- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 10 January 2019 15:14
- Hits: 4056
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
Daily Trading Focus
ราคาน้ำมันทะยาน ดันหุ้นพลังงาน
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
ภาวะตลาดและปัจจัย : SET วานนี้ -3.50 จุด ปิดที่ 1590.50 จุด มูลค่าการซื้อขายเบาบางที่ 46.6 พันล้านบาท สวนทางกับตลาดหุ้นในภูมิภาคแถบนี้ที่ส่วนใหญ่ปรับขึ้น ในช่วงแรกดัชนีฯปรับขึ้นดี จนทำยอดสูงสุดที่ 1609.39 จุด เพราะความคาดหวังเจรจาการค้าที่จีนเป็นไปในทางบวก แต่ช่วงบ่าย กกร.ประกาศให้ยาและค่ารักษาทางการแพทย์เป็นสินค้าควบคุม ทำให้หุ้นขนาดใหญ่ปรับลงมาก เช่น BDMS, BH และBCH จึงถ่วงดัชนีฯจนปิดปรับลดลง ผู้ขายสุทธิเป็น นักลงทุนต่างประเทศ 0.8 พันล้านบาท และบัญชีหลักทรัพย์ 0.6 พันล้านบาท สำหรับผู้ซื้อสุทธิคือ นักลงทุนทั่วไป 0.9 พันล้านบาท และสถาบัน 0.5 พันล้านบาท ด้านแนวโน้มตลาดและกลยุทธ์วันนี้คือ
# ระยะสั้นคาดว่า SET จะได้รับแรงหนุนจากหุ้นกลุ่มพลังงาน เพราะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับขึ้นดี วานนี้ WTI ทะยานถึง 5.2% ส่วนปัจจัยบวกเดิมๆคือ เจรจาการค้า จีนจะนำเข้าสินค้าจากสหรัฐเพิ่ม ด้านเฟดเปิดเผยรายงานการประชุม 18-19 ธ.ค.61 มีแนวโน้มชะลอปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยปีนี้ บอนด์ยิลสหัฐปรับลง เงินบาทกลับมาแข็งค่า มีเงินไหลเข้า และดัชนีความกลัว (VIX) ปรับลดเหลือ 19.98 จุดแล้ว
# ด้านปัจจัยลบคือ ภาวะ Shut Down ล่วงเข้าสู่วันที่ 19 ขณะที่ตลาดหุ้นเพื่อนบ้านปรับลง มีแรงขายทำกำไร หลังขึ้นมารับข่าวเจรจาการค้าระดับหนึ่งแล้ว ดาวโจนส์ล่วงหน้า -58 จุด ณ 8:07 น.
# กลยุทธ์ คือ ทางเทคนิค นักวิเคราะห์เห็นว่า SET จะมีลักษณะผันผวน หากดัชนีฯปรับขึ้น แนวต้านเป็น 1595-1615 หากยืนได้ที่เหนือ 1600จะเป็นสัญญาณทางบวก แต่เมื่อมีแรงขายทำกำไร ดัชนีฯอ่อนตัวลงมาอีกแนวรับจะอยู่ที่ 1575 เป็นแนวรับแรก และ 1565 เป็นแนวรับถัดไปส่วนดัชนีฯเป้าหมายทางพื้นฐานปี 2562 เป็น 1780 จุด (+0.5 SD) ด้วยคาดการณ์อัตราการเติบโตกำไรปี 61-62 ที่ +8%/+6% ตามลำดับแนะนำทยอยสะสมหุ้นพื้นฐานดี หุ้น Top Pick ในงวด 1Q62 คือ AOT,BBL,CPALL,HANA,PTT และ WHA
# หุ้นเด่น KKP : คาดกำไร 4Q61 จะแข็งแกร่ง หนุนโดยสินเชื่อที่ขยายตัวสูงต่อ (9M61 สินเชื่อโต 14.4% คาดว่าทั้งปี 61 จะขยายตัวได้15.6% โดยเป็นการเติบโตในทุกประเภทสินเชื่อ) และรายได้ค่า Fee จากวาณิชธนกิจที่เข้ามาเพิ่มจากดีลใหญ่ เช่น IPO ของโอสถสภา, IPOของ TFFIF เป็นต้น แนวโน้มปี 62 ไปได้ดี ธุรกิจตลาดทุนยังคงแข็งแกร่ง โดยมีดีล IPO ของ PTTOR (บริษัทย่อยของ PTT) ธนาคารจ่ายปันผลสูง คาด Yield ปี 61/62 ปีละประมาณ 7% ต่อปี (จ่ายปีละ 2 ครั้ง) ทาง DBS ให้ราคาพื้นฐาน 12 เดือนข้างหน้าไว้ที่ 97 บาท
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้นภาพตลาดยังผันผวน รีบาวด์กับลงสลับกันเป็นระยะๆ ซื้อใหม่เน้นค่าบวกทั้งราคาหุ้นและดัชนี แนวต้านระยะสั้น 1595-1615 จุด, แนวรับคือ 1575, 1565 จุด หากสามารถยืนเหนือ 1595-1600 จุดได้ จึงจะกลับสัญญาณเป็นบวกได้อีกครั้ง
นักกลยุทธ์&นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]
Inside Story
Key Drivers TODAY : ปัจจัยต่างประเทศ / ปัจจัยในประเทศ
Industry Focus : ธนาคารพาณิชย์ , กลุ่มโรงพยาบาล
In The News : ข่าวเด่นวันนี้
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
+ เจรจาการค้าสหรัฐ-จีน: มีสัญญาณความคืบหน้า จีนจะสั่งซื้อสินค้ามากขึ้น
# นักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับข้อพิพาทการค้าระหว่างสหรัฐและจีน หลังจากการเจรจาการค้าระหว่างเจ้าหน้าที่สหรัฐและจีนซึ่งเสร็จสิ้นลงเมื่อวานนี้ได้ส่งสัญญาณในด้านบวก โดยล่าสุดสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR)ออกแถลงการณ์ระบุว่า ในการเจรจาการค้ากับจีนครั้งนี้ สหรัฐสามารถสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าที่เป็นธรรม และได้รับประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่ายกับจีน
# USTR เปิดเผยว่า จีนได้ให้คำมั่นสัญญาที่จะซื้อสินค้าจำนวนมากจากสหรัฐ โดยมีการหารือถึงคำมั่นสัญญาของจีนในการซื้อสินค้าจำนวนมากจากสหรัฐในด้านการเกษตร, พลังงาน รวมทั้งสินค้าในภาคการผลิตและบริการ
# ส่วนในอนาคตอันใกล้ สหรัฐและจีนจะจัดการประชุมระดับรัฐมนตรี โดยนายโรเบิร์ต ไลท์ไฮเซอร์ ผู้แทนการค้าสหรัฐและนายหลิว เหอ รองนายกรัฐมนตรีจีน ซึ่งเป็นที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง จะเข้าร่วมการประชุม
+ สหรัฐ: เฟดมีแนวโน้มจะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยปีนี้
# รายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประจำวันที่ 18-19 ธ.ค. 2561 ซึ่งระบุว่า กรรมการเฟดส่วนใหญ่สามารถอดทนต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เมื่อพิจารณาจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน และแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ รายงานการประชุมยังระบุด้วยว่า "กรรมการหลายคนกล่าวว่า ก่อนที่เฟดจะปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งนั้น เฟดจำเป็นจะต้องพิจารณาถึงความเสี่ยงต่างๆที่เกิดขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา"
- สหรัฐ: ภาวะชัตดาวน์ยังไม่คลี่คลาย
# ทางการสหรัฐได้เลื่อนการเปิดเผยข้อมูลหลายรายการในสัปดาห์นี้ เนื่องจากผลกระทบของภาวะชัตดาวน์ ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และอัตราเงินเฟ้อเดือนธ.ค.
# นักลงทุนยังคงติดตามสถานการณ์ที่หน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐถูกปิดทำการเนื่องจากขาดงบประมาณ หรือชัตดาวน์ ซึ่งล่วงเข้าสู่วันที่ 19 เนื่องจากทำเนียบขาวและแกนนำพรรคเดโมแครตในสภาคองเกรสยังไม่สามารถตกลงกันได้ในประเด็นการจัดสรรงบประมาณสร้างกำแพงกั้นชายแดนเม็กซิโกวงเงินกว่า 5 พันล้านดอลลาร์
+ ภาวะตลาดหุ้นสหรัฐ : ดาวโจนส์ปรับขึ้นต่อ แต่ในอัตราที่น้อย
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 23,879.12 จุด เพิ่มขึ้น 91.67 จุด หรือ +0.39% ขณะที่ดัชนี Nasdaq ปิดที่6,957.08 จุด เพิ่มขึ้น 60.08 จุด หรือ +0.87% และดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,584.96 จุด เพิ่มขึ้น 10.55 จุด หรือ +0.41%
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (9 ม.ค.) หลังจากมีรายงานว่า การเจรจาการค้าระหว่างเจ้าหน้าที่สหรัฐและจีนมีความคืบหน้า โดยทั้งสองฝ่ายสามารถลดช่องว่างของความคิดเห็นที่แตกต่างกันในประเด็นการค้านอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยหนุนจากรายงานการประชุมในเดือนธ.ค.ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งส่งสัญญาณว่าเฟดจะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
+ ภาวะตลาดน้ำมัน : ทะยาน เจรจาการค้าคืบหน้า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐลดลง
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.พ. พุ่งขึ้น 2.58 ดอลลาร์ หรือ 5.2% ปิดที่ 52.36 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค. 2561
# สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 2.72 ดอลลาร์ หรือ 4.6% ปิดที่ 61.44 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนธ.ค. 2561
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 5% เมื่อคืนนี้ (9 ม.ค.) ทำสถิติปิดในแดนบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 8 เนื่องจากนักลงทุนยังคงขานรับการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีนที่ส่งสัญญาณคืบหน้า นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยหนุนการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) รวมทั้งสต็อกน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลงในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก : ปิดปรับขึ้น จากเงินดอลลาร์อ่อน
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ. เพิ่มขึ้น 6.10 ดอลลาร์ หรือ 0.47% ปิดที่1,292.00 ดอลลาร์/ออนซ์
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (9 ม.ค.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ รวมทั้งการที่เจ้าหน้าที่ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ออกมาส่งสัญญาณถึงการชะลอปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ขณะที่นักลงทุนจับตารายงานการประชุมเฟดประจำเดือนธ.ค.ซึ่งจะมีการเปิดเผยหลังจากตลาดทองคำนิวยอร์กปิดทำการแล้ว
ปัจจัยในประเทศ
- การแพทย์: กกร.ไฟเขียวขึ้นบัญชีควบคุม ยาและเวชภัณฑ์-บริการทางการแพทย์
#“สนธิรัตน์”เป็นประธานถก กกร. ไฟเขียวเพิ่มยาและเวชภัณฑ์ และบริการทางการแพทย์ เป็นสินค้าและบริการควบคุมพร้อมตั้งคณะอนุกรรมการหาข้อสรุปมาตรการดูแล เผยได้ถอดน้ำตาลทราย เยื่อกระดาษ เม็ดพลาสติก และแบตเตอรี่รถยนต์ ออกจากบัญชีควบคุมด้วย เตรียมเสนอ ครม. สัปดาห์หน้า
# ผลกระทบ: เป็นลบกับหุ้นกลุ่มโรงพยาบาล โดยเฉพาะระดับ premium ได้แก่ BDMS, BH และ BCH ระยะนี้แนะนำให้ชะลอการลงทุนออกไปก่อน คาดว่าเรื่องนี้จะทำให้การลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ชะงักงันไประยะหนึ่ง เพราะจะมีเรื่องค้างคา(Overhang) อยู่ เพราะต้องใช้เวลากว่าจะผ่าน ครม. การเลือกคณะอนุกรรมการ และการใช้เวลาหาข้อสรุปในทางปฏิบัติเพื่อสะท้อนไปยังประมาณการของนักวิเคราะห์ และราคาพื้นฐานต่อไป
+ การลงทุน: ยอดขอส่งเสริมปี 2561 เกินเป้าหมายร้อยละ 25 มูลค่าเงินลงทุน 9 แสนล้านบาท
# รองนายกรัฐมนตรี สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เผยการขอรับส่งเสริมการลงทุนในปี 2561 มีจำนวน 1,626 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 901,770 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย ถึงร้อยละ 25 และเป็นคำขอลงทุนในพื้นที่อีอีซีกว่า 680,000 ล้านบาทโครงการขนาดใหญ่อยู่ในกลุ่มปิโตรเคมี ค่ายรถยนต์แห่ยื่นขอลงทุนผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (Aspen)
# สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ตั้งเป้าคำขอส่งเสริมการลงทุนปี 62 เงินลงทุน 7.5 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นเป้าหมายใกล้เคียงปี 61
# ผลกระทบ: ยอดขายนิคมในช่วง 4Q61 กระเตื้องดีขึ้นมาก ยังผลให้ยอดขายรวมตลอดปี 61 ออกมาดี เรายังชื่นชอบหลักทรัพย์ที่มีพื้นฐานดี และมีแลนด์แบงค์ในเขต 3 จังหวัด ที่สังกัดอยู่ในนโยบายระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC)คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยองเป็นจำนวนมาก ได้แก่ AMATA, ROJNA และ WHA
• ธนาคารพาณิชย์: การพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
# สมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ในช่วงนี้ธนาคารพาณิชย์ยังคงดูแลเรื่องการปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างระมัดระวัง เชื่อว่าธนาคารแต่ละแห่งคงพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงรายได้ ต้นทุนค่าใช้จ่าย และความสามารถในการแข่งขัน
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]