- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 19 November 2018 15:36
- Hits: 3857
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
“ข่าวดี-จีนอ่อนข้อการค้าสหรัฐ เฟดมองดอกเบี้ยเป็นกลาง”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : --
ภาวะตลาดและปัจจัย : ตลาดวันศุกร์ – SET Index ปิดตลาด -3.83 จุด ณ ระดับ 1635.00 จุด ใกล้เคียงยอดต่ำสุดของวันที่ 1632.94 จุด ไปในทางแย่กว่าตลาดหุ้นในภูมิภาคที่ส่วนใหญ่รีบาวด์ มูลค่าการซื้อขายเบาบางเป็น 37.1 พันล้านบาท ดัชนีฯอยู่ในเขตลบตลอดวัน นับได้ว่าตลาดขาดปัจจัยใหม่ๆ ผลประกอบการ 3Q61 ธุรกิจหลักออกมาไม่สดใส แต่บางบริษัทมีรายการพิเศษมาช่วย กลับมากังวลกนง.ปรับขึ้นดอกเบี้ย หลังโหวตเสียงแตกมากขึ้น แม้มีข่าวสหรัฐอาจผ่อนปรนการค้าให้จีน แต่ไม่ช่วยนัก ส่วนปัจจัยลบต่างประเทศเดิมๆก็ยังคอยรบกวน หุ้นที่ปรับลดมากคือ CPN,STA,STEC,BGC ด้านผู้ซื้อสุทธิรายเดียวเป็น นักลงทุนทั่วไป 2.0 พันล้านบาท และ ส่วนผู้ขายสุทธิคือ สถาบัน 1.3 พันล้านบาทบัญชีหลักทรัพย์ 0.4 พันล้านบาท และ ต่างชาติ 0.3 พันล้านบาท
แนวโน้มและกลยุทธ์– ระยะสั้น SET มีโอกาสจะรีบาวด์ หลังสหรัฐกล่าวว่าจีนต้องการจะทำข้อตกลงการค้ากับสหรัฐ และเฟดเห็นว่าใกล้ถึงจุดอัตราดอกเบี้ยสหรัฐควรเป็นกลางและขึ้นกับตัวเลขเศรษฐกิจ ดาวโจนส์เพิ่มได้ 124 จุด บอนด์ยิลด์สหรัฐลดลงเป็น 3.0619% ดัชนีความกลัว (VIX) ต่ำลง ดออลลาร์อ่อนค่า เงินไหลออกน้อยลง ล่าสุดราคาน้ำมันเบรนท์กลับมาฟื้นตัวเล็กน้อย หลังมีข่าวโอเปกจะประชุมลดกำลังการผลิต ตลาดหุ้นเพิ่อนบ้านรีบาวด์เป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจัยลบคือ บาทยังอ่อนค่าลงเล็กน้อย แม้ดอลลาร์อ่อนค่าลงหลังมีความเห็นของเฟด ด้านดาวโจนส์ล่วงหน้า -49 จุด ณ 8:02 น. หาก SET รีบาวด์ได้ แนวต้านถัดไปคือ 1645-1650 แต่หากถูกขายแนวรับถัดไปคือ 1630-1620 ด้านปัจจัยในประเทศ ประชุม กนง. ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่เสียงโหวตแตกมากขึ้น แต่เราไม่คาดว่าจะรีบขึ้นดอกเบี้ย การเมืองเรื่องเลือกตั้งมีไทม์ไลน์ออกมา แต่เป็นไปตามคาด ส่วนปัจจัยลบเดิมๆยังค้างคา จึงคงต้องระวังการลงทุน เช่น แรงขายจากต่างชาติ กังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ย สงครามการค้าสหรัฐ-จีน ส่วนตัวเลขส่งออกไทย ก.ย.พลิกลดลง 5.2% ก็ยังสร้างความวิตกเพิ่มขึ้น รอดู ต.ค.61 นักท่องเที่ยวจีนมาไทยน้อยลง ข้อดีคือ จะมีการเลือกตั้งตามโรดแม็ป แม้ปัญหา Emerging Market (EM) ยังไม่จบ แต่เศรษฐกิจของไทยเหนือกว่าEM อื่นคือ ตัวเลขเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง บัญชีเดินสะพัดเกินดุล สำหรับปัจจัยต่างประเทศที่เป็นภาพใหญ่คือ ECB ทยอยลด QE และหยุดตอนสิ้นปี มีเงินไหลมาลงทุน EM น้อยลงส่วนระยะกลาง-ยาวเฟดคาดปีนี้จะปรับขึ้นทั้งหมด 4 ครั้ง (ปรับขึ้นอีก 1 ครั้งในช่วง ธ.ค.) และปีหน้าอีก 3 ครั้ง ทำให้แนวโน้มดอลลาร์แข็งค่า และเงินไหลออกกลับไปสหรัฐ นับว่าปัจจัยต่างประเทศยังกดดันในเรื่องกังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อไป และกังวลไทยจะได้รับผลกระทบสงครามการค้าตั้งแต่ปีหน้า แต่ก็มีข้อดีจะมีการย้ายฐานการผลิตมาไทยจีนมาไทยกลยุทธ์ในสัปดาห์นี้ ยังคงเน้นลงทุนหุ้นรายตัวที่มีพื้นฐานดีเมื่อราคาหุ้นปรับลงตามดัชนีฯ และเลือกหุ้นที่มีประเด็นที่น่าสนใจ หุ้นเน้นธุรกิจในประเทศ (Domestic Play) รวมทั้งหุ้นปันผลสูง นักลงทุนระยะสั้นควรเล่นรอบสั้นๆ ไม่หวังกำไรมาก ควรตั้งเป้าผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรม และทยอยขายทำกำไรเมื่อได้ตามเป้าหมาย แต่ SET ตามพื้นฐานระยะยาว 1 ปีให้ไว้ที่ 1860 จุด ที่ P/E 17 เท่า ซึ่งเป็น Median+1 SD และ EPS ปี 61 เติบโตเฉลี่ย 10% ดังนั้นดัชนีฯปรับลง แนะนำให้ทยอยสะสมเพื่อการลงทุนระยะยาวเมื่ออ่อนตัว ตามปัจจัยต่างประเทศที่ยังกดดัน
Update หุ้นเด่น: BEM – แนวโน้มปี 62-63 สดใส...แนะนำซื้อลงทุน คาดว่าการเติบโตจะมาจากปริมาณผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่จะเพิ่มขึ้น, ได้รับค่าชดเชยจากกทพ. 4พันล้านบาท (เงินต้นบวกดอกเบี้ย) กรณีทางด่วนบางปะอิน-ปากเกร็ด และมีโอกาสได้ต่ออายุสัมปทานทางด่วนขั้นที่ 1 และ 2 ส่วน A, B, C ที่จะหมดอายุปี 63 ซึ่งส่วนนี้ยังไม่ได้อยู่ในประมาณการของเรา นอกจากนี้ยังเข้าชิงการบริหารรถไฟฟ้าไฮสปีด เชื่อม 3 สนามบิน มูลค่ากว่า 2 แสนลบ. ทราบผลต้นปีหน้า แนะนำซื้อ ให้ราคาพื้นฐาน 9.60 บาท (DCF)ราคาปิดมีส่วนเพิ่มได้อีก 12%
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น Candlestick & Indicators เป็นลบ ความน่าจะเป็นของตลาดฯระยะกลางมีน้ำหนักเป็นการลง ตามโครงสร้าง อย่างไรก็ตามอาจมีรีบาวด์สั้นๆก่อนจึงปรับลง ซื้อเน้นค่าบวก แนวต้าน 1645-1650-1655 แนวรับ 1630-1620 จุด แนวตัดขาดทุน ต่ำกว่า 1635 จุด
ด้านหุ้นที่คาดว่ามีสัญญาณบวกทางเทคนิค มีโอกาสทำ New High ที่เข้ามาใหม่คือ JMT,TOA,GLOBAL,VGI,M,LPH ที่ยังอยู่ใน List คือ BLA,SCC,AAV,EGCO,PTL หุ้นที่หลุดList คือ JWD ส่วนที่หาจังหวะ Take Profit คือ HANA
นักกลยุทธ์&นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
+ ภาวะตลาดหุ้น : ดาวโจนส์ปรับเพิ่ม จีนต้องการทำข้อตกลงทางการค้ากับสหรัฐ
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,413.22 จุด พุ่งขึ้น 123.95 จุด หรือ +0.49% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,736.27จุด เพิ่มขึ้น 6.07 จุด หรือ +0.22% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,247.87 จุด ลดลง 11.16 จุด หรือ -0.15%
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อวันศุกร์ (16 พ.ย.) ขานรับถ้อยแถลงของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ว่าจีนต้องการทำข้อตกลงการค้ากับสหรัฐและยังได้ส่งรายการสินค้าจำนวนมากให้สหรัฐได้ทราบถึงความตั้งใจของจีนที่จะเปิดกว้างทางการค้า อย่างไรก็ตาม ดัชนี Nasdaq ปิดตลาดในแดนลบ หลังจากผลประกอบการที่อ่อนแอของบริษัทNvidia Corp ได้ฉุดหุ้นกลุ่มเซมิคอนดัคเตอร์ร่วงลง
•/+ ตลาดน้ำมัน : น้ำมัน WTI ทรงตัว แต่ Brent เพิ่มเล็กน้อย
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนธ.ค. ปิดทรงตัวที่ 56.46 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนตลอดทั้งสัปดาห์ สัญญาน้ำมันดิบWTI ปรับตัวลงทั้งสิ้น 6.2%
# สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนม.ค. เพิ่มขึ้น 14 เซนต์ หรือ 0.2% ปิดที่ 66.76 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนตลอดทั้งสัปดาห์ สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวลงทั้งสิ้น 4.9%
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดทรงตัวเมื่อวันศุกร์ (16 พ.ย.) หลังจากที่พุ่งขึ้นกว่า 1% ในระหว่างวัน จากการคาดการณ์ที่ว่า กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) จะปรับลดกำลังการผลิตในการประชุมเดือนหน้า อย่างไรก็ตาม ตลอดทั้งสัปดาห์ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ร่วงลงกว่า 6% อันเนื่องมาจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะน้ำมันล้นตลาด
• ทองคำ : ปรับขึ้น หลังดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 8 ดอลลาร์ หรือ 0.66% ปิดที่1,223.00 ดอลลาร์/ออนซ์ และตลอดทั้งสัปดาห์ สัญญาทองคำปรับตัวขึ้นราว 1.2%
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 3 เมื่อวันศุกร์ (16 พ.ย.) โดยได้อานิสงส์จากการอ่อนค่าของดอลลาร์ และจากการที่นักลงทุนเข้าซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับปัจจัยทางการเมืองในอังกฤษ
+ เฟดระบุใกล้ถึงจุดที่จะให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่เป็นกลางแล้ว
# นายริชาร์ด แคลริดา รองประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า เฟดใกล้ถึงจุดที่จะกำหนดให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่เป็นกลางแล้ว และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป ควรอิงจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ได้รับ
- ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ การผลิตภาคอุตสาหกรรม ต.ค.61 ยังเพิ่มขึ้น
# สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการเปิดเผยเมื่อวันศุกร์ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) รายงานว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ในเดือนต.ค. โดยปรับตัวขึ้น 0.1% หลังจากเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนก.ย. ส่วนเมื่อเทียบรายปี การผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 4.1% ในเดือนต.ค. ทั้งนี้ การผลิตภาคอุตสาหกรรมเป็นการวัดการปรับตัวของภาคการผลิต, เหมืองแร่ และสาธารณูปโภค
+ ดอลลาร์อ่อนค่า หลังจีนมีแนวโน้มต้องการทำข้อตกลงการค้ากับสหรัฐ
# ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ (16 พ.ย.)หลังจากนายริชาร์ด แคลริดา รองประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า เฟดใกล้ถึงจุดที่จะกำหนดให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่เป็นกลางแล้ว โดยนักลงทุนมองว่าการแสดงความเห็นดังกล่าวของรองประธานเฟดนั้น อาจเป็นการส่งสัญญาณว่าเฟดไม่เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
ปัจจัยในประเทศ และข่าวเด่นหุ้น-อุตสาหกรรม
-/• สนช. มีมติร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ วาระ 2-3 แล้ว
# คณะกมธ.ยังได้บัญญัติบทเฉพาะกาลมาตรา 90 ขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นการกำหนดให้ใน 2 ปีแรกของการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตาม พ.ร.บ.นี้ ให้ใช้อัตราภาษีตามมูลของฐานภาษีตามที่มาตรา 90 บัญญัติ โดยยังคงแบ่งประเภทที่ดินเป็น 4 ประเภท คือ ที่ดินเพื่อการเกษตร หากมีมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท ส่วนที่เกิน 50 ล้านบาท เสียภาษีในอัตรา 1 ล้านบาท ต่อ 100 บาท ยกเว้น 3 ปีแรกไม่ต้องเสียภาษี แต่นิติบุคคลรายใหญ่ เริ่มจัดเก็บทันที และที่ดินมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี ส่วนที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี มูลค่า 50 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษีในอัตรา 1 ล้านบาทต่อ 200 บาท โดยบ้านหลังที่ 2 ขึ้นไป ทุก ๆ 1 ล้านบาท เสียภาษี 200 บาท ห้องเช่า /บ้านเช่า เจ้าของที่ดินเป็นผู้รับผิดชอบ / ตามสัญญาที่ตกลง
# ถือเป็นปัจจัยลบกับ หลักทรัพย์กลุ่มที่อยู่อาศัย คาดว่าจะเริ่มมีการบังคับใช้ในปี 63 ถือว่าควรถ่วงน้ำหนักน้อยในหลักทรัพย์กลุ่มนี้ เพราะปี 62 ต้องเผชิญกับการใช้เกณฑ์สินเชื่อใหม่ของ ธปท.และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยปรับขึ้น พอมาถึงปี 63 ก็ต้องเริ่มมาเสียภาษีที่ดินในอัตราใหม่อีก
-เกณฑ์ LTV ใหม่ของ ธปท. กระทบกับอุปสงค์บ้านแนวราบเช่นกันไม่เพียงแต่ คอนโด
# จากการศึกษาของ ธปท.พบว่าสัดส่วนบ้านสัญญาที่ 2 ที่เข้าเกณฑ์การใช้ LTV ใหม่ มีสัดส่วนประมาณ 14% ในปัจจุบันซึ่งแต่ละครึ่งเป็น คอนโดและแนวราบ ช่วงที่ผ่านมาราคาหลักทรัพย์ที่เน้นคอนโด ได้ปรับตัวลงมาลึก เช่น LPN, ORI และANAN แต่หลักทรัพย์ที่มีส่วนทำแนวราบยังตกไม่มาก จึงควรระมัดระวังในการลงทุนเช่นกัน ด้านบ้านสัญญาที่ 3 มีสัดส่วนราว 8% ส่วนใหญ่ก็จะเป็นคอนโดมิเนียมอยู่แล้ว ซึ่งเป็นลักษณะการซื้อเพื่อลงทุนหรือเก็งกำไร
+/• สภาพัฒน์ แถลงตัวเลข GDP 3Q61 ควรติดตามว่าจะดีขึ้น หรือแย่ลง
# สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 3/2561 ในวันนี้หรือจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2561
+/• PTT: คาดปี 62 รายได้-กำไรโตกว่าปีนี้ ตามราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น
# นายกฤช ชัยเรืองยศ ผู้จัดการฝ่ายผู้ลงทุนสัมพันธ์ บมจ.ปตท. (PTT) กล่าวว่า บริษัทคาดรายได้และกำไรสุทธิในปี 62 จะเติบโตต่อเนื่อง จากปีนี้ เป็นไปตามความต้องการใช้และราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น โดยบริษัทมองทิศทางราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยในปี 62 อยู่ที่ 70-80 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ซึ่งอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับปีนี้ที่คาดเฉลี่ย 70 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรลเนื่องจากผลกระทบจากปัจจัยภายนอกประเทศ ทั้งมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านของสหรัฐฯ, วิกฤตเศรษฐกิจในเวเนซุเอลาและไนจีเรีย ส่งผลทำให้ซัพพลายลดลง
# ขณะที่ธุรกิจโรงกลั่น ประเมินค่าการกลั่น (GRM) ในปีหน้าจะเฉลี่ยอยู่ที่ 6.8-7.2 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ทรงตัวอยู่ในระดับสูง เนื่องจากตามข้อกำหนดขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO) ที่มีมติให้จำกัดกำมะถันในน้ำมันเตาของเรือเดินสมุทรไม่เกิน 0.5% จากระดับ 3.5% ในปัจจุบัน ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในต้นปี 63 ทำให้คาดว่าผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวตั้งแต่ปีหน้า ที่จะทำให้มีความต้องการใช้น้ำมันดีเซลผสมกับน้ำมันเตามากขึ้น เพื่อลดปริมาณกำมะถันลง อีกทั้งบริษัทจะรับรู้รายได้จากการให้ใช้ท่าเรือ-คลังก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เพื่อรองรับการนำเข้า LNG ขนาด 1.5 ล้านตัน/ปีในปีหน้าเข้ามาด้วย
# นอกจากนี้ในปี 62 บริษัทจะไม่มีค่าใช้จ่ายในเรื่องของภาษีจากการโอนกิจการของบมจ.ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก(PTTOR) จำนวน 6 พันล้านบาทเหมือนในปีนี้แล้ว
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]