้นปรับฐานลงจนมี Upside เปิดกว้าง และด้วยพื้นฐานแข็งแกร่งจึงมีโอกาสสูงที่ราคาหุ้นจะฟื้นกลับมาจากการ Cover Short
หุ้นที่ถูก Short Sale มากที่สุดในปี 2562 (ytd) มีดังนี้
ที่มา SET, ฝ่ายวิจัย ASPS
ภรณี ทองเย็น
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ