WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
 
กลยุทธ์การลงทุน    
 
วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2562
คาดว่าตลาดน่าจะซึมซับผลตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ “ยุบพรรคไทยรักษาชาติ” และให้น้ำหนักต่อการเลือกตั้ง 24 มี.ค. ขณะที่ความกังวลต่อเศรษฐกิจที่ชะลอตัว กดดันให้ ECB หันมาใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย เป็นการตอกย้ำว่าวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นใกล้จบ น่าจะหนุน Fund flow กลับเข้ามาหุ้นเอเชีย รวมถึงไทย ทำให้ระยะสั้นดัชนียังคงแกว่งตัวลงในกรอบ 1620-1640 จุด กลยุทธ์เน้นหุ้นผันผวนน้อยกว่าตลาด พร้อมมี upside และเงินปันผลสูง ยังชอบ BCH(FV@B21) และ LH([email protected]) วันนี้เพิ่ม BJC(FV@B61) หุ้น Laggard
 
SET Index    1,633.21
เปลี่ยนแปลง (จุด)    7.70
มูลค่าการซื้อขาย (ล้านบาท)    38,623
            
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … SET Index ฟื้นตัวช่วงสั้น หลังยุบพรรค ทษช.  
วานนี้ SET Index แกว่งตัวในกรอบแคบก่อนที่จะปรับตัวขึ้นสูงในช่วงเย็น จนทำให้ปิดที่ระดับ 1632.74 จุด เพิ่มขึ้น 7.23 จุด (+0.44%) ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 3.47 หมื่นล้านบาท เพราะได้ปัจจัยหนุนจากการเมืองในประเทศ บวกกับสงครามการค้า (Trade War) ที่ผ่อนคลาย โดยหุ้นกลุ่มที่หนุนตลาดคือกลุ่มพลังงาน-ปิโตรฯ อย่าง PTT(+1.05%) PTTEP(+0.82%) PTTGC(+1.09%), กลุ่มค้าปลีกอย่าง CPALL(+1.31%) BJC(+4.10%) BEAUTY(+3.76%) และกลุ่มค้า ธ.พ. KBANK (+1.32%) KTB(+1.06%)
แนวโน้มดัชนีหุ้นไทยในวันนี้คาดว่ายังแกว่งตัวในกรอบ 1620-1640 จุด น่าจะซึมซับผลการตัดสินของ ศาลรัฐธรรมนูญให้  “ยุบพรรคไทยรักษาชาติ”  ขณะที่ความกังวลต่อเศรษฐกิจ กดดันให้ธนาคารกลางยุโรป หันมาใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายต่อเนื่อง ทำให้ใกล้สิ้นสุดวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้น กลยุทธ์เน้นหุ้นผันผวนน้อยกว่าตลาด 2 กลุ่มคือ 1L2H (BCH QH  VGI EASTW SCCC DRT GFPT) และหุ้นปันผลสูง (AP, LH, QH, KKP, BBL)  เป็นต้น  และหุ้นค้าปลีกที่ได้ประโยชน์จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้า 
ECB กระตุ้นเศรษฐกิจ ให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืมผ่าน TLTRO
ผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป(ECB) วานนี้ ยังคงดอกเบี้ยนโยบายการเงินเช่นเดิมที่ 0% (ตั้งแต่ มี.ค. 2559) เนื่องจากกังวลเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากผลกระทบของสงครามการค้า และปัญหาการเมืองของประเทศในกลุ่มยุโรป อาทิ อังกฤษ และอิตาลี จนถึงสิ้นปี 2562  จึงทำให้ ECB ปรับลด GDP Growth ยุโรปปี 2562-2563 เหลือ 1.1% และ 1.6% จากเดิม 1.7% เท่ากันทั้ง 2 ปี  (IMF คาด 1.6% และ 1.7% ในปี 2562 และ 2563) และปรับลดเงินเฟ้อปี 2562 เหลือ  1.2% จากเดิม 1.6% ล่าสุด เงินเฟ้อเดือน ก.พ. อยู่ที่ 1.5%  
นอกจากนี้ยังออกมาตรการทางการเงินเพิ่มเติม ผ่านการปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำระยะยาวแก่ธนาคารพาณิชย์ในยุโรป ครั้งที่ 3 หรือ Target longer-term refinancing operation (TLTRO-III) ระยะเวลาตั้งแต่ ก.ย.2562 – มี.ค.2564  (หลังจากเริ่มครั้งแรกระยะเวลาตั้งแต่ ก.ย. - ธ.ค. 2557  และครั้งที่ 2 ตั้งแต่ มิ.ย. 2559 - มี.ค.2560) โดยรวมเป็นการตอกย้ำว่าการใช้นโยบายการเงินโลกมีทิศทางผ่อนคลายชัดเจน เช่นเดียวกับสหรัฐ  Fed ได้ส่งสัญญาณชะลอการลดงบดุล (Balance Sheet) ภายในปีนี้ และอาจขึ้นได้ไม่เกิน 1 ครั้ง ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ก่อนหน้าที่ราว 2 ครั้ง  ล่าสุดดอกเบี้ยอยู่ที่ 2.5% 
เช่นเดียวกับฝั่งเอเชีย พบว่าบางประเทศใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายคือ อินเดีย ต้นปี 2562 ลดดอกเบี้ยจาก 6.5% เป็น 6.25% (ลดครั้งแรกในรอบ 1 ปี 6 เดือน) หลังจากเงินเฟ้อต่ำสุดในรอบ 1 ปี 8 เดือน อยู่ที่ 2.05% และต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในช่วงก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงเลือกตั้งของอินเดียช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค.  และ จีน  ม.ค.2562 ได้ลดอัตราเงินสดสำรองทางกฎหมาย (RRR) ไปแล้ว 2 ครั้ง รวม 1% เหลือ 13.5% และ ลดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แบ่งเป็นภาคการผลิตลดลงเหลือ 13% จากเดิม 16% และภาคขนส่งเหลือ 9% จากเดิม 10% ส่วนไทย การขึ้นดอกเบี้ยจะยากขึ้น  เนื่องจาก เงินเฟ้อต่ำ (ก.พ. ที่ 0.73%yoy) และสภาพคล่องในระบบยังสูง ล่าสุด  ธ.ค. 2561 อยู่ที่ราว 2.48 แสนล้านบาท 
ยุบ ทษช. ไม่กระทบตลาด แต่ต้องมองข้ามไปถึงการตั้งรัฐบาลหลังเลือกตั้ง
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ (9:0) ให้ ยุบพรรคไทยรักษาชาติ ตามคำร้องของ กกต.  พร้อมเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง กรรมการบริหารพรรคเป็นระยะเวลา 10 ปี ผลสืบเนื่องจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในกรณีดังกล่าว ทำให้ผู้สมัครรับการเลือกตั้ง ส.ส. ทั้งระบบเขต และบัญชีรายชื่อ ของพรรคไทยรักษาชาติ ขาดคุณสมบัติในการเป็นผู้สมัครรับการเลือกตั้งในรอบนี้ไปด้วย อย่างไรก็ตามหากพิจารณาผลกระทบของข่าวดังกล่าว ต่อทิศทางของ SET Index แล้ว เห็นว่าไม่ได้มีผลกระทบในเชิงลบ ซึ่งอาจเป็นเพราะเป็นสิ่งที่นักลงทุนคาดหมายไว้แล้วบางส่วน อีกทั้งไม่ได้มีผลทำให้เส้นทางที่จะเดินไปสู่การลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส. เปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ยังคงกำหนดวันเลือกตั้งตามเดิมคือ 24 มี.ค. 2562
ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญจากนี้ไป อาจต้องมองข้ามไปหลังจากการเลือกตั้งว่ารัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศ จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร จะมีเสถียรภาพมากน้อยเพียงไหน ซึ่งหากประเมินจากระบบการเลือกตั้งแบบ จัดสรรปันส่วนผสม ที่เชื่อว่าจะจำนวน ส.ส. จะถูกกระจายจากเดิมที่กระจุกที่พรรคการเมืองขนาดใหญ่ ไปสู่พรรคการเมืองขนาดกลาง – เล็ก มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลทำให้การจัดตั้งรัฐบาลต้องอาศัยพันธมิตรจากพรรคการเมืองหลายพรรค ซึ่งจากผลโพล เบื้องต้นที่เริ่มมีการเผยแพร่ เชื่อว่าเป็นไปได้มากที่การจัดตั้งรัฐบาลในรอบนี้ต้องมีพรรคร่วมรัฐบาลมากกว่า 5 พรรคขึ้นไป เพื่อที่จะครองเสียงในสภาผู้แทนราษฎร์ให้เกิน 251 เสียง ประเด็นในเรื่องของเสถียรภาพรัฐบาลจึงเป็นเรื่องที่จะอยู่ในความสนใจลำดับต่อไป
ต่างชาติสลับมาซื้อหุ้นในภูมิภาคเป็นวันแรก
ความกังวลเศรษฐกิจโลกชะลอตัวยังคงกดดันตลาดหุ้นทั่วโลก รวมถึงตลาดหุ้นภูมิภาค ขณะเดียวกันวานนี้ Fund Flow ไหลออกจากตลาดหุ้นภูมิภาค 208 ล้านเหรียญ  (ตลาดหุ้นอินโดนีเซียหยุดทำการ เนื่องจากเป็นวัน “Saka New Year”) และเป็นการขายเกือบทุกประเทศ ยกเว้นเพียงตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ที่ถูกซื้อสุทธิ 11 ล้านเหรียญ ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 3 ประเทศถูกขายสุทธิ คือ ตลาดหุ้นไต้หวันถูกขายสุทธิ 148 ล้านเหรียญ (สลับมาขายสุทธิเป็นวันที่แรก) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 53 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 3) และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิเบาบางลงเหลือเพียง 17 ล้านเหรียญ หรือ 569 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 9 มีมูลค่ารวม 1.37 หมื่นล้านบาท) สวนทางกับสถาบันในประเทศที่ซื้อขายสุทธิ 355 ล้านบาท (ซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 3)
หากพิจารณาเฉพาะตลาดหุ้นไทย ปัจจัยกดดันทางด้านการเมืองถูกรับรู้และสะท้อนในดัชนีไปบ้างแล้ว และมีแนวโน้มผ่อนคลายลงในระยะสั้น สังเกตได้จาก Fund Flow เริ่มชะลอการไหลออก และวานนี้ต่างชาติยังกลับมาซื้อสุทธิสัญญา SET50 Futures สูงถึง 1.32 หมื่นสัญญา (หลังจากขายสุทธิติดต่อกัน 5 วัน 3.47 หมื่นสัญญา)
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค
 
 
กลยุทธ์เน้นหุ้นที่มีคุณสมบัติ 1L2H และ/หรือหุ้นปันผลสูง   
คาดว่าก่อนเดินทางไปสู่การเลือกตั้ง 24 มี.ค. 2562 ตลาดหุ้นในช่วง 1-2 สัปดาห์ จะผันผวนแต่น่าจะยืนในกรอบ 1630-1670 จุด ตราบที่ยังไม่มีแรงหนุนจากต่างชาติ กลยุทธ์การลงทุนแนะนำหุ้นที่เข้าคุณสมบัติ  
1.    อิงการบริโภคในประเทศที่ได้ประโยชน์จากการใช้จ่ายภาครัฐ ตามนโยบายช่วยรากหญ้า ทั้งรัฐบาลปัจจุบันและรัฐบาลใหม่ที่จะเกิดขึ้นจากการหาเสียง ได้แก่ กลุ่มค้าปลีก ซึ่งปัจจุบัน หุ้นที่ Laggard และมี upside สูงในกลุ่มคือ BJC  ตามด้วยหุ้นที่เกี่ยวกับการปล่อยสินเชื่อผู้มีรายได้น้อยผ่านการปล่อยสินเชื่อทะเบียนรถยนต์ ได้แก่ SAWAD, MTC หรือบริษัทที่ซื้อหนี้มาบริหาร เช่น JMT   
2.    หุ้นผันผวนต่ำ แยกเป็นหุ้นที่มีคุณสมบัติ  1L2H โดย 1L คือ Low Beta คือ หุ้นที่ผันผวนต่ำน้อยกว่าตลาด  และ   2H คือ High Upside และ High Growth ปี 2562 แม้ระยะสั้นราคาหุ้นมีโอกาสปรับตัวลดลงตามสภาวะตลาดที่ไม่ดี แต่แนวโน้มกำไรที่ยังมีโอกาสโตได้ดี จะคอยช่วยพยุงและหนุนราคาหุ้นให้ปรับตัวขึ้นได้ในระยะถัดไป โดยฝ่ายวิจัยฯคัดเลือกหุ้นผันผวนต่ำ ตามกลยุทธ์ดังกล่าวได้ 7 บริษัท ดังตารางทางด้านล่าง
 
ภรณี ทองเย็น
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
 ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
 โยธิน ภูคงนิล
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
   ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!