- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 14 November 2018 16:14
- Hits: 7421
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
“ลุ้นรีบาวด์ต่อ แต่จับตาหุ้นพลังงานหลังน้ำมันดิ่ง”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : PPS (จาก Fully Valued เป็นถือ), MODERN (จากซื้อเป็นถือ)
ภาวะตลาดและปัจจัย : ตลาดวานนี้ – SET Index ปิดตลาดรีบาวด์ +4.93 จุด ที่ 1659.78 จุด จากยอดสูงสุดของวันที่ 1664.51 จุด ดีกว่าตลาดหุ้นในภูมิภาคที่ส่วนใหญ่เป็นลบมูลค่าการซื้อขายดีขึ้นเป็น 46.7 พันล้านบาท ดัชนีฯกลับมาฟื้นตัวได้บ้าง หลังดัชนีฯปรับลงมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยบวกคือ สถาบันกลับมาซื้อสุทธิ คาดว่ามีแรงซื้อ LTF ช่วงปลายปีหนุน และความคาดหวังการเจรจาการค้าจีน-สหรัฐ G20 ปลายเดือนนี้จะมีความคืบหน้า แม้ปัจจัยลบต่างประเทศเดิมๆยังรบกวน ด้านผู้ซื้อสุทธิเป็น สถาบัน 1.4 พันล้านบาท และบัญชีหลักทรัพย์ 0.2 พันล้านบาท ส่วนผู้ขายสุทธิคือ ต่างชาติ 1.4 พันล้านบาท และนักลงทุนทั่วไป 0.2 พันล้านบาท
แนวโน้มและกลยุทธ์– ระยะสั้น SET พยายามจะรีบาวด์ต่อ จากปัจจัยบวกข้างต้น แต่ปัจจัยต่างประเทศยังกดดัน ล่าสุดน้ำมันปรับลงหนัก ควรระวังหุ้นกลุ่มพลังงาน ดาวโจนส์ปรับลงต่อ 100 จุด ตลาดหุ้นเพื่อนบ้านเช้านี้ส่วนใหญ่ปรับลง ดัชนีความกลัว (VIX) เพิ่มเล็กน้อย ด้านปัจจัยบวกคือ บอนด์ยิลด์ 10 ปี อ่อนลง บาทแข็งค่าขึ้น ดาวโจนส์ล่วงหน้า+66 จุด ณ 8:16 น. Brexit ราบรื่นขึ้น หากรีบาวด์ต่อ แนวต้านถัดไปคือ 1670-1680 แต่หากถูกขายแนวรับถัดไปคือ 1645-1640 ด้านปัจจัยในประเทศ ประชุม กนง. วันนี้คาดว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย การเมืองเรื่องเลือกตั้งมีไทม์ไลน์ออกมา แต่เป็นไปตามคาด ส่วนปัจจัยลบเดิมๆยังค้างคา จึงคงต้องระวังการลงทุน เช่น แรงขายจากต่างชาติ กังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ย สงครามการค้าสหรัฐ-จีน ส่วนตัวเลขส่งออกไทย ก.ย.พลิกลดลง 5.2% ก็ยังสร้างความวิตกเพิ่มขึ้น รอดู ต.ค.61 นักท่องเที่ยวจีนมาไทยน้อยลง ข้อดีคือ จะมีการเลือกตั้งตามโรดแม็ป แม้ปัญหา Emerging Market (EM) ยังไม่จบ แต่เศรษฐกิจของไทยเหนือกว่า EM อื่นคือ ตัวเลขเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง บัญชีเดินสะพัดเกินดุล สำหรับปัจจัยต่างประเทศที่เป็นภาพใหญ่คือ ECB ทยอยลด QE และหยุดตอนสิ้นปี มีเงินไหลมาลงทุน EM น้อยลง ส่วนระยะกลาง-ยาวเฟดคาดปีนี้จะปรับขึ้นทั้งหมด 4 ครั้ง (ปรับขึ้นอีก 1 ครั้งในช่วง ธ.ค.) และปีหน้าอีก 3 ครั้ง ทำให้แนวโน้มดอลลาร์แข็งค่า และเงินไหลออกกลับไปสหรัฐ นับว่าปัจจัยต่างประเทศยังกดดันในเรื่องกังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อไป และกังวลไทยจะได้รับผลกระทบสงครามการค้าตั้งแต่ปีหน้า แต่ก็มีข้อดีจะมีการย้ายฐานการผลิตมาไทยจีนมาไทย กลยุทธ์ในสัปดาห์นี้ ยังคงเน้นลงทุนหุ้นรายตัวที่มีพื้นฐานดีเมื่อราคาหุ้นปรับลงตามดัชนีฯ และเลือกหุ้นที่มีประเด็นที่น่าสนใจ หุ้นเน้นธุรกิจในประเทศ (Domestic Play) รวมทั้งหุ้นปันผลสูง นักลงทุนระยะสั้นควรเล่นรอบสั้นๆ ไม่หวังกำไรมาก ควรตั้งเป้าผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรม และทยอยขายทำกำไรเมื่อได้ตามเป้าหมาย แต่ SET ตามพื้นฐานระยะยาว 1 ปี ให้ไว้ที่ 1860 จุด ที่ P/E 17 เท่า ซึ่งเป็น Median+1 SD และ EPS ปี 61เติบโตเฉลี่ย 10% ดังนั้นดัชนีฯปรับลง แนะนำให้ทยอยสะสมเพื่อการลงทุนระยะยาวเมื่ออ่อนตัว ตามปัจจัยต่างประเทศที่ยังกดดัน
Update หุ้นเด่น: BTS – มีโอกาสได้งานขนาดใหญ่คือ ไฮสปีดเทนเชื่อม 3 สนามบิน มูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท โดยจับมือกับพันธมิตรเดิมคือ STEC และ RATCH ในนามบริษัทร่วมทุน BSR คู่แข่งหลักจะเป็นกลุ่ม BEM ที่ล่าสุดจับมือกับกลุ่ม CP นอกจากนี้ กำลังเจรจาเรื่องการบริหารสัมปทานส่วนขยายสายสีเขียวกับกทม.และมีโอกาสได้ขยายเวลาเส้นปัจจุบัน แต่เก็บค่าโดยสารต่ำและรับหนี้กทม.แทน แนวโน้มกำไร 2Q61-62 ฟื้นตัว ส่วนหนึ่งจากบริษัทในกลุ่มรายงานกำไรออกมาดีล่วงหน้าคือ VGI และ MACO แนะนำ ซื้อ ราคาพื้นฐานเป็น 11.00 บาท ด้วยวิธี SOP
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น Candlestick & Indicators เป็นบวกเล็กๆ แต่ความน่าจะเป็นของตลาดฯระยะกลางมีน้ำหนักเป็นการลง ตามโครงสร้าง อย่างไรก็ตามอาจมีรีบาวด์สั้นๆก่อนจึงปรับลง ซื้อเน้นค่าบวก แนวต้าน 1665-1670 แนวรับ 1645-1630 จุด
นักกลยุทธ์&นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
- ภาวะตลาดหุ้น : ดาวโจนส์ลดลง 100 จุด หุ้นกลุ่มพลังงานฉุด
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,286.49 จุด ลดลง 100.69 จุด หรือ -0.40% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่2,722.18 จุด ลดลง 4.04 จุด หรือ -0.15% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,200.88 จุด เพิ่มขึ้น 0.01 จุด หรือ +0.00%
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (13 พ.ย.) เนื่องจากหุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลงหลังจากราคาน้ำมันดิบ WTIดิ่งลงกว่า 7% อันเนื่องมาจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะน้ำมันล้นตลาด ขณะที่หุ้นโบอิ้งร่วงลงอย่างหนัก จากความกังวลเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับเครื่องโบอิ้ง 737 ของสายการบินไลอ้อนแอร์เมื่อเดือนที่แล้ว โดยแรงกดดันเหล่านี้ได้สกัดปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของกลุ่มหุ้นเทคโนโลยี รวมทั้งสัญญาณบวกที่ว่าสหรัฐและจีนอาจจะสามารถแก้ไขความขัดแย้งทางการค้าได้
- ตลาดน้ำมัน : น้ำมัน WTI ดิ่งหนัก โอเปกปรับลดอุปสงค์-ทรัมป์เรียกร้องไม่ให้โอเปกลดกำลังการผลิต
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนธ.ค. ร่วงลง 4.24 ดอลลาร์ หรือ 7.1% ปิดที่ 55.69 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 16 พ.ย. 2560 และเป็นการร่วงลงภายในวันเดียวที่รุนแรงที่สุดในรอบกว่า 3 ปี
# สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนม.ค. ดิ่งลง 4.65 ดอลลาร์ หรือ 6.6% ปิดที่ 65.47 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดทรุดตัวลงกว่า 7% เมื่อคืนนี้ (13 พ.ย.) หลังจากกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ปรับลดคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันในปี 2562 นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์กดดันซาอุดีอาระเบียและกลุ่มโอเปกไม่ให้ปรับลดกำลังการผลิต โดยปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้สัญญาน้ำมันดิบ WTI ปิดในแดนลบติดต่อกันเป็นวันที่ 12 ซึ่งเป็นการปิดลบที่ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการซื้อขายสัญญาน้ำมันดิบ WTI ในปี 2526
• ทองคำ : ปรับลง ดอลลาร์แข็งค่า
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 2.10 ดอลลาร์ หรือ 0.17% ปิดที่1,201.40 ดอลลาร์/ออนซ์
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบติดต่อกันเป็นวันที่ 4 เมื่อคืนนี้ (13 พ.ย.) โดยได้รับปัจจัยกดดันจากดัชนีดอลลาร์ที่ยังคงเคลื่อนไหวใกล้ระดับสูงสุดในรอบกว่า 1 ปี อันเนื่องมาจากกระแสคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
+ การเจรจาการค้าสหรัฐกับจีน นอกรอบ G20 มีความหวังทางบวกมากขึ้น
# นายแลร์รี่ คุดโลว์ ที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจประจำทำเนียบขาว กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลสหรัฐและจีนกำลังเจรจากันในทุกระดับ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และประธานาธิบดีสี จิ้นผิงนอกรอบการประชุม G20 ที่กรุงบัวโนสไอเรสของอาร์เจนตินาในปลายเดือนนี้
+ ปอนด์ ยูโรกลับมาแข็งค่า Brexit ดูดีขึ้น
# สกุลเงินปอนด์และยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (13พ.ย.) ขานรับรายงานที่ว่า เจ้าหน้าที่ตัวแทนการเจรจาจากอังกฤษ และสหภาพยุโรป (EU) สามารถตกลงกันเกี่ยวกับร่างข้อตกลงว่าด้วยการแยกตัวของอังกฤษออกจาก EU (Brexit)
• ตัวเลขเศรษฐกิจที่จะทยอยประกาศสัปดาห์นี้
# นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐที่จะมีการเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่ อัตราเงินเฟ้อเดือนต.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดค้าปลีกเดือนต.ค., ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือนพ.ย.จากเฟดนิวยอร์ก, ดัชนีการผลิตเดือนพ.ย.จากเฟดฟิลาเดลเฟีย, สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนก.ย. และการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนต.ค.
ปัจจัยในประเทศ และข่าวเด่นหุ้น-อุตสาหกรรม
+ ครม.มีมติเห็นชอบมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวปลายปี 61
# ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบหลักการแคมเปญกระตุ้นการท่องเที่ยว ใช้ชื่อแคมเปญว่า "AmazingThailand Grand Sale Passport Privilege" มีระยะเวลาดำเนินการเป็นเวลา 2 เดือน ตั้งแต่ 15 พ.ย.61 -15 ม.ค.62 โดยมอบให้ภาคเอกชนไปดำเนินการจัดทำแพ็คเกจลดราคาสินค้ามาเสนอ
• คาด กนง.คงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันนี้
# คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.50% ในการประชุมในวันนี้หรือ 14พฤศจิกายน 2561 รวมถึงการประชุมรอบสุดท้ายในเดือนธันวาคม แม้ว่าคณะกรรมการบางท่านจะเริ่มส่งสัญญาณถึงความพร้อมในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายการเงินของไทย แต่คงต้องยอมรับว่าโอกาสที่ กนง. จะปรับขึ้นนโยบายการเงินในปีนี้คงมีไม่มาก หลังจากที่ภาคเศรษฐกิจต่างประเทศของไทย ทั้งการท่องเที่ยวและการส่งออกมีสัญญาณอ่อนแรงลงพร้อมกัน
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]