WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

DBSบล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
 
“คาดหวังเจรจาการค้าใกล้บรรลุ แต่บาทอ่อนเร็ว”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : --
ภาวะตลาดและปัจจัย : SET วันศุกร์ -12.04 จุด ปิดที่ 1641.44 จุด มูลค่าการซื้อขายปานกลางที่ 48.4 พันล้านบาท ดัชนีบ้านเราแย่กว่าตลาดอื่นในภูมิภาคแถบนี้ที่ส่วนใหญ่ปรับขึ้น ดัชนีฯได้รับปัจจัยลบจากการเจรจาสหรัฐ-เกาหลีเหนือไม่คืบหน้า กลับมากังวลสงครามการค้าจีน-สหรัฐ เงินบาทกลับมาอ่อนค่า เหมือนกับจะมีเงินไหลออก และบอนด์ยิลด์สหรัฐกลับมาเพิ่ม อีกทั้งต่างชาติมีการขายสุทธิต่อเนื่อง สำหรับผู้ขายสุทธิเป็น สถาบัน 3.1 พันลบ. ต่างชาติ 1.8 พันลบ. ด้านผู้ซื้อสุทธิคือรายย่อย 4.4 พันลบ. พอร์ตโบรกเกอร์ 0.5 พันลบ. สำหรับนับตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน ต่างชาติยังเป็นซื้อสุทธิ 1.5 พันล้านบาท ด้านแนวโน้มตลาดและกลยุทธ์วันนี้คือ
# ระยะสั้นคาด SET มีลักษณะไปในทางบวก จากความคาดหวังเจรจาการค้าใกล้บรรลุ อาจยกเลิกภาษีนำเข้าจีนทั้งหมด ดัชนีภาคการผลิตจีนและตัวเลขแรงงานเยอรมันออกมาดี เข้าลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น ตลาดหุ้นเพื่อนบ้านและดาวโจนส์ล่วงหน้าเป็นบวก VIX ลดลง
# แต่ปัจจัยลบคือ เงินบาทอ่อนค่าเร็วผิดปกติ มีเงินไหลออก ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐหลายตัวออกมาซบเซา อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปีสูงขึ้น ผลประกอบการบริษัทในตลาดฯงวด 4Q61 ไม่สดใส และตลอดปีค่อนไปทางทรงตัว ไม่เติบโตนัก ส่วนราคาน้ำมันปรับลง
# กลยุทธ์ คือ หาก SET ปรับขึ้น เก็งกำไรรอบสั้นแนวต้านเป็น 1650-1660 จุด แต่หากมีแรงขายต่อ แนวรับเป็น 1635,1630 จุด ด้านการซื้อลงทุนระยะกลาง ทยอยสะสม ส่วนดัชนีฯเป้าหมายทางพื้นฐานปี 2562 ยังเป็น 1780 จุด (+0.5 SD) ด้วยคาดการณ์อัตราการเติบโตกำไรปี 61-62 ที่ +8%/+6% ตามลำดับ แนะนำทยอยสะสมหุ้นพื้นฐานดี หุ้น Top Pick ในงวด 1Q62 คือ AOT,BBL,CPALL,HANA,PTT และ WHA
# หุ้นเด่น BEM : แม้จะมีการประท้วงจากสหภาพแรงงาน กทพ. แต่ก็คาดว่าจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการที่บอร์ดกทพ.ให้ขยายอายุสัมปทานออกไป 37 ปี เพื่อลดหนี้ข้อพิพาทที่มีต่อกัน ข้อดีคือ จะมีความมั่นคงในระยะยาวและจะตัดค่าเสื่อมราคาน้อยลงไปมากเพราะไม่มีเงินลงทุนใหม่ ส่งผลให้กำไรสุทธิบรรทัดสุดท้ายปี 62 จะขยายตัวถึง 68% และเติบโตได้ดีต่อในปี 63 ล่าสุดบอร์ดมีมติอนุมัติให้นำเสนอต่อที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ในวันที่ 18 มี.ค.62 เพื่อพิจารณาอนุมัติในเรื่องข้างต้นคาดว่าจะผ่านฉลุย แนะนำ ซื้อ ราคาพื้นฐานเป็น 11.80 บาท
 
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น สัญญาณ Candlestick & Indicators เป็นลบ {“ปิดลบแรง”ใต้“SMA10วัน”ต่อ (โดยยัง“ติด”แนวต้าน และยังถูกกดดันด้วย“โครงสร้างขาลง – ระยะกลาง”)} ชี้ความน่าจะเป็นของSET50สัปดาห์นี้“แกว่งลง”เป็นหลัก แต่เพราะลงแรง/เร็ว (Oversold ในกราฟรายนาที) จะทำให้มีรีบาวด์ฯสั้นๆตามมาได้ แนวต้าน 1100 (หรือ 1105 – 1110) จุด {แนวรับย่อย “1085 – 1080” จุด)}
 
สำหรับหุ้นที่คาดว่าจะทำ New High ที่เข้ามาใหม่คือ STPI,SAMART,RATCH,RS หุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ UNIQ,PSL,MINT,PTG หุ้นที่หลุด List คือ PYLON,DCCหุ้นที่อยู่ในพื้นที่หาจังหวะ Take Profit คือ OSP,TQM 
Thailand Research Team : reseach-th.dbs.com
 
 
Inside Story
Key Drivers TODAY : ปัจจัยต่างประเทศ / ปัจจัยในประเทศ
Flash Note : BDSM (ถือ -ราคาพื้นฐาน 23.00)
NWR (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 1.07)
STEC (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 31.00)
Key takeaway : TTW (คำแนะนำ: Not rated)
In The News : ข่าวเด่นวันนี้
Turnover List Watch : SISB ติด Cash Balance ตามคาด ตั้งแต่ 4 มี.ค.-12 เม.ย.62
 
 
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
+ สหรัฐ: การเจรจาการค้าเป็นไปในทางบวก
# นักลงทุนมีความหวังครั้งใหม่เกี่ยวกับการทำข้อตกลงการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ หลังสำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่าเจ้าหน้าที่สหรัฐกำลังจัดเตรียมข้อตกลงการค้าสำหรับการลงนามของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ในช่วงกลางเดือนนี้
# สื่อต่างประเทศรายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า สหรัฐและจีนใกล้บรรลุข้อตกลงการค้า โดยสหรัฐอาจยกเลิกมาตรการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเกือบทั้งหมด หรือทั้งหมด หากจีนดำเนินการตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ ซึ่งครอบคลุมถึงคำมั่นสัญญาเกี่ยวกับการปกป้องสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา ไปจนถึงการซื้อสินค้าจำนวนมากจากสหรัฐ
# ทางฝั่งจีนกำลังเสนอที่จะปรับลดภาษีนำเข้าสินค้าเกษตร เคมีภัณฑ์ รถยนต์ และสินค้าอื่นๆจากสหรัฐ พร้อมกับเสนอว่าจะซื้อก๊าซธรรมชาติจากบริษัท Cheniere Energy ในเมืองฮุสตัน มูลค่าราว 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์
# ด้านสื่อต่างประเทศรายงานว่า เจ้าหน้าที่สหรัฐกำลังเตรียมข้อตกลงการค้าในขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐ และนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน จะลงนามร่วมกันในไม่ช้านี้ พร้อมระบุว่า การประชุมสุดยอดระหว่างผู้นำสหรัฐและจีนอาจจะเกิดขึ้นในช่วงกลางเดือนมี.ค.นี้
 
- สหรัฐ: ตัวเลขเศรษฐกิจประกาศวันศุกร์ หลายดัชนีอ่อนลง
# ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 93.8 ในช่วงท้ายเดือนก.พ. โดยต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 95.8 หลังจากแตะระดับ 95.5 ในช่วงต้นเดือนก.พ.
# กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ ขยับขึ้น 0.2% ในเดือนธ.ค. เมื่อเทียบรายเดือนหลังจากเพิ่มขึ้น 0.2% เช่นกันในเดือนพ.ย. และเมื่อเทียบรายปี ดัชนี PCE พื้นฐานปรับตัวขึ้น 1.9% ในเดือนธ.ค. หลังจากพุ่งแตะระดับ 2% ซึ่งเป็นเป้าหมายเงินเฟ้อของเฟด ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2555
# ด้านไอเอชเอส มาร์กิต เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) สำหรับภาคการผลิตของสหรัฐ ปรับตัวลงสู่ระดับ 53.0ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนส.ค.2560 จากระดับ 54.9 ในเดือนม.ค. อย่างไรก็ดี ดัชนี PMI ยังคงอยู่สูงกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ว่าภาคการผลิตยังคงมีการขยายตัว
# รายงานของมาร์กิตสอดคล้องกับผลสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) ซึ่งระบุว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐร่วงลงสู่ระดับ 54.2 ในเดือนก.พ. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.2559 โดยต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 55.5 หลังจากแตะระดับ 56.6 ในเดือนม.ค.
 
+ จีน เยอรมัน: ตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุด ออกมาดี
# การเปิดเผยดัชนี PMI ภาคการผลิตจีนที่ดีดตัวขึ้นในเดือนก.พ. และการเปิดเผยข้อมูลตลาดแรงงานเยอมนีที่ยังคงแข็งแกร่งในเดือนก.พ.
 
-/+ ค่าเงินดอลลาร์: แข็งค่า จากความหวังครั้งใหม่ในการเจรจาการค้า
# ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (1 มี.ค.) โดยได้แรงหนุนจากความหวังครั้งใหม่เกี่ยวกับการทำข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐและจีน
 
+ ภาวะตลาดหุ้นสหรัฐ : ดาวโจนส์ปรับขึ้น มองดีผลการเจรจาการค้า
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 26,026.32 จุด เพิ่มขึ้น 110.32 จุด หรือ +0.43% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่2,803.69 จุด เพิ่มขึ้น 19.20 จุด หรือ +0.69% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,595.35 จุด เพิ่มขึ้น 62.82 จุด หรือ +0.83%
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อวันศุกร์ (1 มี.ค.) เนื่องจากตลาดได้แรงหนุนหลังบริษัทจดทะเบียนเปิดเผยผลประกอบการไตรมาส 4/2561 ออกมาแข็งแกร่งเกินคาด ขณะที่นักลงทุนปรับตัวรับการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ผันผวนของสหรัฐ และมีความหวังครั้งใหม่เกี่ยวกับการทำข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน
 
- ภาวะตลาดน้ำมัน : WTI ปรับลง หลังตัวเลขการผลิตสหรัฐซบเซาลง
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย. ร่วงลง 1.42 ดอลลาร์ หรือ 2.5% ปิดที่ 55.80 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ค. ลดลง 1.24 ดอลลาร์ หรือ 1.9% ปิดที่ 65.07 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (1 มี.ค.) หลังการเปิดเผยตัวเลขภาคการผลิตที่ซบเซาของสหรัฐ ทำให้นักลงทุนมีความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของอุปสงค์น้ำมัน
 
+ ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก : ปรับลง หลังดอลลาร์แข็งค่า นักลงทุนเบนไปสินทรัพย์เสี่ยง
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย. ร่วงลง 16.90 ดอลลาร์ หรือ 1.3% ปิดที่1,299.20 ดอลลาร์/ออนซ์
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงเมื่อคืนนี้ (28 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนลดการถือครองทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ขณะที่การปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นทั่วโลก และการแข็งค่าของดอลลาร์ ได้ลดความน่าดึงดูดของทอง
 
ปัจจัยในประเทศและข่าวหลักทรัพย์
-/• กำไรสุทธิ 4Q61 ของตลาดปรับลง 38% y-o-y หากไม่นับกลุ่มพลังงาน & ปิโตรเคมียังปรับลง 10% y-o-y
# จากข้อมูลถึงปลายสัปดาห์ก่อน กำไรสุทธิ 4Q61 ของตลาดปรับลง 38% y-o-y เป็น 159,791 ล้านบาท หากไม่นับกลุ่มพลังงาน & ปิโตรเคมีที่มีกำไรสุทธิน้อยในงวด 4Q61 เนื่องจากมีขาดทุนจากสต็อคสินค้าจำนวนมาก จากการที่ราคาน้ำมันปรับตัวลงอย่างมากในช่วง 4Q61 กำไรสุทธิก็ยังปรับลงในอัตรา 10% y-o-y เป็น 127,771 ล้านบาท แสดงว่ากำไรในงวด4Q61 ออกมาไม่ดีนัก
# ด้านกำไรสุทธิตลอดปี 2561 ของตลาดอยู่ในเกณฑ์ทรงตัวเป็น 949,795 ล้านบาท ขณะที่กำไรสุทธิของกลุ่มพลังงาน &ปิโตรเคมี ไม่มีความผันผวนนัก จึงไม่ได้นำมาหักออก เช่นเดียวกับงวด 4Q61
 
+/• อัตราเงินเฟ้อ ก.พ.62 เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย
# สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.พ.62 อยู่ที่ 101.95 เพิ่มขึ้น 0.73% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 0.24% จากเดือน ม.ค.62 การเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาสินค้ากลุ่มอาหารสด เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงินเฟ้อในเดือนก.พ. 62 สูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2
# ผู้อำนวยการ สนค. ยอมรับว่า อาจจะต้องมีปรับประมาณการเงินเฟ้อในไตรมาสแรกที่วางไว้ที่ 0.67% เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อในเดือนม.ค. อยู่ในระดับ 0.27% ซึ่งถือว่าต่ำเกินไป แม้อัตราเงินเฟ้อเดือนก.พ.จะปรับตัวสูงขึ้นในระดับ 0.73% แต่เฉลี่ย 2 เดือนอยู่ที่ 0.49% แต่ในขณะนี้ยังคงกรอบอัตราเงินเฟ้อปี 62 อยู่ที่ 0.7- 1.7% โดยมีค่ากลางที่ 1.2%
 
-ยังต้องติดตามหนี้สินครัวเรือน และยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล
# สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 4 และภาพรวม ปี 2561โดยระบุว่า หนี้สินครัวเรือนไตรมาส 3/61 หนี้สินครัวเรือนเท่ากับ 12.56 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.9% และคิดเป็นสัดส่วนต่อGDP เท่ากับ 77.8% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน สำหรับไตรมาส 4/61 ยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลของธนาคารพาณิชย์ที่ขยายตัว 9.4% ด้านความสามารถในการชำระหนี้เริ่มส่งสัญญาณที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
 
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]
 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!