- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 05 March 2019 16:09
- Hits: 3297
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
“กังวลตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ แม้เจรจาการค้าคืบหน้า”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : SYNTEC (จากถือเป็น Fully Valued)
ภาวะตลาดและปัจจัย : SET วานนี้ -6.14 จุด ปิดที่ 1635.30 จุด มูลค่าการซื้อขายเบาบางลงที่ 45 พันล้านบาท ดัชนีบ้านเราแย่กว่าตลาดอื่นโดยเฉพาะจีน ญี่ปุ่นและเวียดนาม แม้มีข่าวดีจากความคาดหวังเจรจาการค้าใกล้บรรลุ อาจยกเลิกภาษีนำเข้าจีน แต่เงินบาทที่อ่อนค่า เหมือนกับจะมีเงินไหลออกไปยังตลาดฯที่มีการเติบโตดี มีการปรับลดประมาณการปี 62 หลัง กำไร 4Q61 ไม่สดใส อีกทั้งต่างชาติมีการขายสุทธิต่อเนื่อง สำหรับผู้ขายสุทธิเป็น ต่างชาติ 1.6 พันลบ. สถาบัน 0.4พันลบ. และพอร์ตโบรกเกอร์ 0.3 พันลบ. ด้านผู้ซื้อสุทธิมีรายเดียวคือ รายย่อย 2.3 พันลบ. สำหรับนับตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน ต่างชาติพลิกเป็นขายสุทธิ 116 ล้านบาทแล้ว ด้านแนวโน้มตลาดและกลยุทธ์วันนี้คือ
# ระยะสั้นคาด SET มีลักษณะ Sideways แม้มีความคาดหวังเจรจาการค้าใกล้บรรลุ อาจยกเลิกภาษีนำเข้าจีนทั้งหมด แต่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ทยอยประกาศกลับอ่อนแอ ทำให้เกิดความกังวล อีกทั้งการที่จีนจะซื้อสินค้าจากสหรัฐมากขึ้น ก็อาจจะซื้อสินค้าประเทศอื่นน้อยลง
# ปัจจัยลบคือ เงินบาทอ่อนค่าเร็วต่อเนื่อง มีเงินไหลออก ตลาดหุ้นเพื่อนบ้านแกว่งลง ดัชนีความกังวล (VIX) เพิ่ม แต่ปัจจัยบวกคือ ราคาน้ำมันกลับมาดีดขึ้น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี ลดลงเป็น 2.7295% ควรติดตามแรงขายต่างชาติที่มีต่อเนื่องในระยะนี้
# กลยุทธ์ คือ หากมีแรงขายต่อ แนวรับเป็น 1630,1620 จุด แต่หาก SET รีบาวด์ เก็งกำไรรอบสั้นแนวต้านเป็น 1645-1650 จุด แต่ ด้านการซื้อลงทุนระยะกลางทยอยสะสม ส่วนดัชนีฯเป้าหมายทางพื้นฐานปี 2562 ยังเป็น 1780 จุด (+0.5 SD) ด้วยคาดการณ์อัตราการเติบโตกำไรปี 61-62 ที่ +8%/+6% ตามลำดับ แนะนำทยอยสะสมหุ้นพื้นฐานดี หุ้น Top Pick ในงวด 1Q62 คือ AOT,BBL,CPALL,HANA,PTT และ WHA
# หุ้นเด่น TU : คาดว่าช่วงนี้จะกลับมาสนใจหุ้นกลุ่มส่งออก เพราะเงินบาทกลับมาอ่อนค่า กำไรหลัก 4Q61 เป็น 1.8 พันล้านบาท (+7% ทั้ง y-o-y และ q-o-q) แรงสนับสนุนมาจากรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้น และอัตรากำไรดำเนินงาน (operating profit) ทำได้มากขึ้น อัตรากำไรขั้นต้นขยายตัวดี ทั้งธุรกิจแช่แข็ง แบบ OEM และอาหารสัตว์เลี้ยง คาดว่าปี 62 กลับมาฟื้นตัว เพราะปัจจัยราคาวัตถุดิบทูน่ากลับมามีเสถียรภาพมากขึ้น คงคำแนะนำ ซื้อ กำหนดราคาพื้นฐาน 19.70 บาท ราคาปิดมีส่วนเพิ่มเพียง 5% ถือว่าไม่สูงแล้ว จึงแนะนำ เก็งกำไรระยะสั้น
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น สัญญาณ Candlestick & Indicators เป็นลบ {“ปิดลบ”ใต้“SMA10วัน”ต่อเนื่อง (โดย“ติด”แนวต้าน และยังถูกกดดันด้วย“โครงสร้างขาลง–ระยะกลาง”)} ชี้ความน่าจะเป็นของตลาดฯวันนี้“แกว่งลง”เป็นหลัก แต่เพราะลงแรง/เร็ว (Oversold ในกราฟรายนาที) จะทำให้มีรีบาวด์ฯสั้นๆตามมาได้ แนวต้าน 1645 – 1650 (หรือ 1660) จุด {แนวรับย่อย “1630 หรือ 1620”}
สำหรับหุ้นที่คาดว่าจะทำ New High ที่เข้ามาใหม่คือ KTB,GOLD,HMPRO หุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ UNIQ,MINT,PTG,STPI,SAMART,RATCH หุ้นที่หลุด List คือRS หุ้นที่อยู่ในพื้นที่หาจังหวะ Take Profit คือ PSL
Thailand Research Team : reseach-th.dbs.com
Inside Story
Key Drivers TODAY : ปัจจัยต่างประเทศ / ปัจจัยในประเทศ
Trading Strategy : DBS ปรับลดดัชนีเป้าหมายปี 2562 เป็น 1750 จุด...เน้นลงทุน Domestic Play
Flash Note : HUMAN (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 11.30)
SYNTEC (FULLY VALUED -ราคาพื้นฐาน 2.84)
THAI (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 15.30)
In The News : วิเคราะห์ผลการดำเนินงาน 4Q61 และตลอดปี 61 ของบริษัทในตลาดหลักและMAI
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
-สหรัฐ: ตัวเลขการใช้จ่ายก่อสร้าง ธ.ค.61 อ่อนลง
# กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยเมื่อคืนนี้ว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างร่วงลง 0.6% ในเดือนธ.ค. เมื่อเทียบรายเดือนหลังจากเพิ่มขึ้น 0.8% ในเดือนพ.ย. โดยตัวเลขในเดือนธ.ค.ออกมาสวนทางกับที่จะเพิ่มขึ้น 0.2% สืบเนื่องมาจากผลกระทบของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ดีดตัวขึ้น, วัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างที่มีราคาแพง รวมทั้งการขาดแคลนที่ดิน และแรงงาน
+/- สหรัฐ: การเจรจาการค้าจีน-สหรัฐมีความคืบหน้ามาก
# หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัล รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า สหรัฐอาจยกเลิกมาตรการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าเกือบทุกรายการที่ได้บังคับใช้กับจีนตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยคาดว่าผู้นำของทั้งสองประเทศอาจจะบรรลุข้อตกลงการค้าอย่างสมบูรณ์ในการประชุมวันที่ 27 มี.ค.นี้
# วอลล์สตรีท เจอร์นัล ระบุว่า สหรัฐและจีน "อยู่ในขั้นตอนสุดท้ายของการทำข้อตกลงการค้า" โดยจีนเสนอที่จะปรับลดภาษีนำเข้า และผ่อนคลายกฎระเบียบด้านการนำเข้าสินค้าเกษตร เคมีภัณฑ์ รถยนต์ และสินค้าอื่นๆจากสหรัฐ
# ผลกระทบ: แทนที่ตลาดฯจะยินดีกับข่าวนี้ แต่บางส่วนกลับไปกังวลว่า สินค้าหลายรายการจีนจะสั่งซื้อจากภูมิภาคอื่นน้อยลง เพราะไปสั่งซื้อจากเฉพาะอเมริกาตามข้อตกลงเท่านั้น เช่น สินค้าเกษตร และก๊าซ เป็นต้น ก็จะทำให้ประเทศที่เสียเปรียบเหล่านี้ มีตัวเลขการส่งออกที่จะชะลอลงมากในอนาคต รวมทั้งประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย
- สหรัฐ: หุ้นธุรกิจสุขภาพและประกันสุขภาพร่วงลงแรง
# ปัจจัยที่ฉุดหุ้นธุรกิจสุขภาพและกลุ่มประกันสุขภาพร่วงลงนั้น มาจากรายงานข่าวที่ว่า วุฒิสมาชิกสหรัฐได้เสนอร่างกฎหมายที่จะผลักดันให้ชาวอเมริกันทุกคนเข้าสู่ระบบประกันสุขภาพของรัฐบาล รวมทั้งข่าวที่ว่า บริษัทเพอร์ดู ฟาร์มา ซึ่งเป็นผู้ผลิตยา OxyContin เตรียมยื่นขอพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 11 ของกฎหมายล้มละลายแห่งสหรัฐ
- ภาวะตลาดหุ้นสหรัฐ : ดาวโจนส์ปรับลง ผิดหวังข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ หุ้นสุขภาพดิ่ง
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,819.65 จุด ร่วงลง 206.67 จุด หรือ -0.79% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่2,792.81 จุด ลดลง 10.88 จุด หรือ -0.39% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,577.57 จุด ลดลง 17.79 จุด หรือ -0.23%
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์เมื่อคืนนี้ (4 มี.ค.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างร่วงลงในเดือนธ.ค. ซึ่งสวนทางกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ นอกจากนี้ การร่วงลงของหุ้นกลุ่มธุรกิจสุขภาพและกลุ่มประกันสุขภาพยังเป็นอีกปัจจัยที่ฉุดตลาดหุ้นดิ่งลงเช่นกัน หลังจากที่ในช่วงแรก ตลาดได้รับแรงหนุนจากการความหวังเกี่ยวกับการทำข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐและจีน
+ ภาวะตลาดน้ำมัน : WTI ปรับขึ้น รับผลเจรจาการค้าคืบหน้าและโอเปกลดผลผลิต
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 79 เซนต์ หรือ 1.4% ปิดที่ 56.59 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 60 เซนต์ หรือ 0.9% ปิดที่ 65.67 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (4 มี.ค.) ขานรับความหวังที่ว่าสหรัฐและจีนอาจบรรลุข้อตกลงการค้าในเร็วๆนี้ นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และรัสเซียซึ่งเป็นผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปก
+ ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก : ปรับลง หลังดอลลาร์แข็งค่า
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย. ร่วงลง 11.70 ดอลลาร์ หรือ 0.9% ปิดที่1,287.50 ดอลลาร์/ออนซ์
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงติดต่อกันเป็นวันที่ 6 เมื่อคืนนี้ (4 มี.ค.) โดยได้รับแรงกดดันจากสกุลเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ขณะที่นักลงทุนจับตาแนวโน้มการทำข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐและจีน หลังจากสื่อรายงานว่าทั้งสองประเทศใกล้จะบรรลุข้อตกลงกันในไม่ช้านี้
• ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่จะทยอยประกาศต่อไป
# นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนก.พ.จากมาร์กิต, ดัชนีภาคบริการเดือนก.พ. จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), ยอดขายบ้านใหม่เดือนธ.ค., ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนก.พ.จาก ADP, ดุลการค้าเดือนธ.ค., รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Bookจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ผลิตภาพ-ต้นทุนแรงงานต่อหน่วยไตรมาส4/2561 และตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนก.พ.
ปัจจัยในประเทศและข่าวหลักทรัพย์
-การเมืองไทย: เข้าใกล้วันศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน การยุบพรรคไทยรักษาชาติ
# 7 มี.ค.62 เป็นวันครบกำหนดตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน การยุบพรรคไทยรักษาชาติ ทำให้นักลงทุนบางส่วนชะลอการลงทุน เพื่อรอดูสถานการณ์ (Wait & See) เพราะหากหายไป 1 พรรค ก็จะทำให้ตัวเลือกในการเลือกตั้งหายไป
-/• ธปท: ยังติดตามสถานการณ์เงินบาท ที่มีความผันผวนสูงในขณะนี้
# ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ตั้งแต่ต้นปี 2562 เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้น 2.3% เป็นผลจากดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า และการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยเป็นสำคัญ ขณะที่เงินลงทุนในหลักทรัพย์ของนักลงทุนต่างชาติไม่ได้ทำให้เงินบาทแข็งค่า ดังที่เห็นจากตัวเลขส่วนนี้ว่าเป็นการไหลออกสุทธิ ภาพรวมเงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับสกุลเงินของประเทศ emerging markets และประเทศเพื่อนบ้าน โดยการแข็งค่าและความผันผวนของเงินบาทอยู่ในระดับกลางๆ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในบางช่วงที่เงินบาทแข็งค่าเร็วในลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับพื้นฐานเศรษฐกิจ ธปท. ได้เข้าดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เวลากับเอกชนในการปรับตัว ในระยะข้างหน้า ค่าเงินบาทยังมีแนวโน้มผันผวนเคลื่อนไหวได้ 2 ทาง ตามความผันผวนของเศรษฐกิจและตลาดการเงินโลก
•/+ ธปท: ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ก.พ.62 อยู่ในระดับทรงตัวใกล้เคียงเดือนก่อนที่ 49.9
# ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ก.พ.62 อยู่ในระดับทรงตัวใกล้เคียงเดือนก่อนที่49.9 โดยความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในภาคที่มิใช่การผลิตปรับดีขึ้น ขณะที่ความเชื่อมั่นในภาคการผลิตปรับลดลงส่วนในอีก 3 เดือนข้างหน้า ดัชนีฯ ทรงตัวจากเดือนก่อน อยู่ที่ระดับสูงกว่า 50 ในเกือบทุกองค์ประกอบ สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่มองว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะยังคงขยายตัวต่อเนื่องในอนาคต
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]