- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 24 December 2018 15:20
- Hits: 9873
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2561
ปัจจัยกดดันรอบด้าน ทั้งการปิดหน่วยราชการในสหรัฐ ราคาน้ำมันตกต่ำ และภัยธรรมชาติในอินโดนีเซีย รวมถึงการส่งออกไทยที่ชะลอตัวจากสงครามการค้า แต่น่าจะเป็นประเด็นที่ตลาดได้ประเมินไว้แล้ว ระยะสั้นตลาดหุ้นไทยที่แกว่งตัวต่ำกว่า 1600 จุด แต่มี P/E 14 เท่า น่าจะดึงดูดต่างชาติ กลยุทธ์ยังเน้นไปยังหุ้น Domestic Play ที่มีการเติบโตโดดเด่นในปี 2562 DTAC(FV@B60) และได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น KBANK(FV@B251) เลือก เป็น Top picks
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย ….กลุ่มค้าปลีกกดดัน SET Index ไม่ผ่าน 1600 จุด
วันศุกร์ที่ผ่านมา SET Index แกว่งในแดนลบและปิดตลาดที่ระดับ 1595.33 จุด ลดลงเล็กน้อย 0.77 จุด (-0.05%) มูลค่าการซื้อขาย 4.7 หมื่นล้านบาท แม้แรงขายหุ้นขนาดใหญ่จะลดลง หลังหุ้นกลุ่มพลังงาน PTT PTTGC PTTEP กลับมายืนทรงตัวและปิดบวกได้ ตามราคาน้ำมันดิบโลกที่รีบาวด์ขึ้นมา แต่แรงขายที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากหุ้นขนาดกลาง-เล็ก เป็นหลัก นำโดยหุ้นกลุ่มค้าปลีก BJC -4.61% ROBINS -1.1% รวมถึง BEAUTY ปรับตัวลง 7.3% ส่วนหุ้นกลุ่มโรงแรมและอาหาร อย่าง MINT อ่อนตัวลง 2.84% ซึ่งประเด็นกดดันหลักมาจากตัวเลขนักท่องเที่ยวจีนเดือน พ.ย. ลดลง ส่วนรายหุ้นอย่าง HANA และ TU ปรับตัวลง 4.4% และ 1.8% ตามลำดับ หลังกระทรวงพาณิชย์รายงานตัวเลขส่งออกหดตัวจากประเด็นสงครามการค้ากดดัน
แนวโน้มตลาดฯ วันนี้คาดน่ายังคงแกว่งตัวต่ำกว่า 1600 จุด จากปัจจัยกดดันรอบด้าน ทั้งหุ้นน้ำมันตามการตกต่ำของน้ำมัน การ shutdown หน่วยงานภาครัฐ และปัญหาภัยธรรมชาติในอินโดนีเซีย ขณะที่ส่งออกไทยชะลอตัวจากสงครามกาค้า แต่ถือได้ประเมินไว้แล้ว ยังให้น้ำหนักหุ้น Domestic Play ที่ได้รับแรงหนุนจากหุ้น ดอกเบี้ยขาขึ้นตามตลาดโลก และหุ้นที่มีการเติบโตจากเศรษฐกิจในประเทศ เชื่อว่าจะดึงดูดเม็ดเงินต่างชาตินับจากนี้
ส่งออกชะลอไทยหดตัวเดือน พ.ย. และชะลอปีหน้า ตลาดน่าจะรับรู้แล้ว
ยอดส่งออก(รูปดอลลาร์) เดือน พ.ย. พลิกกับมาหดตัวอีกครั้ง 0.9%yoy ที่ 2.12 หมื่นล้านเหรียญ(หน่วยบาทหดตัว 2.4%) จาก 8.7% ในเดือน ต.ค. (ส่งออกเฉลี่ย 11M61 ขยายตัว 7.3%) โดยตลาดส่งออกหลักๆ ชะลอตัวจากผลสงครามการค้า เริ่มจาก
จีน (อันดับ 2 ราว 12.2% ของตลาดส่งออกทั้งหมด) หดตัว 8.9% จากเติบโต 3.% เดือน ต.ค. และ ตลาดอื่นๆ ชะลอตัวเช่นกันคือ ญี่ปุ่นเติบโตเหลือ 4.26% จาก 18.74% ในเดือนก่อน, มาเลเซียขยายตัว 2.6% จาก 6% ในเดือน ต.ค., ฮ่องกงหดตัว 11.2% นับเป็นการต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3, ออสเตรเลียและอินโดนีเซียพลิกกลับมาหดตัว 11.59% และ 2.29% จากที่ขยายตัว 1.11% และ 24.91% ตามลำดับ
ทั้งนี้ยกเว้นสหรัฐ (ตลาดส่งออกอันดับ 1 ราว 12.36%) ขยายตัว 11.89% จาก 7.21% ในเดือน ต.ค. เพราะยอดอากาศยาน และส่วนประกอบเพิ่มขึ้น 2,112% ที่ 138 ล้านเหรียญฯ จากเฉลี่ยปกติ 6 ล้านเหรียญฯ (ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด)
สินค้าส่งออกสำคัญหดตัว อาทิ รถยนต์และส่วนประกอบหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 7.97%, คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบหดตัวเดือนที่ 2 ราว 6.13%, ผลิตภัณฑ์ยาง, อัญมณี และเม็ดพลาสติกเติบโตในอัตราลดลงเหลือ 4.74%, 25.42% และ 3.4% จากเดือนก่อนหน้าราว 5.81%, 62.48% และ 24.03% ตามลำดับ
ด้านนำเข้ายังเติบโตสูง 14.7% (หน่วยบาทขยายตัว 13.0%) จาก 11.2% เดือน ต.ค. ส่งผลให้การนำเข้าเฉลี่ย 11M61 ขยายตัว 14.8% หลักๆ เป็นการนำเข้าน้ำมัน และวัตถุดิบเพื่อการส่งออก เช่น เคมีภัณฑ์, เหล็ก และคอมพิวเตอร์ รวมถึงนำเข้าเครื่องจักรไฟฟ้าเพิ่มเป็นเดือนที่ 8
โดยรวมยอดสส่งออก 11 เดือน เติบโต 7.2% สอดคล้องกับ ASPS คาดยอดส่งออกปี 2561 ที่ 7% ในปี 2561และชะลอเหลือ 0.5% ปี 2562 ส่วนยอดนำเข้าเพิ่ม 11% และ 3.0% ตามลำดับ ซึ่งประเด็นนี้ ตลาดน่าจะรับรู้ไปแล้ว
ต่างชาติขายหุ้นทุกประเทศในภูมิภาค ยกเว้นไทย
วันศุกร์ที่ผ่านมา ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่า 317 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิถึง 4 ประเทศ เริ่มจากตลาดหุ้นเกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 143 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยไต้หวัน 142 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2), อินโดนีเซีย 57 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6) และฟิลิปปินส์ 9 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6) ยกเว้นตลาดหุ้นไทยเพียงแห่งเดียวที่ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ 33 ล้านเหรียญ หรือ 1.08 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิมา 2 วัน) หนุนให้ยอดซื้อสุทธิสะสมในเดือน ธ.ค. บวกเล็กน้อย 1.63 พันล้านบาท (mtd) และเป็นเดือนแรกของปีที่มียอดซื้อสุทธิเป็นบวก เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 528 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3)
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ไทย ต่างชาติขายสุทธิ 2.34 พันล้านบาท (ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาขายสุทธิไป 6.07 พันล้านบาท) โดยเป็นการขายสุทธิทั้งในตราสารหนี้ระยะสั้น (T<1) 273 ล้านบาท และตราสารหนี้ระยะยาว (T>1) 2.31 พันล้านบาท
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค
กลยุทธ์การลงทุน เน้นหุ้น Domestic Play : หุ้นค้าปลีก และเติบโตเหนือตลาด
เข้าสู่สัปดาห์สุดท้ายของปี 2561 แต่ปัจจัยกดดันรอบด้านยังคงมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมันที่ยังคงลดลงต่อเนื่อง ล่าสุดราคาน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 52 เหรียญฯ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบกว่า 15 เดือน จากความกังวลในเรื่อง oversupply และ demand ที่ชะลอตัวลงในปีหน้าจากผลกระทบสงครามการค้า กดดันต่อหุ้น Global โดยเฉพาะหุ้นน้ำมันให้ราคาหุ้นปรับลดลง ขณะที่การเมืองสหรัฐเกิดความขัดแย้งขึ้นในวุฒิสภาสหรัฐเกี่ยวกับร่างงบประมาณชั่วคราวที่ไม่ได้บรรจุงบฯ ในการสร้างกำแพงกั้นชายแดนสหรัฐและเม็กซิโก ทำให้ประธานาธิบดีทรัมป์ ไม่ลงนามในร่างฯ ดังกล่าว ส่งผลห้เกิด Government Shutdown ขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งอาจจะกินระยะเวลาไปจนถึงช่วงปีใหม่ ทำให้ตลาดหุ้น Dow Jones สหรัฐ ปรับตัวลดลงกว่า 400 จุด หรือ 1.8% นอกจากนี้ ภัยพิบัติสึนามิที่เกิดขึ้นกับประเทศอินโดนีเซียเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา น่าจะสร้าง sentiment เชิงลบแก่ตลาดหุ้นภูมิภาคเอเชีย และตลาดหุ้นไทย ในระยะสั้น ๆ
กลยุทธ์การลงทุนในสภาวะตลาดปรับฐานเช่นนี้ จึงเน้นไปที่หุ้น Domestic Play ที่มีผลการดำเนินงานเติบโตโดดเด่นเหนือตลาด รวมทั้งหุ้นที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น และ ได้ประโยชน์จากมาตรการภาครัฐ ดังนี้
• หุ้นที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น : ฝ่ายวิจัยแนะนำ BBL(FV@B233) โดยดอกเบี้ยที่ขึ้นทุกๆ 0.25% จะทำให้กำไรสุทธิปี 2562 เพิ่มขึ่น 3.01% ขณะที่คาดกำไรสุทธิปี 2561-62 เติบโต 9.4% yoy และ 5.2% yoy แรงหนุนมาจากการเติบโตของธุรกิจหลักจากสินเชื่อรายใหญ่และ SME ที่จะได้รับผลบวกจากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐและเอกชนที่ทยอยเกิดขึ้น และ KBANK (FV@B251) โดยดอกเบี้ยที่ขึ้นทุกๆ 0.25% จะทำให้กำไรสุทธิปี 2562 เพิ่มขึ่น 1.58% คาดกำไรสุทธิปี 2561-62 เติบโต 12.2% yoy และ 4.9% yoy ขณะที่ราคาหุ้นปรับลดลงจน laggard กว่าธ.พ.ใหญ่อื่นๆ โดย upside เปิดกว้างกว่า 34%
• ประโยชน์จากภาครัฐ โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่งออกในลักษณะของ Modern Trade ซึ่งราคาหุ้นยังมี upside คือ BJC(FV@B61), CPALL(FV@B80)
• หุ้น Domestic ทีมีผลการดำเนินงานเติบโตโดดเด่นเหนือตลาด ดังตารางด้านล่าง
ภรณี ทองเย็น
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์