- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 15 March 2019 16:03
- Hits: 1174
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2562
ตลาดหุ้นไทยยังคง Underperform ตลาดเพื่อนบ้าน ซึ่งคาดว่าน่าจะรอความชัดเจนหลังเลือกตั้ง 24 มี.ค. 2562 ทำให้ต่างชาติยังไม่กลับมาซื้อหุ้นไทย ดัชนีหุ้นไทยจึงน่าจะผันผวนในกรอบ 1620-1640 จุด กลยุทธ์การลงทุนยังมุ่งเน้นรายหุ้น กำไรเด่น 1Q62 (วัสดุก่อสร้าง SCC, SCCC, BCH, PTTGC, TOP, IRPC) หรือ Turnaround (SAPPE, STPI, TTCL) Top picks SCCC(FV@B269) และ PTTGC([email protected])
SET Index 1,635.88
เปลี่ยนแปลง (จุด) -3.79
มูลค่าการซื้อขาย (ล้านบาท) 38,219
ยอดซื้อ-ขายสุทธิ นักลงทุนแต่ละประเภท(ล้านบาท)
นักลงทุนต่างชาติ -1,963.42
บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ 276.70
นักลงทุนสถาบันในประเทศ 1,871.29
นักลงทุนรายย่อย -184.57
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … SET Index แกว่งทรงตัวและลงแรงในช่วงเย็น
วานนี้ SET Index เปิดโดด 4 จุดก่อนที่จะแกว่งทรงตัวและลงแรงในช่วงเย็น จนทำให้ปิดที่ระดับ 1635.88 จุด ลดลง 3.79 จุด (-0.23%) ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 3.82 หมื่นล้านบาท โดยหุ้นกลุ่มที่กดดันตลาด คือ กลุ่มค้าปลีก BEAUTY(-1.46%) COM7(-3.66%) HMPRO(-2.56%) และกลุ่มสื่อสารอย่าง DTAC(-1.87%) JAS(-1.75%) รวมถึงรายหุ้นอย่าง CENTEL(-5.98%) TOP(-1.42%)
แนวโน้มดัชนีหุ้นไทยยังเคลื่อนไหวในกรอบ 1620-1640 จุด เพราะยังขาดแรงหนุนใหม่ ๆ โดยน่าจะรอดูผลการจัดตั้งรัฐบาล หลังเลือกตั้ง 24 มี.ค. 2562 ทำให้ต่างชาติยังไม่กลับมาซื้อหุ้นไทย กลยุทธ์การลงทุนยังมุ่งเน้นรายหุ้น กำไรเด่น 1Q62 (วัสดุก่อสร้าง SCC, SCCC, TPIPL) โรงพยาบาล (BDMS, BCH) และ พลังงาน/ปิโตรเคมี (PTTGC, TOP, IRPC) หรือ Turnaround (SAPPE, STPI, TTCL) Top picks SCCC(FV@B269) และ PTTGC([email protected])
การประชุมธนาคารกลางโลก กลับมาใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายมากขึ้น
ปัจจัยต่างประเทศยังเหมือนเดิม หลังการเจรจาการค้าสหรัฐ-จีน มีพัฒนาการเชิงบวก และสหรัฐยัง บีบให้จีนนำเข้าสินค้าจากสหรัฐเพิ่มขึ้น เพื่อลดยอดขาดดุลการค้ากับจีน แลกกับการที่สหรัฐไม่ขึ้นภาษีนำเข้าจากจีน ( 2 แสนล้านเหรียญฯ จาก 10% เป็น 25%) จนกว่าจะมีการเจรจาอย่างเป็นทางการอีกครั้งของ 2 ผู้นำราว เม.ย. (เลื่อนจากเดิม 27 มี.ค.) และปัญหา Brexit ที่ยังล่าช้า แม้ล่าสุด สภาอังกฤษมีมติให้เลื่อนวันออกจาก Brexit ออกไปราว 3 เดือน หรือ 30 มิ.ย. 2562 จากเดิม แต่เชื่อว่าตลาดน่าจะรับรู้ไปแล้ว
แต่ปัจจัยที่น่าจะให้น้ำหนักนับจากนี้คือเรื่องทิศทางดอกเบี้ย และความผันผวนของค่าเงินโลก คาดว่าในการประชุมธนาคารกลางทั่วโลกนับจากนี้น่าจะส่งสัญญาณการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายมากขึ้น โดยเฉพาะ 19-20 มี.ค. 2562 เป็นการประชุม ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ซึ่งตลาดคาดยังคงดอกเบี้ยที่ 2.5% หลังจากขึ้นดอกเบี้ย 9 ครั้งรวม 2.25% เป็น 2.5% และเงินเฟ้อเดือน ก.พ. 2562 ขยายตัว 1.5% แตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี 7 เดือน และอาจไม่เห็นการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือปีนี้
ขณะที่ฝั่งเอเชียมีแนวโน้มใช้นโยบายผ่อนคลายเช่นกัน หลังจากอินเดียนำร่องลดดอกเบี้ยไปเมื่อต้นปี 2562 0.25% เหลือ 6.25% และมีโอกาสลดลงอีกในช่วง 2H62 เนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัว และตามด้วยจีน ลดอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย (Required Reserve Ratio: RRR) ไป 2 ครั้งรวม 1% เมื่อเดือน ม.ค. 2562 เหลือ 13.5% และในช่วงที่เหลือของปีนี้ส่งสัญญาณลด RRR อีก
20 มี.ค. 2562 การประชุม กนง. ตลาดคาดยังคงดอกเบี้ยที่ 1.75% หลังปรับขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว 1 ครั้ง 0.25% เมื่อปลายปี 2561 เพราะเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มต่ำ ล่าสุดเดือน ก.พ. 2562 ขยายตัว 0.73% และการส่งออกที่ชะลอตัว อาจทำให้ กนง.ชะลอการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือ
21 มี.ค. มีการประชุมธนาคารกลาง 2 แห่งคือ อินโดนีเซีย (BI) คาดยังคงดอกเบี้ยไว้ที่ 6.0% เพราะยังเงินเฟ้อเดือน ก.พ. คาดไว้ 2.57% ยังอยู่ในกรอบเป้าหมายของ BI ที่ 3.5±1% และฟิลิปปินส์ (BSP) คาดคงดอกเบี้ย เพราะเงินเฟ้อมีแนวโน้มชะลอตัวลง คือ เดือน ก.พ. ขยายตัว 3.8% ชะลอจาก 6.7% ในระหว่างเดือน ก.ย. – ต.ค. 2561 ใกล้เคียงเป้าหมายของ (BSP) ที่ 3±1%
ด้วยเหตุนี้จะทำให้แนวโน้มค่าเงินโลกกลับมาผันผวน คือค่าเงินเอเชียอาจกลับมาอ่อนค่าอีกครั้ง หลังจากที่แข็งค่าในช่วงที่ผ่านมา จากผลกระทบของการค้าโลกที่ชะลอตัวและการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย จึงอาจจะเป็นอุปสรรคต่อตลาดหุ้นในช่วงสั้น ๆได้
ความไม่แน่นอนทางการเมืองกดดัน Fund Flow ไหลออกหุ้นไทยอย่างเห็นได้ชัด
วานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 3 ด้วยมูลค่า 124 ล้านเหรียญ แต่เป็นการซื้อสุทธิเพียง 2 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ 298 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) และฟิลิปปินส์ 6 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันแรก) ส่วนอีก 3 ตลาด ยังขายสุทธิ คือ ไต้หวันขายสุทธิ 96 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันแรก) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 22 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5) และไทยที่ต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 62 ล้านเหรียญ หรือ 1.96 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันแรก) พร้อมเปิด Short สัญญา SET50 Futures สูงถึง 2.04 หมื่นสัญญา (สูงสุดในรอบเกือบ 1 ปี) สวนทางกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 1.87 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3)
ในปี 2562 นี้ ต่างชาติเริ่มกลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาค ด้วยมูลค่าสูงถึง 8.5 พันล้านบาท หลังจากขายสุทธิหนักในปี 2561 กว่า 3.15 หมื่นล้านบาท และเป็นการซื้อสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นไทยเพียงแห่งเดียวที่ถูกขายสุทธิ 266 ล้านเหรียญ หรือ 8.6 พันล้านบาท เนื่องจากยังกังวลประเด็นการเมือง หลังเลือกตั้ง สังเกตได้จากตั้งแต่ต้นปี ถึงวันที่ 8 ก.พ. 62 ต่างชาติยังซื้อสุทธิสะสมหุ้นไทยกว่า 7.6 พันล้านบาท แต่หลังจากวันที่ 8 ก.พ. 62 เดินหน้าขายหุ้นไทยตลอด (ซื้อสุทธิทั้งหมด 3 วัน จาก 23 วันทำการ) ด้วยมูลค่าขายสุทธิรวม 1.62 หมื่นล้านบาท รวมถึงมูลค่าการซื้อขายหุ้นไทยเบาบางลงอย่างเห็นได้ชัด ล่าสุดซื้อขายกันในระดับ 3 – 4 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับวานนี้มีการซื้อขาย 3.82 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 4.56 หมื่นล้านบาท แต่มีความหวังว่า หากการเลือกตั้งดำเนินไปได้ด้วยดี น่าจะหนุน Fund Flow รวมถึงมูลค่าซื้อขายหุ้นไทยกลับมาคึกคักอีกครั้ง
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค
ตลาดผันผวนกลยุทธ์การลงทุนเน้น 4 themes
ภายใต้ตลาดผันผวน จนกว่าจะเห็นการเลือกตั้งชัดเจน ทำให้ดัชนีน่าจะแกว่งตัวในกรอบแคบ 1640-1620 จุด กลยุทธ์การลงทุนแนะนำเลือกเป็นรายหุ้นใน 4 Theme คือ
1.หุ้นผันผวนต่ำ แยกเป็นหุ้นที่มีคุณสมบัติ 1L2H โดย 1L คือ Low Beta คือ หุ้นที่ผันผวนต่ำน้อยกว่าตลาด และ 2H คือ High Upside และ High Growth ปี 2562 ดังตาราง
หุ้นผันผวนต่ำ (1L2H)
ที่มา SET, ฝ่ายวิจัย ASPS
2.หุ้นอิงการบริโภคในประเทศ ที่ได้ประโยชน์จากการใช้จ่ายภาครัฐ ตามนโยบายช่วยรากหญ้า ทั้งรัฐบาลปัจจุบันและรัฐบาลใหม่ที่จะเกิดขึ้นจากการหาเสียง ได้แก่ กลุ่มค้าปลีก ซึ่งปัจจุบัน หุ้นที่ Laggard และมี upside สูงในกลุ่มคือ BJC ตามด้วยหุ้นที่เกี่ยวกับการปล่อยสินเชื่อผู้มีรายได้น้อยผ่านการปล่อยสินเชื่อทะเบียนรถยนต์ ได้แก่ SAWAD, MTC หรือบริษัทที่ซื้อหนี้มาบริหาร เช่น JMT
3.หุ้นที่ผลกำไรโดดเด่นใน 1Q62 และมี upside มากกว่า 10%: กลุ่มพลังงาน-ปิโตรฯPTT(FV@B56), PTTGC(FV@B79) หุ้นโรงไฟฟ้า-พลังงานทดแทน BPP([email protected]) กลุ่มวัสดุก่อสร้าง SCCC(FV@B269), TPIPL([email protected]) กลุ่มโรงพยาบาล BDMS(FV@B30), BCH(FV@B21) กลุ่มเกษตร-อาหาร CPF(FV @B31.50), TFG(FV @B4.50) ปิดท้ายด้วยกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ PSH ([email protected]), QH ([email protected]) และ CPN ([email protected]) **สามารถรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน Market Talk วันที่ 13-14 มี.ค.62 และในบทวิเคราะห์รายหุ้น**
4.หุ้นเด่น Turnaround ในปี 2562 ดังตารางทางด้านล่าง
หุ้นเด่น Turnaround ในปี 2562
ที่มา SET, ฝ่ายวิจัย ASPS
ภรณี ทองเย็น
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ