WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
 
กลยุทธ์การลงทุน
คาดราคาน้ำมันดูไบน่าจะทรงตัวต่ำกว่า 60 เหรียญฯ สะท้อนเศรษฐกิจโลกชะลอตัว คาดว่า Demand น้ำมันดิบโลกจะใกล้เคียงกับช่วงวิกฤติซับไพรม์ ทำให้ความจำเป็นในการตัดลดการผลิตของ OPEC ยังมีอยู่ ซึ่งในสถานการณ์นี้น่าจะดีต่อผู้ที่ใช้น้ำมันเป็นวัตถุดิบ คือ TASCO, IRPC, SCC  กลยุทธ์การลงทุนยังเน้นสะสมหุ้น Domestic (ROBINS, CPALL, BJC) มือถือ (ADVANC, DTAC) และสาธารณูปโภค (EASTW, TTW) Top picks เลือก EASTW([email protected]) upside สูง 22% ให้ Div Yield 4.11% และ TASCO(FV@B18) ได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันขาลง
 
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทยวานนี้ ….SET Index ปิดบวกตามตลาดหุ้นภูมิภาค 
วานนี้ SET Index ค่อยๆ ฟื้นตัวมายืนแดนบวกตามตลาดหุ้นในภูมิภาค และปิดตลาดที่ระดับ 1630.77 จุด เพิ่มขึ้น 8.67 จุด (+0.53%) มูลค่าการซื้อขาย 3.37 หมื่นล้านบาท แม้จะมีปัจจัยกดดันตลาดฯ จากราคาน้ำมันดิบโลกอ่อนตัวลงหนักในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้มีแรงขายกดดันในหุ้นกลุ่มน้ำมัน-ปิโตรฯ อย่าง PTT PTTEP ปรับตัวลดลงอีก 0.5% และ 1.5% และ PTTGC (-2%) ยกเว้น IRPC ที่ได้ประโยชน์จากต้นทุนที่ลดลงตาม ราคาน้ำมันดิบโลก (อ่านรายละเอียดในย่อหน้าถัดไป)  ตรงกันข้ามกลุ่มธนาคารฯ ที่ outperform  ได้แก่ BBL, SCB  และ KTB,  ตามด้วยหุ้นกลุ่ม ICT  นำโดย DTAC ส่วนกลุ่มค้าปลีกยังทรงหรือบวกเล็กน้อย (BJC, ROBINS, BJC) เพราะได้ประโยชน์จากการกระตุ้นภาครัฐ  ทั้งนี้มีแรงเก็งกำไรหุ้นที่ได้ประโยชน์จากน้ำมันขาลงคือ สายการบิน (AAV BA THAI) และวัสดุก่อสร้างที่ได้ประโยชน์มากสุดในกลุ่มคือ TASCO (+4.1%)  และ SCC (0.9%) 
แนวโน้มดัชนีวันนี้ น่าจะยังแกว่งตัวในกรอบ 1620-1645 จุด แม้จะได้รับ sentiment เชิงบวกจากตลาดต่างประเทศ แต่เชื่อว่าโอกาสปรับฐานในปลายสัปดาห์นี้ยังมี ก่อนจะมีข้อสรุปรอบสุดท้าย สหรัฐจะขึ้นภาษีนำเข้าจากจีน อีกครั้งมูลค่าวงเงิน 2.67 แสนเหรียญฯ  ในการประชุม G-20 วันที่ 30 พ.ย. – 1 ธ.ค. นี้  และการประชุม OPEC 6 ธ.ค. น่าจะตัดลดการผลิตน้ำมัน รวมถึงควบคุมการผลิตของ OPEC และNon-Opec ต่อไปอีก 1 ปี แต่น้ำหนักการลดลงของ Demand ยังแรงกว่าการตัด Supply ราคาน้ำมันมีโอกาสแกว่งตัวต่ำกว่า 60 เหรียญฯ ต่อไป  
หากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว การใช้น้ำมันน่าจะหดตัวใกล้เคียงปี 2551-52  
ปัจจัยต่างประเทศยังให้น้ำหนัก 30 พ.ย. – 1ธ.ค. ซึ่งเป็นการประชุม G-20 ที่อาร์เจนตินา ซึ่งประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์และสี จิ้นผิงจะพบปะและเจรจานอกรอบในประด็นเรื่องการกีดกันการค้า  โดยเชื่อว่าการเจรจาจะไม่ได้ข้อสรุป และสหรัฐ น่าจะเดินหน้าขึ้นภาษีนำเข้ากับจีนต่อ  สะท้อนจากเมื่อวานนี้ ประธานาธิบดีทรัมป์ให้สัมภาษณ์ผ่าน Wall Street Journal  ยังคงเน้นย้ำว่าหากการเจรจากับจีนในการประชุม G20 ในรอบนี้ไม่สำเร็จ  พร้อมจะเดินหน้าขึ้นภาษีนำเข้ากับจีนรอบที่ 4 วงเงิน 2.67 แสนล้านเหรียญ และคาดอัตราภาษีราว 10-25% (จากเดิมไม่ได้ระบบุ) 
และติดตามวันที่  6 ธ.ค. การประชุม OPEC ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย  คาดว่าประเทศในกลุ่ม OPEC อาจจะขยายระยะเวลาปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันที่จะสิ้นสุดปลายปีไปถึงปี 2562 พร้อมจะลดกำลังการผลิตในปีหน้าลงอีกราว 1.4 ล้านบาร์เรล/วัน  เทียบกับ IEA คาดความต้องการใช้น้ำมันปี 2562 จะเพิ่มขึ้น 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็น 99.8 ล้านบาร์เรล ซึ่งทรงตัวจากปี  2561 ยังต่ำกว่า Supply ที่ 100.3 ล้านบาร์เรล/วัน  แต่หากเทียบกับช่วงวิกฤตซับไพรม์ ปี  2551 พบว่า  Demand น้ำมันอยู่ที่ 85.2  ล้านบาร์เรล/วัน ต่ำกว่า Supply ที่ 86.3  ล้านบาร์เรล/วัน โอกาสที่ Demand น้ำมันโลกจะลดลงต่ำกว่า 90  ล้านบาร์เรลต่อวัน หากเกิดผลกระทบจากสงครามการค้ารุนแรง ซึ่งน่าจะกดดันราคาน้ำมันตำกว่า 60 เหรียญฯ ต่อไป  
โดยรวมราคาน้ำมันดิบโลกยังแกว่งตัวลง แม้ได้ปรับลดลงต่อเนื่องราว 30% นับตั้งแต่ 3 ต.ค.61 (จุดสูงสุดของปี) จนถึงปัจจุบัน ล่าสุด ราคาน้ำมันดูไบ อยู่ที่ 59.2 เหรียญฯ (เฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี หรือ ytd อยู่ที่  70.8 เหรียญฯ)  ซึ่งต่ำกว่าสมมติฐานของ ASPS  ปี 2562 ที่กำหนดไว้  65 เหรียญฯ และ 70 เหรียญฯ ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป และเป็นไปได้ที่ราคาน้ำมันดูไบจะต่ำกว่า 60 เหรียญฯ ในช่วงสั้น ทั้งนี้ราคาน้ำมันที่ปรับลงทุกๆ  5 เหรียญฯต่อบาร์เรล จะทำให้ประมาณการกำไรปี 2562 และ 2563 ของ PTTEP ลดลง 13.3% และ 15.6% จากเดิม ส่วน PTT ลดลง 9.7% และ 7.0% จากเดิม และพร้อมปรับไปใช้มูลค่าพื้นฐาน ณ สิ้นปี 2562 ที่ 148 บาท/หุ้น และ 56 บาท/หุ้น ตามลำดับจึงยังแนะนำ “switch” PTTEP (FV@B148) และ PTT (FV@B56)  รวมถึงหุ้นที่อิงเศรษฐกิจจากภายนอก เช่น IVL, TOP  น่าจะเผชิญแรงขายต่อเนื่อง
น้ำมันลงหุ้นที่ได้ประโยชน์มากสุด คือ TASCO, IRPC และ SCC
ดังที่ฝ่ายวิจัยได้นำเสนอไปวานนี้ ถึงราคาน้ำมันดิบโลกที่ลดลง ดีต่ออุตสาหกรรมที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงเป็นต้นทุนหลัก เริ่มจากกลุ่มวัสดุก่อสร้าง เนื่องจากผู้ประกอบการในกลุ่มวัสดุก่อสร้าง ใช้เชื้อเพลิงในการผลิตที่แตกต่างกัน  ผู้ที่ได้ประโยชน์สูงสุดน่าจะเป็นผู้ผลิตยางมะตอย (TASCO) ซึ่งต้นทุนกว่า 90% มาจากการนำเข้าน้ำมันดิบ (Crude) จากการประเมิน พบว่าราคาน้ำมันดิบที่ลดลงทุก 10 เหรียญฯ/บาร์เรล จะทำให้ ต้นทุนในการผลิตยางมะตอยของ TASCO ลดลง 63 เหรียญฯ/ตัน  หากราคาขายไม่เปลี่ยนแปลงน่าจะเพิ่ม Gross margin ราว 10%   และเนื่องจากราคาขายยางมะตอย จะมีความสัมพันธ์ระหว่าง Demand-Supply เป็นหลัก  นับจากช่วงเดือน เม.ย. เป็นต้นมา Supply ยางมะตอยได้ลดลง 1 ล้านตัน/ปี เพราะโรงกลั่นน้ำมันรายใหญ่ในเกาหลีใต้คือ S-Oil ได้ Upgrade โรงกลั่นไปผลิตน้ำมันที่คุณภาพ คือ มีกำมะถันน้อย หนุนให้ราคายางมะตอยตลาดสิงคโปร์เดือน  พ.ย. ปรับตัวขึ้น 5% จากสิ้นเดือน ก.ย. 61  ซึ่งสวนทางกับราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลงมา 24% จากสิ้นเดือน ก.ย. 61  จึงคาดว่าจะหนุน margin ดีขึ้นในงวด 4Q61
ตามมาด้วย SCC ได้ประโยชน์จากน้ำมันขาลงเช่นกัน เนื่องด้วยโครงสร้างกำไรของ SCC มาจากธุรกิจปิโตรเคมีเกือบ 70% ของกำไรรวม โดยผลประกอบการจะสัมพันธ์กับ spread ของผลิตภัณฑ์หลักอย่าง HDPE-Naphtha ซึ่งราคาน้ำมันที่ลดลงส่งผลให้ราคาวัตถุดิบ Naphtha ปรับลดลงตาม ในขณะที่ราคาเม็ดพลาสติกยังค่อนข้างทรงตัว หรือปรับลดลงในอัตราที่ช้ากว่า โดยล่าสุด spread ผลิตภัณฑ์ HDPE-Naphtha อยู่ที่ 745 เหรียญต่อตัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 717 เหรียญต่อตัน และเพิ่มขึ้นจากช่วงต้นเดือน ต.ค. ที่อยู่ที่เพียง 526 เหรียญต่อตัน
ส่วนสายการบินนั้น การลดลงของราคาน้ำมัน แม้จะช่วยลดต้นทุน  แต่ประโยชน์ที่ได้รับจะลดหลั่นกันไป ตามการ hedging หรือการป้องกันความเสี่ยงจากต้นทุนน้ำมันไว้ล่วงหน้า ทั้งนี้ ผู้ที่ hedge ไว้ต่ำจะได้ประโยชน์สูงสุด คือ AAV โดยใน 4Q61 ทำไว้ 13% และเพียง 2% ในปี 2562 ตามด้วย BA และ THAI แต่โดยรวม ภาวะการแข่งขันในธุรกิจที่สูงขึ้น น่าจะหักล้างประเด็นบวกจากราคาน้ำมันขาลง 
ผู้ประกอบการปิโตรเคมีเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่จะพูดถึงในวันนี้ ซึ่งน่าจะได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันขาลง เพราะเป็นผู้ประกอบการขั้นต้น ที่ใช้แนฟทา หรือคอนเดนเสท เป็นวัตถุดิบ โดยที่ต้นทุนวัตถุดิบดังกล่าว จะเคลื่อนไหวตามราคาน้ำมัน  (cost push) ซึ่งจะทำให้ส่วนต่างระหว่างราคาผลิตภัณฑ์ และต้นทุนวัตถุดิบ (spread) ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงสั้น ๆ  ระหว่างที่ราคาผลิตภัณฑ์ยังปรับตัวลดลงตามต้นทุนไม่ทัน  ซึ่งการปรับตัวของราคาผลิตภัณฑ์นั้น นอกจากจะผันแปรตาม cost push แล้วยังขึ้นกับ demand และ supply ในตลาดโลกด้วย  ทั้งนี้ผู้ประกอบการที่ใช้แนฟทา หรือคอนเดนเสทเป็นวัตถุดิบหลัก ซึ่งได้ประโยชน์ในสถานการณ์นี้คือ  
1)    IRPC(FV@B18) (สัดส่วนกำลังการผลิตโอเลฟินส์ 40% อะโรเมติกส์ 10% สไตรรีนิกซ์ 20% และโรงกลั่น 30%) - ใช้แนฟทาเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีทั้ง 100% ผลิตภัณฑ์หลักคือ PP, PE, HDPE, LDPE  และ ABS  ซึ่งเป็นสินค้าคุณภาพสูง (20% สินค้าสำเร็จรูป)ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ 
2)    SCC(FV@B515) (กำไรสุทธิจากปิโตรเคมีราว 70% ของกำไรสุทธิทั้งหมดใช้แนฟทาเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีสายโอเลฟิน ทั้ง 100%  (ผลิตภัณฑ์คือ PE ผลิตสินค้า food grade, PP, LDPE, HDPE Commodity grade)
3)    TOP(FV@B88) (สัดส่วนกำลังการผลิต อะโรเมติกส์ 25% และโรงกลั่น 65%) – ใช้คอนเดนเสทเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีทั้ง 100% ซึ่งผลิตภัณฑ์หลักคือ PX นำไปใช้ในการผลิตเส้นในสังเคราะห์ (Polyesther) และ ขวด PET 
4)    ESSO (สัดส่วนกำลังการผลิตอะโรเมติกส์ 35% และโรงกลั่น 65%) – ใช้คอนเดนเสทเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีทั้ง 100% ผลิตภัณฑ์คล้ายกับ TOP 
ส่วนอีก 2 รายเป็นคือ PTTGC(FV@B94) นั้น (สัดส่วนกำลังการผลิตโอเลฟินส์ 50% อะโรเมติกส์ 25% และโรงกลั่น 25%) วัตถุดิบก๊าซ ที่ได้จากโรงแยกก๊าซเป็นวัตถุดิบหลักสัดส่วนราว 85-90% ส่วนที่เหลือ 10-15%  เป็นแนฟทา จึงได้ประโยชน์น้อยกว่าผู้ประกอบการทั้ง 4 รายข้างต้น เพราะต้นทุนส่วนใหญ่คือ ก๊าซฯ จะปรับตัวลดลงช้ากว่าน้ำมัน และต้นทุนการผลิตยัง คำนวณตามสูตร  net back pricing  กล่าวคือ  เริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลงราคาผลิตภัณฑ์ขั้นปลาย จึงนำมาคำนวณ เพื่อปรับตัวต้นทุน  (PTTGC ซื้อก๊าซจาก PTT)  
และอีกรายคือ IVL(FV@B64) เป็นผู้ผลิตขั้นปลายสายผลิตภัณฑ์ PET และเส้นใยโพลีเอสเตอร์ ซึ่งต้นทุนวัตถุดิบหลัก คือพาราไซลีน (PX) นำมาผลิตรวมกับขั้นกลางคือ MEG (ซื้อจาก PTTGC) ทั้งนี้ PX จะผันแปรตาม demand และ supply เป็นหลัก  จึงอาจไม่ได้รับผลประโยชน์ราคาน้ำมันขาลงทันที 
โดยสรุปในสถานการณ์นี้  ผู้ที่ได้ประโยชน์มากสุด เรียงลำดับ 3 รายแรก คือ TASCO รองลงมาคือ IRPC, และ SCC 
ต่างชาติซื้อหุ้นบางประเทศในภูมิภาค แต่ยังขายไทยเป็นวันที่ 5
วานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่า 266 ล้านเหรียญ และเป็นการซื้อสุทธิอยู่ 3 ประเทศ คือ ไต้หวันซื้อสุทธิ 212 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 79 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) และอินโดนีเซีย 14 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิในวันก่อนหน้า) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 2 ประเทศ  ยังขายสุทธิ คือ ฟิลิปปินส์ 12 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน) และไทย ขายสุทธิอีก 26 ล้านเหรียญ หรือ 849 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5 มีมูลค่ารวม 5.6 พันล้านบาท) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิกว่า 2.54 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3 มีมูลค่ารวม 4.86 พันล้านบาท)
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ ต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 2.41 พันล้านบาท แบ่งเป็นขายสุทธิทั้งในพันฐบัตรรัฐบาลระยะสั้น (T<1) 481 ล้านบาท และพันฐบัตรรัฐบาลระยะยาว (T>1) 1.93 พันล้านบาท ขณะที่ Bond Yield 10 ปี ล่าสุดอยู่ที่ 2.72% 
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค
 
กลยุทธ์การลงทุน
คาดราคาน้ำมันดูไบน่าจะทรงตัวต่ำกว่า 60 เหรียญฯ สะท้อนเศรษฐกิจโลกชะลอตัว คาดว่า Demand น้ำมันดิบโลกจะใกล้เคียงกับช่วงวิกฤติซับไพรม์ ทำให้ความจำเป็นในการตัดลดการผลิตของ OPEC ยังมีอยู่ ซึ่งในสถานการณ์นี้น่าจะดีต่อผู้ที่ใช้น้ำมันเป็นวัตถุดิบ คือ TASCO, IRPC, SCC  กลยุทธ์การลงทุนยังเน้นสะสมหุ้น Domestic (ROBINS, CPALL, BJC) มือถือ (ADVANC, DTAC) และสาธารณูปโภค (EASTW, TTW) Top picks เลือก EASTW([email protected]) upside สูง 22% ให้ Div Yield 4.11% และ TASCO(FV@B18) ได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันขาลง
 
 ย้อนรอยตลาดหุ้นไทยวานนี้ ….SET Index ปิดบวกตามตลาดหุ้นภูมิภาค 
วานนี้ SET Index ค่อยๆ ฟื้นตัวมายืนแดนบวกตามตลาดหุ้นในภูมิภาค และปิดตลาดที่ระดับ 1630.77 จุด เพิ่มขึ้น 8.67 จุด (+0.53%) มูลค่าการซื้อขาย 3.37 หมื่นล้านบาท แม้จะมีปัจจัยกดดันตลาดฯ จากราคาน้ำมันดิบโลกอ่อนตัวลงหนักในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้มีแรงขายกดดันในหุ้นกลุ่มน้ำมัน-ปิโตรฯ อย่าง PTT PTTEP ปรับตัวลดลงอีก 0.5% และ 1.5% และ PTTGC (-2%) ยกเว้น IRPC ที่ได้ประโยชน์จากต้นทุนที่ลดลงตาม ราคาน้ำมันดิบโลก (อ่านรายละเอียดในย่อหน้าถัดไป)  ตรงกันข้ามกลุ่มธนาคารฯ ที่ outperform  ได้แก่ BBL, SCB  และ KTB,  ตามด้วยหุ้นกลุ่ม ICT  นำโดย DTAC ส่วนกลุ่มค้าปลีกยังทรงหรือบวกเล็กน้อย (BJC, ROBINS, BJC) เพราะได้ประโยชน์จากการกระตุ้นภาครัฐ  ทั้งนี้มีแรงเก็งกำไรหุ้นที่ได้ประโยชน์จากน้ำมันขาลงคือ สายการบิน (AAV BA THAI) และวัสดุก่อสร้างที่ได้ประโยชน์มากสุดในกลุ่มคือ TASCO (+4.1%)  และ SCC (0.9%) 
แนวโน้มดัชนีวันนี้ น่าจะยังแกว่งตัวในกรอบ 1620-1645 จุด แม้จะได้รับ sentiment เชิงบวกจากตลาดต่างประเทศ แต่เชื่อว่าโอกาสปรับฐานในปลายสัปดาห์นี้ยังมี ก่อนจะมีข้อสรุปรอบสุดท้าย สหรัฐจะขึ้นภาษีนำเข้าจากจีน อีกครั้งมูลค่าวงเงิน 2.67 แสนเหรียญฯ  ในการประชุม G-20 วันที่ 30 พ.ย. – 1 ธ.ค. นี้  และการประชุม OPEC 6 ธ.ค. น่าจะตัดลดการผลิตน้ำมัน รวมถึงควบคุมการผลิตของ OPEC และNon-Opec ต่อไปอีก 1 ปี แต่น้ำหนักการลดลงของ Demand ยังแรงกว่าการตัด Supply ราคาน้ำมันมีโอกาสแกว่งตัวต่ำกว่า 60 เหรียญฯ ต่อไป  
หากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว การใช้น้ำมันน่าจะหดตัวใกล้เคียงปี 2551-52  
ปัจจัยต่างประเทศยังให้น้ำหนัก 30 พ.ย. – 1ธ.ค. ซึ่งเป็นการประชุม G-20 ที่อาร์เจนตินา ซึ่งประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์และสี จิ้นผิงจะพบปะและเจรจานอกรอบในประด็นเรื่องการกีดกันการค้า  โดยเชื่อว่าการเจรจาจะไม่ได้ข้อสรุป และสหรัฐ น่าจะเดินหน้าขึ้นภาษีนำเข้ากับจีนต่อ  สะท้อนจากเมื่อวานนี้ ประธานาธิบดีทรัมป์ให้สัมภาษณ์ผ่าน Wall Street Journal  ยังคงเน้นย้ำว่าหากการเจรจากับจีนในการประชุม G20 ในรอบนี้ไม่สำเร็จ  พร้อมจะเดินหน้าขึ้นภาษีนำเข้ากับจีนรอบที่ 4 วงเงิน 2.67 แสนล้านเหรียญ และคาดอัตราภาษีราว 10-25% (จากเดิมไม่ได้ระบบุ) 
และติดตามวันที่  6 ธ.ค. การประชุม OPEC ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย  คาดว่าประเทศในกลุ่ม OPEC อาจจะขยายระยะเวลาปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันที่จะสิ้นสุดปลายปีไปถึงปี 2562 พร้อมจะลดกำลังการผลิตในปีหน้าลงอีกราว 1.4 ล้านบาร์เรล/วัน  เทียบกับ IEA คาดความต้องการใช้น้ำมันปี 2562 จะเพิ่มขึ้น 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็น 99.8 ล้านบาร์เรล ซึ่งทรงตัวจากปี  2561 ยังต่ำกว่า Supply ที่ 100.3 ล้านบาร์เรล/วัน  แต่หากเทียบกับช่วงวิกฤตซับไพรม์ ปี  2551 พบว่า  Demand น้ำมันอยู่ที่ 85.2  ล้านบาร์เรล/วัน ต่ำกว่า Supply ที่ 86.3  ล้านบาร์เรล/วัน โอกาสที่ Demand น้ำมันโลกจะลดลงต่ำกว่า 90  ล้านบาร์เรลต่อวัน หากเกิดผลกระทบจากสงครามการค้ารุนแรง ซึ่งน่าจะกดดันราคาน้ำมันตำกว่า 60 เหรียญฯ ต่อไป  
โดยรวมราคาน้ำมันดิบโลกยังแกว่งตัวลง แม้ได้ปรับลดลงต่อเนื่องราว 30% นับตั้งแต่ 3 ต.ค.61 (จุดสูงสุดของปี) จนถึงปัจจุบัน ล่าสุด ราคาน้ำมันดูไบ อยู่ที่ 59.2 เหรียญฯ (เฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี หรือ ytd อยู่ที่  70.8 เหรียญฯ)  ซึ่งต่ำกว่าสมมติฐานของ ASPS  ปี 2562 ที่กำหนดไว้  65 เหรียญฯ และ 70 เหรียญฯ ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป และเป็นไปได้ที่ราคาน้ำมันดูไบจะต่ำกว่า 60 เหรียญฯ ในช่วงสั้น ทั้งนี้ราคาน้ำมันที่ปรับลงทุกๆ  5 เหรียญฯต่อบาร์เรล จะทำให้ประมาณการกำไรปี 2562 และ 2563 ของ PTTEP ลดลง 13.3% และ 15.6% จากเดิม ส่วน PTT ลดลง 9.7% และ 7.0% จากเดิม และพร้อมปรับไปใช้มูลค่าพื้นฐาน ณ สิ้นปี 2562 ที่ 148 บาท/หุ้น และ 56 บาท/หุ้น ตามลำดับจึงยังแนะนำ “switch” PTTEP (FV@B148) และ PTT (FV@B56)  รวมถึงหุ้นที่อิงเศรษฐกิจจากภายนอก เช่น IVL, TOP  น่าจะเผชิญแรงขายต่อเนื่อง
น้ำมันลงหุ้นที่ได้ประโยชน์มากสุด คือ TASCO, IRPC และ SCC
ดังที่ฝ่ายวิจัยได้นำเสนอไปวานนี้ ถึงราคาน้ำมันดิบโลกที่ลดลง ดีต่ออุตสาหกรรมที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงเป็นต้นทุนหลัก เริ่มจากกลุ่มวัสดุก่อสร้าง เนื่องจากผู้ประกอบการในกลุ่มวัสดุก่อสร้าง ใช้เชื้อเพลิงในการผลิตที่แตกต่างกัน  ผู้ที่ได้ประโยชน์สูงสุดน่าจะเป็นผู้ผลิตยางมะตอย (TASCO) ซึ่งต้นทุนกว่า 90% มาจากการนำเข้าน้ำมันดิบ (Crude) จากการประเมิน พบว่าราคาน้ำมันดิบที่ลดลงทุก 10 เหรียญฯ/บาร์เรล จะทำให้ ต้นทุนในการผลิตยางมะตอยของ TASCO ลดลง 63 เหรียญฯ/ตัน  หากราคาขายไม่เปลี่ยนแปลงน่าจะเพิ่ม Gross margin ราว 10%   และเนื่องจากราคาขายยางมะตอย จะมีความสัมพันธ์ระหว่าง Demand-Supply เป็นหลัก  นับจากช่วงเดือน เม.ย. เป็นต้นมา Supply ยางมะตอยได้ลดลง 1 ล้านตัน/ปี เพราะโรงกลั่นน้ำมันรายใหญ่ในเกาหลีใต้คือ S-Oil ได้ Upgrade โรงกลั่นไปผลิตน้ำมันที่คุณภาพ คือ มีกำมะถันน้อย หนุนให้ราคายางมะตอยตลาดสิงคโปร์เดือน  พ.ย. ปรับตัวขึ้น 5% จากสิ้นเดือน ก.ย. 61  ซึ่งสวนทางกับราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลงมา 24% จากสิ้นเดือน ก.ย. 61  จึงคาดว่าจะหนุน margin ดีขึ้นในงวด 4Q61
ตามมาด้วย SCC ได้ประโยชน์จากน้ำมันขาลงเช่นกัน เนื่องด้วยโครงสร้างกำไรของ SCC มาจากธุรกิจปิโตรเคมีเกือบ 70% ของกำไรรวม โดยผลประกอบการจะสัมพันธ์กับ spread ของผลิตภัณฑ์หลักอย่าง HDPE-Naphtha ซึ่งราคาน้ำมันที่ลดลงส่งผลให้ราคาวัตถุดิบ Naphtha ปรับลดลงตาม ในขณะที่ราคาเม็ดพลาสติกยังค่อนข้างทรงตัว หรือปรับลดลงในอัตราที่ช้ากว่า โดยล่าสุด spread ผลิตภัณฑ์ HDPE-Naphtha อยู่ที่ 745 เหรียญต่อตัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 717 เหรียญต่อตัน และเพิ่มขึ้นจากช่วงต้นเดือน ต.ค. ที่อยู่ที่เพียง 526 เหรียญต่อตัน
ส่วนสายการบินนั้น การลดลงของราคาน้ำมัน แม้จะช่วยลดต้นทุน  แต่ประโยชน์ที่ได้รับจะลดหลั่นกันไป ตามการ hedging หรือการป้องกันความเสี่ยงจากต้นทุนน้ำมันไว้ล่วงหน้า ทั้งนี้ ผู้ที่ hedge ไว้ต่ำจะได้ประโยชน์สูงสุด คือ AAV โดยใน 4Q61 ทำไว้ 13% และเพียง 2% ในปี 2562 ตามด้วย BA และ THAI แต่โดยรวม ภาวะการแข่งขันในธุรกิจที่สูงขึ้น น่าจะหักล้างประเด็นบวกจากราคาน้ำมันขาลง 
ผู้ประกอบการปิโตรเคมีเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่จะพูดถึงในวันนี้ ซึ่งน่าจะได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันขาลง เพราะเป็นผู้ประกอบการขั้นต้น ที่ใช้แนฟทา หรือคอนเดนเสท เป็นวัตถุดิบ โดยที่ต้นทุนวัตถุดิบดังกล่าว จะเคลื่อนไหวตามราคาน้ำมัน  (cost push) ซึ่งจะทำให้ส่วนต่างระหว่างราคาผลิตภัณฑ์ และต้นทุนวัตถุดิบ (spread) ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงสั้น ๆ  ระหว่างที่ราคาผลิตภัณฑ์ยังปรับตัวลดลงตามต้นทุนไม่ทัน  ซึ่งการปรับตัวของราคาผลิตภัณฑ์นั้น นอกจากจะผันแปรตาม cost push แล้วยังขึ้นกับ demand และ supply ในตลาดโลกด้วย  ทั้งนี้ผู้ประกอบการที่ใช้แนฟทา หรือคอนเดนเสทเป็นวัตถุดิบหลัก ซึ่งได้ประโยชน์ในสถานการณ์นี้คือ  
1)    IRPC(FV@B18) (สัดส่วนกำลังการผลิตโอเลฟินส์ 40% อะโรเมติกส์ 10% สไตรรีนิกซ์ 20% และโรงกลั่น 30%) - ใช้แนฟทาเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีทั้ง 100% ผลิตภัณฑ์หลักคือ PP, PE, HDPE, LDPE  และ ABS  ซึ่งเป็นสินค้าคุณภาพสูง (20% สินค้าสำเร็จรูป)ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ 
2)    SCC(FV@B515) (กำไรสุทธิจากปิโตรเคมีราว 70% ของกำไรสุทธิทั้งหมดใช้แนฟทาเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีสายโอเลฟิน ทั้ง 100%  (ผลิตภัณฑ์คือ PE ผลิตสินค้า food grade, PP, LDPE, HDPE Commodity grade)
3)    TOP(FV@B88) (สัดส่วนกำลังการผลิต อะโรเมติกส์ 25% และโรงกลั่น 65%) – ใช้คอนเดนเสทเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีทั้ง 100% ซึ่งผลิตภัณฑ์หลักคือ PX นำไปใช้ในการผลิตเส้นในสังเคราะห์ (Polyesther) และ ขวด PET 
4)    ESSO (สัดส่วนกำลังการผลิตอะโรเมติกส์ 35% และโรงกลั่น 65%) – ใช้คอนเดนเสทเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีทั้ง 100% ผลิตภัณฑ์คล้ายกับ TOP 
ส่วนอีก 2 รายเป็นคือ PTTGC(FV@B94) นั้น (สัดส่วนกำลังการผลิตโอเลฟินส์ 50% อะโรเมติกส์ 25% และโรงกลั่น 25%) วัตถุดิบก๊าซ ที่ได้จากโรงแยกก๊าซเป็นวัตถุดิบหลักสัดส่วนราว 85-90% ส่วนที่เหลือ 10-15%  เป็นแนฟทา จึงได้ประโยชน์น้อยกว่าผู้ประกอบการทั้ง 4 รายข้างต้น เพราะต้นทุนส่วนใหญ่คือ ก๊าซฯ จะปรับตัวลดลงช้ากว่าน้ำมัน และต้นทุนการผลิตยัง คำนวณตามสูตร  net back pricing  กล่าวคือ  เริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลงราคาผลิตภัณฑ์ขั้นปลาย จึงนำมาคำนวณ เพื่อปรับตัวต้นทุน  (PTTGC ซื้อก๊าซจาก PTT)  
และอีกรายคือ IVL(FV@B64) เป็นผู้ผลิตขั้นปลายสายผลิตภัณฑ์ PET และเส้นใยโพลีเอสเตอร์ ซึ่งต้นทุนวัตถุดิบหลัก คือพาราไซลีน (PX) นำมาผลิตรวมกับขั้นกลางคือ MEG (ซื้อจาก PTTGC) ทั้งนี้ PX จะผันแปรตาม demand และ supply เป็นหลัก  จึงอาจไม่ได้รับผลประโยชน์ราคาน้ำมันขาลงทันที 
โดยสรุปในสถานการณ์นี้  ผู้ที่ได้ประโยชน์มากสุด เรียงลำดับ 3 รายแรก คือ TASCO รองลงมาคือ IRPC, และ SCC 
ต่างชาติซื้อหุ้นบางประเทศในภูมิภาค แต่ยังขายไทยเป็นวันที่ 5
วานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่า 266 ล้านเหรียญ และเป็นการซื้อสุทธิอยู่ 3 ประเทศ คือ ไต้หวันซื้อสุทธิ 212 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 79 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) และอินโดนีเซีย 14 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิในวันก่อนหน้า) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 2 ประเทศ  ยังขายสุทธิ คือ ฟิลิปปินส์ 12 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน) และไทย ขายสุทธิอีก 26 ล้านเหรียญ หรือ 849 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5 มีมูลค่ารวม 5.6 พันล้านบาท) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิกว่า 2.54 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3 มีมูลค่ารวม 4.86 พันล้านบาท)
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ ต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 2.41 พันล้านบาท แบ่งเป็นขายสุทธิทั้งในพันฐบัตรรัฐบาลระยะสั้น (T<1) 481 ล้านบาท และพันฐบัตรรัฐบาลระยะยาว (T>1) 1.93 พันล้านบาท ขณะที่ Bond Yield 10 ปี ล่าสุดอยู่ที่ 2.72% 
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค
 
   
ภรณี ทองเย็น
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
 ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
 โยธิน ภูคงนิล
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
   ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!