WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
 
กลยุทธ์การลงทุน
โค้งสุดท้ายก่อนเข้าสู่เลือกตั้ง 24 มี.ค. ตลาดหุ้นน่าจะตอบรับด้านบวก สถิติเลือกตั้ง 4 ใน 5 ครั้งหลังสุด พบว่าจะให้ผลตอบแทนที่ดี 1-2 วันก่อน-หลังเลือกตั้ง และราคาน้ำมันที่ยืน 67 เหรียญฯต่อบาร์เรล กับ PTTEP ซื้อโครงการผลิตและสำรวจก๊าซและน้ำมันในมาเลเซีย เพิ่มมูลค่าหุ้นอีก 10 บาท หรือ 6% จากปัจจุบัน หนุนดัชนีแตะ 1640 จุด Top picks PTTEP(FV@B168) และ DCC(B2.8) ได้อานิสงค์ราคาข้าว/มันสำปะหลังฟื้นตัวต่อเนื่อง  
 
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … SET Index แกว่งทรงตัวในแดนบวกตลอดวัน
วานนี้ SET Index แกว่งทรงตัวในแดนบวกตลอดวัน จนทำให้ปิดที่ระดับ 1634 จุด เพิ่มขึ้น 6.38 จุด (+0.39%) ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 3.96 หมื่นล้านบาท โดยหุ้นกลุ่มที่หนุนตลาด คือ กลุ่มพลังงาน PTTGC(+1.12%) PTTEP(+2.06%) IVL(+1.55%) TOP(+2.87%) กลุ่มสื่อสาร ADVANC(+1.10%) DTAC(+2.01%) INTUCH(+2.24%) รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่ BDMS(+0.84%) AOT(+0.37%) และ KTB(+1.60%)
วันนี้เป็นวันศุกร์ และเข้าสู่โค้งสุดท้ายก่อนเข้าสู่เลือกตั้ง 24 มี.ค.  คาดว่าดัชนีน่าจะขึ้นไปทดสอบ 1640 จุด ด้วยแรงหนุนจากปัจจัยการเมือง หากอิงสถิติการเลือกตั้ง 4 ใน 5 ครั้งหลังสุด พบว่าจะให้ผลตอบแทนที่ดี 1-2 วันก่อน-หลังเลือกตั้ง และราคาน้ำมันที่ยืน 67 เหรียญฯ/บาร์เรล เทียบกับสมมติฐาน 65 เหรียญฯ ดีต่อ  PTTEP  ขณะที่ PTTEP ได้เข้าซื้อโครงการผลิตและสำรวจก๊าซและน้ำมัน  คาดจะเพิ่มมูลค่าหุ้นอีก 10 บาท หรือ 6% จากปัจจุบัน  กลยุทธ์ยังเลือกรายหุ้นที่เข้าเกณฑ์ กำไรเด่น 1Q62 (SCC, SCCC, BCH, PTTGC, TOP, IRPC) หุ้น Turnaround (SAPPE, STPI, TTCL) หรือเติบโตจากเศรษฐกิจในประเทศ (DCC, DRT, M) และหุ้นที่ได้อนิสงค์จากราคาน้ำมันดิบดูไบที่ยืนเหนือ 67 เหรียญฯ ต่อบาร์รเล  Top picks  PTTEP(FV@B168)  และ DCC(B2.8) ได้อานิสงค์ราคาข้าว/มันสำปะหลังฟื้นตัวต่อเนื่อง      
ดอกเบี้ยโลกสิ้นสุดขาขึ้น หลัง Fed ส่งสัญญาณหยุดขึ้นดอกเบี้ยปีนี้  
หลังจากการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ล่าสุดให้ คงดอกเบี้ยที่  2.5%  เพราะกังวลเศรษฐกิจชะลอตัว พร้อมส่งสัญญาณว่าจะไม่ขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ จากเดิมตลาดคาดว่าจะขึ้นเดิม 2 ครั้ง  นับว่าสอดคล้องกับผลการประชุมของธนาคารกลางทั่วโลกหลายแห่ง เมื่อวานนี้คือ  
    ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ให้คงดอกเบี้ยที่ 0.75% เพราะเงินเฟ้อชะลอตัวเหลือ 1.9% เดือน ก.พ. 2562 ยังใกล้ระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 2 ปี รวมถึงอังกฤษเผชิญปัญหา Brexit ที่ล่าช้าโดยอังกฤษมีโอกาสเลื่อนวัน Brexit ออกไปราวช่วงกลางปี หรือสิ้นปี 2562 จากเดิมกำหนดไว้ที่  29  มี.ค. 2562
    ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 6.0% ตามเดิม% เพราะเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. ขยายตัว  2.57%  (อยู่ในกรอบเป้าหมายที่ 3.5±1%)  หลังจากปี 2561 ได้ขึ้นดอกเบี้ยไปถึง 6 ครั้ง รวม 1.75% นับเป็นประเทศที่ขึ้นดอกเบี้ยมากสุดในเอเชีย อย่างไรก็ตาม BI ได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม โดยปรับเพิ่มอัตราส่วน Loan to Funding Ratio (LFR) จาก 82-92% เป็น 84-94% หนุนธนาคารพาณิชย์สามารถปล่อยกู้ได้มากขึ้น 
    และ ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) ที่ยังคงดอกเบี้ยที่ 4.75% เพราะเงินเฟ้อมีแนวโน้มชะลอตัวลง ล่าสุดเดือน ก.พ. เพิ่ม 3.8% ใกล้เคียงเงินเฟ้อเป้าหมายที่ 3±1% อย่างไรก็ตาม BSP ได้ปรับลดคาดการณ์เงินเฟ้อของฟิลิปปินส์ปี 2562 ลงจาก 3.07% เป็น 3.0% 
 
การส่งออก ผันผวนตามการนำเข้า-ส่งออก ยุทโธปกรณ์   
การส่งออกไทย เดือน ก.พ. 2562 พลิกกลับมาขยายตัว 5.9%yoy ที่ 2.16 หมื่นล้านเหรียญฯ (หน่วยบาทขยายตัว 5.5%) เป็นผลจากการส่งคืนสินค้ากลุ่มยุทโธปกรณ์กลับสหรัฐ หลังจากเดือน ม.ค. 2562 มีการนำเข้ามาซ้อมรบคอบร้าโกล แต่หากตัดออกไป  พบว่าส่งออกยังหดตัว 4.9% ซึ่งสะท้อนผลกระทบสงครามการค้าในช่วงที่ผ่านมา สอดคล้องกับตลาดส่งออกสำคัญชะลอตัว คือ จีนหดตัวต่อเป็นเดือนที่ 4 ราว 1.5%, ญี่ปุ่นพลิกกลับมาหดตัว 11.4% (หดตัวครั้งแรกในรอบ 2 ปี), ฮ่องกงหดตัวติดกันเป็นเดือนที่ 6 ราว 12%, ออสเตรเลียหดตัว 13% (หดตัวต่อเนื่องเดือนที่ 4) ยกเว้นสหรัฐที่ขยายตัวสูง 97% จากการส่งออกยุทโธปกรณ์  
สินค้าส่งออกสำคัญยังหดตัว คือ รถยนต์และส่วนประกอบ (ส่งออกมากสุดราว 11.3%) หดตัวต่อเนื่องเดือนที่ 2 ราว 7.9%, คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบหดตัวเป็นเดือนที่ 5 ราว 14%, เม็ดพลาสติกหดตัวเดือนที่ 2 ราว 4.4%, เคมีภัณฑ์หดตัวเดือนที่ 2 ราว 0.1% เป็นต้น ทำให้ส่งออก2M62 ขยายตัวเฉลี่ย 0.16%yoy
ขณะที่นำเข้าเดือนเดียวกันกลับมาหดตัว 10% (เงินบาทหดตัว 10.4%) เพราะไม่มีการนำเข้ายุทโธปกรณ์ แต่หากตัดรายการนี้ออก ยอดนำเข้าจะบวก 2.8% ขณะที่สินค้าที่นำเข้ามาผลิตเพื่อส่งออก เช่น เคมีภัณฑ์, เครื่องจักรกล, แผงวงจรไฟฟ้าหดตัว  
โดยรวมคาดแนวโน้มการส่งออกของไทยปีนี้จะชะลอลงชัดเจนจากผลกระทบจากสงครามการค้า โดย ASPS คาดส่งออกปี 2562 เฉลี่ย 0.5%yoy  ชะลอจาก 6.7% ในปี 2561 และนำเข้าคาด 3% ชะลอจาก 11% ทำให้ GDP Growth ปี 2562 คาดที่ 3.4% จาก 4.1%ในปี 2561 
ตั้งรัฐบาลไม่ใช่เรื่องง่าย แต่สถานการณ์ยังไม่ถึงขั้นที่จะจัดตั้งไม่ได้
การเลือกตั้ง 24 มี.ค.2562 (วันอาทิตย์นี้) ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของการเมืองไทย ความสนใจหลักจะไปอยู่ที่การคาดหมายถึงหน้าตารัฐบาลใหม่ที่จะเกิดขึ้นหลังการเลือกตั้ง ซึ่งถือเป็นเรื่องที่คาด ได้ยากเพราะมี 3 พรรคการเมืองที่มีโอกาสเป็นผู้นำจัดตั้งรัฐบาล ได้แก่ พรรคเพื่อไทย ประชาธิปัตย์ และพลังประชารัฐ ซึ่งจากผลโพลที่ออกมาคาดว่าจะได้ ส.ส. รวมในช่วง 350 – 400 ที่นั่ง ส่วนพรรคการเมืองที่เหลือน่าจะได้ 100 – 150 ที่นั่ง 
ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ หากใน 3 พรรคแกนนำหลัก ไม่มีพรรคใดที่ได้ จำนวน ส.ส.เกิน 150 ที่นั่ง หรือ 2 ใน 3 พรรคการเมืองไม่มีการจับมือกันร่วมจัดตั้งรัฐบาล โอกาสที่จะได้รัฐบาลที่มีเสถียรภาพพอที่จะบริหารงานได้จะเป็นเรื่องยาก แต่อย่างไรก็ตามยังเชื่อว่าสถานการณ์จะไม่นำไปสู่ความเลวร้ายถึงขั้นไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ แต่หากเป็นไปตามกรณีเลวร้ายก็น่าจะเป็นแรงกดดันอย่างรุนแรงต่อ SET Index 
 ทั้งนี้หากกระบวนการต่าง ๆ เดินหน้าไปตามกำหนดการคาดว่าจะเห็นการเปิดประชุมรัฐสภาครั้งแรกจะเกิดขึ้นช่วงปลายเดือน พ.ค. 2562 ส่วนรัฐบาลใหม่น่าจะเริ่มทำงานได้ในราวเดือน ก.ค.2562 แต่อย่างไรก็ตามกำหนดการดังกล่าวอาจคลาดเคลื่อนได้หากกระบวนการในการโหวตมีการยืดเยื้อออกไป เนื่องจากรัฐธรรมนูญใหม่ไม่ได้วางกรอบเวลาว่าต้องเลือกนายกรัฐมนตรีให้ได้ภายในระยะเวลาเท่าใดหลังการเปิดประชุมรัฐสภาครั้งแรก
นอกจากเรื่องของเสถียรภาพของรัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศหลังการเลือกตั้งแล้ว อีกประเด็นหนึ่งที่ต้องติดตามได้แก่สถานการณ์ความขัดแย้งภายในประเทศ ซึ่งดูเหมือนช่วง 5 ปีที่ผ่านมาไม่ได้เห็นการลดระดับของความขัดแย้งลงได้อย่างเป็นรูปธรรม จึงมีความเสี่ยงที่สถานการณ์ดังกล่าวอาจกลับมาสร้างแรงกดทางการเมือง และต่อเนื่องมายัง SET Index ได้ในอนาคต
 
มูลค่าหุ้น PTTEP เพิ่ม 10 บาท หลังซื้อบริษัทผลิต/สำรวจในมาเลเซีย  
PTTEP เปิดเผยการลงทุนในแหล่งผลิตและสำรวจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเพิ่มเติม ล่าสุด บริษัท PTTEP HK Offshore Limited  ซึ่งบริษัทย่อยของ PTTEP ได้ลงนามเข้าซื้อธุรกิจ 100% ของบริษัท Murphy Oil Corporation (Murphy) ในประเทศมาเลเซีย มูลค่ากว่า 7 หมื่นล้านบาท ซึ่งบริษัทดังกล่าวมีการลงทุนในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมจำนวน 5 โครงการ ประกอบด้วย โครงการที่ผลิตแล้ว 2 โครงการ มีกำลังผลิต 48,000 บาร์เรลต่อวัน, และอีก 1 โครงการอยู่ระยะพัฒนา คาดผลิตในเชิงพาณิชย์ปี 2563 กำลังการผลิต 22,000 บาร์เรลต่อวัน ที่เหลือ2 อยู่ระหว่างสำรวจ 
ในเบื้องต้นบริษัทจะใช้เงินสดในมือที่มีอยู่ราว 1.2 แสนล้านบาท ชำระค่าเงิน ขณะที่โครงสร้างหนี้สินจากภายนอกต่อทุนอยู่ที่   0.1  เท่า  หรือหนี้สินสุทธิ (หักเงินสด) จึงคาดว่า PTTEP ยังมีศักยภาพในการ กู้ยืมเพื่อลงทุนในโครงการใหม่ ๆ  ได้อีกมาก 
การเข้าซื้อกิจการครั้งนี้จะช่วยเพิ่ม ปริมาณขายก๊าซและน้ำมัน เพิ่มขึ้นราว 18% (ประเมินจากค่าเฉลี่ย 5 ปี)   ภายใต้สมมติฐานต้นทุนการผลิตน้ำมันเฉลี่ย 30-35 เหรียญฯต่อบาร์เรล และ ราคาขายก๊าซ ตามสมมติฐาน ASPS  65 เหรียญฯ ในปี 2562 และ 70 เหรียญฯ ในปี 2563 เป็นต้นไป และกำหนดให้รับรู้รายได้นับตั้งแต่ 2H62 เบื้องต้นคาดจะเพิ่มมูลค่าพื้นฐานปี 2562 ให้ราว 10 บาท หรือเพิ่มขึ้น 6% เป็น 178 บาทต่อหุ้น (จากเดิม 168 บาทต่อหุ้น ซึ่งรวมการชนะประมูลแหล่งบงกชและเอราวัณ)   ทำให้ราคาหุ้นมี upside  43.5%
อย่างไรก็ตามความเสี่ยงการผลิตสำรวจอีก 2 แหล่งยังมี ตราบที่ยังอยู่ระหว่างการสำรวจ ซึ่ง คาดว่าจะต้องใส่เงินลงทุน ในการสำรวจ เพิ่มเติม จากเงินทุนในการเข้าไปซื้อ ซึ่งในกรณีที่สิ้นสุดการสำรวจสรุปว่าไม่มีทรัพยากร จะทำให้ต้องมีการตั้งสำรองการด้อยค่าเท่ากับเงินลงทุนในส่วนนี้ ซึ่งจะคล้ายกับเหตุการณ์ในอดีตหลายครั้ง โดยเฉพาะครั้งใหญ่คือ การเข้าลงทุนแหล่งผลิตและสำรวจ Oil Sand ที่แคนาดา ซึ่ง PTTEP  เข้าไปลงทุน 40% (ที่เหลือถือหุ้นโดย Statoil แคนาดาพาสเนอร์ชิป) ในปี 2554  เป็นเงิน 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ  (6 หมื่นล้านบาท) แต่ผลไม่ประสบความสำเร็จ ทำให้ต้องตั้งสำรองการด้อยค่าของเงินทุนในปี 2558 เป็นต้นมาจนปัจจุบันได้ตั้งสำรอง เกือบเท่ากับเงินทุนทั้งหมด  
ต่างชาติซื้อหุ้น PTTEP ผ่าน NVDR มากสุดในสัปดาห์นี้
วานนี้ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาค 727 ล้านเหรียญ โดยเป็นการซื้อสุทธิอยู่ 3 ประเทศ คือ ไต้หวันซื้อสุทธิ 385 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) เกาหลีใต้ 369 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิติดต่อกัน 2 วัน) และฟิลิปปินส์ 3 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิติดต่อกัน 2 วัน) ส่วนตลาดหุ้นอีก 2 ประเทศถูกขายสุทธิ คือ อินโดนีเซียถูกสลับมาขายสุทธิ 6 ล้านเหรียญ และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิ 23 ล้านเหรียญ หรือ 757 ล้านบาท (ขายสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 2) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิถึง 3.21 พันล้านบาท
แม้ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน ต่างชาติจะขายหุ้นไทยไปแล้วกว่า 1.35 หมื่นล้านบาท แต่หากพิจารณาผ่าน NVDR ยังมีหุ้นขนาดใหญ่หลายบริษัทที่ถูกซื้อสุทธิในปีนี้อยู่เช่น CPALL, SCC, CPF, INTUCH, AOT, BDMS และ PTTEP โดยเฉพาะ PTTEP เป็นหุ้นที่ถูกซื้อสุทธิผ่าน NVDR มากที่สุดนับตั้งแต่ต้นสัปดาห์กว่า 707 ล้านบาท (wtd) หนุนในปีนี้ถูกซื้อสุทธิ 2.14 พันล้านบาท (ytd) มิหนำซ้ำวันนี้ยังมีประเด็นบวกจากการที่ PTTEP เข้าซื้อกิจการในมาเลเซียกว่า 7 หมื่นล้านบาท (รายละเอียดดังที่กล่าวไว้) ถือเป็นแรงส่งที่ดีต่อหุ้น PTTEP  
 
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค
 
ตลาดผันผวน เน้น 5 themes  
ภาวะที่ยังรอคอยความชัดเจนของสถานการณ์การเมืองในประเทศ โดยเฉพาะเสถียรภาพรัฐบาลใหม่จะเป็นเช่นไร ทำให้รูปแบบการลงทุนเป็นไปอย่างระมัดระวังมากขึ้น ดังนั้น ฝ่ายวิจัยจึงยังคงกลยุทธ์การลงทุนเดิม คือ เน้นเลือกเป็นรายหุ้นใน  5 Theme ดังนี้
1.หุ้นที่มีผันผวนน้อยกว่าตลาด (1L2H) โดย 1L คือ Low Beta คือ หุ้นที่ผันผวนต่ำน้อยกว่าตลาด  และ 2H คือ High Upside และ High Growth ปี 2562 
หุ้นผันผวนต่ำ (1L2H) 
 
ที่มา SET, ฝ่ายวิจัย ASPS
 
2. หุ้น Domestic Play 
    กลุ่มรับเหมา-วัสดุก่อสร้าง รวมถึงกลุ่มนิคมฯ ได้ประโยชน์จากการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ทั้งภาครัฐและเอกชน: STEC ([email protected]), SEAFCO (FV@ ก่อน XD 12.40 บาท หลัง XD 11.30 บาท), SCCC (FV@B269), AMATA ([email protected]), WHA ([email protected]), DRT([email protected])  
    กลุ่มธ.พ. จากการขยายตัวของสินเชื่อ: BBL (FV@B227), KBANK (FV@B246
    กลุ่มค้าปลีก และกลุ่มเช่าซื้อ-ลิสซิ่ง จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายของพรรคการเมือง ที่มุ่งเน้นผู้มีรายได้น้อย และเกษตรกร: BJC (FV@B61), M (FV@B84),  SAWAD (FV@B54), MTC([email protected]), JMT ([email protected])
3. หุ้นที่มีผลกำไรโดดเด่นใน 1Q62 และมี upside มากกว่า 10%: กลุ่มพลังงาน-ปิโตรฯ PTT(FV@B56), PTTGC(FV@B79) หุ้นโรงไฟฟ้า-พลังงานทดแทน BPP([email protected]) กลุ่มวัสดุก่อสร้าง SCCC(FV@B269), TPIPL([email protected]) กลุ่มโรงพยาบาล BDMS(FV@B30), BCH(FV@B21) กลุ่มเกษตร-อาหาร CPF(FV @B31.50), TFG(FV @B4.50) ปิดท้ายด้วยกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ PSH ([email protected]), QH ([email protected]) และ CPN ([email protected]) **สามารถรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน Market Talk วันที่ 13-14 มี.ค.62 และในบทวิเคราะห์รายหุ้น**
 
4.หุ้น Turnaround ในปี 2562 ดังตาราง
 
ที่มา SET, ฝ่ายวิจัย ASPS
และ 5. หุ้น Global ที่อิงตามราคาน้ำมันดิบโลก: ราคาน้ำมันฟื้นตัวขึ้นต่อเนื่องจากจุดต่ำสุด (ปลาย ธ.ค 61) สอดรับกับการลด supply ตามความต้องการใช้น้ำมันที่ชะลอตัว แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าราคาหุ้น PTT PTTEP PTTGC ยังไม่ได้ตอบรับปัจจัยบวกเท่าที่ควร มิหน่ำซ้ำยังมีแรงชอร์ตเซล (Short Sale เป็นการขายหลักทรัพย์ที่ไม่มีในครอบครอง โดยเป็นการยืมหุ้นมาเพื่อขาย แต่ในที่สุดต้องซื้อหุ้นกลับเมื่อราคาต่ำ เพื่อคืนแก่ผู้ให้ยืม) ออกมาต่อเนื่อง(ytd) จึงเชื่อว่าหากราคาหุ้นปรับฐานลงจนมี Upside เปิดกว้าง และด้วยพื้นฐานแข็งแกร่งจึงมีโอกาสสูงที่ราคาหุ้นจะฟื้นกลับมาจากการ Cover Short
 
หุ้นที่ถูก Short Sale มากที่สุดในปี 2562 (ytd) มีดังนี้
 
ที่มา SET, ฝ่ายวิจัย ASPS   
 
ภรณี ทองเย็น
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
 ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
 โยธิน ภูคงนิล
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
   ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!