- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 28 December 2018 14:05
- Hits: 5020
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน At The Open
บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน At The Open
สรุปการลงทุนปี 2018 และมุมมองปี 2019
ปัญหาการเมืองโลก (Trump) ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นในปีที่ผ่านมา และคาดยังคงส่งผลต่อใน 1H19 : ปีที่ผ่านมาถือเป็นการลงทุนที่ผิดคาดจากเมื่อต้นปีอย่างมากโดย MSCI World Index ลดลง 11.5%, MSCI Asia Pacific Ex-Japan ลดลง 17.2%
SET Index ปรับตัวลงประมาณ 200 จุด หรือคิดเป็น 12% และหากอิงข้อมูลจาก Bloomberg ณ.วันที่ 28 ธ.ค. พบว่าในปีนี้มีจำนวนหุ้นที่ปรับตัวลงมากกว่า 438ตัว (คิดเป็น 74%) และหุ้นที่ปรับตัวขึ้นมีเพียง 147 ตัว ในขณะที่ 10 หุ้น กดดันดัชนีมากที่สุดได้แก่ KBANK, CPALL, TOP, BJC, CBG, MINT, CPN, PTTGC, BEAUTY, ADVANC และ 10 หุ้น ที่ผลักดันดัชนีสูงสุดได้แก่ PTT, PTTEP, BDMS, GULF,BEM, KTC, HMPRO, MTC, EGCO, AEONTS
สาเหตุหนีไม่พ้นปัญหาการเมืองโลกระหว่าง สหรัฐอเมริกาและจีน ที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี IT, AI และนโยบายหลักระหว่าง America First กับ Made in China 2025 ส่งผลให้ Trump ริเริ่มนโยบายสงครามการค้าเพื่อเป็นข้อต่อรองให้จีนยอมปฎิบัติตามข้อเรียกร้องต่างๆ ซึ่งฝ่ายจีนเองก็ยังไม่มีท่าทีเห็นด้วย ทำให้การเจรจา 4-5 ครั้ง ตลอดปีที่ผ่านมายังไม่ได้ข้อสรุป และจบปีด้วยการขึ้นภาษีนำเข้าวงเงินรวมสูงกว่า 2.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ประเด็นดังกล่าวแบ่งผลกระทบเป็น
1) ดอลลาร์ที่แข็งค่าจากต้นปี (นักวิเคราะห์เชื่อว่าสหรัฐจะสามารถลดยอดขาดดุลการค้า จากการเริ่มทำสงครามการค้า) ส่งผลให้หลายสกุลเงินในตลาดเกิดใหม่อ่อนค่าในอัตราเร่งโดยเฉพาะ Lira, Peso, Rupiah ทำให้เห็นเม็ดเงินไหลออกจากกลุ่มตลาดเกิดใหม่อย่างมาก ส่งผลให้จำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเม็ดเงินไหลออก (ตุรกีปรับขึ้น 625bps เป็น 24%, อินโดนีเซียปรับขึ้น 175bps เป็น 6%) ในขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจยังอ่อนแอ ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงในเชิงโครงสร้าง
2) ผู้ประกอบการทั่วโลกกังวลและชะลอการผลิต (ยกเลิกการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบ, ไม่กล้าที่จะขยายฐานผลิต) กระทบห่วงโซ่วัตถุดิบทั่วโลก เป็นตัวเร่งให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวเร็วกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้เมื่อต้นปี ล่าสุด IMF และ World bank ปรับประมาณการณ์ GDP โลกจาก 3.9% เหลือ 3.7% และเริ่มเห็นการชะลอตัวของหลายตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะ PMI โดยประเทศที่มีสัดส่วนการส่งออกสูงเมื่อเทียบกับ GDP และประเภทของสินค้าส่งออกส่วนมากอยู่ในห่วงโซ่อุปทาน (ส่งออกวัตถุดิบไปยังประเทศจีน เพื่อประกอบและส่งต่อไปยังสหรัฐและอื่นๆ) หนึ่งในนั่นคือประเทศไทยจะได้รับผลกระทบสูง ซึ่งเริ่มเห็นแล้วในเดือนที่ผ่านมาที่ไทยส่งออกไปประเทศจีนลดลง 9%
3) ราคาน้ำมันดิบ ถูกกดดันทั้งจากฝั่งอุปสงค์และอุปทาน โดยเมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา IMF ปรับประมาณการ GDP สหรัฐและจีนลงเหลือ 2.5% และ 6.2% ตามลำดับ ส่งผลให้เกิดความกังวลอุปสงค์น้ำมันปีหน้าจะเติบโตต่ำกว่าประมาณการเดิมที่เคยคาดไว้ที่ 1.4 ล้านบาร์เรล/วัน (สหรัฐและจีนบริโภคน้ำมันรวมกันเป็นสัดส่วนสูงกว่า 30%) ในขณะที่ด้านฝั่งอุปทานก็ยังมีความไม่แน่นอนสูง โดยเราพบว่าหลายประเทศยังคงเดินหน้าผลิตน้ำมันในระดับสูงสุดอย่างต่อเนื่องนำโดย OPEC ที่ผลิตสูงถึง 33ล้านบาร์เรล (ซาอุดิอาระเบียผลิตเพิ่มเป็น 10.9ล้านบาร์เรล) ลิเบียเพิ่มกำลังการผลิต 150%จากเดือนมิถุนายน เป็น 1.28 ล้าน ในขณะที่สหรัฐก็เพิ่มกำลังการผลิตสูงถึง 11.7 ล้าน เป็นเหตุให้ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับตัวลงมากกว่า 35% QTD กดดัน SET (หุ้นกลุ่มพลังงานคิดเป็นสัดส่วนสูงกว่า 25% ของมูลค่าหลักทรัพย์)
และอีกหนึ่งปัจจัยได้แก่ “การออกกฎหมายจากภาครัฐ” ทั้งเป็นบวกและลบต่อบริษัทจดทะเบียน โดยในช่วงที่ผ่านมาภาครัฐได้เข้ามามีบทบาทต่อหลายอุตสาหกรรมซึ่งมีทั้งเชิงบวก เช่นผ่อนค่าใช้จ่าย TV-Digital, บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นบวกต่อกลุ่มค้าปลีก อย่างไรก็ตามมีหลายนโยบายที่ออกมาและกำลังจะเตรียมออก ซึ่งคาดส่งผลกระทบต่อกำไรบริษัท เช่น พรบ.จัดซื้อจัดจ้าง, ปรับสูตรคำนวณราคาหน้าโรงกลั่นและราคาขายปลีก, ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและการคุมสินเชื่อกลุ่มอสังหา (LTV) ล่าสุดเตรียมนำราคายาและค่ารักษาพยาบาลเป็นสินค้าควบคุม และอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญมากนั่นคือ แนวทางผลประโยชน์ทางภาษี LTF หลังครบกำหนดปลายปีหน้า โดยปัจัยที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด เป็นหนึ่งในเหตุที่ทำให้ SET Index ปีนี้ปรับตัวลงมากถึง 12 %
มุมมองการลงทุนปี 2019 (คาดสะท้อนความกังวลเศรษฐกิจโลกชะลอตัวไปบางส่วน แต่ยังไม่หมด, มีมุมมองเป็นกลางต่อการเลือกตั้งไทย, ลุ้น Flow ไหลเข้าอีกครั้ง 2H19 , เป้าหมาย SET Index ที่ 1743 จุด )
เราประเมินว่าตลาดหุ้นโลก, VIX Index , Bond yield , Dollar และราคาทองคำ ได้ปรับตัวสะท้อนความกังวลเศรษฐกิจโลกชะลอตัวไปแล้วบางส่วน แต่ยังไม่หมด และคาดว่าความกังวลจะยังกดดันตลาดหุ้นต่อไปจนถึงเดือนก.พ. (กำหนด Hard Deadlind เจรจาการค้าสหรัฐ-จีน ในวันที่ 1 มีนาคม) ในขณะเดียวกันเราประเมินว่าสหรัฐกำลังเผชิญกับสถานการณ์ยากลำบาก หรือเรียกว่า “เดินข้างหน้าก็ระแวง ด้านหลังก็กลัวถูกแทง“ กล่าวคือ 1) หากเลือกที่จะเจรจาการค้ากับจีน มีโอกาสสูงที่ยอดขาดดุลการค้าทำระดับสูงสุดต่อเนื่อง (ปัจจุบันเริ่มเพิ่มวงเงินภาษี ยังขาดดุลสูงสุดในรอบ 10ปี) และ 2) หากไม่เจรจาการค้าก็จะส่งผลกดดันเศรษฐกิจโลกอย่างที่เห็นในปัจจุบัน ในขณะที่”ด้านหลัง” อย่างพรรค Democrat ซึ่งภายหลังสามารถครองคะแนนเสียงส่วนมากในสภาล่างได้ ก็เริ่มกดดัน Trump ทั้ง 1) การไล่สอบสวนคดีต่างๆตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งย้อนหลัง ล่าสุด Michael Cohen อดีตทนายความคนสนิท Trump ยอมสารภาพถึงการช่วยเหลือ Trump ยิ่งเป็นการเปิดทางให้ Democrat มีหลักฐานเพิ่มในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ และ 2) การโหวตไม่เห็นชอบต่อนโยบายต่างๆ และในปี 2019 กำไรตลาดหุ้นจะเติบโตในอัตราที่ต่ำลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาจากผลของภาษี ทำให้อาจเห็นดอลลาร์กลับมาอ่อนค่าได้ ประกอบกับการหยุด QE และขึ้นดอกเบี้ยของยุโรป สวนทางเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัว อาจเป็นจุดเริ่มต้นปัญหาเชิงโครงสร้างต่อยุโรปในปีหน้าได้ ปัจจัยที่กล่าวมาทำให้เราประเมินว่าในช่วง 2H19 อาจเห็นเม็ดเงินเริ่มทยอยไหลกลับภูมิภาคเอเชียอีกครั้ง (ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในบทวิเคราะห์กลยุทธ์)
โดย คุณ สรพล วีระเมธีกุล นักกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
Technical View
ย่อตัวหลุด Gap ที่เปิดในช่วงเช้า คาดแกว่งตัวลงต่อตามกรอบ Downtrend : ราคาเปิด Gap ขึ้นในตอนเช้าจาก Sentiment ของตลาดต่างประเทศและราคาน้ำมันโลกที่ปรับตัวขึ้นแรง ปะทะแนวต้าน 1580 และในช่วงบ่ายเกิดแรงขายจากกลุ่มพลังงานและโรงพยาบาล ทำให้ดัชนีปรับตัวลงปิด Gap และปรับตัวลงต่อปิดที่เกือบ Low ของวัน ประกอบกับแนวโน้มหลักที่ยังเป็นขาลง จึงมองว่าดัชนีจะมีแนวโน้มอ่อนตัวลงต่อ ตามกรอบ Downtrend มองแนวรับถัดไปที่ 1540 และ 1500 จังหวะอ่อนตัวทดสอบแนวรับ ยังแนะนำให้ชะลอการซื้อหุ้น
กลยุทธ์การลงทุน
1) มีหุ้น: ต้องทยอยขายกำไรที่แนวต้าน 1580 และ Lock Profit เมื่อหลุด 1575 ขณะนี้หากมีหุ้นแนะนำใช้ 1540 ในการ Stop Loss
2) ไม่มีหุ้น : รอดูแนวโน้มตามแนวรับ จนกว่าดัชนีจะเริ่มหยุดลงและ Rebound
แนวรับ : 1520, 1540 แนวต้าน : 1555, 1565
ข่าวเด่นเช้านี้
CK คว้างาน BEM กว่า 779 ล้าน ซ่อมทางด่วนศรีรัชฯสัญญา 1 ปี เริ่มม.ค.62 (ข่าวหุ้น)
บอร์ด BEM ไฟเขียวเข้าทำสัญญาจ้าง CK ปรับปรุงซ่อมแซมทางพิเศษศรีรัชฯ วงเงิน 779.68 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 1 ปี เริ่มดำเนินการ ม.ค.62 ฟาก "ไพรินทร์" เบรกความแรงคดีค่าโง่ทางด่วน ระบุสังคมอย่ารีบสรุปใช้วิธีต่อสัมปทานแลกยุติข้อพิพาท เพราะกทพ.เพิ่งเริ่มเจรจา-ยังมีหลายออปชั่นให้เลือก แนะบอร์ดควรฟังเสียงสหภาพฯ
ความเห็น : งาน 779 ล้านบาท มูลค่าไม่สูงนักเมื่อเทียบกับขนาดการรับรู้รายได้แต่ละปี 3 หมื่นล้านบาท ปัจจุบันมี Backlog ไม่สูง 5.5 หมื่นล้านบาท มีแนวโน้มจะได้งานรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินประมาณ 7.5 หมื่นล้านบาทช่วยเติม Backlog เราคงแนะนำ ซื้อ จากมูลค่าบริษัทลูก คือ BEM, CKP, TTW ที่สูง 6.5 หมื่นล้านบาท หรือ คิดเป็น 38 บาทต่อหุ้น ประเมินเป้าหมาย 31 บาท
SCC ปักหมุดยึดฐานอาเซียน ทุ่ม 1.8 แสนล้านลุยเวียดนาม (ทันหุ้น)
SCC เดินเกมขยายธุรกิจสู่อาเซียน ทุ่มงบลงทุนกว่า 1.8 แสนล้านบาท ลงทุนโครงการ LSP ประเทศเวียดนาม ควบคู่เร่งลงทุนธุรกิจบริการ-จัดจำหน่ายและกระจายสินค้าอย่างเต็มรูปแบบ ชี้ธุรกิจปูนซีเมนต์ครึ่งปีหลัง 2561 ฟื้นตัวดี ด้านนักวิเคราะห์มองข้ามช็อต ประเมินผลงานปี 2562 โดดเด่น คาดกำไรกลับมาแข็งแกร่งในไตรมาส 1/2562 เชียร์ "ซื้อ" เคาะเป้า 525 บาท
SCC ปักหมุดยึดฐานอาเซียน ทุ่ม 1.8 แสนล้านลุยเวียดนาม (ทันหุ้น)
SCC เดินเกมขยายธุรกิจสู่อาเซียน ทุ่มงบลงทุนกว่า 1.8 แสนล้านบาท ลงทุนโครงการ LSP ประเทศเวียดนาม ควบคู่เร่งลงทุนธุรกิจบริการ-จัดจำหน่ายและกระจายสินค้าอย่างเต็มรูปแบบ ชี้ธุรกิจปูนซีเมนต์ครึ่งปีหลัง 2561 ฟื้นตัวดี ด้านนักวิเคราะห์มองข้ามช็อต ประเมินผลงานปี 2562 โดดเด่น คาดกำไรกลับมาแข็งแกร่งในไตรมาส 1/2562 เชียร์ "ซื้อ" เคาะเป้า 525 บาท
ผลิตไฟฟ้า" จับมือเกาหลีใต้ รุกธุรกิจ LNG ในไทย-ตปท. (ผู้จัดการรายวัน 360 องศา)
"ผลิตไฟฟ้า" จับมือพันธมิตรเกาหลีใต้ รุกธุรกิจ LNG ทั้งในไทยและต่างประเทศ พร้อมตั้งงบลงทุนปีหน้า 1.7 หมื่นล้านบาทขยายการลงทุน โรงไฟฟ้าเพิ่ม หวังดันเป้ากำไรจากการดำเนินโต 6% และสรุป 2 ดีลซื้อกิจการโรงไฟฟ้าในต่างประเทศต้นปีหน้า
ความเห็น : การร่วมเป็นพันธมิตรในโครงการ Paju กับกลุ่ม SK นอกจากจะได้สินทรัพย์โรงไฟฟ้าก๊าซฯ LNG แล้ว ยังได้พันธมิตรที่ดำเนินการในธุรกิจ LNG สามารถต่อยอดการเติบโตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทยที่โอกาสการเพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ LNG มีอยู่มาก อ้างอิงแผน PDP ฉบับใหม่ แนะนำ ซื้อ EGCO ราคาเป้าหมาย 259 บาท (ยังไม่รวมมูลค่าเพิ่ม 14 บาทจากโครงการ Paju)
BGRIM แจ้ง COD เพิ่ม โซลาร์ฟาร์ม ราชการฯ 4 โครงการรวม 20 MW (ข่าวหุ้น)
BGRIM แจ้งโซลาร์ฟาร์ม ส่วนราชการฯ 4 โครงการ กำลังการผลิตรวม 20 MW เริ่ม COD แล้วเมื่อวันที่ 27 ธ.ค.61 จากทั้งหมด 7 โครงการ กำลังการผลิตรวม 30.83 MW ที่มีกำหนด COD ภายในปี 61
ความเห็น : โครงการดังกล่าวได้ถูกรวมไว้แล้วในมูลค่าที่เราประเมินไว้ โดยเราประเมินส่วนแบ่งต่อผลประกอบการปี 2562 ประมาณ 1.4% ถือว่ามีไม่มาก เราแนะนำ Trading Buy BGRIM ราคเป้าหมาย 30 บาท
ปีหมูทองหุ้นโรงไฟฟ้า PDP ดันอีก 5.1 หมื่นเมก (ทันหุ้น)
กลุ่มโรงไฟฟ้าขึ้นแท่นดาวเด่นได้ แผน PDP 2018 ที่วางเป้าเพิ่มกำลังไฟฟ้าใหม่อีก 5.15 หมื่นเมกะวัตต์หนุน เตรียมเคาะ 7 มกราคม 2562 ลุ้นขยายอายุโรงไฟฟ้า SPP ทำ BGRIM โล่ง ขณะที่ยักษ์ใหญ่ เตรียมจ่ายไฟอื้อ โบรกเล็งอัพประมาณการขึ้น
ความเห็น : ข่าวนี้สอดคล้องกับมุมมองของเราที่เชื่อว่าแผน PDP 2018 จะหนุนความน่าสนใจของกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ (IPP) ได้แก่ EGCO GULF GPSC และ RATCH เราเลือก EGCO เป็น Top pick กลุ่มโรงไฟฟ้า แนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย 259 บาท (ยังไม่รวมมูลค่าเพิ่ม 14 บาทจากโครงการ Paju)