WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
 
กลยุทธ์การลงทุน
แนวโน้มดัชนีหุ้นไทยน่าจะแกว่งตัวในกรอบแคบ 1620-1640 จุด ตราบที่ยังไม่มีแรงหนุนจาก   Fund flow การซื้อขายน่าจะกระจุกตัวในหุ้นขนาดกลางและเล็กที่บวกเฉพาะตัว เช่น การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งจะดีต่อหุ้นการเงินขนาดเล็ก และค้าปลีก และวันนี้มีข่าวแตกพาร์หุ้น RAM อาจจะทำให้มีแรงเก็งกำไรระยะสั้น แต่ราคาหุ้นค่อนข้างแพงจากที่มี P/E กว่า 36 เท่า กลยุทธ์การลงทุนยังมุ่งเน้นรายหุ้นที่มีผลประกอบการเด่นในงวด 1Q61 ได้แก่ หุ้นวัสดุก่อสร้าง (SCC, SCCC, TPIPL) โรงพยาบาล (BDMS, BCH) Top pick SCCC(FV@B269)  
 
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … SET Index แกว่งทรงตัวปิดที่ระดับเดิม
วานนี้ SET Index เปิดโดด 4 จุด ก่อนที่จะแกว่งทรงตัวในแดนลบตลอดวัน จนทำให้ปิดที่ระดับ 1627.59 จุด เพิ่มขึ้น 0.16 จุด (+0.01%)  ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่เบาบางเพียง 3.71 หมื่นล้านบาท โดยหุ้นที่หนุนตลาดคือกลุ่มโรงพยาบาลอย่าง RAM(+18.41%) จากการแตกพาร์ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ รวมถึง BCH(+1.89%) ตามคำแนะนำของ ASPS และกลุ่มพลังงานอย่าง BGRIM(+2.63%) EGCO(+8.00%) แต่โดนหุ้นขนาดใหญ่กดดันอย่าง AOT(-1.11%) TMB(-4.46%) 
แนวโน้มดัชนีหุ้นไทยน่าจะแกว่งตัวในกรอบแคบเดิมคือ 1620-1640 จุด ตราบที่ยังไม่มีแรงหนุนจาก   fund flow  และการซื้อขายน่าจะกระจุกตัวในหุ้นขนาดกลางและเล็กที่มีปัจจัยหนุน เช่น การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งจะดีต่อหุ้นการเงินขนาดเล็ก และค้าปลีก ส่วนวันนี้มีข่าวแตกพาร์หุ้น RAM อาจจะทำให้มีแรงเก็งกำไรระยะสั้น แต่ราคาหุ้นค่อนข้างแพงจากที่มี P/E กว่า 36 เท่า กลยุทธ์การลงทุนยังมุ่นเน้นรายหุ้นที่มีผลประกอบการเด่นในงวด 1Q61 ได้แก่ หุ้นวัสดุก่อสร้าง (SCC, SCCC, TPIPL) โรงพยาบาล (BDMS, BCH)  และปิโตรเคมี และโรงกลั่น (TOP, PTTGC, IRPC)
ผลกระทบจากสงครามโลก กระทบกลุ่มชิ้นส่วนวรถยนต์ระดับโลก  
แม้สงครามการค้าสหรัฐ-จีน ผ่อนคลายลงแล้วก็ตาม แต่ผลกระทบจากการเก็บภาษีนำเข้า 2 รอบแรกวงเงิน 5 หมื่นล้านเหรียญฯ อัตราภาษี 25% ที่ยังมีอยู่และรอบที่ 3 วงเงิน 2 แสนล้านเหรียญฯ ภาษี 10%  และปัญหาการเมืองในอังกฤษ (Brexit) ที่ยังติดกับความพยายามจะออกจากยุโรปไม่สำเร็จ (วานนี้รัฐสภาโหวตคว่ำแผนสำรองครั้งที่ 2 ทำให้วันนี้จะมีการโหวตออกจากยุโรปแบบไม่มีข้อตกลง  หรือ No deal) แม้ยังเปิดช่องให้พรุ่งนี้ ขอเสียงสนับสนุนให้ยืดเวลาออกจากยุโรปจากเดิมกำหนดวันออก 29 มี.ค. 2562 ก็ตาม 
แต่กระทบต่อเศรษฐกิจโลกชัดเจนขึ้น สะท้อนจากที่สำนักงานวิจัยเศรษฐกิจสำคัญ ๆ ของโลกต่างปรับลด GDP Growth โลกลง และล่าสุด Renesas ผู้ผลิตชิปยานยนต์รายใหญ่ของโลก สัญชาติญี่ปุ่น ประกาศ หยุดโรงงาน 13 แห่งชั่วคราวจากทั้งหมด 14 แห่งทั่งโลกเพื่อระบายสินค้าคงเหลือในสต็อก ผลจากเศรษฐกิจจีนชะลอตัวลง กดดันให้แนวโน้มยอดขายรถยนต์ของจีนในปี 2562 จะปรับลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี  และสอดคล้องกับสถาบันจัดอันดับเรทติ้ง  Moody ได้ Downgrade อุตสาหกรรมยานยนต์ เหลือน้อยกว่าตลาด จากเดิมเท่าตลาด  พร้อมปรับลดยอดขายรถยนต์ทั่วโลกปี 2562 เหลือ 0.5% จากเดิมคาด 1.2%  
ตามด้วยกลุ่มขนส่งทางอากาศ ล่าสุด สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ปรับลดคาดการเติบโตขนส่งสินค้าทางอากศทั่วโลกปี 2562 เหลือ 2% จากเดิมคาด 3.2% แม้เชื่อว่าประเด็นดังกล่าวตลาดรับรู้ไปหมดแล้ว หลังจากปีที่แล้วตลาดหุ้นโลกได้ปรับฐาน และฟื้นตัวในปีนี้ แต่ความเสี่ยงเหล่านี้ยังเป็นประเด็นที่เข้ามารบกวนตลาดประปราย 
 
ปรับค่าแรงงานในประเทศ ดีต่อตลาดหุ้น Domestic Play  
นอกจากประเด็นบวกจากการประกาศ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) เดือน ก.พ.เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ผลจากใกล้การเลือกตั้ง 24 มี.ค. 2562 ภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวหลังจากนักท่องเที่ยวจีนฟื้นตัวแล้ว วันนี้ บอร์ดไตรภาคี ประกอบด้วย  ตัวแทนจากสภาพัฒน์ฯ, ธนาคารแห่งประเทศไทย และภาคธุรกิจ จะพิจารณาปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศ คาดจะปรับเพิ่มขึ้นราว 2-10 บาท จากปัจจุบัน 308-330 บาท แบ่งเป็น กรุงเทพมหานคร, ภูเก็ต และสมุทรปราการปรับขึ้น 10 บาท และชลบุรีและระยองปรับขึ้น 7 บาท เป็นต้น  คาดว่าจะมีผล 1 เม.ย. หรืออย่างช้า 1 พ.ค. 
การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำครั้งล่าสุด
 
คาดว่าการปรับขึ้นค่าจ้างในครั้งนี้ ประกอบกับปัจจัยบวกรอบด้าน น่าจะบวกต่อหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคภายในประเทศ  โดยหากพิจารณาสถิติในอดีตจะพบว่า  ตลาดหุ้นจะตอบสนองด้านบวกหลังจากการประกาศขึ้นค่าแรง ราว 1 เดือน (4 ครั้งหลังสุด) และหากพิจารณาเป็นรายกลุ่มพบวว่า ที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวก อาทิ โรงพยาบาล, เช่าซื้อ ชอบ (SAWAD, MTC, JMT) ท่องเที่ยว, ค้าปลีก ชอบ BJC(FV@B61) และสื่อ ตรงข้ามกลุ่มที่ผลตอบแทนเป็นลบเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก  อาทิ  ภาคก่อสร้าง และปิโตรเคมี   เป็นต้น    
ราคาหุ้น RAM ปรับขึ้นสะท้อนการแตกพาร์แล้ว  
วานนี้ RAM ประกาศแตกพาร์จาก 10 บาทต่อหุ้น เหลือ 0.5 บาทต่อหุ้น ทำให้จำนวนหุ้นเรียกชำระเพิ่ม  15 ล้านหุ้น เป็น 300 ล้านหุ้น โดยจำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ราคาหุ้นจะลดลงราว 20 เท่าจากราคาเดิม (ล่าสุด RAM เป็นหุ้นที่มีราคาสูงสุดในตลาดฯ อยู่ที่ 3730 บาทต่อหุ้น อันดับสอง คือ SCC ราคาอยู่ที่ 476 บาท) น่าจะเพิ่มสภาพคล่องในการลงทุนมากขึ้น โดยจะมีมติอนุมัติเสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นวันที่ 25 เมษายน 2562 (คาดหลังจากนี้ 1-2 สัปดาห์น่าจะแตกพาร์)
หากพิจารณาผลการดำเนินงานปี 2561  RAM   มีค่า P/E  ปี 2561 เพียง 23.6 เท่า อย่างไรก็ตามหากหักกำไรพิเศษจากการขายที่ดินบริษัทย่อย รวมกับการกลับรายการหนี้สงสัยจะสูญอยูที่ 600 ล้านบาท ส่งผลให้กำไรปี 2561 ลดลงจาก 1.896 พันลานบาท เหลือ 1.219 พันล้านบาท ส่งผลให้ EPS ลดลงเหลือ 101.5 บาทต่อหุ้น กดดันให้ PER 2561 จากำไรปกติเพิ่มขึ้นเป็น 36.7 เท่า ซึ่งใกล้เคียงกับ PER 2561 กลุ่มโรงพยาบาลที่ 35 เท่า
อย่างไรก็ตาม ผลของนการแตกพาร์ เป็นที่สนใจของนักลงทุนมากทั้งปัจุบันและในอดีต สังเกตได้จากมูลค่าซื้อขายหุ้น RAM ในวานนี้ สูงกว่ามูลค่าซื้อขายในวันก่อนๆ มาก และจากการวิเคราะห์เชิงปริมาณย้อนหลังตั้งแต่ปี 2551 ถึงปัจจุบัน พบว่า หุ้นขนาดใหญ่ทั้งหมด ที่มีการแตกพาร์ ราคาหุ้นมักตอบสนองเชิงบวกตั้งแต่วันที่ประกาศจนถึงวันแตกพาร์เสมอ โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยสูงถึง 11.95% และมีโอกาสให้ผลตอบแทนเป็นบวกถึง 72% ส่วนหลังแตกพาร์ราคาหุ้นส่วนใหญ่จะเริ่มทรงๆตัว เช่นเดียวกับหุ้นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ อย่าง BDMS  ที่มีการแตกพาร์ 10 บาทต่อหุ้น เป็น 1 บาทต่อหุ้น ณ วันที่ 29 เม.ย. 57 ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มตั้งแต่วันที่ประกาศจนถึงวันแตกพาร์เสมอ 13%   นี่จึงเป็นหตุผลทำให้ราคาหุ้น RAM ขยับขึ้น ดังนั้นปัจจัยดังกล่าวคาดว่าจะช่วยหนุนหุ้น RAM ให้ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากที่ทรงตัว 3100 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา  แตะ 4000 บาท หรือเพิ่มขึ้น 29% น่าจะสะท้อนประเด็นนี้ไปแล้ว   
แม้ต่างชาติขายหุ้นไทย 12 วัน แต่กลับมา Long SET Futures ถึง 1 หมื่นสัญญา
วานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นวันแรก ด้วยมูลค่า 111 ล้านเหรียญ โดยเป็นการซื้อสุทธิเฉพาะตลาดหุ้นในแถบเอเชียเหนือ คือ เกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิ 109 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิติดต่อกัน 5 วัน) และเกาหลีใต้ 89 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิติดต่อกัน 3 วัน) ส่วนตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP ถูกขายสุทธิ คือ อินโดนีเซียถูกขายสุทธิ 47 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 6 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิ 33 ล้านเหรียญ หรือ 1.06 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 12 มีมูลค่ารวม 1.56 หมื่นล้านบาท) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 223 ล้านบาท (สลับมาซื้อสุทธิวันแรก)
หากพิจารณาเฉพาะตลาดหุ้นไทย ปัจจัยภายนอกถูกรับรู้และสะท้อนในดัชนีไปบ้างแล้ว และมีแนวโน้มผ่อนคลายลงในระยะสั้น สังเกตได้จาก Fund Flow เริ่มชะลอการไหลออก และวานนี้ต่างชาติยังกลับมาซื้อสุทธิสัญญา SET50 Futures สูงถึง 1.12 หมื่นสัญญา
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค
 
กลยุทธ์การลงทุน เลือกรายหุ้นที่มีผลกำไรเด่น   
หลังจากงบ 4Q61 ต่ำกว่าคาด เพราะเกิดจาก การรับรู้  Stock Gain/ Stock Loss ในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์  ทำให้กำไรสุทธิต่อหุ้น  หรือ  EPS ลดลงจากเดิม 9.85% เหลือ 97.89  บาท (จากเดิม  108.58  บาท)  และเนื่องมีการปรับสมมติฐานใหม่คือ  1) ราคาน้ำมันดูไบ 65 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล เทียบกับ 70 เหรียญฯ ในปี 2561  2) อัตราแลกเปลี่ยนจาก 33 บาท ต่อ  ดอลลาร์ เหลือ 32 บาท สะท้อนเงินบาทที่แข็งค่ามากกว่าคาด  และ 3) รับรู้ต้นทุนค่าแรงตามพรบ. คุ้มครองแรงงานที่คาดว่าจะสูงเกือบ 3 หมื่นล้านบาทในปี 2562 จึงปรับประมาณการ EPS ปี 2562 ลง 6% เหลือ 105.42 บาทต่อหุ้น แต่ยังเติบโต ( EPS Growth)  ราว 8%yoy  ทำให้ดัชนีเป้าหมายปี 2562 หากกำหนด P/E 16 เท่าเดิม จะมี upside จำกัด  กลยุทธ์การลงทุนจึงแนะนำให้เลือกลงทุนเป็นรายหุ้น 
1.    หุ้นปันผลเด่นดังที่มีหุ้นสมบัติคือผันผวนน้อยกว่าตลาดแต่มีเงินปันผลและ upside สูงหรือ  1L2H และหรือหุ้นปันผลที่สูง ดังที่นำเสนอใน Market Talk ตลาดสัปดาห์ที่ผ่านมา  
2.    หุ้นที่คาดว่าจะมีผลกำไรโดดเด่นใน 1Q62  ได้แก่ดังต่อไปนี้ 
2.1.    กลุ่มปิโตรเลี่ยม   ที่คาดว่าได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และราคาน้ำมันปัจจัยได้ฟื้นตัวจากปลายปี 2561 และขึ้นมายืนเหนือสมมติฐานของ ASPS โดยอยู่ที่  66 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ได้แก่ PTT(FV@B56) คาดกำไรสุทธิ 1Q62 จะพลิกกลับมาเติบโตจาก 4Q61 แม้มีแนวโน้มราคาขายปิโตรเลี่ยมเฉลี่ยที่ลดลง แต่จะหนุนจากการที่ไม่มีการบันทึกขาดทุนสต๊อกน้ำมันในระดับสูงเช่นที่เกิดขึ้นใน 4Q61 รวมทั้งกำไรจากบริษัทร่วมที่กลับมาเติบโต  ยกเว้น PTTEP(FV@B168) คาดกำไรปกติงวด 1Q62 จะอ่อนตัวลงQoQ กดดันจากปริมาณและราคาขายเฉลี่ยปิโตรเลียมที่ลดลง   
2.2.    หุ้นโรงไฟฟ้า: EGCO(FV@B275) คาดกำไรสุทธิคาดจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 4Q61 เพราะจะไม่มีการบันทึกขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์ในระดับสูงเช่นในงวดที่ผ่านมา และผ่านพ้นช่วง low season รวมถึงการกลับมาเดินเครื่องได้เต็มกำลัง หลังมีการ shutdown โรงไฟฟ้าในงวด 4Q61 ไปแล้ว
RATCH(FV@B60) คาดกำไรปกติงวด 1Q62 จะพลิกกลับมาเติบโตจากงวด 4Q61 ตามผลของฤดูกาล รวมถึงโรงไฟฟ้าที่หยุดเดินเครื่องเพื่อซ่อมบำรุงไปในงวด 4Q61 กลับมาเดินเครื่องผลิตเต็มที่ในระดับปกติ และคาดในงวดนี้จะไม่มีแผน shutdown โรงไฟฟ้าเพื่อหยุดซ่อมบำรุงจำนวนมาก 
BGRIM([email protected]) คาดกำไรปกติงวด 1Q62 จะเพิ่มขึ้นจาก 4Q61 หนุนจากรับรู้โรงไฟฟ้าโซลาร์ Solar 2017 เต็มไตรมาส, โรงไฟฟ้า BPLC1 ที่กลับมาเดินเครื่องปกติ, ค่า Ft ที่เพิ่มขึ้น และค่า SG&A คาดจะลดลงตามฤดูกาล
EA(FV@B51) คาดกำไรปกติงวด 1Q62 จะเติบโตจากงวด 4Q61 จากธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังลมจากช่วง high season ตามฤดูกาล และรับรู้โรงไฟฟ้าพลังลมหนุมาน 2 โครงการ ที่เพิ่ง COD
2.3.    กลุ่มปิโตรเคมี-โรงกลั่น
PTTGC(FV@B79) แนวโน้มกำไรสุทธิ น่าจะเพิ่มจากงวด 4Q61  เพราะน่าจะมี stock gain เกิดขึ้นจากราคาน้ำมันที่ฟื้นตัวข้างต้น แต่หากพิจารณาผลการดำเนินงานปกติคาดจะลดลง   เพราะในงวด 1Q62 ยังมีแรงกดดันจาก spread ปิโตรเคมีทั้งสายโอเลฟินส์ และสายอะโรเมติกส์ รวมถึงค่าการกลั่น (GRM) อ้างอิงตลาดสิงคโปร์ที่ลดลง แต่จะมีแนวโน้มดีขึ้นในช่วงเดือน มี.ค.- เม.ย. เพราะจะเข้าสู่ช่วงฤดูกาลหยุดซ่อมบำรุงหลายแห่งทั่วโลก 
TOP(FV@B78)  เช่นเดียวกัน คาดว่าจะมีกำไรสุทธิ น่าจะเพิ่มจากงวด 4Q61  เพราะน่าจะมี stock gain เกิดขึ้นจากราคาน้ำมันที่ฟื้นตัวข้างต้น แต่คาดกำไรปกติมีโอกาสอ่อนตัวจาก 4Q61 ตามค่าการกลั่น 1QTD อ้างอิงตลาดสิงคโปร์ที่มีการอ่อนตัวลงเช่นกัน  ยกวเน spread ผลิตภัณฑ์พาราไซลีนที่ยังทรงตัวใกล้เคียงกับงวด 4Q61  
IRPC([email protected]) เช่นเดียวกัน คาดว่าจะมีกำไรสุทธิ น่าจะเพิ่มจากงวด 4Q61  แต่คาดแนวโน้มกำไรปกติงวด 1Q62 จะปรับตัวลดลงจากงวด 4Q61 เพราะนอกจากธุรกิจโรงกลั่นคาดอ่อนตัวลงตามค่าการกลั่น   และ มีแผนหยุดเดินเครื่องหน่วยกลั่น 1 เดือน ในช่วงปลายเดือน ก.พ.  
IVL(FV@B55) คากกำไรสุทธิจะฟื้นตัว เข้าสู่ช่วงฤดูกาลสะสมสต๊อกของลูกค้าเพื่อการผลิตในช่วงถัดไป (re-stock)  รวมถึงจะรับรู้โครงการที่เพิ่งซื้อเข้ามาในช่วงปลายปีเต็มที่ทั้งไตรมาส   
2.4.    กลุ่มวัสดุก่อสร้าง 
SCC(FV@B500) คาดกำไรสุทธิงวด 1Q62 จะฟื้นตัวจากงวด 4Q61 หนุนจากทั้ง 3 ธุรกิจ คือ ธุรกิจปิโตรฯ จะดีขึ้น qoq ธุรกิจปูน-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้างขยายตัวได้แรงหนุนจากโครงการภาครัฐและเอกชน รวมทั้งธุรกิจ Packaging เติบโตจากงวด 1Q61  แต่คาด SCC จะต้องมีการตั้งสำรองผลประโยชน์พนักงานเพิ่มเติมราว 2.0 พันล้านบาท
TPIPL([email protected]) คาดแนวโน้มกำไรสุทธิงวด 1Q62 เติบโตโดนเด่นมากทั้ง qoq และ yoy หนุนจากปริมาณการใช้ปูนในประเทศที่กลับมาเติบโต และคาดรายขายจะขยับขึ้นด้วยเช่นกัน อีกทั้งยังได้ผลบวกจากต้นทุนไฟฟ้าที่ลดลง หลัง TPIPP เริ่ม COD โรงไฟฟ้าถ่านหิน
SCCC(FV@B269) คาดแนวโน้มกำไรสุทธิงวด 1Q62 เติบโตเพิ่มขึ้นจากงวดก่อนหน้า หนุนจากราคาและปริมาณขายปูนที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ยังเข้าสู่ช่วงเก็บเกี่ยวผลตอบแทนโดยเฉพาะโรงงานที่กัมพูชาและเวียดนามอย่างเต็มไตรมาส
 
2.5. กลุ่มโรงพยาบาล
BDMS(FV@B30) คาดกำไรสุทธิ 1Q62 จะสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากการบันทึกกำไรพิเศษจากการขายหุ้น RAM สุทธิ 5.4 พันล้านบาท หากไม่รวมรายการดังกล่าว คาดการเติบโตได้ปกติ ยังคงหนุนจากการเก็บเกี่ยวผลตอบแทนโครงการลงทุนต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา
BCH(FV@B21) คาดกำไรสุทธิ 1Q62 จะเติบโตเพิ่มขึ้นจากงวดก่อน  เพราะกำไรจากโรงพยาบาลอินเตอร์ (WMC)  ที่เพิ่มขึ้น
ภรณี ทองเย็น
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
 ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
 โยธิน ภูคงนิล
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
   ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!