- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 20 February 2019 18:24
- Hits: 1859
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
คาดดัชนีหุ้นไทยยังแกว่งตัวในกรอบ 1630-1645 จุด เพราะยังขาดปัจจัยหนุนใหม่ๆ ขณะที่ยังมีแรงขายรับงบ 4Q61 หุ้น real sector และยังมีความกังวลปัญหาการเมืองในประเทศ ทั้งก่อนและหลังเลือกตั้ง กดดัน Fund flow ไหลออกมากกว่าคาด กลยุทธ์ยังเน้นรายหุ้นที่จ่ายเงินปันผลเด่นและใกล้ขึ้น XD (QH, LH, KKP, THANI, BBL) Top pick เลือก PTTEP(FV@B168) ราคาหุ้นยังไม่สะท้อนราคาน้ำมันที่ยืนเหนือ 65 เหรียญฯ
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … SET Index ยังแกว่งตัวลง
SET Index วันจันทร์ เปิดตลาดเช้าบวก 8 จุด รับการรายงาน GDP Growth ที่เป็นไปตามตลาดคาด แต่ช่วงบ่าย ดัชนีกลับย่อตัวลง และปิดที่ระดับ 1635.71 จุด ลดลง 1.23 จุด (-0.08%) ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 3.4 หมื่นล้านบาท แม้ปัจจัยต่างประเทศผ่อนคลาย ทั้งเจรจาการค้าสหรัฐ-จีน และน้ำมันดิบโลกฟื้นตัว หนุนกลุ่มพลังงาน PTT PTTEP ปิดตลาดแดนบวก แต่มีแรงขายรับงบรายหุ้น อย่าง TOP หลังรายงานงบ 4Q61 ขาดทุน 4.8 พันล้านบาท กดดันราคาหุ้นร่วง 0.7% ส่วนหุ้นในกลุ่มฯ ทั้ง SPRC และ IRPC ปิดตลาดแดนลบเช่นกัน ตรงข้ามกับหุ้นกลุ่ม ธ.พ. กลับมา rebound เป็นส่วนใหญ่ (KBANK TISCO) ส่วนกลุ่มค้าปลีกมีแรงซื้อเก็งกำไรงบ 4Q61 อย่าง MAKRO (+4.3%)
แนวโน้มดัชนีหุ้นไทยวันนี้น่าจะแกว่งตัวในกรอบ 1630-1645 จุด แม้ตลาดยังขาดปัจจัยหนุนใหม่ ๆ ขณะที่ยังมีความกังวลปัญหาการเมืองในประเทศ ทั้งก่อนและหลังเลือกตั้ง ซึ่งผิดไปจากที่เคยคาดหมายไว้ เป็นปัจจัยกดดัน Fund flow ไหลออก
เศรษฐกิจไทยปี 2561 เติบโตตามคาด แต่จะชะลอตัวในปี 2562
เศรษฐกิจไทย (GDP) งวด 4Q61 เติบโต 3.7%yoy ดีกว่าตลาดคาดเล็กน้อย และดีกว่า 3.3% งวด 3Q61 หลักๆ เกิดจากการกระตุ้นในประเทศคือ การบริโภคภาคเอกชน ที่ขยายตัว 5.3% นับว่า สูงสุดในรอบ 5 ปี 9 เดือน (จาก 5.2% ในงวด 3Q61) ซึ่งได้ผลบวกจากการกระตุ้นภาครัฐ อาทิ บัตรสวัสดิการรัฐ และการลงทุนเอกชนที่ตัวเร่ง 5.5% สูงสุดในรอบ 4 ปี (เทียบกับ 3.8% เมื่อ 3Q61) ซึ่งสอดคล้องกับ ยอดขอรับการส่งเสริม BOI งวด 4Q61 อยู่ที่ 5.2 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.67 เท่าจากงวด 3Q61 ยกเว้นภาคการค้าที่ชะลอตัว คือ ส่งออก (หน่วยดอลลาร์) เพิ่ม 2.0% ชะลอจาก 3.0% ใน 3Q61 และการนำเข้าเติบโต 5.8% ชะลอตัวจาก 14.5% ใน 3Q61 ผลกระทบของสงครามการค้าโลก ทำให้ปี 2561 เศรษฐกิจไทยเติบโตเฉลี่ย 4.1% จาก 4% ในปี 2560
ปี 2562 ASPS คาดว่าจะเศรษฐกิจไทยจะชะลอเหลือ 3.5%yoy โดยยังพึ่งพาการกระตุ้นในประเทศเป็นหลักดังกล่าวข้างต้น และถือว่ายังต่ำกว่าประเทศในภูมิภาค โดยเฉพาะ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย (ดังรูป) โดยเชื่อว่าปี 2562 ทุกประเทศภาคต่างประเทศชะลอลงจากสงครามการค้าเห็นได้ตั้งแต่กลางปี 256 ส่งออกที่ชะลอลงต่อเนื่อง ทำให้ต้องเน้นจากในประเทศเหมือนไทย
คาดการณ์ GDP Growth ของประเทศกำลังพัฒนา
ที่มา : IMF รอบ ม.ค.2562
ขณะที่ทิศทางเงินบาทแนวโน้มทรงตัว หลังจากแข็งค่ามากสุดในภูมิภาคราว 4.1% นับตั้งแต่ต้นปี เนื่องจากไทยเกินดุลการค้าราว 3.25 พันล้านเหรียญในปี 2561 เมื่อเทียบกับเงินรูเปียะห์อินโดนีเซียแข็งค่าราว 3.2% เงินริงกิตมาเลเซียที่แข็งค่า 2% และเงินเปโซฟิลิปปินส์แข็งค่าเพียง 0.7%
การเปลี่ยนแปลงของค่าเงินประเทศทั่วโลก
ที่มา : Bloomberg
งวด 4Q61 PTTGC ตามคาด, DELTA ต่ำกว่าคาด
การรายงานงบฯ ของบริษัทจดทะเบียนยังคงทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง โดย PTTGC รายงานกำไรสุทธิ 4Q61 ตามคาดที่ 4.06 พันล้านบาท ลดลงถึง 68%qoq และ 58%yoy กดดันจากการขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน รวม NRV สุทธิกว่า 6.5 พันล้านบาท เช่นเดียวกับกำไรจากการดำเนินงานปกติลดลง 23.6%qoq จากธุรกิจปิโตรเคมี โดยเฉพาะสายโอเลฟินส์ (สัดส่วน 50-60%) ที่ราคาผลิตภัณฑ์ปรับตัวลดลง แต่ต้นทุนวัตถุดิบหลักก๊าซอีเทนราคาทรงตัว จึงทำให้ spread ผลิตภัณฑ์ฯ ลดลง ส่วนธุรกิจโรงกลั่น (สัดส่วน 20-25%) ที่ค่าการกลั่นในงวด 4Q61 ลดลง โดยรวมแล้วกำไรสุทธิและกำไรปกติปี 2561 เท่ากับ 4.0 และ 4.3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.0%yoy และ 13.5%yoy ตามคาด ขณะที่แนวโน้มกำไรสุทธิงวด 1Q62 จะปรับฟื้นตัว qoq จากคาดค่าการกลั่นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับธุรกิจโอเลฟินส์คาดราคาผลิตภัณฑ์จะค่อยๆ ฟื้นตัวตามความต้องการใช้ที่จะกลับมา แต่ธุรกิจอะโรเมติกส์นั้นคาด spread มีโอกาสลดลงจาก supply ใหม่ที่เข้ามาตั้งแต่ช่วง 2H61 นอกจากนี้คาดในงวด 1Q62 จะไม่มีการบันทึกขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันมีนัยฯเช่นที่เกิดขึ้นใน 4Q61 จึงประเมินว่าราคาหุ้นในช่วงที่ผ่านมาผ่านการปรับฐานไปมากแล้ว ประกอบกับ PTTGC ประกาศจ่ายปันผลงวด 2H61 ที่ 2.50 บาทต่อหุ้น ขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 5 มี.ค. คิดเป็น Dividend Yield ราว 3.6% คิดเป็นอัตราจ่ายปันผลที่ดีที่สุดในกลุ่ม ปตท. จึงยังแนะนำ ซื้อ Fair Value ที่ 79 บาท
ตามด้วย DELTA รายงานกำไรสุทธิงวด 4Q61 ที่ 1 พันล้านบาท (ต่ำกว่าคาด 9%) ลดลงถึง 39.8% qoq และ 24.0% yoy ผลจาก gross margin ลดลงตามเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น รวมทั้งการผลิตสินค้า OEM ที่เป็น low end มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการจ่ายค่าสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเพิ่มขึ้น โดยรวมแล้ว กำไรสุทธิปี 2561 เท่ากับ 5.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.2% yoy ตามคาด ขณะที่กำไรสุทธิปี 2562 คาดจะเติบโต 6.3% yoy แม้ Fair Value ปัจจุบันอยู่ที่ 72 บาท แต่ยังมีความเสี่ยงจากแนวโน้มเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง ซึ่งจะกระทบต่อประมาณการกำไรสุทธิปี 2562 ให้มี downside อีกราว 9% จากปัจจุบัน และจะกระทบต่อ Fair value ปี 2562 ราว 11% หรือลดลง 8 บาท/หุ้น ทำให้ Fair value ปี 2562 จะลดลงมาที่ 64 บาท จึงยังแนะนำขาย
AOT ยังมีความเสี่ยงที่จะเลื่อน Terminal 2
นอกเหนือจากการรายงานงบของบริษัทจดทะเบียนที่ทยอยประกาศกันออกมา ยังมีประเด็นที่ต้องติดตามคือ วันนี้ (20 ก.พ.) คณะกรรมการ AOT จะมีการพิจารณาแผนสร้างสุวรรณภูมิ เทอร์มินอล 2 อีกครั้ง หากอนุมัติ ขั้นตอนต่อจากนี้จะต้องเสนอต่อ สภาพัฒน์ และ ครม. ซึ่งน่าจะกินเวลาสิ้นปีนี้ ขณะที่การประมูลจะเริ่มอย่างเร็วสุดปี 2563 และคาดการก่อสร้างจะแล้วเสร็จหลังประมูล 2 ปี ซึ่งอาจจะไปเสร็จอย่างเร็วช่วงปี 2565 ล่าช้ากว่าที่ฝ่ายวิจัยกำหนดเปิดปี 2564 สร้างความเสี่ยงเรื่องความหนาแน่นในการรองรับผู้โดยสาร และจะส่งผลให้ AOT เสียโอกาสรายได้เปิดประมูลพื้นที่เชิงพาณิชย์เทอร์มินอล 2 ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยคาดการณ์ไว้จะเริ่มรับรู้รายได้ตั้งแต่ปี 2564 โดยการรับรู้รายได้ช้ากว่าคาดทุก 1 ปี จะกระทบต่อมูลค่าหุ้น 0.5 บาท แต่หากยกเลิกโครงการจะกระทบราว 4.0 บาท โดยรวม การเติบโตยังมีความเสี่ยง อีกทั้ง Valuation แพงกว่าสนามบินทั่วโลก ราคาหุ้นสูงกว่ามูลค่าพื้นฐานที่ 67 บาทแล้ว จึงยังคงแนะนำ Switch ไป ERW([email protected])
ตามด้วย 22 ก.พ. อนุกรรมการชุดอัยการ จะรายงานผลการเจรจากับ CP ให้ รฟท. พิจารณาว่าจะรับข้อเสนอนอกเอกสารประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุน (RFP) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หรือไม่ เบื้องต้นฝ่ายวิจัยประเมินว่า รฟท. ไม่น่าจะผ่อนปรนตามข้อเสนอของ CP เนื่องจากข้อเสนอไม่ได้อยู่ใน TOR ตั้งแต่แรก และมองว่าจะไม่เป็นธรรมต่อ BSR ทั้งนี้หากการพิจารณาไม่สามารถสำเร็จได้ คาด รฟท. จะหันไปเจรจากับ BSR แทน ซึ่งจะถือเป็น sentiment เชิงบวกต่อ STEC ([email protected])
ในปี 2562 นี้ สถาบันฯยังเป็นเสาหลักที่ช่วยพยุงตลาดฯ
วานนี้ตลาดหุ้นไทยหยุดทำการ เนื่องจากเป็นวันมาฆบูชา แต่ตลาดหุ้นอื่นๆ ยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมทั้งวันจันทร์ และอังคารที่ผ่านมา ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคตลอดทั้ง 2 วัน ด้วยมูลค่ารวม 362 ล้านเหรียญ โดยเป็นการซื้อสุทธิ 3 ประเทศ คือ ตลาดหุ้นไต้หวันซื้อสุทธิ 318 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 115 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3), ฟิลิปปินส์ 5 ล้านเหรียญ ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 2 ประเทศ ขายสุทธิ คือ อินโดนีเซีย 54 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิติดต่อกัน 8 วัน) และไทยในวันจันทร์ที่ผ่านมา ต่างชาติขายสุทธิอีก 21 ล้านเหรียญ หรือ 668 ล้านบาท เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิ 302 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2)
หากพิจารณาเฉพาะตลาดหุ้นไทย พบว่า ปัญหาการเมืองที่ยังมีอยู่ กดดันให้ต่างชาติขายหุ้นไทยต่อเนื่อง นับตั้งแต่วันที่ 8 ก.พ. ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการส่งรายชื่อแคนดิเดตนายกฯ จนถึงปัจจุบัน โดยต่างชาติขายสุทธิมาแล้ว 1.05 หมื่นล้านบาท (ขายติดต่อกัน 7 วันทำการ) จนทำให้สถานะ ต่างชาติ จากต้นปีจนถึงปัจจุบันในตลาดหุ้นไทย ติดลบ เพียงประเทศเดียวในภูมิภาค คือราว 72 ล้านเหรียญ หรือ 2.26 พันล้านบาท (ytd) โดยยังได้แรงหนุนจากนักลงทุนสถาบันฯที่ซื้อสุทธิ 2.32 หมื่นล้านบาท (ytd) หนุนให้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 4.59% (ytd) ไม่แพ้ตลาดหุ้นอื่นๆในภูมิภาค (รายละเอียดดังภาพด้านล่าง)
ยอดซื้อขายหุ้นในภูมิภาคแต่ละประเทศ vs. ผลตอบแทน (ytd)
ที่มา : SET, ฝ่ายวิจัย ASPS
กลยุทธ์ Dividend Play น่าจะเหมาะกับภาวะตลาดผันผวน
Valuation ของ 9 หุ้นปันผลเด่น ที่ยังไม่ขึ้นเครื่องหมาย XD
หมายเหตุ : เนื่องจากบางบริษัทจดทะเบียนยังไม่ได้ประกาศวันขึ้นเครื่องมาย XD ของงบครึ่งปีหลังของปี 2561 จึงใช้วันขึ้นเคื่องหมาย XD ของงบครึ่งปีหลังของปี 2560 แทน
*ผลตอบแทนเฉลี่ยก่อนขึ้น XD คิดคำนวณตั้งแต่วันนี้ ถึงวันขึ้น XD
ที่มา : SET, ฝ่ายวิจัย ASPS
ภรณี ทองเย็น
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์