- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 22 February 2019 20:49
- Hits: 4539
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
“ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐอ่อน แต่เจรจาการค้าโทนบวก”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : --
ภาวะตลาดและปัจจัย : SET วานนี้ +1.94 จุด ปิดที่ 1647.32 จุด มูลค่าการซื้อขายปานกลางที่ 44.5 พันล้านบาท ดัชนีแกว่งแคบสอดคล้องกับภูมิภาคแถบนี้ ถือว่าตลาดรับรู้ข่าวบวกเรื่องผลการเจรจาการค้าที่วอชิงตันออกมาดี รายงานบันทึกการประชุมเฟดจะยังคงอัตราดอกเบี้ยและยุติการลดงบดุลก่อนสิ้นปี 62 และราคาน้ำมันปรับขึ้นต่อเนื่องไปพอควรแล้ว และหุ้นรายตัวได้รับผลกระทบจากผลกำไรปี 61 ที่ออกมา ผู้ขายสุทธิเป็น รายย่อย 1.0 พันลบ. ต่างชาติ 0.3 พันลบ. ด้านผู้ซื้อสุทธิคือ สถาบัน 1.1 พันลบ. และพอร์ตโบรกเกอร์ 0.2 พันลบ. สำหรับต้นปีถึงปัจจุบันสถาบันและต่างชาติซื้อสุทธิ 24.7 และ 5.5 พันลบ. ตามลำดับ ผู้ขายสุทธิหนักคือ รายย่อย ด้านแนวโน้มตลาดและกลยุทธ์วันนี้คือ
# ระยะสั้นคาด SET Sideways ทางลบ หลังตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ และยุโรปไม่สดใส ราคาน้ำมันปรับฐาน บาทกลับมาอ่อนเล็กๆ ตลาดหุ้นเพื่อนบ้านส่วนใหญ่เปิดมาเป็นลบแคบๆ เช่นเดียวกับดาวโจนส์ล่วงหน้า แต่ปัจจัยบวกคือ แนวโน้มการเจรจาการค้าออกมาในโทนบวก
# ปัจจัยในประเทศ ยังต้องติดตามการเมือง โดยเฉพาะประเด็นการยุบพรรค ติดตามผลประกอบการปี 61 และการจ่ายปันผล รวมทั้งข่าวการเก็งกำไรหุ้นรายตัว และแรงขายหุ้นที่มีผลการดำเนินงานออกมาน่าผิดหวังกว่าคาด
# กลยุทธ์ คือ หาก SET ปรับขึ้น เก็งกำไรรอบสั้นได้แนวต้านเป็น 1650-1660 จุด แต่หากมีแรงขายต่อ แนวรับเป็น 1630,1620 จุด ด้านการซื้อลงทุนระยะกลางทยอยสะสม ส่วนดัชนีฯเป้าหมายทางพื้นฐานปี 2562 ยังเป็น 1780 จุด (+0.5 SD) ด้วยคาดการณ์อัตราการเติบโตกำไรปี 61-62 ที่ +8%/+6% ตามลำดับ แนะนำทยอยสะสมหุ้นพื้นฐานดี หุ้น Top Pick ในงวด 1Q62 คือ AOT,BBL,CPALL,HANA,PTT และ WHA
# หุ้นเด่น GOLD : กำไรสุทธิ 1Q62 (สิ้นสุด ธ.ค.61) เป็น 459 ล้านบาท -26% และอ่อนกว่าคาด อัตรากำไรขั้นต้นของรายได้ขายที่น้อยกว่าคาด และค่าใช้จ่ายขาย-บริหารที่สูงเป็นตัวฉุด ขณะที่รายได้รวมทรงตัว กำไร 1Q62 เป็นสัดส่วน 18% เทียบกับประมาณการ แต่คาดว่าจะเร่งตัวขึ้นในช่วงที่เหลือของปี คงคำแนะนำ ซื้อราคาพื้นฐาน 10.86 บาท คาดกำไรหลักปีนี้โตดี 20% y-o-y ทำสถิติสูงสุดใหม่ และปันผลได้สูง
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น สัญญาณ Candlestick & Indicators ยังเป็น(แค่)บวกเล็กๆ {“ปิดบวกเล็กน้อย”เหนือ“SMA10วัน”อีกครั้ง (โดย“ติด”แนวต้านและยังถูกกดดันด้วย“โครงสร้างขาลง–ระยะกลาง”)} ชี้ความน่าจะเป็นของตลาดฯวันนี้“แกว่ง”แบบให้น้ำหนักกับการลง แต่“ค่าบวก” จะช่วยให้มีรีบาวด์ฯสั้นๆก่อน(แล้วจึงลงต่ำ,ตามมา)ได้ แนวต้าน 1650 – 1660 จุด {แนวตัดขาดทุน “ต่ำกว่า 1640” (แนวรับย่อย “1630 – 1620 / 1610” จุด)}
สำหรับหุ้นที่คาดว่าจะทำ New High ที่เข้ามาใหม่คือ TASCO,PYLON,TRUE,UTP,BTS,BLA หุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ GUNKUL,RATCH,GPSC,TISCO,KTC,HANA, GLOW, VNT หุ้นที่หลุด List VGI,GFPT,RCL หุ้นที่อยู่ในพื้นที่หาจังหวะ Take Profit OSP,STA
Thailand Research Team : reseach-th.dbs.com
Inside Story
Key Drivers TODAY : ปัจจัยต่างประเทศ / ปัจจัยในประเทศ
Company Guide : GFPT (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 15.80)
Flash Note : ASIAN (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 10.95)
BOFFICE (Review)
CPALL (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 81.00)
SC (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 3.44)
TEAMG (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 2.47)
In The News : BH : กำไร 4Q61 เป็นไปตามคาด
SAWAD : เปิดทางให้คาเธ่ย์ ไต้หวันเข้ามาเป็นพันธมิตรธุรกิจ
ข่าวเด่นวันนี้
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
- สหรัฐ: ตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัว ออกมาอ่อน
# สหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซา โดยธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาฟิลาเดลเฟียเปิดเผยว่า ดัชนีการผลิตเดือนก.พ. อยู่ที่ระดับ -4.1 ซึ่งลดลงจากระดับ 17.0 ในเดือนม.ค. โดยดัชนีการผลิตติดลบเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2559ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าดัชนีจะอยู่ที่ระดับ 14.0
# ขณะที่สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านมือสองร่วงลง 1.2% สู่ระดับ4.94 ล้านยูนิตในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2558 ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่ายอดขายบ้านจะอยู่ที่ 5 ล้านยูนิตในเดือนม.ค.
# ทางด้านกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 23,000 ราย สู่ระดับ 216,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว แต่ตัวเลขค่าเฉลี่ย 4 สัปดาห์ของจำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ซึ่งถือเป็นมาตรวัดตลาดแรงงานที่ดีกว่านั้น เพิ่มขึ้น 4,000 ราย สู่ระดับ 235,750 ราย ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.ปีที่แล้ว
+ สหรัฐ: ติดตามการเจรจาการค้าสิ้นสุดวันนี้ แนวโน้มเป็นบวก
# สื่อต่างประเทศรายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า เจ้าหน้าที่สหรัฐและจีนได้เริ่มร่างบันทึกความเข้าใจ (MoU) เพื่อคลี่คลายประเด็นที่ยุ่งยากที่สุดของข้อพิพาทการค้าระหว่างทั้งสองฝ่าย ซึ่งถือเป็นความคืบหน้าที่สำคัญที่สุดที่จะนำไปสู่การยุติสงครามการค้าที่ยื้ดเยื้อมาเป็นเวลานานถึง 7 เดือน
# แหล่งข่าวระบุว่า คณะผู้แทนของสหรัฐและจีนกำลังร่าง MoU จำนวน 6 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเชิงโครงสร้าง ซึ่งได้แก่ การโอนถ่ายเทคโนโลยีและการโจรกรรมทางไซเบอร์ สิทธิในการครอบครองทรัพย์สินทางปัญญา การบริการ ค่าเงินการเกษตร และกำแพงการค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาษีศุลกากร
# ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐและจีนได้เริ่มการเจรจาการค้ารอบใหม่ที่กรุงวอชิงตันเมื่อวานนี้ และจะเสร็จสิ้นในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ ขณะที่ทั้งสองฝ่ายต่างก็คาดหวังที่จะบรรลุข้อตกลงการค้าให้ได้ก่อนสิ้นเดือนก.พ.
-ยุโรป: ข้อมูลเศรษฐกิจไม่สดใส
# ผลสำรวจภาคธุรกิจที่เปิดเผยเมื่อวานนี้บ่งชี้ว่า ภาคการผลิตของยูโรโซนชะลอตัวลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่กลางปี 2013นำโดยภาคการผลิตของเยอรมนี ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นของยูโรโซนในเดือนก.พ.อยู่ที่ระดับ 49.2 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 68 เดือน ลดลงจากระดับ 50.5 เมื่อเดือนม.ค.
- ภาวะตลาดหุ้นสหรัฐ : ดาวโจนส์ปรับลง วิตกข้อมูลเศรษฐกิจ และหุ้นพลังงาน-สุขภาพร่วง
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,850.63 จุด ลดลง 103.81 จุด หรือ -0.40% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่2,774.88 จุด ลดลง 9.82 จุด หรือ -0.35% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,459.71 จุด ลดลง 29.36 จุด หรือ -0.39%
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (21 ก.พ.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ซึ่งรวมถึงยอดขายบ้านมือสองที่ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 3 ปี นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงของหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มธุรกิจเพื่อสุขภาพ อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นนิวยอร์กได้รับปัจจัยหนุนในระหว่างวัน จากรายงานข่าวที่ว่า การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีนมีแนวโน้มคืบหน้า
- ภาวะตลาดน้ำมัน : WTI ปรับลง กังวลสต็อกสหรัฐเพิ่ม
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมี.ค. ลดลง 20 เซนต์ หรือ 0.4% ปิดที่ 56.96 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนเม.ย. ขยับลง 1 เซนต์ ปิดที่ 67.07 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (21 ก.พ.) หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบพุ่งขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 5 ขณะที่การผลิตน้ำมันของสหรัฐพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
+ ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก : ปรับลง จากดอลลาร์แข็งค่า และรายงานบันทึกประชุมเฟด
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย. ร่วงลง 20.10 ดอลลาร์ หรือ 1.49% ปิดที่1,327.80 ดอลลาร์/ออนซ์
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (21 ก.พ.) หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมประจำเดือนม.ค. ซึ่งระบุถึงแผนยุติการปรับลดงบดุลของเฟด นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังได้รับแรงกดดันจากสกุลเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ
ปัจจัยในประเทศและข่าวหลักทรัพย์
+ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมประจำเดือน ม.ค.62 เพิ่มขึ้น
# สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เผยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมประจำเดือน ม.ค.62 อยู่ที่ระดับ 93.8ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 93.2 ในเดือน ธ.ค.61 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นในองค์ประกอบยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวมปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 104.1 ลดลงจาก105.9 ในเดือน ธ.ค.61 เนื่องจากผู้ประกอบการกังวลเรื่องเงินบาทแข็งค่า และภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความเสี่ยงโดยเฉพาะการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน ทำให้การส่งออกมีแนวโน้มชะลอตัว รวมทั้งต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันและดอกเบี้ย
-ยานยนต์: ยอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปในเดือน ม.ค.62 ลดลงเกือบทุกตลาด
# นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ส.อ.ท.เผยยอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปในเดือน ม.ค.62 อยู่ที่ 81,583 คัน ลดลง 0.59% จากเดือน ม.ค.61 โดยส่งออกลดลงเกือบทุกตลาด เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าชะลอตัวลง ยกเว้นตลาดเอเชีย ตลาดตะวันออกกลาง และตลาดอเมริกาเหนือ โดยการส่งออกดังกล่าวคิดเป็นมูลค่า 40,816.86 ล้านบาท ลดลง 2.85% จากเดือน ม.ค.61
-ส่งออก: ผลลบจากเงินบาทแข็งค่า
# นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธาน ส.อ.ท.ระบุสถานการณ์เงินบาทที่แข็งค่าอยู่ในขณะนี้ส่งผลให้ผู้ส่งออกเกิดความอึดอัดและลดความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ และหากเงินบาทปรับลดต่ำกว่า 31 บาท/ดอลลาร์ คงต้องขอนัดหารือกับผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อหารือถึงแนวทางแก้ไขผลกระทบ
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]