- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 11 March 2019 21:01
- Hits: 2800
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
“ตัวเลขจ้างงานสหรัฐไม่สดใส ตลาดรอปัจจัยบวกใหม่ๆ”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : --ภาวะตลาดและปัจจัย : SET วันศุกร์ -3.09 จุด ปิดที่ 1630.12 จุด มูลค่าการซื้อขายเบาบางลงที่ 34.4 พันล้านบาท ดัชนีบ้านเราลงสอดคล้องกับตลาดอื่นในภูมิภาคแถบนี้ มีปัจจัยลบ ECB ปรับลดคาดการณ์เติบโตเศรษฐกิจยูโรโซน ดาวโจนส์ เงินบาทอ่อนค่า ดัชนีความกังวล (VIX) ทยอยปรับขึ้น แรงขายสุทธิต่อเนื่องจากนักลงทุนต่างประเทศ อีกทั้งระหว่างวันจีนประกาศตัวเลขการค้าไม่สดใส สำหรับผู้ขายสุทธิเป็นต่างชาติ 0.5 พันลบ. และพอร์ตโบรกเกอร์ 0.4 พันลบ. ด้านผู้ซื้อสุทธิคือ สถาบัน 0.6 พันลบ. และ รายย่อย 0.3 พันลบ. สำหรับนับตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน ต่างชาติเป็นขายสุทธิ 5.5 พันล้านบาท ด้านแนวโน้มตลาดและกลยุทธ์วันนี้คือ
# ระยะสั้นคาด SET Sideways ในเชิงลบจากปัจจัยต่างประเทศไม่สดใส ทั้งตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตร การค้าจีน ก.พ.ซบเซาลง ดาวโจนส์และดาวโจนส์ล่วงหน้าปรับลง เช่นเดียวกับน้ำมัน ตลาดหุ้นเพื่อนบ้านเช้านี้ Mix มีทั้งบวกและลบแคบๆ ตลาดรอปัจจัยบวกใหม่ๆ
# แต่ปัจจัยบวกที่มีอยู่คือ ตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงและการเริ่มต้นสร้างบ้านเพิ่ม การเจรจาการค้า สหรัฐ-จีน มีแนวโน้มเป็นบวกขึ้น และ MSCI มีโอกาสปรับเพิ่มน้ำหนักหุ้นไทยปลายเดือนนี้ แต่ก่อนหน้ามีประกาศ FTSE Global Index Semi-Annual Review ทั้งนำเข้า-เอาออก
# กลยุทธ์ คือ เก็งกำไรรอบสั้นแนวต้านเป็น 1640-1650 จุด แต่หากมีแรงขายต่อ แนวรับเป็น 1620,1610 จุด ด้านการซื้อลงทุนระยะกลาง ทยอยสะสม ส่วนดัชนีฯเป้าหมายทางพื้นฐานปี 2562 ยังเป็น 1750 จุด (+0.9 SD) ด้วยคาดการณ์อัตราการเติบโตกำไรของตลาดฯปี 62 ที่ +8% แนะนำทยอยสะสมหุ้นพื้นฐานดี หุ้น TopPick ในงวด 1Q62 คือ AOT,BBL,CPALL,HANA,PTT และ WHA
หุ้นเด่น PSH : ได้มีการประกาศแผนธุรกิจปี 62 โดยรวมเป็นเชิงรุกในการเปิดขายใหม่เพิ่ม 25% y-o-y เป็น 68 พันล้านบาท แต่เป้ายอดขายเพิ่มเพียง 5.7% เป็น 54พันล้านบาท และรายได้ทั้งหมดเพิ่ม 4.7% เป็น 47 พันล้านบาท ล่าสุดปรับประมาณการปีนี้และปี 63 ดีขึ้น 4%/3% ให้ปีนี้ดีขึ้นเรื่องโอนคอนโดได้มากขึ้น ส่วนปีหน้าโอนแนวราบมากขึ้น ทางพื้นฐานแนะนำ ถือ เพื่อรับปันผลสูง โดยคาดว่าอัตราผลตอบแทนปันผลปีนี้ที่ 7.8% แต่ระยะสั้นแนะเก็งกำไร ส่วนราคาพื้นฐานเป็น 21.00บาท ด้วย P/E ปี 62 ที่ 7.7 เท่า ราคาปิดมีส่วนเพิ่ม 9.4%
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น สัญญาณ Candlestick & Indicators เป็นลบ แต่ยังไม่ตัดประเด็นมีรีบาวด์ฯเล็กๆก่อนลงต่อได้ {“ปิดลบ”ใต้“SMA10วัน” และถูกกดดันจาก“โครงสร้างขาลง–ระยะกลาง” (แต่สั้นมากๆ ก็มี “แนวรับย่อย” + “Oversold ในกราฟรายนาที”หนุน)} ชี้ความน่าจะเป็นของตลาดฯสัปดาห์นี้“แกว่งลง”เป็นหลัก แต่ก็มีรีบาวด์ฯสั้นก่อน (จากการลงแรง,เร็ว และมี“แนวรับย่อย”หนุน)ได้ แนวต้าน 1640 (หรือ 1650) จุด {แนวตัดขาดทุน “ต่ำกว่า 1630” (แนวรับย่อย“1620 หรือ 1610” จุด)}
สำหรับหุ้นที่คาดว่าจะทำ New High ที่เข้ามาใหม่คือ PSL,JWD,MAKRO หุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ RATCH,GOLD,HMPRO,SYNEX,SPRC,EGCO,PTL,PTG,BJC,OSP หุ้นที่หลุด List TCAP ส่วนหุ้นที่อยู่ในพื้นที่หาจังหวะ Take Profit คือ PSH,SAMART
Thailand Research Team : reseach-th.dbs.com
Inside Story
Key Drivers TODAY : ปัจจัยต่างประเทศ / ปัจจัยในประเทศ
Flash Note : JKN (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 13.60)
In The News : ข่าวเด่นวันนี้
Turnover List Watch : OCEAN, OCEAN-W3 เข้าเกณฑ์ ใช้ Cash Balance 11 มี.ค.-19 เม.ย.62
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
- สหรัฐ : ตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรน่าผิดหวัง
# สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่มีการเปิดเผยเมื่อวันศุกร์ กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเพียง 20,000 ตำแหน่งในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย.2560 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 180,000 ตำแหน่ง ขณะที่อัตราการว่างงานร่วงลงสู่ระดับ 3.8% ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะลดลงสู่ระดับ 3.9%
+ สหรัฐ: ตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงกับการเริ่มต้นสร้างบ้านกลับออกมาดี
# ส่วนตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยของแรงงาน เพิ่มขึ้น 11 เซนต์ หรือ 0.4% ในเดือนก.พ. หลังจากเพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือนม.ค. และเมื่อเทียบรายปี ตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยของแรงงานเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 3.4% ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.2552 และสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 3.2% จากระดับ 3.1% ในเดือนม.ค.
# ด้านกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านพุ่งขึ้นเกินคาด 18.6% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบรายเดือน สู่ระดับ 1.230 ล้านยูนิต จากระดับ 1.037 ล้านยูนิตในเดือนธ.ค. ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านจะอยู่ที่ระดับ 1.197 ล้านยูนิตในเดือนม.ค.
-จีน: ตัวเลขการค้า ก.พ.62 ไม่สดใส
# สำนักงานศุลกากรจีน (GAC) รายงานในวันนี้ว่า ยอดส่งออกเดือนก.พ.ร่วงลง 20.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี สู่ระดับ1.3524 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ยอดนำเข้าลดลง 5.2% สู่ระดับ 1.3112 แสนล้านดอลลาร์ ส่งผลให้มูลค่าการค้าต่างประเทศของจีนในเดือนก.พ. ลดลง 13.5% แตะที่ระดับ 2.6636 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ
# หากพิจารณาในรูปสกุลเงินหยวน ยอดส่งออกในเดือนก.พ.ลดลง 16.6% ขณะที่ยอดนำเข้าลดลง 0.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี ส่งผลให้ยอดเกินดุลการค้าของจีนลดลงสู่ระดับ 3.446 หมื่นล้านหยวน
+/- การเจรจาการค้าสหรัฐ-จีน: ทรัมป์"เชื่อมั่นสหรัฐสามารถบรรลุข้อตกลงการค้ากับจีน
# ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวว่า เขามีความเชื่อมั่นว่า สหรัฐจะสามารถบรรลุข้อตกลงการค้ากับจีน ทั้งนี้ ต่อข้อถามที่ว่า เขายังคงมีความมั่นใจหรือไม่เกี่ยวกับการบรรลุข้อตกลงการค้ากับจีน ปธน.ทรัมป์กล่าวว่า "แน่นอน ผมมีความมั่นใจ แต่ถ้าเราไม่สามารถทำข้อตกลงที่จะเกิดผลดีต่อประเทศของเรา ผมก็จะไม่ทำข้อตกลง"
# ต่อข้อถามที่ว่า จีนไม่ค่อยเชื่อมั่นว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงการค้ากับสหรัฐ และการจัดการประชุมกับประธานาธิบดีสีจิ้นผิงอาจจะไม่เกิดขึ้น ปธน.ทรัมป์กล่าวว่า "ผมยังไม่เคยได้ยินเรื่องนี้ ผมคิดว่าเรากำลังไปได้ดี ไม่ว่าจะมีข้อตกลงหรือไม่ก็ตาม"
- ภาวะตลาดหุ้นสหรัฐ : ดาวโจนส์ปรับลง สะท้อนผิดหวังตัวเลขจ้างงาน
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,450.24 จุด ลดลง 22.99 จุด หรือ -0.09% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่2,743.07 จุด ลดลง 5.86 จุด หรือ -0.21% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,408.14 จุด ลดลง 13.32 จุด หรือ -0.18%
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อวันศุกร์ (8 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนกังวลเกี่ยวกับการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ หลังการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานที่น่าผิดหวัง
- ภาวะตลาดน้ำมัน : WTI ปรับลง กังวลเศรษฐกิจโลกชะลอ
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย. ลดลง 59 เซนต์ หรือ 1.0% ปิดที่ 56.07 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ค. ลดลง 56 เซนต์ หรือ 0.8% ปิดที่ 65.74 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลดลงเมื่อวันศุกร์ (8 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนมีความวิตกว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอการขยายตัว และอุปสงค์ด้านพลังงานจะลดลง หลังจากสหรัฐเปิดเผยรายงานการจ้างงานที่ต่ำกว่าคาด และจีนเปิดเผยยอดส่งออกทรุดตัวลง
- ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก : ปรับขึ้น หลังดอลลาร์อ่อนค่า ตลาดหุ้นไม่ดึงดูด
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย. พุ่งขึ้น 13.20 ดอลลาร์ หรือ 1.03% ปิดที่1,299.30 ดอลลาร์/ออนซ์
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อวันศุกร์ (8 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยหลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรต่ำกว่าคาด ส่งผลกดดันดอลลาร์อ่อนค่า และฉุดตลาดหุ้นวอลล์สตรีทปรับตัวลง
ปัจจัยในประเทศและข่าวหลักทรัพย์
+ เศรษฐกิจไทย: กระทรวงการคลังมองเศรษฐกิจไทยมั่นคงค่อนข้างมาก
# รมว.คลัง ระบุว่าเสถียรภาพเศรษฐกิจของไทยในขณะนี้ถือว่ามีความมั่นคงค่อนข้างมาก ความเสี่ยงต่อการถดถอยของเศรษฐกิจมีน้อย ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลนี้ได้พยายามเติมมาตรการการคลังลงไป โดยเฉพาะเรื่องการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่จะเน้นให้ความสำคัญเป็นหลัก เนื่องจากทำแล้วได้ผลตอบแทนที่ดีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ จึงถือว่าเป็นมาตรการการคลังที่ลงทุนไปแล้วไม่สูญเปล่า
+ รองนายกฯมองเศรษฐกิจไทยหลังเลือกตั้งมีแนวโน้มจะดีขึ้น
# นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงภาพรวมสถานการณ์เศรษฐกิจช่วงโค้งสุดท้ายการเลือกตั้งว่า ช่วง3 เดือนนี้ นักลงทุนยังคงติดตามผลการเลือกตั้ง แต่เชื่อว่าหลังการเลือกตั้งผ่านพ้นไปแล้ว และมีความชัดเจนทางการเมืองทุกอย่างจะกลับมาเป็นปกติ และมีแนวโน้มที่จะดีขึ้น
# ผลกระทบ: ส่งผลบวกต่อหลักทรัพย์กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม เพราะนักลงทุนต่างประเทศจะมีความมั่นใจในการมาลงทุนยังไทยมากขึ้น เพราะไทยเปลี่ยนผ่านมาสู่ประชาธิปไตยอีกครั้งจากการเลือกตั้ง โดยเฉพาะขณะนี้นักลงทุนชาวจีน ย้ายฐานการผลิตมาไทย เพื่อผลิตและส่งออกจากไทย แต่หากมาจากจีน จะถูกสหรัฐฯจัดเก็บภาษีนำเข้าที่สูง จึงหันมาซื้อนิคมฯไทยสูงขึ้น คงคำแนะนำ ซื้อ AMATA, ROJNA และ WHA
+ การท่องเที่ยวไทย: หนุนตั้งคลัสเตอร์การท่องเที่ยว
# กระทรวงการท่องเที่ยวฯ หนุนตั้งคลัสเตอร์ท่องเที่ยว ตามแนวรถไฟทางคู่ กระจายไปเมืองรอง พร้อมดึงชุมชนร่วมทำแผนช่วยกระจายรายได้แบบยั่งยืน ทางรถไฟ ททท.จัดทัพผู้ประกอบการ 88 ราย ร่วมงานมหกรรมท่องเที่ยวโลกที่เยอรมนี
# ผลกระทบ: ส่งผลบวกต่อหลักทรัพย์กลุ่มเดินทาง-ท่องเที่ยว หลักทรัพย์ที่จะได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวในปี62 โดยเฉพาะจากนักท่องเที่ยวจีน และแนะนำ ซื้อ คือ AOT, ERW และ MINT
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]