- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 21 February 2019 15:50
- Hits: 1582
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
“เฟดออกมาดี น้ำมันยังปรับสูงขึ้น ติดตามประกาศงบ”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : DELTA (จากถือเป็น Fully Valued)
ภาวะตลาดและปัจจัย : SET วานนี้ +9.67 จุด ปิดที่ 1645.38 จุด มูลค่าการซื้อขายมากขึ้นที่ 58.4 พันล้านบาท เกิดแรงซื้อกลับหลังตลาดในภูมิภาคนี้ปรับตัวขึ้นถ้วนหน้า ปัจจัยบวกคือ มองผลการเจรจาการค้าที่จะเกิดขึ้น 2 วัน พฤหัสและศุกร์ที่วอชิงตันออกมาดี รายงานบันทึกการประชุมเฟดคาดว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยน้ำมันปรับขึ้นต่อเนื่อง และเงินบาทระยะนี้แข็งค่ามาก ส่งผลดีกับ SET ผู้ขายสุทธิรายเดียวเป็น รายย่อย 8.5 พันลบ. ด้านผู้ซื้อสุทธิคือ ต่างชาติ 8.0 พันลบ. สถาบัน0.4 พันลบ. และพอร์ตโบรกเกอร์ 0.1 พันลบ. สำหรับต้นปีถึงปัจจุบันต่างชาติซื้อสุทธิ 5.7 พันลบ. ด้านแนวโน้มตลาดและกลยุทธ์วันนี้คือ
# ระยะสั้นคาด SET มีโมเมนตัมทางบวกต่อ ตลาดรอผลเจรจาการค้าที่จะมีขึ้น 2 วัน วันนี้และศุกร์ที่วอชิงตัน รายงานบันทึกการประชุมเฟด ดีตามคาด เงินบาทระยะนี้แข็งค่า ส่งผลดีกับ SET แต่เป็นลบกับหุ้นส่งออก อีกทั้งติดตามการเมืองไทยและผลประกอบการภายในสิ้น ก.พ.62
# ปัจจัยบวกคือ น้ำมันยังปรับขึ้นดี ส่งผลบวกต่อหุ้นพลังงาน บอนด์ยิลด์สหรัฐ และดัชนีความกลัว (VIX) อยู่ในโทนต่ำ ส่วนตลาดหุ้นเพื่อนบ้านส่วนใหญ่ปรับลงแคบๆ และดาวโจนส์ล่วงหน้าปรับลง
# กลยุทธ์ คือ หาก SET ปรับขึ้น เก็งกำไรรอบสั้นได้แนวต้านเป็น 1650-1660 จุด แต่หากมีแรงขายต่อ แนวรับเป็น 1630,1620 จุด ด้านการซื้อลงทุนระยะกลางทยอยสะสม ส่วนดัชนีฯเป้าหมายทางพื้นฐานปี 2562 ยังเป็น 1780 จุด (+0.5 SD) ด้วยคาดการณ์อัตราการเติบโตกำไรปี 61-62 ที่ +8%/+6% ตามลำดับ แนะนำทยอยสะสมหุ้นพื้นฐานดี หุ้น Top Pick ในงวด 1Q62 คือ AOT,BBL,CPALL,HANA,PTT และ WHA
# หุ้นเด่น PTTGC : กำไรหลัก 4Q61 ออกมาตามคาดที่ 8.9 พันล้านบาท (-25%YoY, -24%QoQ) เพราะมาร์จิ้นลดลงทุกธุรกิจ (ทั้งโรงกลั่น โอเลฟินส์ อะโรเมติกส์)ส่วนบรรทัดสุดท้ายกำไรสุทธิอยู่ที่ 4.1 พันล้านบาท ต่ำกว่าคาดเล็กน้อยเพราะขาดทุนสต๊อก 4.8 พันล้านบาทมากกว่าคาด แนวโน้ม 1Q62 คาดว่ากำไรหลักยังอ่อนตัวลงเทียบ QoQ แต่จะไม่มีขาดทุนสต๊อก ทำให้กำไรสุทธิบรรทัดสุดท้ายจะเพิ่มขึ้น QoQ แนะนำซื้อ ให้ราคาพื้นฐาน 82 บาท อิงกับ P/BV ปี 62 ที่ 1.2 เท่า (เท่ากับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี) และต่ำกว่าเฉลี่ยภูมิภาคที่ 1.4 เท่า
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น สัญญาณ Candlestick & Indicators เหมือนจะเป็นบวกเล็กๆ {“ปิดบวกแรง”ใต้“SMA10วัน” (โดย“ติด”แนวต้าน และยังถูกกดดันด้วย“โครงสร้างขาลง–ระยะกลาง”)} ชี้ความน่าจะเป็นของSET50วันนี้“แกว่ง”แบบให้น้ำหนักกับการลง แต่“ค่าบวก”(แรงหนุนของสภาวะOversoldในกราฟรายนาที“เดิม”)จะช่วยให้มีรีบาวด์ฯสั้นๆก่อน(แล้วจึงลงต่ำ,ตามมา)ได้ แนวต้าน 1100 – 1105 (หรือ 1110) จุด {แนวขาย “ต่ำกว่า 1090” (แนวรับย่อย “1085 – 1080 /1070” จุด)}
สำหรับหุ้นที่คาดว่าจะทำ New High ที่เข้ามาใหม่คือ TISCO,KTC,HANA,GLOW,STA,VNT หุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ VGI, GUNKUL, RATCH, OSP, GPSC, GFPT,RCL หุ้นที่หลุด List ไม่มี หุ้นที่อยู่ในพื้นที่หาจังหวะ Take Profit PTTGC,SIS
Thailand Research Team : reseach-th.dbs.com
Inside Story
Key Drivers TODAY : ปัจจัยต่างประเทศ / ปัจจัยในประเทศ
Company Guide : DELTA (Fully Valued -ราคาพื้นฐาน 62.00)
Flash Note : CPF (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 30.00)
HREIT (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 8.05)
SC (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 3.26)
TU (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 19.70)
Key Takeaways: BTS (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 11.00)
TASCO (Under Review)
U (Not Rated)
In The News : กลุ่มส่งออก : ปี 62 มีหลายประเด็นท้าทาย รวมถึงค่าเงินบาทแข็ง
Turnover List Watch : คาดไม่มีหลักทรัพย์ติด Cash Balance แต่ขยายเวลา MALEE
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
+ Fed: บันทึกประชุมกล่าวว่า อดทนการปรับขึ้นดอกเบี้ยและควรยุติการปรับลดการถือครองพันธบัตร
# เฟดเปิดเผยรายงานการประชุมประจำวันที่ 29-30 ม.ค. โดยระบุว่า กรรมการเฟดส่วนใหญ่เห็นพ้องกับแนวทางที่ว่า เฟดควรใช้ความอดทนต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในครั้งต่อไป ซึ่งแนวทางดังกล่าวถือเป็นขั้นตอนที่เหมาะสมในการจัดการกับความเสี่ยงและรับมือกับภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน อีกทั้งจะช่วยให้คณะกรรมการกำหนดนโยบายของเฟดมีโอกาสที่จะประเมินผลกระทบที่มีต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ อันเนื่องมาจากการที่เฟดเริ่มปรับอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับที่เป็นกลางในช่วงที่ผ่านมา
# รายงานการประชุมยังระบุด้วยว่า กรรมการเฟดได้หารือกันเกี่ยวกับการยุติการปรับลดงบดุลของเฟดก่อนสิ้นปี 2562โดยกรรมการเฟดส่วนใหญ่มองว่า เฟดควรประกาศแผนยุติการปรับลดการถือครองพันธบัตรให้สาธารณชนได้รับทราบก่อนสิ้นปีนี้ ก่อนที่การดำเนินการจะยืดเยื้อนานเกินไป ซึ่งการประกาศแผนดังกล่าวนั้น จะช่วยให้กระบวนการการปรับลดงบดุลของเฟดให้กลับสู่ภาวะปกตินั้น มีความแน่นอนมากขึ้น
+ สหรัฐ: ติดตามการเจรจาการค้าสิ้นสุดศุกร์นี้
# นักลงทุนจับตาการเจรจาการค้ารอบใหม่ระหว่างจีนและสหรัฐที่จะเปิดฉากขึ้นในวันพฤหัสบดีและเสร็จสิ้นในวันศุกร์นี้โดยคาดหวังว่า ทั้งสองฝ่ายจะสามารถบรรลุข้อตกลงการค้าให้ได้ก่อนสิ้นเดือนนี้ ขณะที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ได้ออกมาส่งสัญญาณอีกครั้งว่า เขาอาจจะเลื่อนกำหนดเส้นตายการปรับขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน จากเดิมซึ่งกำหนดไว้ในวันที่ 1 มี.ค. หากการเจรจาการค้าของทั้งสองฝ่ายมีความคืบหน้า
+ ภาวะตลาดหุ้นสหรัฐ : ดาวโจนส์ปรับขึ้น ขานรับรายงานเฟด จับตาการเจรจาการค้า
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,954.44 จุด เพิ่มขึ้น 63.12 จุด หรือ +0.24% ขณะที่ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 2,784.70 จุด เพิ่มขึ้น 4.94 จุด หรือ +0.18% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,489.07 จุด เพิ่มขึ้น 2.30 จุด หรือ+0.03%
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (20 ก.พ.) หลังจากรายงานการประชุมประจำเดือนม.ค.ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระบุว่า กรรมการเฟดส่วนใหญ่เห็นพ้องกับแนวทางการใช้ความอดทนต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในครั้งต่อไป เพื่อรับมือกับความเสี่ยงและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงหนุนจากการที่นักลงทุนมีความหวังว่า การเจรจาการค้ารอบใหม่ระหว่างสหรัฐและจีนในสัปดาห์นี้จะมีความคืบหน้า
+ ภาวะตลาดน้ำมัน : WTI ปรับขึ้น ผลจากโอเปกและรัสเซียลดการผลิต
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 83 เซนต์ หรือ 1.5% ปิดที่ 56.92 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 12 พ.ย. 2561
# สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 63 เซนต์ หรือประมาณ 1% ปิดที่ 67.08 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (20 ก.พ.) โดยตลาดยังคงได้รับแรงหนุนจากรายงานการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันของซาอุดีอาระเบีย และกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ซึ่งปัจจัยดังกล่าวช่วยหนุนสัญญาน้ำมันดิบปิดในแดนบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 6 แม้ตลาดได้รับแรงกดดันในระหว่างวันจากรายงานคาดการณ์ที่ว่า การผลิตน้ำมันจากชั้นหินดินดาน (shale oil) ในสหรัฐจะพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนหน้า
- ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก : เพิ่มขึ้น ดอลลาร์อ่อนค่า รอผลเจรจาการค้า
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 3.10 ดอลลาร์ หรือ 0.23% ปิดที่1,347.90 ดอลลาร์/ออนซ์
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดในแดนบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 3 เมื่อคืนนี้ (20 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนมีมุมมองที่เป็นบวกว่า ความคืบหน้าในการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีนจะช่วยให้ความต้องการทองคำจากจีนปรับตัวเพิ่มขึ้นด้วยนอกจากนี้ การอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ยังเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยหนุนสัญญาทองคำด้วยเช่นกัน
• ตัวเลขเศรษฐกิจทยอยประกาศสัปดาห์นี้
# นักลงทุนยังจับตาข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐในคืนนี้ ซึ่งได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนธ.ค., ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นเดือนก.พ.จากมาร์กิต, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI) ภาคบริการเบื้องต้นเดือนก.พ.จากมาร์กิต และยอดขายบ้านมือสองเดือนม.ค.
ปัจจัยในประเทศและข่าวหลักทรัพย์
+ รายงาน กนง.: แนวโน้มเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ต่อเนื่อง แม้การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง
# ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยแพร่รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 6ก.พ.62 ระบุว่า การตัดสินนโยบายการเงินที่มีการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.75% เนื่องจากเห็นว่าเศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่อง แม้การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงตามปริมาณการค้าโลกและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน แต่การส่งออกภาคบริการมีแนวโน้มปรับดีขึ้นจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่ฟื้นตัวดีกว่าที่ประเมินไว้
#ขณะเดียวกันอุปสงค์ในประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวดีต่อเนื่องตามรายได้ครัวเรือนทั้งในและนอกภาคเกษตรที่ปรับดีขึ้นและกระจายตัวมากขึ้น รวมทั้งได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐเพิ่มเติม การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวตามการย้ายฐานการผลิตมายังไทย และการร่วมลงทุนของรัฐบาลและเอกชนในโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในบางอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามการใช้จ่ายภาครัฐมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้
-ภาวะอสังหาริมทรัพย์: ปี 62 มีภาวะชะลอตัวลง สินเชื่อปล่อยใหม่ลดลง
# ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ในฐานะรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ระบุถึงแนวโน้มในปี 62คาดว่าผลจากมาตรการควบคุมสินเชื่อและการชะลอตัวของเศรษฐกิจ รวมถึงภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นจะส่งผลต่อตลาดที่อยู่อาศัยและจะส่งผลให้มีการชะลอตัวทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทาน โดยในด้านอุปสงค์การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยจะลดลงทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่า 17.9% และ 15.1%ตามลำดับเมื่อเทียบกับปี 61
# คาดว่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลปล่อยใหม่ทั้งประเทศจะลดลง 0.7% เมื่อเทียบกับปี 61 ส่วนอุปทานโครงการเปิดตัวใหม่คาดว่าจะลดลง 5.3% เมื่อเทียบกับปี 61 แต่ที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนคาดว่าจะยังคงเพิ่มขึ้น 11.3% เมื่อเทียบกับปี61 เนื่องจากการขยายตัวของโครงการที่เปิดขายใหม่ในปี 60-61
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]