WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ปัจจัยแวดล้อมภายนอกทั้งการขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐ และราคาน้ำมันที่มีโอกาสลงไปที่ 60 เหรียญฯ  ล้วนดึงเงินทุนไหลออก ยกเว้นยังมีแรง LTF แต่อาจจะแผ่วเบา หลังจากที่เร่งซื้อก่อนหน้านี้ และ การกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศผ่านการผลักดันโครงการลงทุนภาครัฐ และการเมืองใกล้เลือกตั้ง แนะนำสะสมหุ้น Domestic (ROBINS, CPALL) หรือหุ้นอาหารส่งออกที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า  Top Picks  เลือก CPF(FV@B30) เพราะนอกจาก gross margin ที่ดีขึ้นจากบาทอ่อนค่าแล้ว ราคาเนื้อหมูยังสูงขึ้น ชดเชยราคาไก่ที่อ่อนตัวช่วงสั้นได้ และ CPALL(FV@B80)
  
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย ….ดัชนีฯ ร่วงต่อ แต่มูลค่าซื้อขายเบาบาง 
วานนี้ตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวในแดนลบตลอดทั้งวันและปิดที่ 1654.85 จุด  ลดลง 13.67 จุด (-0.82%) แต่มูลค่าการซื้อขายเบาบางเพียง 2.88 หมื่นล้านบาท ปัจจัยกดดันจากแรงซื้อสลับขายของต่างชาติ กดดันหุ้นขนาดใหญ่ โดยเฉพาะหุ้นธนาคาร นำโดย KBANK, SCB, BBL, KTB หลังจากที่ ธปท. เปิดเผยถึงแนวโน้มการกลับมาของ NPLs กลุ่ม SMEs (Re-entry) เนื่องจากการทำธุรกิจที่ไม่อาจจะแข่งขันกับกระแส E-Commerce/Social Commerce เป็นต้น ตามด้วยหุ้น Global ที่อิงตามราคาน้ำมันโลก ที่ปรับตัวลดลง (สะท้อนจากราคาน้ำมันดิบดูไบที่ลดลงราว  10% ในช่วง 10 วันที่ผ่านมา) ได้แก่หุ้นโรงกลั่น TOP และ  ESSO  (ราคาหุ้น ESSO  ลดลง 3.4% ยังถูกแรงขายรับงบซึ่ง กำไร 3Q61 หดตัว 61% qoq)  ตามด้วยหุ้นปลีกฯ ROBINS (-3.3%) หลังงบ 3Q61 ออกมาต่ำกว่าจากส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วม อย่างไรก็ตามนโยบายกระตุ้นการบริโภคของภาครัฐฯ และเม็ดเงินสะพัดช่วงเลือกตั้งจะหนุนกำไรของ ROBINS ปีนี้ เติบโต 18%  เป็นต้น  
 
แนวโน้ม SET Index วันนี้ คาดดัชนีมีโอกาสอ่อนตัวลงมาปิด Gap ที่ 1645 จุด  ตามการปรับฐานของหุ้นโลก  หลังผลกระทบสงครามการค้าชัดเจนมากขึ้น  กดดันราคาน้ำมันดิบดูไบมีโอกาสลดลงไปแตะ 60 เหรียญฯ อีกครั้ง  อย่างไรก็ตามยังมีแรงหนุนหุ้นส่งออกอาหาร จากที่เงินบาทอ่อนตัว สวนทางกับเงินดอลลาร์   และยังมีแรงซื้อ LTF จนถึงสิ้นปี แม้จะแผ่วเบาลงกว่าทุกปี เพราะน่าจะซื้อไปมากในช่วงก่อนหน้านี้ 
Demand ลด & Dollar แข็งค่า กดน้ำมันดูไบแตะ 60 เหรียญฯ  
 
ระยะสั้น ๆ ยังมุ่งประเด็นไปที่การรายงานเงินเฟ้อสหรัฐ เดือน ต.ค. ในวันที่ 14 พ.ย. นี้ ซึ่งตลาดคาด 2.5%yoy เพิ่มขึ้นจาก 2.3% ในเดือน ก.ย. ทั้งนี้น่าจะเป็นผลกระทบจากการขึ้นภาษีนำเข้านับจาก ก.ค. เป็นต้นมา กดดันสินค้านำเข้าราคาสูงขึ้น และตลาดแรงงานที่เข้าใกล้ภาวะจ้างงานเต็มที่ (เห็นได้จากอัตราการว่างงานทรงตัวต่ำสุด 3.7% ในรอบ 49 ปี) จะเห็นว่าเงินเฟ้อ ได้ขยับขึ้นสูงกว่าดอกเบี้ยนโยบายฯ ที่ 2.25% หนุน Fed ขึ้นดอกเบี้ยอีก 1 ครั้ง 0.25% เป็น 2.5% ในเดือน ธ.ค.นี้ (ผลสำรวจโอกาสขึ้นดอกเบี้ยของ Bloomberg คาดโอกาสรอบ ธ.ค. ราว 74.4% และในปี 2562-2563 Fed มีแผนจะขึ้นอีกดอกเบี้ยอีกราว 3 ครั้ง และ 2 ครั้งตามลำดับ)  หนุน Dollar index แข็งค่าต่อเนื่อง 5.99% ตั้งแต่ต้นปี 2561
 
ดอลลาร์ที่แข็งค่า ล้วนกดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์  โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบดูไบยังอ่อนตัวต่อเนื่อง 3 วันกว่า 4.1% และลดลงถึง 19.47% นับตั้งแต่ 3 ต.ค. 61(จุดสูงสุดของปี)จนถึงปัจจุบัน ล่าสุด ราคาน้ำมันดูไบ อยู่ที่ 67.6 เหรียญฯ  (เฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี หรือ ytd อยู่ที่  71 เหรียญฯ) และมีโอกาสลดลงแตะ 60 เหรียญฯ เพราะความต้องการใช้น้ำมันโลกมีแนวโน้มชะลอ จากผลกระทบของสงครามการค้าสหรัฐ-จีน   ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าด้าน Supply  แม้ล่าสุด  กลุ่มประเทศ OPEC  และ non-Opec เตรียมปรับลดการผลิตน้ำมันลงอีก  1 ล้านบาร์เรล/วัน ในปี 2562  
ราคาน้ำมันมีโอกาสย่อลง ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิด stock loss ซึ่งจะทำให้กำไรของบริษัทน้ำมันไม่เป็นไปตามคาด  ภายใต้สมมติฐานราคาน้ำมันดิบล่าสุดที่ปรับลดลง 5 เหรียญฯต่อบาร์เรลตั้งแต่ปี 2562 เหลือ 65 เหรียญฯ และ คงที่  70 เหรียญฯ  ตั้งแต่ปี  2563  เป็นต้นไป  ซึ่งได้ Fair Value ใหม่ของปี 2562 ลดลงจากคาดการณ์เดิม  7.5%  และ 6.6%  ซึ่งมี upside จำกัด จึงยังแนะนำ “switch” ทั้ง PTTEP (FV@B148) และ PTT (FV@B56)   
 
ต่างชาติสลับมาขายทั้งหุ้นและตราสารหนี้ไทย กดดันบาทอ่อน
วานนี้ตลาดหุ้นภูมิภาคส่วนใหญ่ปรับตัวลง   และเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นไต้หวันเพียงแห่งเดียวที่ซื้อสุทธิ 18 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิในวันก่อนหน้า) ตลาดอีก 4 ประเทศ ที่ ขาย คือ เกาหลีใต้ขายสุทธิ 7 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2), ฟิลิปปินส์ 11 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3), อินโดนีเซีย 1 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิอีก 28 ล้านเหรียญ หรือ 917 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่สลับมาขายสุทธิ 734 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว)
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ไทย ต่างชาติขายสุทธิอีก 916 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4 ด้วยมูลค่ารวม 9.6 พันล้านบาท) แรงขายทั้งตลาดหุ้นและตราสารหนี้ไทยเป็นส่วนหนึ่งที่กดดันให้บาทกลับมาอ่อนค่า 1.16% นับตั้งแต่กลางสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยล่าสุดอยู่ที่ 33.13 บาท/ดอลลาร์
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค
 
 
กลยุทธ์การลงทุน เน้น Domestic Play และหุ้นพื้นฐานดี Upside สูง
บริษัทจดทะเบียนประกาศผลประกอบการ 3Q61 จนถึงวานนี้ แล้วราว 294 บริษัท หรือคิดเป็น 65% ของ Market Cap. ทั้งตลาดฯ กำไรสุทธิรวม 2.05 แสนล้านบาท เมื่อเทียบกับงวด 3Q60 เฉพาะที่ประกาศงบฯ แล้วพบว่า เติบโต 22.9%yoy และเทียบกับ 2Q61 เติบโต 5.9%qoq และหากพิจารณาเฉพาะภาค real sector มีกำไรสุทธิราว 1.4 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 25.4%yoy และ 11.8%qoq 
ในเบื้องต้น หากเปรียบเทียบกันเป็นรายกลุ่มฯ สามารถสรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้
 
กลุ่มฯ ที่กำไรสุทธิเติบโตทั้ง yoy และ qoq คือ กลุ่มพลังงาน (หลักๆ มาจาก PTT EGCO PTTEP BCPG EA) ,กลุ่มปิโตรเคมี (GGC และ IVL), กลุ่มอสังหาฯ (LPN QH SF), กลุ่มยานยนต์ (STANLY), กลุ่มส่งออกชิ้นส่วนฯ (DELTA),กลุ่มโรงพยาบาล(BH SVH) และกลุ่มขนส่ง (BEM) กลุ่มฯ ที่กำไรสุทธิเติบโต yoy แต่ลดลง qoq คือ กลุ่มท่องเที่ยว แต่หากพิจาณาเป็นรายหุ้น พบว่า หุ้นที่มี Market Cap. ขนาดใหญ่ในกลุ่มฯ CENTEL  ยังเติบโตได้ทั้ง yoy และ qoqกลุ่มฯ ที่กำไรสุทธิเติบโต qoq แต่ลดลง yoy คือ กลุ่มเกษตร-อาหาร (หลักๆ มาจาก CBG TFG TU GFPT)
กลุ่มฯ ที่กำไรสุทธิลดลงทั้ง yoy และ qoq คือ กลุ่มรับเหมา-วัสดุก่อสร้าง (หลักๆ จาก SCC SYNTEC) กลุ่ม ICT (จาก ADVANC, INTUCH, DTAC, JAS และ JASIF), กลุ่มสื่อบันเทิง (MAJOR)
ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยคาดกำไรสุทธิของตลาดฯ ทั้งปี 2561 ที่ 1.07 ล้านล้านบาท โดยงวด 1H61 ทำกำไรสุทธิรวมกันได้ 5.5 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 52% ของประมาณการฯ ทั้งปี ดังนั้น หากจะเป็นไปตามที่ประเมินไว้ ผลการดำเนินงานรวมในงวด 3Q61 นี้ ควรทำได้อย่างน้อย 2.6 แสนล้านบาท หรือบวก-ลบจากนี้าเล็กน้อย   
 
สำหรับแนวโน้มผลประกอบการ 4Q61 คาดชะลอตัวลงจาก 3Q61 ปัจจัยหลักมาจากกลุ่มที่มี Market Cap ขนาดใหญ่มีแนวโน้มผลการดำเนินงานอ่อนตัวลง เช่น
กลุ่มพลังงาน ทั้งในส่วนของธุรกิจปิโตรเลียม คาดได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันโลกที่ลดลง ทำให้มีโอกาสสูงที่จะบันทึกขาดทุนสต็อกน้ำมัน แม้มีแนวโน้มที่ปริมาณขายจะเพิ่มขึ้นก็ตาม นอกจากนี้ หากเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่า ก็มีโอกาสที่จะเกิดค่าใช้จ่ายทางภาษีเพิ่มขึ้นกับ PTTEP เช่นเดียวกับธุรกิจโรงกลั่นและปิโตรเคมี ที่ไม่น่าจะมีการบันทึกกำไรสต๊อกน้ำมันในระดับสูงเช่นในงวดที่ผ่านมา ขณะที่ทิศทาง spread โดยเฉพาะกลุ่มโอเลฟินส์ที่เริ่มเห็นการปรับตัวลดลงจากงวดก่อนหน้า เพราะเข้าสู่ช่วง low season ทางด้านธุรกิจถ่านหิน มีแนวโน้มทรงตัว ส่วนโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน มีโอกาสอ่อนตัวลง เนื่องจากจะเป็นช่วง low season ของโรงไฟฟ้าโซลาร์
 
กลุ่มธนาคารพาณิชย์ คาดกำไรสุทธิอ่อนตัวลงจาก 3Q61 เนื่องจากการลดลงของรายได้พิเศษของ TMB ที่บันทึกเข้ามามากใน 3Q61 และค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่เร่งตัวขึ้นในช่วงฤดูกาล รวมถึงแนวโน้มค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ที่คาดจะเร่งตัวขึ้นใน 4Q61 ตามการตัดหนี้สูญเชิงรุกขึ้น
 
กลุ่ม ICT แนวโน้มทรงตัวหรืออ่อนตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ 3Q61 โดย ADVANC จะต้องรับรู้ต้นทุนคลื่นใหม่ 1800 MHz ในงวด 4Q61 ขณะที่ DTAC คาดกำไร 4Q61 ดีขึ้นมีนัยฯ จากผลบวกการหยุดรับรู้ต้นทุนค่าตัดจำหน่ายอุปกรณ์สัมปทาน ส่วน JAS คาดกำไร 4Q61 จะอ่อนตัว qoq
 
กลุ่มวัสดุก่อสร้าง แนวโน้ม 4Q61 ทรงตัวหรืออ่อนตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ 3Q61 โดย SCC จะถูกกดดันจาก spread ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี แต่จะได้ธุรกิจซีเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง และธุรกิจ Packaging บวกกับเงินปันผลจากธุรกิจลงทุนที่มีเข้ามาช่วยชดเชย ส่วน SCCC อาจได้รับผลกระทบจากตลาดปูนซีเมนต์ในศรีลังกาที่ชะลอตัวลงชั่วคราว จากสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยและการอ่อนค่าของค่าเงิน
ตรงข้ามกลุ่มที่มีแนวโน้มผลการดำเนินงานเติบโตขึ้น คือ กลุ่มค้าปลีก จากการเข้าสู่ช่วงเทศกาลจับจ่ายใช้สอยปลายปี และกลุ่มท่องเที่ยว-โรงแรม รวมทั้งสนามบิน-สายการบิน จากการเข้าสู่ช่วง High Season ของฤดูกาลท่องเที่ยว แต่อาจจะมีน้ำหนักไม่มากพอเมื่อเทียบกับแรงกดดันจากหุ้น Market Cap ใหญ่ อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นฝ่ายวิจัยยังคงประมาณการกำไรฯ ปี 2561 ไว้เช่นเดิมก่อน
 
ภรณี ทองเย็น
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
 ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
 โยธิน ภูคงนิล
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!