WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

DBSบล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
 
“ต่างประเทศไม่สดใส กดดัน SET ต่อ”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : --
ภาวะตลาดและปัจจัย : ตลาดวานนี้ – SET Index ปิดตลาด -13.67 จุด มายืนที่ 1654.85 จุด ปิดใกล้ยอดต่ำสุดของวันที่ 1654.80 จุด ขณะที่ตลาดหุ้นในภูมิภาคเป็น Mix คือ มีทั้งบวกและลบ มูลค่าการซื้อขายเบาบางมากเป็น 28.8 พันล้านบาท แสดงว่านักลงทุนรอดูสถานการณ์มากกว่า หลังดัชนีฯปรับลงมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจับลบต่างประเทศยังรบกวนคือ กังวลเฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ย ดาวโจนส์ปรับลง ราคาน้ำมันที่ปรับลงต่อเนื่อง ส่งสัญญาณเศรษฐกิจโลกชะลอ หุ้นกลุ่มหลักปรับลงกันถ้วนหน้า ด้านผู้ซื้อสุทธิรายเดียวเป็น นักลงทุนทั่วไป 1.6 พันล้านบาท ส่วนผู้ขายสุทธิคือ ต่างชาติ 0.9 พันล้านบาท สถาบัน 0.7 พันล้านบาท และบัญชีหลักทรัพย์ 0.03 พันล้านบาท
 
แนวโน้มและกลยุทธ์– ระยะสั้น SET ไม่มีปัจจัยบวกใหม่ๆเข้ามา แถมปัจจัยต่างประเทศยังกดดัน ดาวโจนส์ดิ่งถึง 602 จุด น้ำมันปรับลดลงอีก ดอลลาร์แข็ง เพราะงบประมาณอิตาลียังไม่แน่นอน และ กังวล Brexit ไม่ราบรื่น บาทอ่อน เงินไหลออก ตลาดหุ้นเพื่อนบ้านเช้านี้แกว่งลบ 1.5%-3.0% ทีเดียว ดัชนีความกลัว (VIX) และ บอนด์ยิลด์ 10 ปี ปรับขึ้นดาวโจนส์ล่วงหน้า -62 จุด ณ 8:21 น. วานนี้ดัชนีฯ ปรับลงต่ำกว่าจุด Stop Loss ที่ 1660 เป็นสัญญาณไม่ดีนัก แนวรับถัดไปคือ 1645-1630 ด้านปัจจัยในประเทศ ประชุม กนง. 14พ.ย.61 คาดว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย การเมืองเรื่องเลือกตั้งมีไทม์ไลน์ออกมา แต่เป็นไปตามคาด ส่วนปัจจัยลบเดิมๆยังค้างคา จึงคงต้องระวังการลงทุน เช่น แรงขายจากต่างชาติ สถาบัน กังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ย สงครามการค้าสหรัฐ-จีน ส่วนตัวเลขส่งออกไทย ก.ย.พลิกลดลง 5.2% ก็ยังสร้างความวิตกเพิ่มขึ้น รอดู ต.ค.61 นักท่องเที่ยวจีนมาไทยน้อยลง ข้อดีคือ จะมีการเลือกตั้งตามโรดแม็ป แม้ปัญหา Emerging Market (EM) ยังไม่จบ แต่เศรษฐกิจของไทยเหนือกว่า EM อื่นคือ ตัวเลขเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง บัญชีเดินสะพัดเกินดุล สำหรับปัจจัยต่างประเทศที่เป็นภาพใหญ่คือ ECB ทยอยลด QE และหยุดตอนสิ้นปี มีเงินไหลมาลงทุน EM น้อยลง ส่วนระยะกลาง-ยาวเฟดคาดปีนี้จะปรับขึ้นทั้งหมด 4 ครั้ง (ปรับขึ้นอีก 1 ครั้งในช่วง ธ.ค.) และปีหน้าอีก 3 ครั้ง ทำให้แนวโน้มดอลลาร์แข็งค่า และเงินไหลออกกลับไปสหรัฐ นับว่าปัจจัยต่างประเทศยังกดดันในเรื่องกังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อไป และกังวลไทยจะได้รับผลกระทบสงครามการค้าตั้งแต่ปีหน้า แต่ก็มีข้อดีจะมีการย้ายฐานการผลิตมาไทยจีนมาไทย กลยุทธ์ในสัปดาห์นี้ ยังคงเน้นลงทุนหุ้นรายตัวที่มีพื้นฐานดีเมื่อราคาหุ้นปรับลงตามดัชนีฯ และเลือกหุ้นที่มีประเด็นที่น่าสนใจ หุ้นเน้นธุรกิจในประเทศ (Domestic Play) รวมทั้งหุ้นปันผลสูง นักลงทุนระยะสั้นควรเล่นรอบสั้นๆ ไม่หวังกำไรมาก ควรตั้งเป้าผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรม และทยอยขายทำกำไรเมื่อได้ตามเป้าหมาย แต่ SET ตามพื้นฐานระยะยาว 1 ปี ให้ไว้ที่ 1860 จุด ที่ P/E 17 เท่า ซึ่งเป็นMedian+1 SD และ EPS ปี 61 เติบโตเฉลี่ย 10% ดังนั้นดัชนีฯปรับลง แนะนำให้ทยอยสะสมเพื่อการลงทุนระยะยาวเมื่ออ่อนตัว ตามปัจจัยต่างประเทศที่ยังกดดัน
 
Update หุ้นเด่น: VGI – ข่าวดีคือ บริษัทปรับเป้ารายได้ปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 5 พันล้านบาท จากเดิม 4.4-4.6 พันล้านบาท เนื่องจากจะมีการเลือกตั้ง ส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจและโฆษณาตามมา ผนวกกับกระแสการจับจ่ายใช้สอยผ่าน e-commerce ทำให้บริษัทได้รับประโยชน์เต็มที่ รวมทั้งมีรายได้เพิ่มจากกลุ่มทรานส์ แอดเข้ามาสนับสนุน อีกทั้งกำไรตามส่วนได้เสียมี Kerry Express ช่วยเสริมเป็นอย่างดี คาดการณ์อัตราการเติบโตกำไรหลักปีนี้และปีหน้าสดใสมากเป็น 50%/41% เทียบ y-o-y ราคาพื้นฐานประเมินด้วย DCF ได้ที่ 8.49 ราคาปิดมีส่วนเพิ่มได้อีก 10%
 
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น Candlestick & Indicators เป็นลบ ความน่าจะเป็นของตลาดฯระยะกลางมีน้ำหนักเป็นการลง ตามโครงสร้าง อย่างไรก็ตามอาจมีรีบาวด์สั้นๆก่อนจึงปรับลง ซื้อเน้นค่าบวก แนวต้าน 1665-1670 แนวรับ 1645-1630 จุด
ด้านหุ้นทำ New High เข้ามาใหม่ คาดว่าเป็น EPCO หุ้นยังอยู่ใน List คือ RCI,KTB,GULF,BLA หุ้นหลุด List คือ BEM,SENA,TU และหุ้นหาจังหวะขายทำกำไร –ไม่มี-
นักกลยุทธ์&นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]
 
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
- ภาวะตลาดหุ้น : ดาวโจนส์ดิ่ง 602 จุด หุ้นเทคโนโลยีและแบงค์ฉุด
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,387.18 จุด ลดลง 602.12 จุด ร่วงลง -2.32% ขณะที่ดัชนี Nasdaq ปิดที่7,200.87 จุด ลดลง 206.03 จุด หรือ -2.78% และดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,726.22 จุด ลดลง 54.79 จุด หรือ -1.97%
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 600 จุดเมื่อคืนนี้ (12 พ.ย.) เนื่องจากกลุ่มเทคโนโลยีดิ่งลงตามราคาหุ้นแอปเปิลที่ร่วงลงอย่างหนัก หลังจากบริษัทลูเมนตัม โฮลดิ้งส์ ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์ที่ผลิตอุปกรณ์จับภาพบนใบหน้าของiPhone ได้ปรับลดแนวโน้มผลประกอบการ ขณะที่หุ้นกลุ่มธนาคารร่วงลงหลังจากราคาหุ้นโกลด์แมน แซคส์ดิ่งลง อันเนื่องมาจากข่าวที่ว่า ทางการมาเลเซียได้กดดันให้โกลด์แมน แซคส์จ่ายคืนเงินค่าธรรมเนียมจัดตั้งกองทุน 1MDB ซึ่งพัวพันกับคดีทุจริตและติดสินบน นอกจากนี้ การร่วงลงอย่างต่อเนื่องของราคาน้ำมันยังส่งผลให้หุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวลงเช่นกัน
 
- ตลาดนํ้ามัน : น้ำมัน WTI ปรับลง ทรัมป์เรียกร้องไม่ให้โอเปกลดกำลังการผลิต
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 26 เซนต์ หรือ 0.4% ปิดที่ 59.93 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนม.ค. ลดลง 6 เซนต์ หรือประมาณ 0.09% ปิดที่ 70.12 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบติดต่อกันเป็นวันที่ 11 เมื่อคืนนี้ (12 พ.ย.) ซึ่งเป็นการปิดในแดนลบที่ติดต่อกันยาวนานที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการซื้อขายสัญญาน้ำมันดิบ WTI ในปี 2526 หลังจากมีรายงานว่า กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) เตรียมลดการผลิตน้ำมัน 1 ล้านบาร์เรล/วันในปีหน้า นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันจากการที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐ ได้เรียกร้องกลุ่มโอเปกไม่ให้ปรับลดการผลิตน้ำมัน หลังจากซาอุดีอาระเบียส่งสัญญาณว่าจะลดการส่งออกน้ำมันลงในเดือนหน้า
 
• ทองคำ : ปรับลง ดอลลาร์แข็งค่า
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 5.1 ดอลลาร์ หรือ 0.42% ปิดที่1,203.5 ดอลลาร์/ออนซ์
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (12 พ.ย.) เนื่องจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ได้สร้างแรงกดดันต่อตลาด โดยดัชนีดอลลาร์ทะยานขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 17 เดือน ซึ่งส่งผลให้สัญญาทองคำมีความน่าดึงดูดน้อยลง
 
- ดอลลาร์แข็งค่า ปอนด์และยูโรอ่อนค่า
# สกุลเงินปอนด์และยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (12พ.ย.) ท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณของอิตาลี และความกังวลเกี่ยวกับการทำข้อตกลงแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) ของอังกฤษ
 
• ตัวเลขเศรษฐกิจที่จะทยอยประกาศสัปดาห์นี้
# นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐที่จะมีการเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่ อัตราเงินเฟ้อเดือนต.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดค้าปลีกเดือนต.ค., ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือนพ.ย.จากเฟดนิวยอร์ก, ดัชนีการผลิตเดือนพ.ย.จากเฟดฟิลาเดลเฟีย, สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนก.ย. และการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนต.ค.
 
ปัจจัยในประเทศ และข่าวเด่นหุ้น-อุตสาหกรรม
+ วานนี้ร.ฟ.ท.เปิดยื่นซองชิงไฮสปีดเทรนคาดธ.ค.รู้ผลผู้ชนะ
# ร.ฟ.ท.มั่นใจเอกชนเกิน 2 รายยื่นซองชิงไฮสปีดเทรน มูลค่าลงทุน 2.24 แสนล้าน คาด1 เดือนรู้ผลผู้ชนะ ขณะที่"ซีพี"จับมือพันธมิตรต่างชาติยื่นประมูล ส่วนบีทีเอสร่วมมือซิโนไทย-ราชบุรีฯ เข้าชิงนายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่ม ธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท. บอกว่า การยื่นซองประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มูลค่า 220,000 ล้านบาทวันนี้(12 พ.ย.) มั่นใจว่า จะมีเอกชน ยื่นซองข้อเสนอราคาไม่ต่ำกว่า 2 รายและหากมีผู้ยื่นประมูล 2 ราย คาดว่าจะใช้เวลาตรวจสอบเอกชนดูข้อเสนอทั้งหมด 1 เดือน ก็จะทราบผลผู้ชนะประมูล
 
+ ธปท.เผยสินเชิ่อ 3Q61 ขยายตัวดี
# ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า สินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 3/61 ขยายตัวอยู่ที่ 6.3% จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัว 5.4% โดยเป็นการขยายตัวต่อเนื่องสอดคล้องกับการเติบโตของเศรษฐกิจ และเป็นการขยายตัวจากสินเชื่ออุปโภคบริโภคเป็นสำคัญ พร้อมคาดว่าทั้งปี 61 สินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์จะขยายตัวได้ราว 6-8% อย่างไรก็ดีผลบวกของเศรษฐกิจยังไม่ส่งผ่านไปยังคุณภาพสินเชื่อของลูกหนี้บางกลุ่ม โดยเฉพาะธุรกิจ SME ทำให้ภาพรวมของสัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ในไตรมาส 3/61 ยังทรงตัว โดยอยู่ที่ 2.94% จากไตรมาสก่อนหน้าที่ 2.93%ทั้งนี้ ระบบธนาคารพาณิชย์ยังมีเสถียรภาพ มีเงินสำรอง เงินกองทุน และสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง สามารถรองรับการขยายตัวของสินเชื่อในระยะต่อไปได้ธปท.เผยคาดสินเชื่อ
 
+ ธปท.คาดสินเชิ่อปี 61 ขยายตัวดี
# ธปท. คาดการณ์ว่า สินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ในปีนี้ จะขยายตัวได้ราว 6-8% โดยมีผลกำไรจากการดำเนินงานอยู่ที่1.04 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.3% และเป็นกำไรสุทธิ 5.1 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.5% อย่างไรก็ดี มองว่าในปีนี้สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์จะไม่ได้เร่งตัวมากนักจากผลของมาตรการที่ ธปท.จะมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ แต่การเร่งตัวจะเป็นไปตามภาวะปกติของสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ในไตรมาส
# ผลกระทบ: เราคาดว่าอัตราการเติบโตสินเชื่อจะมีโมเม็นตัมที่ดีต่อไป แม้จะมีแรงกดดันด้านกำไรก็ตาม เช่น การแข่งขันเกณฑ์ใหม่ LTV ของสินเชื่อบ้าน และเกณฑ์ใหม่ของธุรกิจประกัน หลายธนาคารประหยัดค่าใช้จ่ายเพื่อมาทดแทนรายได้ที่อ่อนลง เช่น รายได้ค่าธรรมเนียมและไม่ใช่ดอกเบี้ย หลักทรัพย์ที่แนะนำ ซื้อ และเป็น Top Pick ในกลุ่มที่คัดสรรแล้วคือBBL และ KKP
 
• คาด กนง.คงอัตราดอกเบี้ยในการประชุม 14 พ.ย.61 นี้
# คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.50% ในการประชุมในวันที่ 14พฤศจิกายน 2561 รวมถึงการประชุมรอบสุดท้ายในเดือนธันวาคม แม้ว่าคณะกรรมการบางท่านจะเริ่มส่งสัญญาณถึงความพร้อมในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายการเงินของไทย แต่คงต้องยอมรับว่าโอกาสที่ กนง. จะปรับขึ้นนโยบายการเงินในปีนี้คงมีไม่มาก หลังจากที่ภาคเศรษฐกิจต่างประเทศของไทย ทั้งการท่องเที่ยวและการส่งออกมีสัญญาณอ่อนแรงลงพร้อมกัน 
 
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!