- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 20 February 2019 18:19
- Hits: 1486
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
“รอเจรจาการค้า-ผลประกอบการ เงินบาทแข็งมาก”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : --
ภาวะตลาดและปัจจัย : SET วันจันทร์ปรับลง -1.23 จุด ปิดที่ 1635.71 จุด มูลค่าการซื้อขายเบาบางที่ 34.3 พันล้านบาท เกิดแรงขายทำกำไรหลังตลาดฯรับข่าวดีไปก่อนหน้า ระหว่างวัน SET สูงสุดที่ 1647.74 จุด ทั้งๆที่ปัจจัยบวกคือ ดาวโจนส์กับน้ำมันทะยาน หลังการเจรจาการค้าจีน-สหรัฐมีผลลัพธ์ที่ดี เจรจากันต่อในสัปดาห์นี้ ไม่เกิดภาวะ Shut Down ทรัมป์ใช้ภาวะฉุกเฉิน ใช้งบสร้างกำแพง อีกทั้งตัวเลขเศรษฐกิจไทย 4Q61 ออกมาดีกว่าคาดเล็กน้อย ผู้ขายสุทธิเป็น ต่างชาติ 0.7พันลบ.และสถาบัน 0.3 พันลบ. ด้านผู้ซื้อสุทธิคือ พอร์ตโบรกเกอร์ 0.6 พันลบ. และรายย่อย 0.4 พันลบ. สำหรับต้นปีถึงปัจจุบันต่างชาติขายสุทธิ 2.3 พันลบ. ด้านแนวโน้มตลาดและกลยุทธ์วันนี้คือ
# ระยะสั้นคาด SET มีลักษณะ Sideways ตลาดรอผลเจรจาการค้าที่จะมีขึ้น 2 วัน พฤหัสและศุกร์ที่วอชิงตัน รายงานบันทึกการประชุมเฟด เงินบาทระยะนี้แข็งค่ามาก ส่งผลดีกับ SET แต่เป็นลบกับหุ้นส่งออก อีกทั้งติดตามการเมืองไทยและผลประกอบการภายในสิ้น ก.พ.62
# ปัจจัยบวกคือ น้ำมันยังปรับขึ้นดี ส่งผลบวกต่อหุ้นพลังงาน บอนด์ยิลด์สหรัฐ และดัชนีความกลัว (VIX) ปรับลง ส่วนตลาดหุ้นเพื่อนบ้านส่วนใหญ่ปรับขึ้นแคบๆ ดาวโจนส์ล่วงหน้าปรับขึ้นเล็กน้อย แต่ปัจจัยลบคือ ราคาทองคำที่ทะยานมีสัญญาณที่ไม่ดีกับสินทรัพย์เสี่ยง
# กลยุทธ์ คือ หาก SET ปรับขึ้น เก็งกำไรรอบสั้นได้แนวต้านเป็น 1640-1650 จุด แต่หากมีแรงขายต่อ แนวรับเป็น 1630,1620 จุด ด้านการซื้อลงทุนระยะกลางทยอยสะสม ส่วนดัชนีฯเป้าหมายทางพื้นฐานปี 2562 ยังเป็น 1780 จุด (+0.5 SD) ด้วยคาดการณ์อัตราการเติบโตกำไรปี 61-62 ที่ +8%/+6% ตามลำดับ แนะนำทยอยสะสมหุ้นพื้นฐานดี หุ้น Top Pick ในงวด 1Q62 คือ AOT,BBL,CPALL,HANA,PTT และ WHA
# หุ้นเด่น GFPT : คาดการณ์กำไร 4Q61 ยังโตได้ 8% y-o-y เป็น 351 ล้านบาท จากยอดส่งออกไก่ที่เพิ่มขึ้น แนวโน้มกำไรปี 62 ฟื้นตัว มีการขยายกำลังการผลิตฟาร์ม อีกทั้งส่วนแบ่งกำไรบริษัทร่วมคือ McKey ที่เพิ่มขึ้น คาดการณ์อัตราการเติบโตกำไรปีนี้และปีหน้าอยู่ในเกณฑ์ดีเป็น +25%/+10% ตามลำดับ กำหนดราคาพื้นฐานไว้ที่ 16.50 บาท ประเมินด้วย P/E ปี 62 ที่ 14.5 เท่า ราคาปิดมีส่วนเพิ่มได้อีก 15%
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น สัญญาณ Candlestick & Indicators เป็นลบต่อ {“ปิดลบ”ใต้“SMA10วัน”ต่อ (โดย“ติด”แนวต้าน และยังถูกกดดันด้วย“โครงสร้างขาลง–ระยะกลาง”)} ชี้ความน่าจะเป็นของตลาดฯวันนี้“แกว่งลง”เป็นหลัก แต่ก็ลุ้นรีบาวด์ฯตามมา(จากแรงหนุนของสภาวะOversoldในกราฟรายนาที)ได้แนวต้าน (กรณี“ฝืน”ขึ้นก่อน) 1640 – 1650 จุด {แนวรับย่อย “1630 – 1620 / 1610” จุด)}
สำหรับหุ้นที่คาดว่าจะทำ New High ที่เข้ามาใหม่คือ SIS,GPSC,GFPT,RCL หุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ VGI,GUNKUL,PTTGC,RATCH,OSP หุ้นที่หลุด ListMBK,BCP,AH,WICE,HUMAN,SAT หุ้นที่อยู่ในพื้นที่หาจังหวะ Take Profit RJH
Thailand Research Team : reseach-th.dbs.com
Inside Story
Key Drivers TODAY : ปัจจัยต่างประเทศ / ปัจจัยในประเทศ
Company Guide : MC (ถือ -ราคาพื้นฐาน 11.20)
Flash Note : DCC (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 2.65)
DELTA (ถือ -ราคาพื้นฐานอยู่ระหว่างปรับปรุง)
JAS (Not Rated)
PTTGC (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 82.00)
TMT (ถือ -ราคาพื้นฐานอยู่ระหว่างปรับปรุง)
Turnover List Watch : คาดว่ายังไม่มีหลักทรัพย์ติด Cash Balance
New Listing : ZEN, ECL-W3
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
+/• Fed: ติดตามรายงานบันทึกการประชุมที่ผ่านมา
# นักลงทุนยังจับตารายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐในวันนี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ยุติการขึ้นอัตราดอกเบี้ย และการปรับลดขนาดงบดุลภายในปีนี้
-/• Fed: เฟด นิวยอร์ค เห็นว่าอาจต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อไป
# นายจอห์น วิลเลียมส์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์กได้แสดงความเห็นว่า การที่เศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มการเติบโตที่แตกต่างกันในแต่ละภาคส่วนนั้น ถือเป็นปัจจัยที่อาจทำให้เฟดกลับมาดำเนินนโยบายปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง
+ สหรัฐ: ติดตามการเจรจาการค้าในสัปดาห์นี้
# นักลงทุนยังจับตาความคืบหน้าในการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีนในสัปดาห์นี้ โดยการเจรจาการค้าระดับรัฐมนตรีระหว่างสหรัฐและจีนเป็นเวลา 2 วันจะจัดขึ้นที่กรุงวอชิงตันในวันพฤหัสบดีและศุกร์นี้ ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างก็คาดหวังที่จะบรรลุข้อตกลงการค้าให้ได้ก่อนสิ้นเดือนนี้
# การเจรจาครั้งนี้ มีขึ้นหลังจากการเจรจาที่กรุงปักกิ่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยนายสตีเวน มนูชิน นายโรเบิร์ต ไลท์ไทเซอร์ผู้แทนการค้าสหรัฐ และนายหลิว เหอ รองนายกรัฐมนตรีจีน จะเข้าร่วมการประชุมในสัปดาห์นี้ ขณะที่การประชุมระดับรัฐมนตรีช่วยนั้น ได้เริ่มเปิดฉากแล้วเมื่อวานนี้
+/- สหรัฐ: ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านเพิ่ม m-o-m แต่ลดลง y-o-y
# สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการเปิดเผยเมื่อคืนนี้ สมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB) ของสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านเพิ่มขึ้น 4 จุด สู่ระดับ 62 ในเดือนก.พ. เมื่อเทียบรายเดือน แต่เมื่อเทียบรายปี ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านร่วงลง 9 จุดในเดือนก.พ.
+ ภาวะตลาดหุ้นสหรัฐ : ดาวโจนส์ปรับขึ้นเล็กน้อย ซื้อหุ้นพื้นฐานดี และติดตามเจรจาการค้า
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,891.32 จุด เพิ่มขึ้น 8.07 จุด หรือ +0.03% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่2,779.76 จุด เพิ่มขึ้น 4.16 จุด หรือ +0.15% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,486.77 จุด เพิ่มขึ้น 14.36 จุด หรือ +0.19%
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (19 ก.พ.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากการที่นักลงทุนเข้าซื้อหุ้นกลุ่มที่สามารถต้านทานวัฏจักรทางเศรษฐกิจ (defensive stocks) ซึ่งเป็นหุ้นที่ปลอดภัยและมีปัจจัยพื้นฐานดี เช่นหุ้นกลุ่มสินค้าผู้บริโภคและกลุ่มสาธารณูปโภค นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากผลประกอบการที่แข็งแกร่งเกินคาดของบริษัทค้าปลีกยักษ์ใหญ่อย่างวอลมาร์ท ขณะที่นักลงทุนจับตาการเจรจาการค้ารอบใหม่ระหว่างสหรัฐและจีนซึ่งจะจัดขึ้นที่กรุงวอชิงตันในสัปดาห์นี้
+ ภาวะตลาดน้ำมัน : WTI ปรับขึ้นเล็กน้อย ผลจากโอเปกลดการผลิต และเจรจาการค้าคืบหน้า
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 50 เซนต์ หรือ 0.9% ปิดที่ 56.09 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 20 เซนต์ หรือ 0.09% ปิดที่ 66.45 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (19 ก.พ.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากการที่กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ปรับลดกำลังการผลิต รวมทั้งการคาดการณ์ที่ว่า การเจรจาการค้ารอบใหม่ระหว่างสหรัฐและจีนในสัปดาห์นี้ จะมีความคืบหน้า
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ปิดในแดนบวกติดต่อกัน 5 วันทำการ เนื่องจากนักลงทุนยังคงขานรับรายงานที่ว่า การผลิตน้ำมันของโอเปกลดลง 797,000 บาร์เรล/วัน สู่ระดับ 30.806 ล้านบาร์เรล/วันในเดือนม.ค. ซึ่งเทียบเท่ากับการปฏิบัติตามข้อตกลงปรับลดกำลังการผลิตราว 86% ทั้งนี้ การปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันของโอเปกได้ช่วยให้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นมากกว่า 20% ในปีนี้
- ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก : ทะยาน ดอลลาร์อ่อนค่า รอผลเจรจาการค้า
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 22.70 ดอลลาร์ หรือ 1.72% ปิดที่1,344.80 ดอลลาร์/ออนซ์
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นแตะระดับสุงสุดในรอบ 10 เดือนเมื่อคืนนี้ (19 ก.พ.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ ขณะที่นักลงทุนจับตาผลการเจรจาการค้ารอบใหม่ระหว่างสหรัฐและจีนในสัปดาห์นี้
• ตัวเลขเศรษฐกิจทยอยประกาศสัปดาห์นี้
# ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนธ.ค., ดัชนีการผลิตเดือนก.พ.จากเฟดฟิลาเดลเฟีย, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI)ภาคการผลิตเบื้องต้นเดือนก.พ.จากมาร์กิต, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเบื้องต้นเดือนก.พ.จากมาร์กิต และยอดขายบ้านมือสองเดือนม.ค.
ปัจจัยในประเทศและข่าวหลักทรัพย์
+ GDP 4Q61 ไทยดีกว่าตลาดคาด ส่วนทั้งปี 61 ขยายตัวดีสุดในรอบ 6 ปี
# เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4/61ขยายตัว 3.7% จากตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 3.3-3.6% และจากไตรมาส 3./61 ที่ขยายตัว 3.2% ส่วนทั้งปี 61 ขยายตัวได้4.1% สูงสุดในรอบ 6 ปี แต่ต่ำกว่าคาดการณ์เดิมที่ 4.2% เล็กน้อย เนื่องจากการลงทุนภาครัฐในช่วงไตรมาส 4/61 ติดลบราว 0.1%
+/• สภาพัฒน์คาดเศรษฐกิจปี 62 เติบโต 3.5-4.5%
# สภาพัฒน์ คงคาดการณ์เศรษฐกิจในปี 62 เติบโตในระดับ 3.5-4.5% แม้ว่าจะปรับลดคาดการณ์ส่งออกและนำเข้าในปีนี้ลง แต่เชื่อว่าการท่องเที่ยวและการลงทุนภาคเอกชนจะช่วยให้ภาพรวมเศรษฐกิจกลับมาเติบโตได้ดี โดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ของปีนี้ ขณะที่การใช้จ่ายภาคครัวเรือนยังมีแนวโน้มการขยายตัวในเกณฑ์ดี การลงทุนภาครัฐเร่งตัวขึ้น
+ เศรษฐกิจไทย: รองนายกฯกำชับเร่งเบิกจ่ายของรัฐวิสาหกิจ
# นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ กำชับในเรื่องการเร่งเบิกจ่ายของรัฐวิสาหกิจ หลังจากที่ได้เห็นข้อมูลในไตรมาส 4/2561 ซึ่งพบว่าการเบิกจ่ายภาครัฐปรับลดลงสู่ระดับที่ติดลบ ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชน และภาคการผลิตตัวเลขปรับตัวดีขึ้นทุกตัว
+ สมาชิกหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯสำรวจนักลงทุนญี่ปุ่น มีความเชื่อมั่นมากขึ้นเทียบปีก่อน
# สมาชิกหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ เผยผลสำรวจยังคงเชื่อมั่นที่จะลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง และความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับปีก่อน แม้จะมีปัจจัยเสี่ยงจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาก ขณะเดียวกันยังคิดว่าเศรษฐกิจไทยในอีก 5 ปีข้างหน้าจะยังคงขยายตัว อย่างไรก็ตาม ต้องการให้รัฐบาลเร่งรัดการก่อสร้างโครงการต่างๆ ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC)โดยเร็ว รวมถึงการเข้าเป็นสมาชิกหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) และการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) กับประเทศต่างๆ
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]