- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 21 March 2019 16:43
- Hits: 862
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน At The Open
กลยุทธ์การลงทุนรายวัน
MARKET SUMMARY
กนง.คงดอกเบี้ย 1.75% ตามคาด พร้อมปรับเป้า GDP ไทยปีนี้ลง / FED ส่งสัญญาณ Dovish : เมื่อวานที่ผ่านมา กนง.มีมติคงดอกเบี้ยที่ 1.75% ด้วยคะแนนเสียง 7:0 ตามตลาดคาด (ครั้งที่ผ่านมาคงดอกเบี้ยด้วยคะแนนเสียง 4:2) พร้อมปรับเป้าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจปีนี้ลงเหลือ 3.8% (Maybank คาด 3.8%) จากเดิมที่ 4.0% เหตุผลหลักจากมรตรการกีดกันการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ส่งผลให้ปรับเป้าการส่งออกปีนี้เหลือเติบโต 3.1% จาก 4.1% (การบริโภค 3.9%, การลงทุนภาคเอกชน 4.4%, การลงทุนภาครัฐ 6.1%, การส่งออก 3%) และปรับเป้าตัวเลขนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 40.4 ล้านคน ภายหลังจากการแถลงค่าเงินบาทอ่อนค่าเล็กน้อยที่ 31.78 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ เรามีมุมมองเป็นกลางต่อประเด็นดังกล่าว ในขณะที่ฝั่งสหรัฐ FED คงดอกเบี้ยตามคาดที่ 2.25-2.50% พร้อมหั่นเป้า GDP เหลือ 2.1% (จาก 2.3%) และปรับลดคาดการณ์การขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้จาก 2 ครั้งเหลือ 0 ทำให้ Dotplot เหลือ 2.4%+/- , 2.6% ในปี 2020-2021 (ขึ้นดอกเบี้ย 1 ครั้งในปีหน้า) นอกจากนั้นปรับลดการลด Balance sheet ในฝั่งตราสารหนี้ครึ่งหนึ่งเหลือ 1.5 หมื่นล้าน/เดือน ในพ.ค. ภาพรวมใกล้เคียงกับที่เราประเมิน ในระยะกลางเราคาด Dollar และ bond yield สหรัฐจะเจอกับ upside ที่จำกัด มองเป็นบวกต่อการลงทุนฝั่ง Emerging market
สำหรับการลงทุนเดือนมีนาคม : เราประเมินกรอบการแกว่งตัว SET บริเวณ 1,620-1,680 จุด โดยคาดว่าจะเป็นเดือนที่มีความผันผวนสูงกว่าช่วงที่ผ่านมา จากปัจจัยการเมืองโลก/ในประเทศ คงคำแนะนำ ถือเงินสดไม่ต่ำกว่า 40% พร้อมเน้นลงทุนในกลุ่มไฟฟ้า (EGCO) , รถไฟฟ้า (BEM) กลุ่มท่องเที่ยว (SPA) และกลุ่มค้าปลีก (CPALL) และเลือก PTTEP เป็นตัวแทน Global play
INVESTMENT THEME
กนง.คงดอกเบี้ย 1.75% ตามคาด พร้อมปรับเป้า GDP ไทยปีนี้ลง / FED ส่งสัญญาณ Dovish : เมื่อวานที่ผ่านมา กนง.มีมติคงดอกเบี้ยที่ 1.75% ด้วยคะแนนเสียง 7:0 ตามตลาดคาด (ครั้งที่ผ่านมาคงดอกเบี้ยด้วยคะแนนเสียง 4:2) พร้อมปรับเป้าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจปีนี้ลงเหลือ 3.8% (Maybank คาด 3.8%) จากเดิมที่ 4.0% เหตุผลหลักจากมรตรการกีดกันการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ส่งผลให้ปรับเป้าการส่งออกปีนี้เหลือเติบโต 3.1% จาก 4.1% (การบริโภค 3.9%, การลงทุนภาคเอกชน 4.4%, การลงทุนภาครัฐ 6.1%, การส่งออก 3%) และปรับเป้าตัวเลขนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 40.4 ล้านคน ภายหลังจากการแถลงค่าเงินบาทอ่อนค่าเล็กน้อยที่ 31.78 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ เรามีมุมมองเป็นกลางต่อประเด็นดังกล่าว ในขณะที่ฝั่งสหรัฐ FED คงดอกเบี้ยตามคาดที่ 2.25-2.50% พร้อมหั่นเป้า GDP เหลือ 2.1% (จาก 2.3%) และปรับลดคาดการณ์การขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้จาก 2 ครั้งเหลือ 0 ทำให้ Dotplot เหลือ 2.4%+/- , 2.6% ในปี 2020-2021 (ขึ้นดอกเบี้ย 1 ครั้งในปีหน้า) นอกจากนั้นปรับลดการลด Balance sheet ในฝั่งตราสารหนี้ครึ่งหนึ่งเหลือ 1.5 หมื่นล้าน/เดือน ในพ.ค. ภาพรวมใกล้เคียงกับที่เราประเมิน ในระยะกลางเราคาด Dollar และ bond yield สหรัฐจะเจอกับ upside ที่จำกัด มองเป็นบวกต่อการลงทุนฝั่ง Emerging market
สำหรับการลงทุนเดือนมีนาคม : เราประเมินกรอบการแกว่งตัว SET บริเวณ 1,620-1,680 จุด โดยคาดว่าจะเป็นเดือนที่มีความผันผวนสูงกว่าช่วงที่ผ่านมา จากปัจจัยการเมืองโลก/ในประเทศ คงคำแนะนำ ถือเงินสดไม่ต่ำกว่า 40% พร้อมเน้นลงทุนในกลุ่มไฟฟ้า (EGCO) , รถไฟฟ้า (BEM) กลุ่มท่องเที่ยว (SPA) และกลุ่มค้าปลีก (CPALL) และเลือก PTTEP เป็นตัวแทน Global play
BIG ISSUE
เมื่อคืนที่ผ่านมา : ก.ท่องเที่ยวรายงานตัวเลขนักท่องเที่ยวเดือน ก.พ. +0.17%YoY ที่ 3.57 ล้านคน จีนลดลงเหลือ 1.05 ล้านคน
STOCK PICK & TRADING IDEA
แนะซื้อ TU ราคาเหมาะสม 21.70 บาท/หุ้น (Upside 17%) คาดกำไร Q1 เติบโตเด่น โดยปัจจุบันราคาทุน่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีประมาณ 1,480-1,500 เหรียญ/ตัน ทำให้คาดมี margin(%) เด่น ในขณะที่ธุรกิจกุ้งได้ผลบวกจากการปรับราคาขายและขยายตลาดไปสู่สินค้าที่มีอัตรากำไรสูง ในเชิงความเสี่ยงลดลงหลังจากในปีก่อนได้ตั้งสำรองค่าใช้จ่ายคดีความของ Chicken of the Sea และเลิกธุรกิจแซลมอนในสกอตแลนด์ที่ขาดทุน ภาพรวมประเมินกำไรจากการดำเนินงานปีนี้ที่ 5,900 ลบ. (+12%YoY) ในเชิงเทคนิคกรอบ 18-19.0 หาก Break ได้ในเชิงเทคนิคมองว่าดี
TECHNICAL VIEW
จังหวะ Rebound ระหว่างวันมองเป็นโอกาสขายลดพอร์ตที่แนวต้าน : ดัชนีไม่มีแรง Rebound ต่อเนื่อง โดยแรงซื้อในกลุ่ม Leasing และโรงพยาบาล ไม่สามารถชนะแรงขายกลุ่มวัสดุก่อสร้าง ธนาคารและปิโตรเคมี แต่เนื่องจากคืนที่ผ่านมาราคา Brent +1.32% จึงทำให้คาดว่าอาจเกิดแรง Rebound สั้นๆ อย่างไรก็ตามเนื่องจากแนวโน้มกราฟ 60 นาทีเป็น Downtrend จึงยังแนะนำว่าจังหวะ Rebound เป็นโอกาสขายทำกำไรตามแนวต้านเพื่อถือเงินสดให้มากขึ้น แต่หากผิดคาดดัชนีหลุด 1623 แนะนำ Lock Profit หรือ Stop Loss
กลยุทธ์การลงทุน 1) มีหุ้น: จังหวะ Rebound ระหว่างวันมองเป็นโอกาสขายลดพอร์ตตามแนวต้าน แต่หากหลุด 1623 แนะนำ Lock Profit หรือ Stop Loss 2) ไม่มีหุ้น: ทยอยซื้อหุ้นเมื่อดัชนีอ่อนตัวระหว่างวัน และเน้นเป็นเพียงการ Trading เล่น Rebound เท่านั้น
แนวรับ : 1612, 1623 แนวต้าน : 1640, 1660
EYES ON
ปัจจัยต่างประเทศ : จับตา EC พิจารณายืดเวลา Brexit
ปัจจัยในประเทศ : 24 มี.ค. เลือกตั้งประเทศไทย
หุ้นเทคนิค :
MBK (20.30-20.50, Tp 21.50//22.00, Cut 20.00
RICHY (1.63-1.65, Tp 1.72//1.75, Cut 1.60)
ข่าวเด่นเช้านี้
BGRIM
บุ๊กขายไฟเพิ่ม 40% รายได้ปีนี้โต 4.5 หมื่นล้าน (ข่าวหุ้น)
ความเห็น : กำลังการผลิตที่เติบโตในปี 2562 มาจากโรงไฟฟ้าที่อยู่ในแผนการก่อสร้างของ BGRIM อยู่แล้ว มีเพียง GLOW SPP1 ที่เป็น Upside ใหม่ที่เรายังไม่รวมเข้าในประมาณการ คงคำแนะนำ Trading Buy แม้ผลประกอบการระยะสั้นยังไม่เด่นจากแรงกดดันต้นทุนก๊าซฯ ที่ยังคงอยู่ แต่มีปัจจัยบวกจากโครงการ SPP ต่ออายุ รวมถึงโครงการ GLOW SPP1 ที่เพิ่งซื้อสัดส่วน 100% เป็น Upside ที่ยังไม่ถูกรวมในประมาณการ ราคาเป้าหมาย 32 บาท
BCP
ชี้ค่าการกลั่นใกล้เคียง Q4/61 (ผู้จัดการรายวัน 360 องศา)
ความเห็น : ค่าการกลั่นสิงคโปร์ 1QTD ยังอ่อนตัวลง 32% QoQ กดดันจากส่วนต่างน้ำมันเบนซิน แต่ BCP มีสัดส่วนน้ำมันดีเซลและอากาศยานสูงถึง 65% ส่งผลให้ค่ากากลั่นมี Premium เหนือค่าการกลั่นอ้างอิงดังกล่าว หากเป็นไปตามคาดการณ์ของผู้บริหารตามข่าว ถือเป็นบวกต่อแนวโน้มผลประกอบการ 1Q62 จากเดิมที่คาดค่าการกลั่นตลาดจะอ่อนตัวลง แต่ได้ชดเชยจากขาดทุนสต๊อกลดลง แนะนำ ซื้อ เป้าหมาย 39 บาท
รับเหมา
42 รายชิง 'อู่ตะเภา' 2 แสนล.'บีทีเอส'จับคู่ร่วมประมูล (กรุงเทพธุรกิจ)
ความเห็น : โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานหลัก EEC 5 โครงการ มูลค่ารวม 7 แสนล้านบาท กำลังอยู่ในขั้นตอนประมูล 1.) รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เปิดประมูลไปแล้ว กำลังอยู่ในขั้นตอนเจรจา 2.) โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก 3.) โครงการศูนย์ซ่อมอากาศยานสนามบินอู่ตะเภา 4.) โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 และ 5.) โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 แต่ยังค่อนข้างล่าช้า เราให้น้ำหนักการลงทุนกลุ่มรับเหมาก่อสร้างเท่าตลาด แนะนำเก็งกำไรช่วงอ่อนตัวใน STEC (เป้าหมาย 29 บาท) และ NWR (เป้าหมาย 1.3 บาท)
ECON
กนง. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.75% (ผู้จัดการรายวัน 360 องศา)
ความเห็น : กนง. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.75% เป็นไปตามที่เราและตลาดคาด และมีการปรับลด GDP ปีนี้จาก 4.0% ลงสู่ส 3.8% จากความกังวลของเศรษฐกิจโลก กดดันภาคการส่งออก ซึ่งถือว่าสอดคล้องกับคาดการณ์ของเราที่ประเมินปีนี้ GDP จะขยายตัว 3.8% โดยประเด็นสำคัญเรายังคงมองการฟื้นตัวของภาคการบริโภค และการท่องเที่ยวไทย เป็นตัวพยุงเศรษฐกิจที่สำคัญ
นักวิเคราะห์ : สรพล วีระเมธีกุล / วิจิตร อารยะพิศิษฐ
Research Department Tel. 02-658-5000