- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 28 December 2018 13:54
- Hits: 4638
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนียังผันผวนสูง โดยยังมีแรงกดดันจากราคาน้ำมันดิบโลก แม้เชื่อว่าใกล้จุดต่ำสุด ภายใต้สมมติฐานที่ว่า การเจรจาการค้าจีน-สหรัฐรอบใหม่ น่าจะผ่อนคลายต่อเนื่อง จากเมื่อต้น ธ.ค. แต่มีสัญญาณที่ดีขึ้นจาก fund flow ณ ดัชนีปัจจุบันแนะนำให้สะสมรายหุ้น Top picks CPF(FV@B32) และ PTTEP(FV@B168)
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … ดัชนีผันผวนสูง เปิดตลาดบวก 25 จุด แต่ปิดตลาดลบ 8 จุด
วานนี้ SET Index แกว่งตัวผันผวนในกรอบกว้าง เปิดตลาดบวก 25 จุด ก่อนจะถูกแรงขายหนักในช่วงบ่าย และปิดตลาดที่ 1548.37 จุด ลดลง 8.56 จุด หรือ 0.55% มูลค่าการซื้อขาย 4.95 หมื่นล้านบาท จากแรงขายของกลุ่มพลังงาน ทั้ง PTT และ PTTEP แม้ระหว่างวันจะปรับตัวขึ้นได้โดดเด่นราว 5% แต่ช่วงท้ายตลาดมีแรงขายกดดันราคาหุ้นกลับมาปิดทรงตัวเท่าวันก่อนหน้า ส่วนหุ้นขนาดใหญ่ของกลุ่ม ธ.พ. (KBANK BBL KTB) ยังปิดตลาดแดนลบ และอีกกลุ่มที่มีแรงขายหนักคือ โรงพยาบาล นำโดยหุ้นขนาดใหญ่ของกลุ่มอย่าง BDMS ปรับตัวลดลงแรงกว่า 6.7% BCH -5.6% และ BH -3.7%
แนวโน้มตลาดฯ วันนี้ยังมีความผันผวนสูง ตามราคาน้ำมันดิบโลก แต่เชื่อว่าราคาน้ำมันน่าจะยืนใกล้เคียง 50 เหรียญฯ บวก-ลบ ไม่มาก ภายใต้สมมติฐานที่ว่า การเจรจาการค้าจีน-สหรัฐรอบใหม่ น่าจะผ่อนคลายต่อเนื่อง แต่แน่นอนว่า Government shutdown ในสหรัฐยังคงเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นโลก
ราคาน้ำมันผันผวน แม้สต็อกน้ำมันมีแนวโน้มจะลดลงตามตลาดคาด
สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐ(EIA) จะรายงานสต็อกน้ำมันดิบวันนี้ (เลื่อนจากเมื่อวานเพราะหยุดคริสต์มาส) ตลาดคาดลดลง 2.9 ล้านบาร์เรล ลดลงต่อเป็นสัปดาห์ที่ 4 เพราะโรงกลั่นยังเร่งดำเนินการกลั่นน้ำมันเพื่อรองรับความต้องการใช้ในฤดูหนาว อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบโลกยังคงลงต่อ เพราะกังวลความต้องการใช้น้ำมันโลก จากผลกระทบของสงครามการค้าโลก และน่าจะลดลงในอัตราเร็วกว่าด้าน supply แม้การประชุมกลุ่มผู้ผลิตน้ำมัน มีการตัดลดกำลังการผลิต (ทั้ง OPEC และ Non OPEC ตัดลดปี 2562 ลงอีก 1.2 ล้านบาร์เรล/วัน แยกเป็น OPEC ปรับลด 8 แสนบาร์เรล/วัน และ Non OPEC ปรับลด 4 แสนบาร์เรล/วัน) และยังขยายระยะเวลาการควบคุมกำลังการผลิตน้ำมันไปจนถึง มิ.ย. 2562 ทำให้ภาวะ Oversupply ยังมีอยู่
สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐ(EIA) จะรายงานสต็อกน้ำมันดิบวันนี้ (เลื่อนจากเมื่อวานเพราะหยุดคริสต์มาส) ตลาดคาดลดลง 2.9 ล้านบาร์เรล ลดลงต่อเป็นสัปดาห์ที่ 4 เพราะโรงกลั่นยังเร่งดำเนินการกลั่นน้ำมันเพื่อรองรับความต้องการใช้ในฤดูหนาว อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบโลกยังคงลงต่อ เพราะกังวลความต้องการใช้น้ำมันโลก จากผลกระทบของสงครามการค้าโลก และน่าจะลดลงในอัตราเร็วกว่าด้าน supply แม้การประชุมกลุ่มผู้ผลิตน้ำมัน มีการตัดลดกำลังการผลิต (ทั้ง OPEC และ Non OPEC ตัดลดปี 2562 ลงอีก 1.2 ล้านบาร์เรล/วัน แยกเป็น OPEC ปรับลด 8 แสนบาร์เรล/วัน และ Non OPEC ปรับลด 4 แสนบาร์เรล/วัน) และยังขยายระยะเวลาการควบคุมกำลังการผลิตน้ำมันไปจนถึง มิ.ย. 2562 ทำให้ภาวะ Oversupply ยังมีอยู่
ขณะที่ตลาดหุ้นโลกยังถูกกดดันจาก Government Shut down นับตั้งแต่ 22 ธ.ค. เพราะทรัมป์ ยังไม่อนุมัติงบประมาณชั่วคราว เนื่องจากวุฒิสภา ไม่อนุมัติงบก่อสร้างกำแพงกั้นชายแดนสหรัฐและเม็กซิโก ตามที่ทรัมป์เสนอ จึงต้องรอการประชุมเรื่องนี้อีกครั้งใน 3 ม.ค.2562 โดยทำให้ Government Shutdown ข้ามปีไปถึงต้นปี 2562
หุ้นมือถือกระทบระยะสั้น..ต้องแบกภาระอุดหนุนเครื่อง 2G
ตามที่ฝ่ายวิจัยได้นำเสนอไปในบทวิเคราะห์ Market Talk วันที่ 21 ธ.ค. ถึงประเด็นกดดันกลุ่ม ICT ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะหุ้นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ปัจจัยกดดันประเด็นหนึ่ง คือ การยุติการให้บริการ 2G ในวันที่ 31 ต.ค. 2562 เพราะ กสทช. ต้องการให้ผู้ประกอบการทั้ง 3 ราย คือ ADVANC (ให้บริการ 2G บนคลื่น 900 MHz) DTAC (ให้บริการ 2G บนคลื่น 1800 MHz) และ TRUE (ให้บริการ 2G บนคลื่น 900 MHz) นำคลื่น 2G มาพัฒนาการให้บริการ 5G ภายในปี 2563
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยยังเชื่อว่าคลื่นดังกล่าว จะถูกนำไปพัฒนา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพบริการ 3G, 4G เท่านั้น ซึ่งอยู่ระหว่างการลงทุนและเพิ่มโครงข่าย ทั้งนี้กำลังให้บริการที่ใช้ 2G ปัจจุบันอยู่ที่เพียง 2.5 MHz ยังต่ำกว่ากำลังให้บริการมาตรฐานสำหรับ 5G ที่ต้องใชhคลื่นจำนวนมากกว่า 100 MHz อีกทั้งคลื่น 900 และ 1800 MHz ไม่เข้าข่ายที่จะถูกเลือกเป็นคลื่นหลักที่ให้บริการ 5G หากเปรียบเทียบในต่างประเทศที่ นิยมใช้คลื่นอื่น ๆ เช่น 700, 3500 และ 28000 MHz เป็นต้น และทั่วโลกยังพัฒนา 5G ในเชิงพาณิชย์น้อยมาก ยกเว้น สหรัฐที่พัฒนา 5G แทน Internet บ้าน
ทั้งนี้การที่ operator ต้องเป็นผู้แบกรับต้นทุน ให้กับลูกค้า 2G เพื่อยกขึ้นมาใช้ 3G/4G ตกราวค่าเครื่องละ 700 บาท ซึ่งจะทำให้ต้นทุนของทั้ง 3 รายเพิ่มขึ้น และกระทบงบกำไรขาดทุนปี 2562 โดย DTAC กระทบมากสุดคือลดลง 19.5% รองลงมาคือ ADVANC, TRUE ลดลง 3.2% และ 9.7% ตามลำดับ ถือเป็นปัจจัยกดดันระยะสั้น แต่อย่างไรก็ตามน่าจะเป็นผลดีระยะยาว เพราะจะช่วยลดต้นทุนคงที่ ที่เกี่ยวข้องกับบริการ 2G เช่น ค่าเช่าสถานีฐาน 2G ที่เป็นทรัพย์สินภายใต้สัญญาสัมปทาน, ค่าบำรุงรักษาโครงข่าย และน่าจะเพิ่มรายได้ที่ดีขึ้น ซึ่งจะทำให้รายได้ค่าบริการเฉลี่ยต่อเลขหมาย (ARPU) เพิ่มทั้งบริการเสียงและข้อมูล จากเดิมที่ใช้เฉพาะเสียง
โดยสรุป ฝ่ายวิจัยประเมินดีกับกำไรกลุ่มระยะยาว เบื้องต้นคาด ADVANC, DTAC จะได้ประโยชน์ปีละ 500 ล้านบาท สูงกว่า TRUE ที่จะได้ 200 ล้านบาท เนื่องจากฐานลูกค้า 2G ของ TRUE น้อยกว่ารายอื่น โอกาสต่อยอดรายได้ต่ำกว่า โดยกำไรระยะยาวส่วนเพิ่มดังกล่าวเป็นกำไร ADVANC, DTAC และ TRUE ที่เพิ่มขึ้นนับจากปี 2563 เฉลี่ย 1.4%, 7.8% และ 2.8% ตามลำดับ
แรงขายหุ้นไทยจากต่างชาติในเดือน ธ.ค. ถือว่าเบาสุดในปี 2561
วานนี้ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาค 335 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 6 วัน) และเป็นการซื้อสุทธิถึง 3 ประเทศ เริ่มจากตลาดหุ้นไต้หวันซื้อสุทธิ 270 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 6 วัน) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 110 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2), อินโดนิเซีย 17 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 7 วัน) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 2 ประเทศต่างชาติขายสุทธิ คือ ฟิลิปปินส์ 6 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 8) และไทยที่ถูกขายสุทธิอีก 56 ล้านเหรียญ หรือ 1.83 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) ตรงข้ามกับสถาบันฯที่ซื้อสุทธิสูงถึง 4.55 พันล้านบาท
แม้วานนี้ต่างชาติจะขายหุ้นไทยมากสุดในภูมิภาค แต่หากพิจารณาตลอดทั้งเดือน ธ.ค. พบว่า ต่างชาติขายสุทธิเพียง 2.82 พันล้านบาท (mtd) เท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน และยังเป็นเดือนที่ขายสุทธิน้อยที่สุดในปี 2561 โดยทั้งปี 2561 ต่างชาติขายหุ้นไทยเฉลี่ยสูงถึงเดือนละ 2.42 หมื่นล้านบาท ด้วยแรงขายจากต่างชาติที่เบาลง ประกอบกับตลาดหุ้นไทยน่าจะตอบรับปัจจัยลบภายนอก รวมถึงราคาน้ำมันที่ปรับตัวลงแรงไปมากแล้ว ดังนั้นการที่ราคาหุ้นปรับฐานลงมา ถือเป็นโอกาสในการเข้าสะสมหุ้นพื้นฐานแข็งแกร่ง โดยทางฝ่ายวิจัยฯ หวังว่านักลงทุนจะได้ผลตอบแทนดี พอร์ตอ้วนๆ ดั่งปีหมูที่กำลังจะเข้ามา
ภรณี ทองเย็น
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
Technical Buy Signal
TMB : เบาะรองรับ
ราคาล่าสุด
2.18 บาท
เปิดสถานะซื้อ
2.14 บาท
เป้าหมาย
2.24 บาท
จุดตัดขาดทุน
2.08 บาท
ประเด็นวิเคราะห์
TMB ภาพรวมราคามีกรอบการเคลื่อนไหวหลักอยู่ที่ 2.14 – 2.38 บาท ซึ่งก่อนหน้านี้ ราคาได้ปรับตัวขึ้นไปทดสอบแนวต้านกรอบบนและไม่ผ่าน จึงเข้าสู่โหมดของการปรับฐานเพื่อกลับลงมาทดสอบกรอบล่างที่ 2.14 บาท (Low วันที่ 20 ส.ค. 61)
ประกอบกับ RSI ที่เข้าใกล้เขต Oversold จึงประเมินว่า Downside เริ่มจำกัด และน่าจะเห็นจังหวะ Technical Rebound ได้ในระยะสั้นที่แนวรับข้างต้น
คำแนะนำ
รอรับที่ 2.14 บาท เป้าทำกำไรที่ 2.24 บาท และตั้ง Cut Loss ที่ 2.08 บาท
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์ : 052647
ชาญชัย พันทาธนากิจ
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 064045
จรรยธรณ์ จึงจิรานนท์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์