- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 07 November 2018 22:34
- Hits: 6427
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
SET ยังแกว่งตัวในกรอบ 1660-1680 จุด ยังให้น้ำหนักกับการประกาศสงครามการค้าจีน-สหรัฐรอบที่ 4 อีก 2.67 แสนล้านเหรียญฯ ซึ่งผลการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐไม่น่าจะมีผลทำให้นโยบายกีดกันการค้าของทรัมป์เปลี่ยนแปลง ขณะที่ราคาน้ำมันดิบดูไบหลุด 70 เหรียญฯแล้ว น่าจะกดดันหุ้นน้ำมันอย่าง PTT, PTTEP ต่อไป จึงให้น้ำหนักต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ หลังวานนี้ ครม. อนุมัติให้ยกเว้นวีซานักท่องเที่ยว 21 ประเทศ บวกต่อหุ้นโรงแรมอย่าง ERW ([email protected]) และหุ้นค้าปลีก ROBINS(FV’62 @B74) เลือกเป็น Top picks และวันนี้เพิ่ม CPF(FV@B30) หลังราคาหมูขยับเพิ่มต่อเป็น 64 บาทต่อ กก. เพราะผลของฤดูกาล
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทยวานนี้ ….SET พลิกจากแดนบวก อ่อนตัวปิดแดนลบ
วานนี้ตลาดหุ้นไทยยังพักตัวตามกรอบ และปิดตลาดที่ 1669.33 จุด ลดลง 1.25 จุด (-0.07%) มูลค่าการซื้อขายเบาบาง 3.9 หมื่นล้านบาท ดัชนีกลับมาในแดนลบหลังราคาหุ้นกลุ่ม ICT ทั้ง DTAC และ ADVANC ปรับตัวลงต่อ 3.1% และ 1.6% ตามลำดับ ตามด้วยแรงขายในหุ้นกลุ่มโรงกลั่น TOP ลดลง 1.5%, SRPC ลดลง 2.2% ยกเว้น IRPC ราคาหุ้นกลับมาทรงตัวปิดที่ 6.15 บาท หลังรายงานไตรมาส 3 ลดลงตามคาด แต่แนวโน้มกำไรไตรมาสหน้าจะกลับมาเติบโต และหุ้นน้ำมันฟื้นตัวคือ PTT +1.02%
แนวโน้ม SET Index วันนี้ยังคงแกว่งตัวในกรอบ 1680-1660 จุด โดยยังให้น้ำหนักการประกาศ สงครามการค้า สหรัฐ-จีน ที่จะเพิ่มเติม รอบใหม่อีก 2.67 แสนล้านเหรียญฯ ซึ่งจะกดดันเศรษฐกิจและราคาน้ำมันดิบดูไบต่ำกว่า 70 เหรียญฯ อีกระยะหนึ่ง เท่ากับกดดันหุ้นน้ำมันทั้ง PTT, PTTEP และกดดันดัชนีลง ขณะที่นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ ผ่านภาคท่องเที่ยวโดยการลดค่าธรรมเนียมวีซ่า ให้กับนักท่องเที่ยว 21 ประเทศ น่าจะมีน้ำหนักหนุนหุ้น ERW, CENTEL เป็นต้น
ราคาน้ำมันดิบดูไบหลุด 70 เหรียญฯ แล้ว Demand ชะลอตัวเร็วกว่า Supply
ราคาน้ำมันดิบดูไบยังอ่อนตัวต่อต่อเนื่อง เพราะปัญหา supply ตึงตัวผ่อนคลาย หลังสหรัฐ ยกเว้น 8 ประเทศ คือ อินเดีย, เกาหลีใต้, ตุรกี, อิตาลี, กรีซ, ญี่ปุ่น, ไต้หวัน และจีน สามารถค้าขาย กับอิหร่านได้เป็นเวลา 180 วัน นับจาก 4 พ.ย. โดย 8 ประเทศนี้ เป็นผู้นำเข้าน้ำมันหลักจากอิหร่านรวมกันราว 85.7%ของยอดส่งออกน้ำมันอิหร่าน และการผลิตจากผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลก 2 รายคือ ซาอุดิอาระเบีย ล่าสุดผลิตเป็นวันละ 10.7 ล้านบาร์เรล(เทียบกับ 10.1 ล้านบาร์เรล เดือน พ.ค.) และ รัสเซีย ผลิตวันละ 11.41 ล้านบาร์เรล (เทียบ 10.9 ล้านบาร์เรลเดือน พ.ค.) และมีแนวโน้ม ผลิตเพิ่มหลังสิ้นสุดสัญญาควบคุมการผลิต OPEC และ Non OPEC ใน ธ.ค. นี้ ส่วนด้านความต้องการใช้น้ำมันโลก มีแนวโน้มชะลอลงจากผลกระทบของสงครามการค้าสหรัฐ-จีนที่ยังมีอยู่ และหากพิจารณาดัชนีชี้นำเศรษฐกิจโลกสำคัญอยู่ในภาวะชะลอตัว โดยเฉพาะผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่สุดของโลก คือ สหรัฐ รองลงมาคือ จีน , ญี่ปุ่น, อินเดีย, รัสเซีย การบริโภคน้ำมันรายประเทศทั่วโลก
ที่มา : IEA
ด้วยเหตุนี้จะทำให้ Supply-Demand น้ำมันดิบดูไบเข้าสู่ภาวะสมดุล และ น่าจะกลับมา oversupply อีกครั้งในปี 2562 ซึ่งน่าจะกดดันราคาน้ำมันดิบดูไบต่ำกว่า 70 เหรียญฯ อย่างไรก็ตาม ASPS ยังคงสมมติฐานราคาน้ำมันดิบ ปี 2562 ที่ 70 เหรียญฯ และ 75 เหรียญฯ ในปี 2563 เป็นต้นไป และหากราคาน้ำมันดิบต่ำกว่าสมมติฐานข้างต้น ผลจากการศึกษา พบว่า ทุกราคาน้ำมันดิบระยะยาวที่ลดลง 5 เหรียญฯต่อบาร์เรล จากสมมติฐาน มูลค่าพื้นฐานของ PTTEP และ PTT จะลดลงราวหุ้นละ 10 บาท และ 2 บาท ตามลำดับ ซึ่งเชื่อว่าราคาหุ้นปัจจุบันของทั้ง PTTEP และ PTT แม้เริ่มมี upside จากมูลค่าหุ้นปี 2562 แต่ความเสี่ยงยังมีอยู่ จึงยังแนะนำ switch ทั้ง PTTEP(FV@B161) และ PTT(FV@B54)
ผลเลือกตั้งกลางเทอมสหรัฐ จะมีผลต่อการบริหารงานทรัมป์ ปี 2562
ผลการเลือกตั้งกลางเทอมสหรัฐ (Midterm elections) ซึ่งเป็นการเลือกตั้ง สส.ใหม่ (วาระ 2 ปี) ทั้งหมดรวม 435 ที่นั่ง และเลือก สว. ใหม่(มีวาระ 6 ปี) 35 ที่นั่งจาก 100 ที่นั่ง น่าจะทราบผลทั้งหมด ช่วงเที่ยงของวันนี้ (ตามเวลาประเทศไทย) ซึ่งผลการสำรวจล่าสุด (แสดงดังตารางถัดไป) ประเมินว่าคะแนนเสียงของ ประธานาธิบดีทรัมป์ น่าจะลดลงจากที่มีคะแนนสูงสุดทั้ง สว. และ สส. (รายละเอียดดังตาราง) กล่าวคือ
ผลสำรวจการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐ
ที่มา : ASPS รวบรวม
การที่คะแนนเสียงในสภาพเปลี่ยนแปลง หลังการเลือกตั้งกลางเทอม น่าจะมีผลต่อการผลักดันนโยบายสำคัญของรัฐบาลทรัมป์ในอนาคต โดยเฉพาะในปี 2562 ซึ่งเป็นปีที่เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะชะลอตัวน่าจะทบต่อความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลทรัมป์ แต่อย่างไรก็ตาม หากพลิกล็อก และพรรครีพับลิกันยังครองเสียงส่วนใหญ่ทั้ง 2 สภา ASPS เชื่อว่ามาตรการต่างๆ ก็ยังดำเนินต่อไป โดยเฉพาะมาตรการกีดกันการค้า โดยเฉพาะการขึ้นภาษีนำเข้ากับจีน ถือเป็นปัจจัยที่มีผลต่อตลาดหุ้นสหรัฐในระยะถัดไปที่เชื่อว่าจะมีแนวโน้มจะทรงหรือปรับลง
ราคาสุกรปรับเพิ่มขึ้น 64 บาทต่อ กก....บวกต่อ CPF และ TFG ราคาสุกรหน้าฟาร์มวันที่ 6 พ.ย. 61 ล่าสุดอยู่ที่ 64 บาท/กก. เพิ่มขึ้น 3.2% จากวันก่อนหน้า และ เพิ่มขึ้นถึง 6.7% หลังจากผ่านพ้นช่วงเทศกาลกินเจในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา จากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังประเมินว่าผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยและรายกลางที่มีปัญหาด้านสภาพคล่องเริ่มทยอยลดการเลี้ยงสุกรลงบ้างแล้ว หลังจากที่เผชิญปัญหาขาดทุนมานานราว 1 ปี โดยประเมินว่าต้นทุนการเลี้ยงสุกรของผู้ประกอบการรายย่อยจะอยู่ที่ราว 64 บาท/กก. สูงกว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ (CPF และ TFG) ราว 10% ที่ราว 58 บาท/กก. อีกทั้ง ยังประเมินว่าแนวโน้มการบริโภคเนื้อสัตว์จะเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงเทศกาลวันหยุดยาวช่วงปลายปี ซึ่งเป็นปกติของอุตสาหกรรมฯ ราคาสุกรเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี 2561 เท่ากับ 54.90 บาท/กก. ปรับลดลง 4.5% จากราคาสุกรหน้าฟาร์มเฉลี่ยปี 2560 ต่ำกว่าสมมติฐานราคาสุกรเฉลี่ยปี 2561 ที่ฝ่ายวิจัยประเมินไว้ที่ 56 บาท/กก. เล็กน้อย โดยหากจะให้ราคาสุกรเฉลี่ยปี 2561 เป็นไปตามสมมติฐานที่ฝ่ายวิจัยประเมินไว้ ราคาสุกรเฉลี่ยในช่วงที่เหลือของปี 2561 จะต้องอยู่ที่ 61 บาท/กก. ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้สูง โดยทิศทางราคาสุกรที่ฟื้นตัวเป็นผลบวกต่อ TFG และ CPF ประกอบธุรกิจสุกรในประเทศ 20% และ 14% ตามลำดับ
ขณะที่ค่าเงินบาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ล่าสุดอยู่ที่ 32.91 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ถือเป็นผลบวกต่อผู้ส่งออกด้วยเช่นกัน (บวกต่อ CPF แต่กระทบ TFG เพราะนำเข้ากากถั่วเหลืองในสัดส่วนมากกว่าส่งออกไก่) ทำให้ความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่งต่างประเทศดีขึ้นและแปลงเงินเป็นสกุลเงินบาทได้เพิ่มขึ้นด้วย โดยค่าเงินบาทเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี 2561 เท่ากับ 32.24 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าสมมติฐานปี 2561 ที่ฝ่ายวิจัยกำหนดไว้ที่ 33 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯเล็กน้อย โดยหากกำหนดให้ค่าเงินบาทในช่วงที่เหลือของปีเฉลี่ยที่ 33 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ จะทำให้ค่าเงินบาทเฉลี่ยทั้งปี 2561 เท่ากับ 32.40 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่ากว่าที่ฝ่ายวิจัยประเมินไว้เล็กน้อย
ฝ่ายวิจัยประเมินว่าแนวโน้มราคาสุกรจะทยอยปรับเพิ่มขึ้นในช่วงที่เหลือของปี 2561-62 ส่งผลบวกต่อธุรกิจสุกร จึงแนะนำซื้อ CPF (FV@B30) และ TFG (FV@B5)
ครม. เห็นชอบยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซา...ERW ได้อานิสงค์มากสุด
วานนี้ ครม. มีมติเห็นชอบยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา ณ ช่องอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง หรือ Visa on Arrival (VOA) ซึ่งปกติจัดเก็บ 2,000 บาทต่อคน เป็นการชั่วคราว ระยะเวลา 2 เดือน ตั้งแต่ 1 ธ.ค. 2561 – 31 ม.ค. 2562 ให้กับนักท่องเที่ยว 21 ประเทศ ซึ่งรวมทั้งจีนด้วย
ซึ่งฝ่ายวิจัยประเมินว่าเป็น sentiment เชิงบวกต่อกลุ่มท่องเที่ยว-โรงแรม เนื่องจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายและส่งเสริมการท่องเที่ยวมากขึ้น โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีน ที่มีสัดส่วนนักท่องเที่ยวมากที่สุด 30% ของนักท่องเที่ยวต่างชาติรวม ทั้งนี้ หากย้อนไปในช่วงปี 2559-60 รัฐบาลเคยมีมาตรการที่คล้ายคลึงกัน โดยเป็นการยกเว้นค่าธรรมเนี่ยมการตรวจลงวีซ่า ณ สถานฑูต หรือสถานกงสุลไทย จำนวน 1 พันบาท/คน และลดค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา ณ ช่องอนุญาตของด่านตรวจคนเข้ามาเมืองจากเดิม 2,000 บาท เป็น 1,000 บาท รวม 2 ช่วงเวลา ตั้งแต่ 1 ธ.ค. 2559 – 31 ส.ค. 2560 ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นผลบวกต่อกลุ่มท่องเทียว-โรงแรม เนื่องจากปรับขึ้นถึง 5.6% โดยหุ้นในกลุ่มฯ ที่ปรับขึ้นได้มากสุด คือ ERW เพิ่มขึ้นกว่า 30% ตามด้วย MINT เพิ่มขึ้น 8.2% และ CENTEL เพิ่มขึ้น 2.5%
ผลตอบแทนหุ้นโรงแรม เทียบกับกลุ่มฯ และ SET Index ช่วงออกมาตรการฟรีค่าธรรมเนียม วีซ่าฯ 1 ธ.ค. 59 – 31 ส.ค. 60
แม้มาตรการในครั้งนี้จะเป็นระยะสั้นเพียง 2 เดือน แต่เชื่อว่าภาครัฐน่าจะต้องมีการต่ออายุมาตรการฯ อีกครั้ง ดังเช่นครั้งก่อน และน่าจะส่งผลบวกต่อกลุ่มท่องเที่ยว-โรงแรม เช่นกัน โดยคาดว่า ERW ([email protected]) จะได้อานิสงส์มากที่สุด เนื่องจากมีสัดส่วนรายได้โรงแรมในประเทศเกือบ 100% และพอร์ตโรงแรมมีการกระจายตัวทั้งสถานที่ตั้งและระดับโรงแรมที่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ทุกกลุ่มฯ ขณะที่ CENTEL (FV@B56) มีสัดส่วนรายได้โรงแรมและร้านอาหารใกล้เคียงกันอย่างละ 50% ส่วน MINT (FV@B48) มีสัดส่วนรายได้โรงแรม ร้านอาหาร และที่พักอาศัย ที่ 40%, 40% และ 10% ตามลำดับ แต่กิจการโรงแรมมีการกระจายตัวในต่างประเทศ ทำให้ได้ประโยชน์จากมาตรการนี้น้อยกว่าบริษัทอื่นในกลุ่มฯ ในส่วนของกลุ่มขนส่งทางอากาศ แม้น่าจะได้ประโยชน์จากมาตรการดังกล่าวด้วยเช่นกัน แต่ความน่าสนใจของหุ้นในกลุ่มนี้ยังค่อนข้างน้อย โดย AOT (FV@B67) แม้ปัจจัยพื้นฐานจะยังดี แต่ราคาหุ้นมี upside จำกัด ขณะที่หุ้นสายการบินยังมีโอกาสถูกหักล้างจากการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่รุนแรง
ต่างชาติขายหุ้นภูมิภาคเป็นวันที่ 3 แต่สลับมาซื้อหุ้นไทยเป็นวันที่ 2 นักลงทุนยังรอผลการเลือกตั้งกลางเทอมสหรัฐในวันนี้ และ การประชุม Fed (วันที่ 7 - 8 พ.ย. 61) ส่งผลให้ Fund Flow ยังคงเป็นลักษณะสลับซื้อ-ขาย รายประเทศ โดยวานนี้ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่า 186 ล้านเหรียญ แต่ยัง ขายสุทธิ 3 ประเทศ คือ ไต้หวันขายสุทธิ 238 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 6 วัน) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 69 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) และฟิลิปปินส์ 15 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ส่วน ที่เหลืออีก 2 แห่งซื้อสุทธิ คือ อินโดนีเซียซื้อสุทธิ 71 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 9) และไทย 66 ล้านเหรียญ หรือ 2.16 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิเล็กน้อย 216 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2)
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ไทย ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่า 5.82 พันล้านบาท แบ่งเป็นตราสารหนี้ระยะสั้น (T<1) 4.26 พันล้านบาท และตราสารหนี้ระยะยาว (T>1) 1.56 พันล้านบาท ขณะที่ Bond Yield 10 ปี ยังทรงๆตัวอยู่ที่ 2.80% ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค
ภรณี ทองเย็น
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
เจิดจรัส แก้วเกื้อ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์