WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

DBSบล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
 
“Sideways รอปัจจัยใหม่ๆ”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : --
ภาวะตลาดและปัจจัย : SET วานนี้ +5.62 จุด ปิดที่ 1658.71 จุด มูลค่าการซื้อขายเบาบางที่ 38.5 พันล้านบาท ติดเทศกาลวันหยุดตรุษจีน การแถลงนโยบายประจำปีทรัมป์เป็นโทนบวกเล็กน้อย เรื่องเจรจาการค้ากับจีนและเกาหลีเหนือต่อไปและเป็นเรื่องอื่นๆในสหรัฐ ปัจจัยต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นโทนบวกเช่น ผลกำไรบริษัทสหรัฐ บอนด์ยิลด์และ VIX ลด กนง.คงดอกเบี้ย บาทแข็ง และคาดหวังเลือกตั้งทางบวก ผู้ซื้อสุทธิเป็น ต่างชาติ 1.6 พันลบ. สถาบัน 1.4พันลบ. ด้านผู้ขายสุทธิคือ รายย่อย 3.1 พันลบ. ด้านแนวโน้มตลาดและกลยุทธ์วันนี้คือ
# ระยะสั้นคาด SET จะ Sideways รอปัจจัยใหม่ๆมากระตุ้นตลาด หลังทรัมป์แถลงนโยบายประจำปี (State of Union) ไปในทางบวกเล็กน้อย ดอลลาร์แข็งค่าตีความว่าจะมีการขยายสาธารณูปโภคสหรัฐ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ปัจจัยบวกคือ น้ำมันปรับขึ้น บาทอยู่โซนแข็ง
# ด้านบอนด์ยิลด์และดัชนีความกังวล (VIX) ไปในทางบวกคือ ลดลง ตลาดหุ้นเพื่อนบ้านคละเคล้า ปัจจัยลบดาวโจนส์ล่วงหน้าปรับลดลง เศรษฐกิจยูโรไปในทางอ่อน แม้เยอรมันยอดสั่งซื้อลดลง ปัจจัยติดตามคือ Brexit และ การเจรจาการค้าจีน-สหรัฐในเดือน ก.พ.นี้ก่อนเส้นตาย
# กลยุทธ์ คือ ระยะสั้น หากมีการรีบาวด์ต่อ เก็งกำไรรอบสั้นได้แนวต้านเป็น 1660-1680 จุด ด้านการซื้อลงทุนระยะกลาง ทยอยสะสม ด้านแนวตัดขาดทุนเป็น 1640 จุด ส่วนดัชนีฯเป้าหมายทางพื้นฐานปี 2562 ยังเป็น 1780 จุด (+0.5 SD) ด้วยคาดการณ์อัตราการเติบโตกำไรปี 61-62 ที่ +8%/+6% ตามลำดับแนะนำทยอยสะสมหุ้นพื้นฐานดี หุ้น Top Pick ในงวด 1Q62 คือ AOT,BBL,CPALL,HANA,PTT และ WHA
# หุ้นเด่น HUMAN : ปี 62 จะออกผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ 1) HR Outsourcing สำหรับกลุ่ม SME ซึ่งมีมาร์จิ้นดี, 2) เปิดตลาดบริการบน Platform ซึ่งรวมถึงการให้ลูกจ้างสถานประกอบการเลือกนโยบายประกันภัยด้วย และ 3) เป็นพันธมิตรกับธนาคารและไฟแนนซ์เพื่อเสนอบริการสินเชื่อส่วนบุคคลผ่าน Platform ของHUMAN อีกทั้งมีแผนออกแอปพลิเคชั่นบนมือถือในต้นปี 62 กำหนดราคาพื้นฐานไว้ที่ 11.30 บาท แต่ราคาหุ้นที่ปรับขึ้นแรงวานนี้ ทำให้ส่วนเพิ่มเริ่มจำกัดเป็น8.7% จึงอาจรอจังหวะทยอยสะสมเมื่ออ่อนตัวลง
 
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น สัญญาณ Candlestick & Indicators กลับมาเป็นบวก แต่เป็นแบบพร้อมเปลี่ยนเป็นลบตามมา {“ปิดบวก”เหนือ“SMA10วัน”ต่อ (แต่“ติด”แนวต้าน และยังถูกกดดันด้วย“โครงสร้างขาลง – ระยะกลาง”)} ชี้ความน่าจะเป็นของตลาดฯวันนี้“แกว่ง”แบบมีรีบาวด์ฯสั้นๆก่อน(แล้วจึงลงต่ำ,ตามมา)ได้ แนวต้าน 1660 (หรือ 1670 – 1680) จุด {แนวตัดขาดทุน “ต่ำกว่า 1640”}
 
หุ้นทีมีโอกาสทำ New High ทางเทคนิค ที่เข้ามาใหม่คือ CENTEL,PLANB,VGI หุ้นที่อยู่ใน List คือ WHA,UTP,STEC,TOP,AOT,BLA,KTC หุ้นที่หลุด ListAMATA,RCL และหุ้นทีอยู่ในพื้นที่หาจังหวะ Take Profit คือ BGRIM,MTC,KKP,KTB,SF 
Thailand Research Team : reseach-th.dbs.com
 
Inside Story
Key Drivers TODAY : ปัจจัยต่างประเทศ / ปัจจัยในประเทศ
Monthly REIT Update : สรุปภาพรวมกลุ่ม Property Fund/REIT – มกราคม 2562
Flash Note : AMATA (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 26.00)
ANAN (ซื้อ-ราคาพื้นฐาน 4.90)
CPN (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 85.00)
TEMAG (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 2.47)
In The News : SCC : หวังว่าดีมานด์ในจีนดีขึ้นหลังตรุษจีน
GENCO : สนไฟฟ้าประมูลโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม
ข่าวเด่นวันนี้
Turnover List Watch : คาดว่ายังไม่มีหลักทรัพย์ติด Cash Balance
 
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
+/• สหรัฐ : ถ้อยแถลงของทรัมป์ค่อนไปในทางบวก
# "ทรัมป์"ชี้ประเด็นการค้าต้องแก้ไขเรื่องโครงสร้างและการขาดดุล ข้อตกลงการค้ากับจีนไม่ได้มุ่งแก้ไขยอดขาดดุลการค้าที่เรื้อรังของสหรัฐ แต่ยังควรพุ่งเป้าไปที่การเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างๆของจีน เพื่อปกป้องแรงงานและธุรกิจของสหรัฐ
# ทรัมป์ยืนยันซัมมิตสหรัฐ-เกาหลีเหนือรอบ 2 จัด 27-28 ก.พ.นี้ที่เวียดนาม เพื่อทำให้เกาหลีเหนือใช้มาตรการที่ชัดเจนในการยกเลิกโครงการอาวุธภายใต้การรับรองจากนานาประเทศ
# ส่วนอื่นๆ เป็นเรื่องภายในสหรัฐ เช่น เรียกร้องสภาคองเกรสอนุมัติงบประมาณสร้างกำแพงชายแดน และเรียกร้องสภาคองเกรสผ่านกม.ปฏิรูปการตัดสินคดีอาญา
 
- ยุโรป: เศรษฐกิจยูโรโซนอ่อนลง
# ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อคืนนี้ (6 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจยูโรโซน โดยล่าสุดทางการเยอรมนีรายงานว่า ยอดสั่งซื้อในภาคการผลิตของเยอรมนีร่วงลงสวนทางกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ขณะที่นักลงทุนจับตาการรายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนรายใหญ่ของยุโรป
 
+ อัตราแลกเปลี่ยน: ดอลลาร์แข็งค่า ตีความแถลงนโยบายทรัมป์ไปในทางดี
# ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (6 ก.พ.) หลังนักลงทุนปรับตัวรับการแถลงนโยบายประจำปี (State of the Union) ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐ โดยนักวิเคราะห์กล่าวว่า การที่ปธน.ทรัมป์ระบุย้ำถึงข้อเรียกร้องในการใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานนั้น อาจนำไปสู่การกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
 
- ภาวะตลาดหุ้นสหรัฐ : ดาวโจนส์ปรับลงเล็กน้อย หลังแถลงนโยบายทรัมป์
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,390.30 จุด ลดลง 21.22 จุด หรือ -0.08% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่2,731.61 จุด ลดลง 6.09 จุด หรือ -0.22% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,375.28 จุด ลดลง 26.80 จุด หรือ -0.36%
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (6 ก.พ.) หลังจากการแถลงนโยบายประจำปี (State of the Union) ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐ ไม่ได้ลงรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับแผนเศรษฐกิจในอนาคต อย่างไรก็ตาม ดัชนีดาวโจนส์ขยับลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากตลาดได้ปัจจัยหนุนจากผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียนรวมทั้งความหวังที่ว่าการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีนจะมีความคืบหน้า
 
+ ภาวะตลาดน้ำมัน : WTI ปรับขึ้น สต็อคเพิ่มน้อยกว่าคาด
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 35 เซนต์ หรือ 0.7% ปิดที่ 54.01 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 71 เซนต์ หรือ 1.2% ปิดที่ 62.69 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (6 ก.พ.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลสต็อกน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาด นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันยังคงได้ปัจจัยหนุนจากการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก)
 
+ ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก : ลดลง เพราะดอลลาร์แข็งค่า
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย. ลดลง 4.80 ดอลลาร์หรือ 0.36% ปิดที่1,314.40 ดอลลาร์/ออนซ์
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลดลงเมื่อคืนนี้ (6 ก.พ.) ซึ่งเป็นการปรับตัวลง 4 ติดต่อกัน เนื่องจากการแข็งค่าของดอลลาร์ได้ลดความต้องการซื้อทองคำ
 
ปัจจัยในประเทศและข่าวหลักทรัพย์
+/• กนง.: คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามคาด
# กนง.มีมติ 4:2 คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 1.75% คณะกรรมการฯประเมินว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่องตามแรงส่งของอุปสงค์ในประเทศ แม้อุปสงค์ต่างประเทศชะลอลง อัตราเงินเฟ้อทั่วไปได้รับแรงกดดันจากราคาพลังงานที่ลดลงและมีความเสี่ยงด้านต่ำเพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทยอยปรับสูงขึ้นใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ ภาวะการเงินโดยรวมยังอยู่ในระดับที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงินในอนาคตที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดและการส่งออกไทยยังเสี่ยง
 
+ FETCO ระบุดัชนีเชื่อมั่นนักลงทุน 3 เดือนข้างหน้าเพิ่มขึ้น
# นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCOInvestor Confidence Index) ประจำเดือน ก.พ.62 ดัชนีรวมทุกกลุ่มนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า (เม.ย.62) ปรับเพิ่มขึ้น 25.07% มาอยู่ที่ระดับ 116.76 โดยเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนแรกในรอบ 4 เดือน และอยู่ในเกณฑ์ทรงตัว(Neutral) เช่นเดิม (ช่วงค่าดัชนี 80-119)
# ผลสำรวจพบว่านักลงทุนเชื่อมั่นสถานการณ์การเมืองที่มีการกำหนดวันเลือกตั้งชัดเจนและภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ติดตามความคืบหน้าผลการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีน และติดตามเสถียรภาพของรัฐบาลใหม่หลังเลือกตั้งเป็นปัจจัยฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุน
 
+ ม.หอการค้าฯ เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ม.ค.อยู่ที่ 80.7 ปรับตัวดีขึ้นในรอบ 5 เดือน
# ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ในเดือน ม.ค.62 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ 80.7 จาก 79.4 ในเดือน ธ.ค.61 โดยดัชนีปรับตัวดีขึ้นในรอบ 5 เดือน เป็นผลจากความชัดเจนในการจัดการเลือก 24มีนาคม 2562
 
- กกร.ปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 61 โต 4.1% จากเดิมคาด 4.3%
# คณะกรรมการ่วมภาคเอกชน (กกร.) ประเมินทิศทางเศรษฐกิจไทยในปี 2561 คาดว่าจะขยายตัวได้ที่ 4.1% จากเดิมที่คาดจะขยายตัว 4.3% โดยเป็นผลจากตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาส 4 ที่ถูกกระทบจากเรื่องส่งออก และการลงทุนภาครัฐ
 
•/- ธปท.รับบาทแข็งค่าทิศทางเดียวกับตลาดเกิดใหม่ พร้อมเข้าดูแลหากเคลื่อนไหวผิดปกติ
# นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงแนวโน้มค่าเงินบาทว่า ตั้งแต่สิ้นปี 61 จนถึงปัจจุบันแข็งค่า 4.1% ซึ่งอยู่ในระดับกลางๆ และไม่ได้เป็นเงินสกุลที่แข็งค่าที่สุดในโลก เพราะแข็งค่าน้อยกว่าอินโดนีเซียที่แข็งค่าไปถึง 4.3% ส่วนความผันผวนของค่าเงินบาท อยู่ที่ 4.3% ผันผวนน้อยกว่าสกุลเงินของญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน และอินโดนีเซีย โดยยอมรับว่าการที่ค่าเงินสหรัฐฯอ่อนค่าจากปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน รวมกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกชะลอ ทำให้ค่าเงินในสกุลเงินเกิดใหม่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นมาในทิศทางเดียวกัน
 
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!