- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 20 November 2018 15:56
- Hits: 6327
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
“ปัจจัยลบGDP ไทยลด ดาวโจนส์ดิ่ง และข่าวเจรจาการค้า”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : --
ภาวะตลาดและปัจจัย : ตลาดวานนี้ – SET Index ปิดตลาด +1.48 จุด ณ ระดับ 1636.48 จุด หลังไปทำยอดสูงสุดของวันที่ 1640.53 จุด ปรับเพิ่มน้อยกว่าตลาดหุ้นในภูมิภาคที่รีบาวด์ในอัตราที่มากกว่า มูลค่าการซื้อขายเบาบางมากเป็น 29.9 พันล้านบาท ในช่วงแรกดัชนีฯดูเหมือนจะไปได้ดีจากข่าวสหรัฐกล่าวว่าจีนต้องการจะทำข้อตกลงการค้ากับสหรัฐและเฟดเห็นว่าใกล้ถึงจุดอัตราดอกเบี้ยสหรัฐควรเป็นกลาง และขึ้นกับตัวเลขเศรษฐกิจ แต่เมื่อสภาพัฒน์ประกาศตัวเลข GDP 3Q61 ต่ำกว่าคาด และปี 62 ก็ทบทวนให้มีการเติบโตในช่วงที่ต่ำ จึงลดแรงบวกลงอย่างเห็นได้ชัด หุ้นที่ปรับขึ้นโดดเด่นคือ ADVANC, TU, ORI แต่กลุ่มธนาคารปรับลง หุ้น CMC ซื้อขายวันแรก ต่ำจองถึง 21% ด้านผู้ซื้อสุทธิรายเดียวเป็น ต่างชาติ 0.5 พันล้านบาท และ ส่วนผู้ขายสุทธิคือ นักลงทุนทั่วไป 0.3 พันล้านบาท สถาบัน 0.2 พันล้านบาท บัญชีหลักทรัพย์ 0.01 พันล้านบาท
แนวโน้มและกลยุทธ์– ระยะสั้น SET มีปัจจัยลบเข้ามามาก คือ สภาพัฒน์ฯเผยตัวเลข GDP 3Q61 ต่ำกว่าคาด และปี 62 คาดการณ์การเติบโตไม่สูง ดาวโจนส์ร่วงลงถึง 395 จุดรองประธานาธิบดีสหรัฐกล่าวไม่ยกเว้นภาษีนำเข้าจีน ดัชนีความกลัว (VIX) เพิ่ม บาทอ่อน ตลาดหุ้นเพื่อนบ้านส่วนใหญ่ลดลง และดาวโจนส์ล่วงหน้า -44 จุด ณ 8:35 น. ที่ดีคือบอนด์ยิลด์สหรัฐลดลงเป็น 3.0687% หาก SET ถูกขายแนวรับถัดไปคือ 1630-1620 แนวตัดขาดทุนน้อยกว่า 1635 จุด แต่หาก SET รีบาวด์ได้ แนวต้านถัดไปคือ 1645-1650 ด้านปัจจัยในประเทศ ประชุม กนง. ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่เสียงโหวตแตกมากขึ้น แต่เราไม่คาดว่าจะรีบขึ้นดอกเบี้ย การเมืองเรื่องเลือกตั้งมีไทม์ไลน์ออกมา แต่เป็นไปตามคาดส่วนปัจจัยลบเดิมๆยังค้างคา จึงคงต้องระวังการลงทุน เช่น แรงขายจากต่างชาติ กังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ย สงครามการค้าสหรัฐ-จีน ส่วนตัวเลขส่งออกไทย ก.ย.พลิกลดลง 5.2% ก็ยังสร้างความวิตกเพิ่มขึ้น รอดู ต.ค.61 นักท่องเที่ยวจีนมาไทยน้อยลง ข้อดีคือ จะมีการเลือกตั้งตามโรดแม็ป แม้ปัญหา Emerging Market (EM) ยังไม่จบ แต่เศรษฐกิจของไทยเหนือกว่า EM อื่นคือ ตัวเลขเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง บัญชีเดินสะพัดเกินดุล สำหรับปัจจัยต่างประเทศที่เป็นภาพใหญ่คือ ECB ทยอยลด QE และหยุดตอนสิ้นปี มีเงินไหลมาลงทุนEM น้อยลง ส่วนระยะกลาง-ยาวเฟดคาดปีนี้จะปรับขึ้นทั้งหมด 4 ครั้ง (ปรับขึ้นอีก 1 ครั้งในช่วง ธ.ค.) และปีหน้าอีก 3 ครั้ง ทำให้แนวโน้มดอลลาร์แข็งค่า และเงินไหลออกกลับไปสหรัฐ นับว่าปัจจัยต่างประเทศยังกดดันในเรื่องกังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อไป และกังวลไทยจะได้รับผลกระทบสงครามการค้าตั้งแต่ปีหน้า แต่ก็มีข้อดีจะมีการย้ายฐานการผลิตมาไทยจีนมาไทย กลยุทธ์ในสัปดาห์นี้ ยังคงเน้นลงทุนหุ้นรายตัวที่มีพื้นฐานดีเมื่อราคาหุ้นปรับลงตามดัชนีฯ และเลือกหุ้นที่มีประเด็นที่น่าสนใจ หุ้นเน้นธุรกิจในประเทศ (Domestic Play)รวมทั้งหุ้นปันผลสูง นักลงทุนระยะสั้นควรเล่นรอบสั้นๆ ไม่หวังกำไรมาก ควรตั้งเป้าผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรม และทยอยขายทำกำไรเมื่อได้ตามเป้าหมาย แต่ SET ตามพื้นฐานระยะยาว 1 ปี ให้ไว้ที่ 1860 จุด ที่ P/E 17 เท่า ซึ่งเป็น Median+1 SD และ EPS ปี 61 เติบโตเฉลี่ย 10% ดังนั้นดัชนีฯปรับลง แนะนำให้ทยอยสะสมเพื่อการลงทุนระยะยาวเมื่ออ่อนตัว ตามปัจจัยต่างประเทศที่ยังกดดัน
Update หุ้นเด่น: TU – คาดว่าแนวโน้มธุรกิจทูน่าจะมีการฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่ง หลังราคาต้นทุนวัตถุดิบลดลง จึงบริหารต้นทุนได้ดีขึ้น และมีการต่อรองปรับราคาขายแล้ว ด้านธุรกิจแซลมอนหลังตัดขายบางส่วนจะให้อัตรากำไรที่สูงขึ้น แต่ 4Q61 มีความเสี่ยงที่จะบันทึกค่าใช้จ่ายเงินชดเชยให้กับพนักงาน 300 คนที่เลิกโรงงานแซลมอนไป แต่ไม่มากแนะนำซื้อ ราคาพื้นฐานไปใช้ประมาณการปี 62 แทนปี 61ได้ที่ 19.70 บาท ราคาปิดมีส่วนเพิ่มได้อีก 7% และคาดการณ์อัตราผลตอบแทนปันผลปีนี้และปีหน้าที่ 3.1%/3.4%ตามลำดับ
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น Candlestick & Indicators เป็นบวกเล็กๆ แต่ความน่าจะเป็นของตลาดฯระยะกลางมีน้ำหนักเป็นการลง ตามโครงสร้าง อย่างไรก็ตามอาจมีรีบาวด์สั้นๆก่อนจึงปรับลง ซื้อเน้นค่าบวก แนวต้าน 1645-1650-1655 แนวรับ 1630-1620 จุด แนวตัดขาดทุน ต่ำกว่า 1635 จุด
ด้านหุ้นที่คาดว่ามีสัญญาณบวกทางเทคนิค มีโอกาสทำ New High ที่เข้ามาใหม่คือ INTUCH,GLOW,AOT,CPALL ที่ยังอยู่ใน List คือ AAV,EGCO,PTL,GLOBAL,VGI,M,LPHหุ้นที่หลุด List คือ BLA ส่วนที่หาจังหวะ Take Profit คือ SCC,JMT,TOA
นักกลยุทธ์&นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
- ภาวะตลาดหุ้น : ดาวโจนส์ร่วงเกือบ 400 จุด หลังหุ้นแอปเปิลและไฮเท็คดิ่ง
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,017.44 จุด ร่วงลง 395.78 จุด หรือ -1.56% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,690.73จุด ลดลง 45.54 จุด หรือ -1.66% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,028.48 จุด ลดลง 219.40 จุด หรือ -3.03%
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเกือบ 400 จุดเมื่อคืนนี้ (19 พ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายหุ้นแอปเปิล และหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี หลังจากบริษัทแอปเปิล อิงค์ ปรับลดคำสั่งผลิต iPhone ใหม่ทั้ง 3 รุ่นที่เพิ่งมีการเปิดตัวในเดือนก.ย.นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับข้อพิพาทการค้าระหว่างสหรัฐและจีน หลังจากนายไมค์เพนซ์ รองประธานาธิบดีสหรัฐยืนยันว่า สหรัฐจะไม่เปลี่ยนแปลงมาตรการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีน
+ ตลาดน้ำมัน : น้ำมัน WTI เพิ่ม สอดรับข่าวอียุหนุนฝรั่งเศสคว่ำบาตรอิหร่าน
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 30 เซนต์ หรือ 0.5% ปิดที่ 56.76 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนม.ค. เพิ่มขึ้น 3 เซนต์ หรือเกือบ 0.05% ปิดที่ 66.79 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (19 พ.ย.) หลังจากสหภาพยุโรป (EU) ได้ออกมาสนับสนุนรัฐบาลฝรั่งเศสที่ตัดสินใจคว่ำบาตรอิหร่าน โดยเชื่อว่าอิหร่านเกี่ยวข้องกับแผนการโจมตีกรุงปารีส
• ทองคำ : ปรับขึ้น หลังดาวโจนส์ดิ่ง และกังวลข้อพิพาทจีน-สหรัฐ
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 2.3 ดอลลาร์ หรือ 0.19% ปิดที่1,225.3 ดอลลาร์/ออนซ์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 7 พ.ย. 2560
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 4 เมื่อคืนนี้ (19 พ.ย.) เนื่องจากการร่วงลงอย่างหนักของตลาดหุ้นสหรัฐ รวมทั้งความวิตกกังวลเกี่ยวกับข้อพิพาทการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ช่วยหนุนแรงซื้อทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
- กังวลสงครามการค้า จีน-สหรัฐอีกครั้ง รองประธานาธิบดีสหรัฐ จะยังคงมาตรการเก็บภาษีนำเข้ากับจีน
# เกิดแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับข้อพิพาทการค้าระหว่างสหรัฐและจีน หลังจากนายไมค์ เพนซ์ รองประธานาธิบดีสหรัฐ กล่าวว่า สหรัฐจะไม่เปลี่ยนแปลงมาตรการเรียกเก็บภาษีต่อสินค้านำเข้าวงเงิน 2.5 แสนล้านดอลลาร์จากจีน นอกจากว่าจีนจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทำการค้ากับสหรัฐ
+/- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้าน พ.ย.ร่วงลง
# สมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB) ของสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านร่วงลง 8 จุด สู่ระดับ 60 ในเดือนพ.ย. เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนส.ค.2559 และมื่อเทียบรายปี ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านร่วงลง 9 จุดในเดือนพ.ย.
-การประชุมเอเปกวานนี้ส่งสัญญาณไม่ดีนัก เรื่องการค้าสหรัฐกับจีน
# รัฐบาลญี่ปุ่นได้แสดงความกังวลถึงผลกระทบจากความขัดแย้งรุนแรงระหว่างจีนและสหรัฐที่อาจเกิดขึ้นกับการเติบโตของโลก หลังจากผู้นำของทั้งสองประเทศได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ซึ่งกันและกัน ระหว่างการประชุมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก (เอเปก) จนส่งผลให้ที่ประชุมต้องประกาศยกเลิกการออกแถลงการณ์ร่วมของประเทศสมาชิกหลังเสร็จสิ้นการประชุมเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
• ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจที่จะทยอยประกาศสัปดาห์นี้
# นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนต.ค., ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนต.ค., ยอดขายบ้านมือสองเดือนต.ค., ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นต้นเดือนพ.ย.จากมาร์กิต และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นต้นเดือนพ.ย.จากมาร์กิต
ปัจจัยในประเทศ และข่าวเด่นหุ้น-อุตสาหกรรม
-/• สภาพัฒน์แถลง จีดีพีไตรมาส 3/61 ต่ำกว่าคาด และทบทวนปี 61 โตแค่กรอบล่าง
# สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3/61 ขยายตัว 3.3% ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ และชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวถึง 4.6% เป็นไปตามอุปสงค์ภาคต่างประเทศ ขณะที่อุปสงค์ในประเทศปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง
# ขณะที่สภาพัฒน์ ปรับประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยทั้งปี 61 มาที่เติบโต 4.2% หรืออยู่ที่กรอบล่างของคาดการณ์เดิมที่ 4.2-4.7% เนื่องจากคาดว่าการส่งออกทั้งปีจะขยายตัวเหลือเพียง 7.2% จากเดิมคาดว่าจะขยายตัวได้ 10% ส่วนการนำเข้าคาดว่าจะเติบโต 16.2% จากเดิมคาดไว้ที่ 15.4%
# สภาพัฒน์คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปี 62 จะขยายตัวได้ 4.2% หรืออยู่ในกรอบ 3.5-4.5%
+ แต่ ธปท.และรองนายกฯ ดร.สมคิดคาดว่า 4Q61 จะฟื้นตัว
# ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 จะกลับมาขยายตัวสูงกว่าในไตรมาส 3 ที่มีผลของปัจจัยชั่วคราว
# ธปท.เห็นว่าเศรษฐกิจไทยเผชิญกับความไม่แน่นอนที่สูงขึ้น โดยเฉพาะจากปัจจัยภายนอกที่ต้องติดตามพัฒนาการต่อไปอย่างใกล้ชิด อาทิ นโยบายการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ และมาตรการตอบโต้ของประเทศคู่ค้าที่ชัดเจนขึ้น
# นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เชื่อมั่นว่า ในภาพรวมเศรษฐกิจไทยทั้งปีนี้จะขยายตัว 4% โดยมีปัจจัยสำคัญทั้งเรื่องการส่งออก การท่องเที่ยว และการใช้จ่ายภาครัฐต้องเป็นไปตามเป้า
+ ตัวเลขส่งเสริมการลงทุน บีโอไอ 9M61 ดีขึ้น 10%
# เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เปิดเผยว่า การส่งเสริมการลงทุนในช่วง 9 เดือน (ม.ค.-ก.ย.61) มีโครงการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนรวม 1,125 โครงการ เงินลงทุนทั้งสิ้น 377,054 ล้านบาท จำนวนโครงการเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 10% (ม.ค.-ก.ย.60 จำนวน 1,021 โครงการ) ขณะที่เงินลงทุนใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 373,908 ล้านบาท
+ กำไรสุทธิ บจ. 3Q61 เติบโต +22% y-o-y, +2% q-o-q และรอบ 9M61 โต +12% y-o-y
# กำไรสุทธิ บจ. 3Q61 เติบโต 22% y-o-y และเพิ่ม 2% q-o-q เป็น 258,853 ล้านบาท และรอบ 9M61 โต 12% y-o-yเป็น 800,103 ล้านบาท
# กลุ่มอุตสาหกรรม 3Q61 ที่เติบโตดีเทียบ y-o-y 3 ลำดับแรกคือ 1) บริการรับเหมาก่อสร้าง +285% 2) หลักทรัพย์และการเงิน +138% และ 3) บริการธุรกิจเฉพาะ (professional service) +138% แต่ที่ลดลงที่สุด 3 ลำดับแรกคือ 1) วัสดุและเครื่องจักรอุตสาหกรรม -72% 2) สินค้าบ้านและออฟฟิซ -64% และ 3) ขนส่งและโลจิสติกส์ -35%
# กลุ่มอุตสาหกรรม 3Q61 ที่เติบโตดีเทียบ q-o-q 3 ลำดับแรกคือ 1) เหล็ก +181% 2) บริการธุรกิจเฉพาะ (professionalservice) +118% และ 3) บริการรับเหมาก่อสร้าง +75% แต่ที่ลดลงที่สุด 3 ลำดับแรกคือ 1) สื่อสาร -54% 2) วัสดุและเครื่องจักรอุตสาหกรรม -53% และ 3) แฟชั่น -38%
# กลุ่มอุตสาหกรรม 9M61 ที่เติบโตดีเทียบ y-o-y 3 ลำดับแรกคือ 1) เกษตร +1827% 2) บริการรับเหมาก่อสร้าง +135%และ 3) กระดาษและสิ่งพิมพ์ +128% แต่ที่ลดลงที่สุด 3 ลำดับแรกคือ 1) เหมือแร่ พลิกเป็นขาดทุนจากกำไร 2) วัสดุและเครื่องจักรอุตสาหกรรม -52% และ 3) สินค้าบ้านและออฟฟิซ -43%
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]