WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
 
กลยุทธ์การลงทุน
คาด SET Index ยังผันผวน ในกรอบ 1640-1660 จุด แรงกดดันจากภายนอกที่ลดลง โดยเฉพาะสงครามการค้าสหรัฐ-จีน มีพัฒนาการเชิงบวก และ Fed ส่งสัญญาณใช้นโยบายผ่อนคลายน่าจะหนุน Fund Flow กลับมา แม้อาจถูกกดดันด้วยปัจจัยการเมืองในประเทศ และ การย่อยข่าวบริษัทจดทะเบียนที่รายงานงบ 4Q61 กลยุทธ์เน้นรายหุ้นที่จ่ายเงินปันผลเด่นและใกล้ขึ้น XD (QH, LH,KKP, THANI, BBL) Top pick เลือก PTTEP(FV@B168) ราคาหุ้นยังไม่สะท้อนราคาน้ำมันที่ขึ้นแตะ66 เหรียญฯ เกินสมมติฐาน ASPS และยังชอบ PTT(FV@B56)
 
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทยวานนี้ … SET Index เงียบเหงา
วานนี้ SET Index แกว่งตัว Sideway ตลอดวัน ก่อนจะปิดที่ระดับ 1647.32 จุด เพิ่มขึ้น 1.94 จุด (+0.12%) มูลค่าการซื้อขาย 4.45 หมื่นล้านบาท มาจากการที่ Fed หันมาใช้นโยบายผ่อนคลาย โดยมีแนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยน่าจะขึ้นได้ไม่ถึง 2 ครั้ง โดยกลุ่มที่หนุนตลาดมาจากหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะหุ้นขนาดใหญ่ อย่าง BBL ปรับตัวขึ้นอีก 1.93% รวมถึง KBANK และ BAY ที่ปรับตัวขึ้น 0.51% และ 1.33% ตามลำดับ รวมทั้งกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เช่น LPN ที่ปรับตัวขึ้น (2.74%)และ CPN ที่ปรับตัวขึ้น (2.99%)
 
วันนี้ดัชนีหุ้นไทยมีโอกาสผันผวน ไม่แตกต่างจากวานนี้ แต่กรอบการเคลื่อนไหวมีโอกาสขยับขึ้นเป็น1640-1660 จุด เพราะเชื่อว่าแรงกดดันจากภายนอกที่ลดน้อยลง โดยเฉพาะสงครามการค้าสหรัฐ-จีนยังมีพัฒนาการเชิงบวก เมื่อจีนยังคงเพิ่มยอดนำเข้าจากสหรัฐ เพื่อลดการได้ดุลการค้ากับสหรัฐ และFed ส่งสัญญานการใช้นโยบายผ่อนคลาย โดยหยุดการถอนเงินออกจากระบบ (ผ่านQE) และการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือน้อยลง น่าจะหนุน Fund Flow กลับมาเอเชียรวมถึงไทย ขณะที่แรงขายรับงบ4Q61 ของหุ้นในกลุ่ม real sector น่าจะลดน้อยลง เพราะหลังจากนี้จะทยอยประกาศ XD ตามมาจีนยอดนำเข้าจากสหรัฐเพิ่ม สงครามการค้าผ่อนคลาย
 
การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน ที่กรุง Washington ยังคาดยังมีท่าทีที่ผ่อนคลายขึ้นตามลำดับก่อนที่จะถึงเส้นตาย 1 มี.ค. 2562 ล่าสุด จีนเสนอจะนำเข้าสินค้าเกษตรจากสหรัฐเพิ่มเติมอีก 3 หมื่นล้านเหรียญ โดยคาดว่าจะเน้นไปที่สินค้าธัญพืช อาทิ ข้าวสาลี, ข้าวโพด, ถั่วเหลือง เป็นต้น ซึ่งหากในปีนี้ จีนนำเข้าสินค้าเกษตรได้ตามที่เสนอไว้จะส่งผลให้ปี 2562 จีนจะนำเข้าสินค้าเกษตรจากสหรัฐเป็น4.62 หมื่นล้านเหรียญ เทียบกับเมื่อปี 2561 ที่จีนนำเข้าสินค้าเกษตร 1.62 หมื่นล้านเหรียญ (ลดลงจาก2.42 หมื่นล้านเหรียญ ในปี 2560) เพราะจีนตอบโต้สหรัฐนับจาก กลางปี 2561
 
ด้วยเหตุนี้ทำให้เชื่อว่า สหรัฐอาจจะขยายระยะเวลาการขึ้นภาษีสินค้าจากจีน (จาก 10% เป็น 25%)ออกไปอีก 60 วัน ถึง 1 พ.ค. นี้ เพื่อลดผลกระทบจากสงครามการค้า ท่สี ง่ ผลชัดเจนต่อเศรษฐกิจจีนและ สหรัฐในช่วงครึ่งหลังของปี 2561 เป็นต้นมา สอดคล้องกับดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวต่อเนื่อง ล่าสุดพบว่า PMI ภาคการผลิต เดือน ก.พ.ลดลงต่ำสุดตั้งแต่ พ.ย.2560 ตามมาด้วย ดัชนีภาวะธุรกิจในเดือนเดียวกัน พลิกกลับมาหดตัวครั้งแรก 4% ทำจุดต่ำสุดตั้งแต่ พ.ค.2559 และฝั่งภาคบริการ คือ ยอดขายบ้านมือสองเดือน ม.ค. ต่ำสุดในรอบ 3 ปี เป็นการตอกย้ำให้ Fed กลับมาใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย หลังจากรายงาน Fed minutes วานนี้ส่งสัญญาณชะลอการลดงบดุล(Balance Sheet) ภายในปีนี้ หลังจากได้เริ่มลดงบดุลไปตั้งแต่ ต.ค.2560 ด้วยการหยุดซื้อพันธบัตรสหรัฐ (reinvest) และตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยค้ำประกัน (Mortgage-Backed Securities)จากจุดสูงสุดที่ 4.49 ล้านล้านเหรียญ จนปัจจุบันอยู่ที่ 4.07 ล้านล้านเหรียญ หรือลดราว 9.2% และเป็นไปได้จะชลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามแผนที่จะขึ้น 2 ครั้งในปีนี้ จึงน่าจะกดดันให้ Dollar indexแกว่งตัวในทิศทางอ่อนค่า และผลักดัน Fund Flow ไหลออกจากสหรัฐ น่าจะดีต่อเอเชีย
 
 
ราคาน้ำมันยังขึ้นสอดคล้องสมมติฐาน แม้สต็อกน้ำมันดิบยังเพิ่ม
สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐ (EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบสัปดาห์ล่าสุด เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 5 ราว 3.67 ล้านบาร์เรล มากกว่าตลาดคาดที่ 3.1 ล้านบาร์เรล ผลจากโรงกลั่นเข้าสู่ฤดูกาลปิดซ่อมบำรุง แต่อย่างไรก็ตามการตัดลด Supply ยังเป็นไปตามแผน สะท้อนจากกำลังการผลิตน้ำมันของประเทศผลิตน้ำมัน OPEC เดือน ม.ค. ที่ลดลงราว 7.97 แสนบาร์เรล/วัน ถือว่ากำลังการผลิตที่ลดลง ใกล้เคียงกับข้อตกลงของผู้ผลิตทั้งกลุ่ม OPEC และ Non OPEC ที่ทำไว้ในเดือน ธ.ค.2561 ที่ตั้งเป้าจะตัดลดการผลิตจนถึง กลางปี 2562 ที่ 1.2 ล้านบาร์เรล/วัน (แบ่งเป็น OPECต้องลดลง 8 แสนบาร์เรล/วัน ขณะที่ Non OPEC ลดลง 4 แสนบาร์เรล/วัน)
 
การลด supply นับว่ายังสอดรับกับความต้องการใช้น้ำมันโลกที่ชะลอลงจากสงครามการค้า โดยรวมทำให้ราคาน้ำมันดิบดูไบแกว่งตัว ล่าสุด อยู่ที่ 66.74 เหรียญฯต่อบาร์เรล ใกล้เคียงสมมติฐานของASPS ที่กำหนดไว้ 65 เหรียญ ในปี 2562 แต่คาดว่าจะสามารถฟื้นตัวยืนเหนือ 60 เหรียญฯ ในช่วงที่เหลือของปีนี้ (และกำหนด 70 เหรียญฯ นับจากปี 2563 เป็นต้นไป) ยังแนะนำสะสม
 
PTTEP(FV@B168) และ PTT(FV@B56) โดยวันนี้นักวิเคราะห์ ASPS ได้ปรับเพิ่มคำแนะนำ PTT เป็นซื้อเพราะถือว่าราคาหุ้นปัจจุบัน สะท้อนผลประกอบการที่ย่ำแย่ไปแล้ว และเชอื่ ว่าทุกอย่างจะดีขึ้นในไตรมาสถัดไป
 
กำไรตลาดต่ำกว่าคาด PTT, CPALL, CHG แต่ชอบ PTT upside สูง
การประกาศงบ 4Q61 ของบริษัทจดทะเบียนในภาคการผลิตยังคงต่ำกว่าประมาณการ โดยเฉพาะPTT และ CPALL แต่น่าจะเกิดขึ้นในไตรมาสนี้ และค่อย ๆ ดีขึ้นในไตรมาสถัดไป คือPTT นักวิเคราะห์ ASPS ปรับคำแนะเป็นซื้อ จากเดิม Switch แม้รายงานงบ 4Q61 มีกำไรอยู่ที่1.95 หมื่นล้านบาท ลดลง 35.6%qoq (ต่ำกว่าคาดเล็กน้อย) กดดันหลักจากกำไรจากการดำเนินงานปกติ คือ ธุรกิจโรงแยกก๊าซฯ (GSP) ที่กำไรลดลงถึง 36.6%qoq และผลกระทบจาก PTTEP ที่คาดกำไรสุทธิลดลง รวมถึงส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนที่ลดลง หลักๆมาจากกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและโรงกลั่นที่ GRM และ spread ปิโตรเคมีลดลงประกอบกับมีบันทึกขาดทุนสต๊อกน้ำมัน
 
แต่หากพิจารณากำไรสุทธิงวด 1Q62 คาดจะพลิกกลับมาเติบโต เพราะจะไม่บันทึกขาดทุนสต๊อกน้ำมันในระดับสูงเช่นที่เกิดขึ้นใน 4Q61 แต่หากพิจารณากำไรจากการดำเนินงานปกติ คาดว่ายังคงอ่อนตัวจาก 4Q61 หลักๆ เกิดจาก ธุรกิจผลิตและสำรวจปิโตรเลียมผ่าน PTTEP ที่คาดปริมาณขายจะลดลงตามปกติในช่วงไตรมาสแรก รวมถึงคาดราคาขายก๊าซ และน้ำมันจะปรับตัวลดลง ตามราคาในตลาดโลก เช่นเดียวกับธุรกิจโรงกลั่นที่คาดจะถูกกดดันจากค่าการกลั่น ขณะที่ spread ปิโตรเคมีโดยรวมยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำใกล้เคียงกับงวด แต่เชื่อว่าได้สะท้อนได้ราคาหุ้นแล้ว จนราคาหุ้นมีupside อีกทั้งบริษัทยังประกาศจ่ายปันผลงวด 2H61 ในอัตราหุ้นละ 1.2 บาท (งวด 1H61 จ่าย 0.80บาท) คิดเป็น Dividend Yield 2.5% ในงวด 2Q61
 
ตามด้วย CPALL รายงานกำไรสุทธิ 4Q61 ต่ำกว่าคาดเล็กน้อย ที่ 5.5 พันล้านบาท ทรงตัว yoy เกิดจากรายการพิเศษจากการปรับค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงาน แต่ในส่วนของกำไรปกติตามคาดเติบโต 4.4%yoy ที่ 5.7 พันล้านบาท หลักๆ จากยอดขายเติบโต 9%yoy ตาม SSSG ที่เติบโต 4.5%yoyรวมทั้งการขยายสาขาใหม่เพิ่มขึ้น 7%yoy โดยรวมกำไรปี 2561 เติบโต 5.1%yoy
 
สำหรับแนวโน้มธุรกิจปี 2562 ยังคาดว่าธุรกิจสะดวกซื้อจะยังเติบโตได้ต่อเนื่อง แรงหนุนจากเม็ดเงินที่น่าสะพัดมากขึ้นช่วงก่อน – หลังเลือกตั้ง รวมทั้งการพัฒนาธุรกิจบริการที่มีมาร์จิ้นสูง ส่วนผลขาดทุนจาก MAKRO คาดเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงหลังจากรายได้จากสาขาในกัมพูชาและอินเดียที่เริ่มทยอยเข้ามา อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการตั้งสำรองค่าใช้จ่ายชดเชยพนักงานฯ ขึ้นมาในปีนี้ราว 809 ล้านบาทจึงมีการปรับประมาณการกำไรฯ ปี 2562 ลงจากเดิม 3.5% ส่งผลให้กำไรปี 2562 เติบโต 7.5% แต่จะกลับมาเติบโตโดดเด่นปี 2563 ที่ 16.6%
 
แต่ CPALL มีประเด็นใหม่ที่น่าจะเป็นปัจจัยหนุน คือ การเจรจาตกลงเพื่อเข้าในการจัดตั้งและดำเนินการร้านสะดวกซื้อในประเทศ กัมพูชา และ ลาว โดยฝ่ายวิจัยยังอยู่ในระหว่างการประเมินรูปแบบการเข้าดำเนินธุรกิจและแผนธุรกิจ ซึ่งยังไม่รวมในประมาณการ จึงยังคำแนะนำ ซื้อ Fair Valueอยู่ที่ 80 บาทและ CHG ผลการดำเนินงานน่าผิดหวังจึงให้ชะลอการลงทุนไปก่อน กล่าวคือกำไรสุทธิงวดนี้ลดลง 11% YoY อยู่ที่ 111 ล้านบาท (ต่ำกว่าคาด 5%) เพราะรับรู้ผล ขาดทุนของ รพ. ใหม่ 2 แห่ง ที่ปราจีนบุรีและฉะเชิงเทรา มากกว่าคาด ซึ่งทำให้ฝ่ายวิจัยเตรียมทบทวนประมาณการและคำแนะนำใหม่อีกครั้งหลังการประชุมนักวิเคราะห์ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 26 ก.พ. 62 นี้
 
อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นคาดว่าแนวโน้มผลการดำเนินงานจะยังไม่โดดเด่นไปอีกระยะหนึ่ง จึงแนะนำชะลอการลงทุนไปก่อน (ปันผลสำหรับงวดปี 61 เท่ากับ 0.03 บาท ขึ้น XD 3 พ.ค. 62)
 
ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นเกือบทุกแห่งในภูมิภาค แต่ขายไทยเล็กน้อย
วานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ด้วยมูลค่าสูงถึง 425 ล้านเหรียญ และเป็นการซื้อสุทธิถึง 4 ประเทศ คือ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิ 202 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4) ตามมาด้วยไต้หวัน 197 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4), อินโดนีเซีย 25 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) และฟิลิปปินส์ 10 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ยกเว้นไทยที่ต่างชาติสลับมาขายสุทธิเล็กน้อย 8 ล้านเหรียญ หรือราว 261 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ1.07 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
 
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ไทย ต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 3.8 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิในวันก่อยนหน้า) การขายทั้งตราสารหนี้และหุ้นไทยของต่างชาติ เป็นส่วนหนึ่งที่กดดันให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าขึ้นมา0.41% โดยล่าสุดอยู่ที่ 31.22 บาท/ดอลลาร์
 
ภรณี ทองเย็น
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!